การ รับมือด้วยท่าที วิธีคิดที่ผิดพลาดนำมาสู่การเกิดขึ้นของขบวนการตาสว่าง น่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญอันหนึ่ง อย่าลืมว่าชาวบ้านที่จะตัดสินใจ การที่คนจะกระโจนเข้ามาร่วมขบวนการเคลื่อนไหวมันจะต้องมีปัจจัย
บท เรียนจากการรัฐประหาร 19 กันยา ก็คือความเข้าใจต่อปัญหาทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองแบบเก่าที่คิดว่าความขัดแย้ง คนที่มีผลประโยชน์ ต้องการอำนาจทางการเมืองทุจริตคอรัปชั่น โดยที่อาศัยชาวบ้านมวลชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองแล้วจัดการด้วยการเอา อำนาจนอกระบบ การยึดอำนาจรัฐประหารมาแก้ไขปัญหา
สิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่โดนสตัฟฟ์เอาไว้ตอนนั้นมันก็ยังโดนสตัฟฟ์ต่อ มาเรื่อยๆ อาจจะคืนอำนาจให้บ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่ในที่สุดแล้วถ้าลงไปดูจริงๆ มันมีการเข้ามาล่วงละเมิดสิทธิกันตลอดเวลา...พอคนไม่พอใจก็ลุกขึ้นมา คนที่เขารู้สึกว่าฉันเลือกตั้งไปแล้วทำไมเสียงฉันไม่ดัง มันก็จำเป็นที่จะต้องร้องขึ้นมาบ้าง มันเลยกลายเป็นผลพวงที่ตามมาในระยะ 4 ปี
19 กันยาหนนี้นอกจากเป็นวันครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหารแล้ว ยังเป็นวาระ 4 เดือนที่มวลชนเสื้อแดงรำลึกถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ถูกปราบปราม และนี่ก็ถือเป็นวาระที่ประชาชนสะท้อนพลพวงของการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาแก้ ปัญหาจนจุดติดความขัดแย้งในสังคมไทยเรื่อยมา
ก่อนจะบินไปทำวิจัยที่ญี่ปุ่น ประภาส ปิ่นตบแต่ง ฉายภาพบทบาทของภาคประชาชนตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
สาว ตรี สุขศรี หนึ่งในกลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์เสียงข้างน้อย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่รวมตัวกันเปิดเว็บไซต์วิชาการเพื่อเป็นอีกบทพิสูจน์ของสิทธิเสรีภาพภาย ใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ประภาส ปิ่นตบแต่ง
ต้องพังแล้วจึงรู้
"ความ รุนแรงมันมีพลวัตของมัน ความรุนแรงที่คาดว่าจะเกิดหรือไม่เกิดต่างๆ มันจะไปแยกส่วนการวิเคราะห์ไม่ได้ ต้องดูทั้งหมดของพลวัตความขัดแย้งที่ผ่านมา ท่าทีของรัฐ การปราบปรามของรัฐ แม้กระทั่งเรื่องการเผาบ้านเผาเมือง ซึ่งถามใครก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับวิธีนี้อยู่แล้ว แต่ว่าการเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็ต้องดูพลวัตของความขัดแย้ง แน่นอนก็ต้องย้ำว่าฝ่ายของคนเสื้อแดงก็มีปัญหาในแง่ของยุทธวิธีการเคลื่อน ไหวมากมาย แต่ว่าการเคลื่อนไหวที่ถูกยกระดับแปรผันอะไรต่างๆ เราต้องเข้าใจอีกด้านหนึ่งด้วยว่ามันเป็นปฏิสัมพันธ์กับท่าทีของรัฐ การปราบปรามของรัฐ ท่าทีของการใช้ความรุนแรง วิธีคิดของรัฐที่จะรับมือกับคนที่ชุมนุม เรื่องเหล่านี้มันมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งสิ้น จะมองด้านเดียวไม่ได้ แม้แต่หลัง 19 พ.ค. การจัดการโดยภาพรวมมันก็ยังอยู่ในตรรกะของการใช้กำลังใช้กฎหมายด้านความมั่น คง มีการติดตามกำกับไม่ให้เคลื่อนไหวต่างๆ ตอนนี้เราก็ยังเห็นในพื้นที่ แกนนำยังถูกกำกับติดตาม ต้องเอารูปที่เคยถ่ายไว้กับคุณทักษิณลงจากข้างฝา ตำรวจตามเข้าไปจนถึงหมู่บ้าน ก็คงทราบๆ กันอยู่บ้าง ยังมีวิธีการแบบนี้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดี ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีคิดที่จะจัดการกับผู้คนแบบนี้"
การปกครองที่รัฐใช้อำนาจกับประชาชนยาวนาน จะมีผลให้เกิดการต่อต้านอีกครั้ง
"มัน ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยการเมืองที่เราเรียกว่าการเมืองบนท้องถนน การชุมนุมเดินขบวนกลายเป็นพื้นที่ที่สำคัญของการเคลื่อนไหวเขาก็ทำไม่ได้ มันอยู่ในสภาวะที่ถูกรัฐควบคุม ผมคิดว่าอันนี้มันก็เห็นชัดเจน ก็จะได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการใช้กฎหมายในแง่นี้ มันเหมือนกับเวลาเราไปวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งฉีดคีโมเข้าไปร่างกายก็ได้รับผล กระทบทุกส่วน มันจะเกิดอาการแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่อ่อนแอที่สุดก็คือคนจนคนข้างล่างที่เขาเคลื่อนไหว"
หลังเหตุการณ์ความรุนแรงที่ราชประสงค์ มวลชนที่กลับไปจะใช้เวลาอีกระยะในการรวมตัว
"แน่ นอนว่ามันกระทบแน่ เพราะในแง่ของการเคลื่อนไหวมันต้องมีองค์กรการจัดตั้ง ทรัพยากร เครือข่ายที่จะเชื่อมโยง หลัง 19 พ.ค. สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันหายหมดหรือว่าทำไม่ค่อยได้ แกนนำก็ถูกประกบ เพราะฉะนั้นในแง่นี้ก็ต้องยอมรับว่าการลุกขึ้นมาสู้ของผู้คน ความเห็นด้วยกับการเมือง จะปกป้องประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง นายกฯ ของเขาหรือคิดว่าการเคลื่อนไหวแบบนี้มันจะแก้ปัญหาของตัวเองหรือเป็นส่วน หนึ่งของชีวิตของตัวเองที่จะรักษาพื้นที่การเมืองไว้ นั่นมันเป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่วนหนึ่งที่คนออกมาก็คือจะต้องมีเครือข่ายสนับสนุน ซึ่งส่วนตรงนี้มันหาย ฉะนั้นมันก็จะกระจัดกระจาย ถ้ามองในแง่นี้ผมจึงไม่คิดว่าคนเสื้อแดงจะรวมตัวกันได้เร็ว ที่เป็นขบวนการที่เข้มแข็งก็คงจะมีในส่วนคนชั้นกลาง คุณสมบัติ (บุญงามอนงค์) กลุ่มคนเหล่านี้จะเคลื่อนไหวได้เร็วมากกว่า รวมทั้งวิธีคิด แท็กติกต่างๆ ของเขามีประสบการณ์มากกว่าที่จะคิดถึงยุทธวิธีการต่อสู้ การสร้างสีสันต่างๆ"
ปัญญาชนกลุ่มนี้จะพลิกมานำได้ไหม
"ยัง มองไม่ชัดในระยะยาว คนกลุ่มนี้เป็นคนชั้นกลาง คือในความเข้าใจของผม คนเสื้อแดงมวลชนคนชั้นกลางอาจจะไม่ใช่เป็นฐานสำคัญมากนัก เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางก็แน่นอนว่าเป็นข่าว มีพื้นที่ต่างๆ ทำให้ประเด็นเรื่องพวกนี้มันยังอยู่ในสังคม ประเด็นเรื่องการตรวจสอบการที่คนตาย แต่ว่าการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์มันทำงานได้ในแง่หนึ่ง คือมันช่วยทำให้ผู้คนในสังคมเห็นว่ามันมีประเด็นปัญหา บางคนอาจจะเรียกว่ามันสามารถรักษากระแสได้ แต่ว่าผมยังไม่คิดว่ามันจะเป็นพลังที่สำคัญจะนำไปสู่การต่อรองการเปลี่ยน แปลงทางการเมือง เพราะว่าฐานจริงๆ มันน่าจะอยู่ที่คนข้างล่าง ประชาชนที่กว้างใหญ่ไพศาลในชนบทมากกว่า ซึ่งตรงนั้นจะยากที่จะกลับเข้ามาได้โดยเร็ว"
แต่มวลชนส่วนหนึ่งไม่หวังพึ่งพรรคเพื่อไทยแล้ว
"ซึ่ง ตอนนี้พรรคเพื่อไทยก็จะดีดลูกคิดแล้ว แต่มันก็น่าสนใจ เพราะผมยังรู้สึกว่ามันเกิดกลุ่มอิสระแกนนำในจังหวัด อำเภอ ที่เขาก็ยังพบปะกันอยู่ตลอด เขาเริ่มจะจัดตั้งมีวงที่จะคุยกันเจอกัน โต๊ะจีนก็ยังมี แต่อาจจะไม่ใส่เสื้อแดง ตรงนี้ก็น่าสนใจ เขาก็วิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง สรุปบทเรียนราชประสงค์ การเคลื่อนไหวกับนักการเมือง มันก็มีบรรยากาศแบบนี้ ผมอาจจะตามไม่ได้กว้างขวางมาก แต่นี่คือเท่าที่ได้เห็น มันมีเรื่องพวกนี้ มีความตื่นตัวของผู้คนมันกว้างนะ เอาเข้าจริงๆ แต่ว่าการตื่นตัวแบบกระจัดกระจายแบบนี้ โอกาสที่จะเป็นพลังหรือโอกาสที่จะเติบโตมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย"
"ยัง รอเงื่อนไขรอการเชื่อมโยง ก็ต้องยอมรับตรงไปตรงมาว่าเครือข่ายที่สำคัญก็คือเครือข่ายของนักการเมือง ต่างๆ ที่ลงไปเชื่อมโยง ไม่ว่าสีไหนทั้งนั้น เหมือนกันแหละ โรงเรียน นปช.เอาเข้าจริงก็มีบางจุดบางที่ ผมเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ว่ามันมีการตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มเล็กกลุ่ม น้อยกลุ่มต่างๆ ของคนเสื้อแดง แต่ว่าการเกิดกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยแบบนี้มันอาจจะไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ"
"ชาว บ้านข้างล่างจะมีบทเรียนมากขึ้น เท่าที่คุยกับในส่วนแกนนำบางส่วน นี่เป็นข้อสรุปทั่วไป ผมรู้สึกว่าเขามีท่าทีตรวจสอบ ตั้งคำถามกับนักการเมืองมากขึ้น ฉะนั้นมันไม่ง่าย อย่าไปคิดว่าชาวบ้านเป็นวัวเป็นควายถูกจูงมา เขามาเพราะมีจิตสำนึกทางการเมืองที่พอสมควร การวิพากษ์วิจารณ์การเข้าใจรัฐบาล เอาง่ายๆ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในคณะรัฐศาสตร์ก็วิจารณ์คณบดี วัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ๆ แบบนี้มันเปลี่ยนวัฒนธรรมการคิดของผู้คน การแสดงออกทางการเมืองของผู้คนมากทีเดียว จากที่มีการวิเคราะห์ทางการเมืองเดิมๆ ที่มองว่าชาวบ้านในชนบทเฉื่อยชา ไม่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือเข้ามาก็ด้วยผลประโยชน์เฉพาะหน้า ถูกชักจูงมาโดยนักการเมืองพรรคการเมือง ผมว่าภาพเหล่านี้มันเปลี่ยนในสถานการณ์ 4-5 ปีที่ผ่านมา"
"ความ จริงตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องดี ถ้าเราดูย้อนหลังเอาแค่ 2540 ปฏิรูปการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 การกระจายอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจที่นำมาสู่วิธีคิดของรัฐที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีโครงการ เพื่อสังคมอะไรต่างๆ ลงไปสู่ชนบท มันเกิดสิ่งที่บางคนเรียกว่ามันเป็นภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมือง ไม่พูดว่าการเมืองใหม่นะ (หัวเราะ) political landscape ที่เขาใช้ๆ กัน เราเห็นตรงนี้ค่อนข้างชัดเจน ในส่วนของการกระจายอำนาจ การเลือกตั้ง ชีวิตของผู้คนชนบทที่เปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตรายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย ผมว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันเป็นหน่อเป็นเชื้อที่ทำให้การเคลื่อนไหวการตื่นตัวของผู้คนใน ชนบทเกิดขึ้น ประกอบกับในส่วนของการเข้าไปจัดตั้งเครือข่ายต่างๆ พวกนักการเมืองต่างก็ควรจะต้องเข้าใจบทบาทของพวกนักการเมืองพรรคการเมือง หรือว่ากลไกของพวกนักการเมืองในมิติเรื่องเหล่านี้ด้วย ที่ช่วยทำให้ชาวบ้านสามารถระดมเข้ามาได้ แต่ว่ามันไม่ได้เหมือนการระดมแบบเดิมที่จ้างมา มันเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้การเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมันเกิดขึ้น ของชาวบ้านจริงๆ"
"มวลชนที่สัมพันธ์อยู่กับชนชั้น นำ 2 ส่วน มวลชนของคนเสื้อเหลืองก็จะเป็นคนชั้นกลางมากหน่อย เสื้อแดงอาจจะเป็นคนข้างล่าง ในแง่นี้ผมก็ยังคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำกับมวลชน ไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบแนวดิ่งหรืออุปถัมภ์ ปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดง คุณทักษิณแกก็เปลี่ยน แกถูกสถานการณ์เงื่อนไขการต่อสู้ให้แกต้องกลายเป็นนักปฏิวัติ อันนี้ผมก็ยืมความคิดมาจาก อ.นิธิ ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับ อ.นิธิ ว่าแกถูกสถานการณ์และเงื่อนไขการต่อสู้บังคับให้มาเป็นนักปฏิวัติ ซึ่งหมายความว่าแกก็ไม่อยากจะเป็นหรอก แกอยากจะประนีประนอม อยากจะเกี้ยเซี้ย มองในแง่นี้คือมวลชนข้างล่างก็มีความอิสระ มวลชนข้างล่างก็มีหลายกลุ่มหลายก้อน ทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดง"
หลัง 19 กันยาปรากฏการณ์มวลชนมันช็อกชนชั้นนำที่คิดว่าการรัฐประหารจะคุมทุกอย่างได้
"หลาย เรื่องก็คงไม่ได้คาดการณ์ การเติบโตของผู้คนในชนบท ถ้าเราดูเสียงเวลาเขาวิจารณ์ชาวบ้านเสื้อแดงที่มาชุมนุมช่วง มี.ค.ที่ผ่านมา ว่าเป็นวัวเป็นควายถูกพามา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหาศาล เขาเข้าใจเรื่องพวกนี้น้อยเกินไป เขาไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่หลัง 2540 เป็นต้นมา ที่ผู้คนตื่นตัว มีพื้นที่ทางการเมืองเกิดขึ้น ตรงนี้ผมว่าเขาตามไม่ค่อยทัน เขาคิดว่าชาวบ้านมีปัญหาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง เขาถึงตั้งศูนย์คุณธรรม โครงการอบรมประชาธิปไตย คิดในตรรกะแบบเดิม การเติบโตของมวลชนส่วนหนึ่งมันมาจากท่าทีของชนชั้นนำด้วย แม้กระทั่งการรัฐประหาร ที่จริงผมทำ survey คนที่มาร่วมชุมนุมเสื้อแดง 400 ชุด ประมาณ 40 เปอร์เซ็นที่ตัดสินใจเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวกับเสื้อแดงเพราะการรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเกิดจากการรับมือของชนชั้นนำด้วยวิธีคิดที่มันไม่สอดคล้อง เลยนำมาสู่การรวมตัวของชาวบ้านที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาร่วมชุมนุมเคลื่อนไหว กับคนเสื้อแดง"
แต่จนถึงวันนี้ชนชั้นนำก็ยังไม่ปรับตัว
"ถ้า ไม่ปรับตัวก็ต้องพังถึงจะรู้ตัว ต้องเกิดแบบ 19 พ.ค. ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเขาจะมีบทเรียนมาน้อยแค่ไหน ก็จะไปวิเคราะห์เรื่องมือที่สามเรื่องชายชุดดำ พวกนั้นก็คงมีจริงอยู่แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด"
เรียกว่าตลอด 4 ปีนี้มีประชาชนตาสว่าง แต่ชนชั้นนำไม่
"อัน นี้น่าสนใจ การรับมือด้วยท่าที วิธีคิดที่ผิดพลาดนำมาสู่การเกิดขึ้นของขบวนการตาสว่าง น่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญอันหนึ่ง อย่าลืมว่าชาวบ้านที่จะตัดสินใจ การที่คนจะกระโจนเข้ามาร่วมขบวนการเคลื่อนไหวมันจะต้องมีปัจจัย บทเรียนจากการรัฐประหาร 19 กันยา ก็คือความเข้าใจต่อปัญหาทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองแบบเก่าที่คิดว่าความขัดแย้ง คนที่มีผลประโยชน์ต้องการอำนาจทางการเมือง ทุจริตคอรัปชั่น โดยที่อาศัยชาวบ้านมวลชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองแล้วจัดการด้วยการเอา อำนาจนอกระบบ การยึดอำนาจรัฐประหารมาแก้ไขปัญหา มันน่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญว่ายิ่งนำมาสู่ปัญหาที่มันใหญ่ขึ้น ชาวบ้าน 30-40 เปอร์เซ็นตัดสินใจเข้าร่วมเพราะเกิดรัฐประหาร เพราะเขามองว่ารัฐบาลหรือพรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่จะมีผลกำหนดชีวิต แบบใหม่ของเขาเขาต้องเข้ามาเอง มาอาศัยพื้นที่ทางการเมืองแบบนี้ แล้วมันถูกแย่งชิงไป พรากสิทธิของเขาไป สิทธิที่จะเลือกตั้ง สิทธิที่จะมีรัฐบาลของตัวเอง แม้จะเลวบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเห็นด้วยกับความเลว คราวนี้น่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญ ต่อท่าทีการปราบปราม การใช้กำลัง จึงกลายเป็นบรรทัดฐานทางศีลธรรมของสังคม เรื่องเหล่านี้มันกลับนำมาสู่สิ่งที่เป็นปัญหามากขึ้น"
"ส่วน ของภาคประชาชนก็ต้องยอมรับว่าภาคประชาชนส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับการ รัฐประหาร ซึ่งอันนี้ก็เป็นบทเรียนที่สำคัญว่าการแก้ไขปัญหาแบบนี้มันไม่ได้สร้างความ เข้มแข็งให้กับผู้คนในสังคมที่มองว่าปัญหามันจะแก้ได้ด้วยอำนาจนอกระบบ หรือว่ามองคนในชนบทเป็นตัวปัญหาของประชาธิปไตย พวกนักการเมืองซื้อสิทธิขายเสียง ภาคประชาชนที่มองการเมืองแบบผู้ดีมากหน่อยต้องเข้าใจในส่วนนี้ ต้องเข้าใจชาวบ้านอีกแบบหนึ่ง ชาวบ้านที่เข้ามาสัมพันธ์กับการเมือง ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าการเมืองการเลือกตั้งมันเพียงพอ แต่ว่ามันจำเป็นสำหรับชีวิตชาวบ้านซึ่งต้องอาศัยพื้นที่ทางการเมือง พื้นที่นโยบายสาธารณะ"
ภาคประชาชนถูกวิจารณ์ว่าเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการปฏิรูป-สมัชชาปฏิรูปฯ ไปสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาล
"ผม คิดว่ามันมีทั้งสองด้าน ด้านที่ดีแน่นอนว่าการมีพื้นที่กลไกพวกนี้ก็เป็นสิ่งซึ่งขบวนการเคลื่อนไหว ต่างๆ อย่างเช่นเมื่อก่อนเราเคลื่อนไหวสมัชชาคนจนเราได้คณะกรรมการเจรจากับรัฐบาล เราดีใจ ได้พื้นที่ในการเจรจา แต่อันนี้มันก็เข้าไปสู่สิ่งที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะรวบรวมปัญหาข้อ เสนออะไรต่างๆ แม้จะไม่มีความชัดเจนว่าจะทำหรือไม่ทำอย่างไร แต่ว่ามันผูกกับผู้คนในสังคมแล้วนะว่าถ้าไม่ทำก็ยุ่งเหมือนกันนะ อันนั้นก็เป็นด้านดี ถ้ามองในแง่นี้ก็หมายความว่าพื้นที่ของสิ่งที่เราเรียกว่าการเมืองภาค ประชาชนมันก็ขยายเข้าไปสู่การเมืองในระบบ เกิดการเชื่อมต่อ"
"แต่ ว่าสิ่งที่มันจะเป็นปัญหาก็คือ เนื่องจากว่ามันเกิดขึ้นในบริบทของความขัดแย้ง และก็ในเหตุการณ์ซึ่งมันไปละเมิด อาจจะเรียกว่าจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญของสังคมประชาธิปไตย ของความเป็นมนุษย์ที่รัฐบาลไปปราบปรามประชาชน ซึ่งไม่ว่าจะอธิบายอย่างไรก็แล้วแต่การสังหารปราบปรามประชาชนแบบนี้มันเป็น สิ่งที่รัฐบาลไหนๆ ก็ต้องไม่ทำทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการเข้าไปในแง่นั้นก็จะถูกมองซึ่งมันก็มีนัยว่าไปสร้างความชอบ ธรรมให้กับรัฐบาล ซึ่งสิ่งที่คนที่อยู่ในนั้นควรจะต้องตอบคำถามในเรื่องพวกนี้ด้วย ก็คือช่วยตรวจสอบมาตรฐานจริยธรรมขั้นต่ำของรัฐที่จะไม่ปราบปรามประชาชน ที่จะต้องให้รัฐบาลยอมรับผิดในเรื่องนี้ ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ ผมเห็นด้วยกับคนที่วิพากษ์วิจารณ์ภาคประชาชนที่เข้าไปเกี่ยวพันในส่วนการ ปฏิรูปที่รัฐบาลตั้งว่าประเด็นเหล่านี้จะต้องไปละเลยที่จะต้องพูดถึงและช่วย ตรวจสอบ"
"ซึ่งเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เยอะ ซึ่งผมคิดว่าการตอบคำถามเหล่านี้อาจจะไม่พอต้องแสดงท่าทีให้มากไปกว่านี้ แม้กระทั่งเรื่องของการให้ความขัดแย้งมันดำเนินผ่านกระบวนการปกติ เรื่องของการเลือกตั้ง การยุบสภา เรื่องของข้อตกลงที่มันเคยมีการเจรจาก่อนหน้านี้แล้วมันควรจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ควรจะอยู่ในข้อเสนอของกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยด้วย จะเมื่อไหร่ก็ต้องดูเรื่องความพร้อมกันอีกที แต่ว่าโดยหลักการผมว่าควรจะต้องพูดในสิ่งเหล่านี้ กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยผ่านระบบปกติโดยกลไกประชาธิปไตยปกติมันถูกละเลยไปมาก ทีเดียว ไม่ถูกพูดถึงและก็โยนความผิดให้กับการเผาบ้านเผาเมืองอะไรต่างๆ ซึ่งอันนี้ฝ่ายคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวก็จะต้องถูกตรวจสอบด้วย แต่ไม่ใช่ว่าไปโยนด้านเดียว"
แต่การเรียกร้องความรับผิดชอบอย่างที่ อ.ประภาสว่าก็ยังไม่มีให้เห็นจากภาคประชาชนที่เข้าไปอยู่จุดนั้น
"มัน หายไปเหมือนกับรัฐลอยตัว รัฐบาลก็ลอยตัวจนน่ากลัวที่มันจะกลายเป็นมาตรฐานที่มันไม่ดี อันนี้ผมใช้คำว่ามันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในสังคมประชาธิปไตยที่รัฐจะต้องไม่ ปราบปรามประชาชน ไม่ใช่ว่ามีโซนที่ฆ่าคนได้ยิงคนได้ถ้าเดินเข้ามา หรือว่าป้องกันทหารแต่ให้ประชาชนตายได้ ทหารตายไม่ได้ อย่างนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้ไม่ได้ การมีเพียงขาดน้ำมัน ระเบิดเพลิงซึ่งเราเห็นทั่วไปหมดในสังคม คนที่จะมาตายด้วยเรื่องแค่นี้จะเป็นมาตรฐานสำหรับสังคมไม่ได้"
เหมือนกับเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ภาคประชาชนผลักดันมายาวนานแต่ไม่สำเร็จ
"มัน มีนัยที่จะถูกเข้าใจแบบนั้นได้ ซึ่งเขาก็ทำตรงนี้ให้ชัดว่าเรื่องการปราบปรามประชาชนมันจะต้องมีการจัดการ อย่างจริงจัง ซึ่งถ้าดูจนถึง ณ วันนี้เรื่องพวกนี้มันไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไหร่"
"สำหรับ ผม ผมคิดว่าในส่วนของชาวบ้านที่เคลื่อนไหวกับนักการเมืองพรรคการเมืองมันจะเป็น ชีวิตสาธารณะของผู้คนอีกมิติหนึ่ง ขยายความก็คือว่าคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับช่องนี้จะเป็นชาวบ้านที่อาจจะ เรียกว่าอยู่ได้ด้วยนโยบาย เช่น ประชานิยมอะไรต่างๆ หรือว่าการจัดสรรผ่านเรื่องของการเมืองท้องถิ่น การกระจายอำนาจ งบประมาณ เนื่องจากว่าชีวิตคนชนบทได้เปลี่ยน การผลิตก็เปลี่ยน การทำมาหากินก็เปลี่ยนเป็นผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งไม่มีหลักประกันสุขภาพกับ เขา ปลูกข้าวก็ไม่ได้ราคา เพราะฉะนั้นนโยบายการประกันราคาข้าวมันจำเป็นแล้วสำหรับชีวิต ซึ่งอันนี้กลไกการเมืองแบบเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบตัวแทนมันทำหน้าที่ในเรื่องพวกนี้ มันเป็นกลไกการกระจายสำคัญที่จะทำให้ชีวิตสาธารณะของผู้คนเหล่านี้มันอยู่ไป ได้ ฉะนั้นเขาจึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในแง่นี้ ซึ่งนโยบายพวกนี้ไม่ใช่ว่าไม่มีปัญหานะ การกระจายก็ไม่ค่อยได้ทั่วถึงในชุมชนเท่าไหร่ ก็เป็นทรัพยากรที่อาจจะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ แต่ว่ามันไม่ได้อุปถัมภ์แบบเมื่อก่อน แต่ว่ามันมีการแลกเปลี่ยน มันเปลี่ยนขั้วได้ นั่นก็เป็นการเมืองภาคประชาชนอีกแบบหนึ่งที่ชาวบ้านเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ เมืองแบบเลือกตั้ง"
"อย่างไรก็ดีผมคิดว่าการเมือง ภาคประชาชนแบบที่เคยผ่านช่องนักวิชาการ เอ็นจีโอ ซึ่งอันนั้นจะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งผมคิดว่ามันเสริมกัน มันไม่ได้ขัดแย้งกัน เช่น กรณีชาวบ้านปากมูลหรือชาวบ้านบ้านกรูด บ่อนอก ซึ่งมันเกิดจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐที่มันลงไปและกระทบกับชีวิตชุมชน ฐานทรัพยากร เป็นการสู้อีกแบบหนึ่ง สู้โดยจุดหมายก็คือว่าทำให้ประชาธิปไตยแบบเลือกมันขยายออกไป บางคนเรียกประชาธิปไตยทางตรงอะไรก็แล้วแต่ ก็คือว่าให้มันมีพื้นที่นโยบายที่ชาวบ้านมีสิทธิมีเสียงมีส่วน ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมชีวิตของตัวเองผ่านกระบวนการประชามติประชา พิจารณ์ อันนี้คือการขยายประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งให้มันมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น อย่างที่ อ.เสกสรรค์ (ประเสริฐกุล) เรียกว่าการเมืองภาคประชาชนที่ถ่ายโอนอำนาจจากรัฐหรือระบบตัวแทนบางส่วน ซึ่งในสากลมันก็เกิดเต็มไปหมด มันไม่ได้มีความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นในแง่นี้การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองภาคประชาชนที่ทำๆ กันอยู่ผมคิดว่ามันจะต้องแยกแยะในส่วนพวกนี้ด้วย มาบตาพุดถามว่าไม่จำเป็นเหรอในการเคลื่อนไหวแบบนี้ ก็ยังต้องทำต้องขยาย ซึ่งรัฐบาลนี้ก็อาจจะไม่ค่อยได้สนใจมากนัก"
"เวลา พูดถึงการเมืองภาคประชาชนจะต้องไม่เหมารวม จะต้องจำแนกแยกแยะ การเมืองภาคประชาชนเป็นนิยามที่มันดิ้นได้ มันเป็นการคิดเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งมีหลายกลุ่มหลายก้อน ตอนนี้ใครพูดถึงการเมืองภาคประชาชนมักไม่ค่อยจะตรงกันหรอก ผมเองยังเลิกเขียนบทความมาหลายเดือนแล้ว คำว่าภาคประชาชนมันถูกให้ความหมายหลายแบบด้วยกัน ประเด็นก็คือว่าเวลาเราวิจารณ์ภาคประชาชนที่อยู่ในนั้นก็มีหลายลักษณะ ส่วนหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาโดยทำงานร่วมกับรัฐ แบบเบญจภาคี ประชาคมประชารัฐอะไรต่างๆ ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าไม่มีประโยชน์นะ ก็ทำงานร่วมไม้ร่วมมือกับรัฐ ต่อรองกับรัฐ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าภาคประชาชนอีกส่วนจะไม่ได้ทำงานผลักดัน อย่างเช่นกลุ่ม FTA Watch กลุ่มมาบตาพุด กลุ่มหินกรูด บ่อนอก พวกนี้ก็ยังรักษาประเด็นเดิมของตัวเองที่เคลื่อนไหวเพื่อสร้างพื้นที่ ซึ่งอาจจะเรียกการเมืองภาคประชาชนเชิงสถาบัน ทำให้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่มีอยู่มันเริ่มลงหลักปักฐาน ฉะนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ภาคประชาชนทั้งหมดว่าเข้าไปสร้างความชอบธรรมให้กับ รัฐ เข้าไปต่อรองผลประโยชน์ มันก็คงมีบางส่วน ก็สามารถที่จะวิจารณ์ได้แต่ว่าไม่ใช่ทั้งหมด ต้องแยกแยะ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินที่ผมก็เข้าไปมีส่วน ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์การตรวจสอบ จะมีท่าทีอย่างไรก็รัฐ จะร่วมกับเสื้อแดงไม่ร่วมเสื้อแดง ผมคิดว่าในสมัชชาคนจนก็มีแบบนี้ ก็คุยกันเยอะ อ.บัณฑร แม่สมปองเขาไปอยู่ จะมีท่าทีอย่างไรเขาก็คุยกันเยอะ ทำงานในคณะปฏิรูปก็ทำไปแต่การรักษาความเป็นอิสระของขบวนการก็ต้องรักษาเอา ไว้ เข้าร่วมอย่างรักษาความเป็นอิสระของขบวนการเคลื่อนไหว"
"ประเด็น นี้ถ้าเรามองในภาพใหญ่ว่าไปสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลซึ่ง มาจากการล้มตายของประชาชนจำนวนมากมายก็เป็นสิ่งที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์ แต่ว่าถ้ามองอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในแง่ว่าประเด็นพวกนี้ ประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ดินก็ดี การกระจายอำนาจก็ดี 8 วาระที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ เสนอ มันเป็นสิ่งซึ่งผู้คนที่เราเรียกว่าภาคประชาชนเป็นจุดร่วมในการผลักดันมาให้ รัฐบาลไหนก็แล้วแต่เอาไปทำเป็นนโยบาย ถ้ามองในแง่นี้ก็เป็นช่องทางที่มันต้องผลักดัน เพราะว่าเรื่องพวกนี้สุดท้ายมันก็ต้องเป็นนโยบายของรัฐบาล"
ท่าทีของรัฐบาลขณะนี้ไม่ได้เอาใจภาคประชาชนแล้ว ประเด็นปัญหาต่างๆ อาจจะไม่ได้อย่างที่คาดหวัง
"รัฐบาล ทุกรัฐบาลก็เป็นแบบนี้ ในช่วงแรกหรือช่วงหาเสียงก็มักจะรับปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นซึ่งภาคประชาชนผลักดันก็เป็นประเด็นที่มันมี เนื้อหาก้าวหน้าทางสังคม นโยบายเรื่องสวัสดิการ ปฏิรูปที่ดิน แก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ แต่ว่าเวลามันนำไปสู่การปฏิบัติ ประชาธิปัตย์ก็เหมือนกันซึ่งเขาเขียนเอาไว้ในนโยบายรัฐบาล การนำไปสู่การปฏิบัติก็จะเจอปัญหา อย่างเช่นเรื่องที่ดินก็จะไปเจอปัญหาคนที่เขาเสียประโยชน์ มันไม่ได้ปฏิบัติการอยู่ในสุญญากาศ เพราะฉะนั้นในแง่นี้รัฐบาลก็จะถอยไม่ทำ หรืออยู่เฉยๆ หรืออย่างเช่นเรื่องมาบตาพุดเรื่ององค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ก็จะเห็นว่ารัฐบาลนี้ซึ่งควรจะต้องทำมาตั้งนานแล้วนะ รวมทั้งรัฐบาลก่อนด้วย เพราะมาตรานี้อยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้เสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตั้งแต่ 2551 ก็ไม่ได้ทำ คุณอภิสิทธิ์กว่าจะมาทำก็ช่วงหลังมากแล้ว พอช่วงหลังมีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำขึ้น ผลจากการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ซึ่งต้องขอบคุณพี่น้องเสื้อแดงที่ทำให้ประเด็นเหล่านี้มันกลายเป็นวาระทาง สังคมขึ้นมา และก็เป็นจุดอ่อนของรัฐบาล เพราะฉะนั้นคุณูปการของความขัดแย้งก็ทำให้เรื่องนี้ถูกหยิบขึ้นมา เรื่องการปฏิรูปที่ดิน ตอนนี้รัฐบาลก็เอาจริงเอาจัง เอาจริงเอาจังแค่ไหนนั่นเป็นอีกเรื่องนะ อย่างน้อยที่สุดก็คือว่าจะมี 3-4 มาตรการ เรื่องโฉนดชุมชนซึ่งตอนนี้ก็ตั้งสำนักงานแล้ว เรื่องภาษีที่ดินถูกเสนอเป็นกฎหมาย ส่วนจะถูกบิดเบี้ยวนั่นเป็นอีกเรื่อง เรื่องกองทุนธนาคารที่ดินตอนนี้ก็มีการยกร่างเป็นพระราชกฤษฎีกาเตรียมที่จะ เข้า ครม. มันต้องดูบริบทเรื่องพวกนี้ด้วย ขึ้นอยู่กับสังคมด้วยที่จะไปกดดันรัฐบาล ไปสร้างเงื่อนไขให้รัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลไหนเวลาจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็ขึ้นอยู่กับพลังสังคมข้างนอก ด้วย"
ต้องถามว่าความขัดแย้งที่แทบไม่มองหน้ากันวันนี้พอจะกลับมาตั้งหลักกันได้ไหม
"ใน ส่วนของคนที่เคยทำงานกับชาวบ้านถ้าเอาปัญหาของชาวบ้านเป็นตัวตั้ง สิ่งที่ผลักดันร่วมกันมาผมว่ามันก็มีโอกาสที่มันจะเข้ามาทำงานร่วมกัน ตอนนี้มันก็มีอยู่หลายส่วนนะในหลายเรื่องด้วยกัน เรื่องที่ดินก็มีที่อยู่ทั้งสองส่วนเข้ามา โอเคว่ามีความขัดแย้งมีท่าทีที่บางคนก็รับไม่ได้ รับกันไม่ได้ทั้งสองข้างก็มี ผมว่าถ้ามองอย่างนี้ความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือต้องเอาปัญหาชาวบ้านเป็นตัว ตั้ง ประเด็นที่เคลื่อนไหวร่วมกัน ไปข้างหน้าร่วมกัน ก็มีโอกาสที่จะเข้ามา"
00000
สาวตรี สุขศรี
19 ก.ย.-วันของคนที่ถูกกดทับ
"การ รัฐประหาร 19 กันยามันมีวาทกรรมว่าเราควรจะหารูปแบบประชาธิปไตยที่เหมาะกับสังคมไทย จากจุดนั้นมันเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ต่อจากนั้นมาหลายคนพูดว่า 4 ปีของการรัฐประหาร ไม่ใช่ 4 ปีหลังรัฐประหาร กลายเป็นว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่โดนสตัฟฟ์เอาไว้ ตอนนั้นมันก็ยังโดนสตัฟฟ์ต่อมาเรื่อยๆ อาจจะการคืนอำนาจให้บ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่ในที่สุดแล้วถ้าลงไปดูจริงๆ มันมีการเข้ามาล่วงละเมิดสิทธิกันตลอดเวลา ถ้าเป็นตอนรัฐประหารก็ใช้ประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง หลังจากนั้นก็มีเป็นระยะ มีคนพยายามเตือนว่าอย่ารัฐประหารเลยให้เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งก็ไปตัดตอน ตรงนั้น พอคนไม่พอใจก็ขึ้นมาคนที่เขารู้สึกว่าฉันเลือกตั้งไปแล้วทำไมเสียงฉันไม่ดัง มันก็จำเป็นที่จะต้องร้องขึ้นมาบ้าง มันเลยกลายเป็นผลพวงที่ตามมาในระยะ 4 ปี"
"แต่อีกด้านหนึ่งหลังเกิดรัฐประหาร คนที่เชื่อจริงๆ ว่าตัวเองมีสิทธิมีเสียงดูจะก้าวไปไกลมาก ถ้าเทียบกับคนชั้นกลางในเมืองที่เขาอาจจะไม่ได้รับผลกระทบ ใครจะเป็นรัฐบาลหรือไม่เป็นก็อาจจะกระทบนิดหน่อย แต่กับคนรากหญ้ามันต่างกัน หนึ่ง ที่ผ่านมาเขาไม่ได้อะไรเลยจากนโยบายของรัฐ พอมียุคหนึ่งที่เขาได้อะไรขึ้นมาเขาเลยรู้สึกว่าเสียงเขามีผลต่อการเมืองการ ปกครอง มีผลต่อนโยบายที่จะส่งผลต่อตัวเขา ก็เลยรู้สึกว่าเขาต้องเรียกร้องได้ ถามว่านี่ใช่ประชาธิปไตยหรือเปล่า นี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่ามันต้องมีการต่อรองกัน เพียงแต่ว่าคุณออกแบบระบบให้มันสอดรับกันได้ มีการตรวจสอบที่ชัดเจน มันก็จะทำให้ทุกฝ่ายมีอำนาจในการต่อรองที่พอๆ กัน แต่เหมือนกับคนชั้นกลางในเมืองก็จะบอกว่าต้องการคนดี เขาจะไม่มองในแง่ระบบการตรวจสอบ จะไม่ได้มองในแง่ที่ว่าประชาธิปไตยคือการมาต่อรองผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม แต่เขาจะมองว่าประเทศต้องได้คนดีมา ซึ่งมันอาจจะต้องแยกกันระหว่างระบบการปกครองกับคนที่จะเข้ามา เพราะเราก็การันตีไม่ได้ว่าดีของใคร คนนี้เห็นว่าดี คนนั้นอาจจะเห็นว่าไม่ดี อันที่สองคือ ดีตอนนี้แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าต่อไปจะดีแบบนี้ ประชาธิปไตยมันไม่ใช่การเลือกสรรคนดี ถ้าได้คนดีแล้วดีไหม ดีแน่นอน แต่ว่าเราก็ต้องสร้างกลไกที่มันจะมั่นคงกว่า"
"ณ วันนั้นคือจุดที่ทหารเข้ามาวันที่ 19 กันยา เขาเข้ามาเต็มตัว หลังจากนั้นเขาพยายามสร้างภาพว่าเขาถอยออกไป แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ มันแสดงออกในรูปของงบประมาณที่ทหารเขาจะได้ไปจำนวนหนึ่ง ทหารมีบทบาทอยู่ตลอด อาจจะข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต่อไปถ้ามันยังเป็นอยู่อย่างนี้ สถานการณ์มันล่อแหลมๆ อยู่อย่างนี้ คือจะมีประชาชนที่ยังไม่เห็นด้วยมาเคลื่อนไหวแสดงความคิดเห็น ทหารจะยังมีบทบาทไปตลอดอีกระยะหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าสถานการณ์มันแรงมากรัฐก็จะเอาทหารข้างหน้า มาปรามสักทีหนึ่ง แต่ถ้าเริ่มผ่อนคลาย แต่มันยังมีคลื่นใต้น้ำเขาก็เอาทหารไปไว้ข้างหลัง ให้ประชาชนรู้สึกว่าทหารไม่ได้มายุ่ง แต่จริงๆ เขามายุ่งตลอด ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่อย่างนี้"
"น่าจะมีคน บางกลุ่มรู้สึกว่าการรัฐประหารตั้งแต่ 19 กันยายังไม่ได้สิ้นสุด แต่มันอาจจะเปลี่ยนรูปแบบ ตอนนั้นอาจจะใช้กำลังทหารเข้ามา มีการคุกคามสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ตอนนี้ถามว่ามีไหม ก็ยังมีเหมือนเดิมแต่ว่าเปลี่ยนรูปแบบ อาจจะใช้คำว่าเนียนขึ้น ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่บอกกับสื่อมวลชนว่าฉันปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ ตอนนี้เสรีภาพของประชาชนในหลายๆ ด้านกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยเฉพาะเสรีภาพในเรื่องสื่อ การแสดงความคิดเห็นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมีเยอะมาก เว็บไซต์ที่ปิดไปมากมาย และวิธีการก็เหวี่ยงไม่เลือกเลย ปิดเป็นหมื่นๆ เว็บในช่วงเวลาไม่นาน และก็วิทยุชุมชนเข้าแบล็กลิสต์ 90 กว่าสถานี 26 สถานีโดนปิดไปเลย"
การละเมิดเสรีภาพด้านสื่อไม่ต่างจากช่วงเหตุการณ์ 19 พ.ค.
"มัน รุนแรงมากขึ้นด้วยซ้ำเพราะเขาใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้ฝ่ายบริหารรู้สึกว่าใช้อำนาจตรงนี้ได้อย่างเต็มที่ สอง เขาไม่ให้เหตุผล แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดเลยคือว่าทางฝ่ายตุลาการเองก็ไม่ลงมาตรวจสอบการใช้ อำนาจตรงนี้ ในกรณีของมาตรา 9 (3) ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ เขาไม่ได้เขียนให้อำนาจฝ่ายรัฐลอยๆ ว่าจะปิดอย่างไรเมื่อไหร่ก็ได้ จะปิดก็ต่อเมื่อมันมีข้อความมีเนื้อหาอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ารัฐบาลไม่ได้ชี้ว่าเนื้อหาอะไรที่เป็นความผิดหรือว่าคุณปิดทั้งหมด เช่นประชาไทมีเว็บบอร์ด มีส่วนข่าว แต่ไปปิดเขาหมด เว็บประชาไทยยื่นเรื่องต่อศาล ศาลก็บอกว่าท่านจะไม่ลงมาตรวจสอบเพราะรัฐบาล หรือ ศอฉ.ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งตามหลักการแบ่งแยกอำนาจจะต้องเข้ามาตรวจสอบก็ไม่ได้มาทำหน้าที่ตรงนี้ สิทธิเสรีภาพในส่วนนักศึกษาที่ไปร่วมงานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตก็มาบอกว่าจะ ก่อให้เกิดลักษณะความก้าวร้าว"
วาระครบรอบ 19 กันยา รัฐเองก็พยายามสร้างบรรยากาศความกลัว
"รัฐ พยายามสร้างด้วยเพราะมันคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่าในวันนั้นมันจะมี การเคลื่อนไหว มีกิจกรรมของกลุ่มที่เห็นไม่สอดคล้องกับฝ่ายรัฐ เขาต้องทำกิจกรรมที่มันอาจจะดึงมวลชนได้ รัฐก็ต้องออกมาดีสเครดิตกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น สองก็อาจจะมาสร้างกระแสเพื่อที่จะแข่ง เพราะในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นอะไรที่มันประหลาดๆ แนวทัศนคติประหลาดๆ เช่นการไปวางดอกไม้แดงที่หน้าศาลแล้วบอกว่าจะเป็นการหมิ่นศาล อะไรแบบนี้ หรือนักการเมืองประชาธิปัตย์ที่มาบอกว่างานรำลึกอย่าใส่เสื้อสีแดงนะ เพราะว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุนแรง เอ๊ะ!! ตกลงสีแดงมันเป็นความรุนไปซะทุกอย่างเลยเหรอ ทำไมตั้งแง่กับความเป็นสีแดงจัง"
หลังจากวาระนี้การเคลื่อนไหวของมวลชนน่าจะต่อเนื่อง
"ตอน นี้หลายๆ คนถ้าติดตามความเคลื่อนไหว จำนวนมวลชนไม่ได้ลดลงมากเลยอย่างที่รัฐบาลคิด เพิ่มขึ้นๆ ด้วยซ้ำไป แต่ว่าตอนนี้เขากระจัดกระจายเท่านั้นเอง ถ้าในที่สุดแล้วเขารวมตัวกันติด หรือต่างฝ่ายต่างไปทำกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อม วันใดวันหนึ่งเขาอาจจะรู้สึกว่า เอาหละพร้อมแล้วที่จะรวมตัวเพื่อเรียกร้องอะไรกันอีก เพียงแต่ว่าวันที่ 19 ก.ย.นี้ มันเป็น event ใหญ่ เพื่อที่จะมีการส่งสัญญาณว่าเออฉันยังอยู่นะ กลุ่มฉันยังมี อย่างกิจกรรมที่คุณสมบัติจัดมันก็เป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่งให้คนต่าง จังหวัดรู้เหมือนกันว่าพวกเขายังมีการรวมตัวกันอยู่เป็นระยะ แนวคิดพวกนี้ยังไม่ได้หายไปไหน"
"หลัง 19 กันยา 2549 ชนชั้นนำเขาปรับเปลี่ยนวิธีการคุมมาตลอด โดยสถาบันนั้นสถาบันนี้ ทหารบ้างพลเรือนบ้าง ใช้กฎหมายบ้างอะไรบ้าง วันที่ 19 ก.ย.เนื่องจากมันครบ 4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนราชประสงค์ มันเป็นวันที่คนที่ถูกกดทับในรูปแบบต่างๆ อาจจะไม่ใช่คนเสื้อแดงทั้งหมด อาจจะเป็นคนที่เคยอยู่ในสื่อ คนที่อาจะเห็นกลางๆ แต่เริ่มอยากจะรับข้อมูลเพิ่มเติม เพราะว่ากระหายข้อมูลเต็มที่แล้ว อยากจะมาฟังสิว่าคนอื่นเขาเห็นอย่างไร เขาจะออกกันมาไปร่วมกับ event ต่างๆ ปรากฏการณ์อย่างนี้รัฐเขาจะรู้สึกว่ามันน่ากลัว เฮ้ยจะรวมตัวกันติดอีกแล้วเหรอ จะมีการพูดจาอะไรที่แน่นอนเขาก็ต้องพูดตำหนิการกระทำของรัฐ พูดตำหนิการทำรัฐประหาร ซึ่งรัฐเขาก็ไม่อยากจะฟังตรงส่วนนี้ และเขาก็จะรู้สึกว่ามันจะเริ่มคุมยาก แต่ทางฝ่ายประชาชนรู้สึกว่า event เหล่านี้เป็นที่แสดงออก และที่สำคัญมันมีวาระ พอมันมีวาระ event มันก็จุดติดง่าย และหลังจากวันนี้มันอาจจะมีแรงกระเพื่อมต่อไปเรื่อยๆ เรามาเจอกันแล้ว เราอาจจะต้องมี กิจกรรมอะไรต่อไป"
ถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงก็จะเป็นข้ออ้างคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก
"ใช่ คือตอนนี้เรามองไม่เห็นว่าเขาจะเลิกเมื่อไหร่ หรือต่อให้เลิกไปแล้วในหลายๆ พื้นที่ก็มีแนวโน้มว่าอาจจะมีการประกาศใหม่ อย่างเชียงใหม่เป็นต้น และความรุนแรงทุกวันนี้เราก็ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนทำกันแน่ แต่รัฐพยายามจะสรุปว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำ ดังนั้นฉันขอคงเอาไว้ อำนาจก็จะอยู่กับรัฐ และมันมีปัญหาเรื่องความเข้าใจใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างนักศึกษาในชั้นบางคนก็มีเหมือนกันที่บอกว่าดีที่คงไว้เพื่อป้องกัน สถานการณ์ฉุกเฉิน ความจริงคือว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่ได้ประกาศเพื่อป้องกัน แต่มันจะเอามาใช้ก็ต่อเมื่อมันมีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว มันสะท้อนว่านักศึกษาเขาไม่ได้เห็นว่าสถานการณ์ตอนนี้มันฉุกเฉิน มันบิดเบี้ยว แล้วว่าที่สุดกฎหมายฉบับนี้มีเพื่ออะไรกันแน่ หรือบางคนบอกว่าประกาศไว้สิเพราะว่าจะได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน รู้สึกปลอดภัย เราก็รู้สึกว่าคุณเข้าใจตรงนี้ผิดหรือเปล่า เพราะจริงๆ แล้ว พ.ร.ก.ฉบับนี้ยกเว้นหลักประกันสิทธิเสรีภาพหลายเรื่องมาก อย่างเช่นเรื่องการจับกุมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่สงสัยคุณจับได้เลย อันนี้คือตรรกะที่มันแปลก บางคนเขาก็มองว่าประกาศไปก็ไม่เห็นกระทบอะไรเขานี่ ไม่ใช่ว่าคุณไม่โดนกระทบแล้วคนอื่นเขาจะไม่โดนกระทบไปด้วย มันต้องดูการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้วย คนที่เขาคิดแบบนี้เขาอาจจะไม่ได้รับข้อมูลกรณีที่อีกฝ่ายโดนกระทำตลอด เขาก็เลยรู้สึกว่ามันไม่เห็นมีอะไร"
"เราตั้งข้อ สังเกตกันว่าสาเหตุสำคัญอันหนึ่งเลยที่เขาประกาศไว้น่าจะ เป็นเรื่องของการคุมสื่อ เพราะโดยตัวกฎหมายฉบับปกติต่างๆ ไม่ได้มีพละกำลังมากในการที่จะเข้าควบคุมสื่อเท่าไหร่ ไม่มากเท่ากับมาตรา 9 (3) ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตอนนี้คือต้องคุมสื่อเป็นหลัก เพราะรัฐบาลเขาก็อยากให้ประชาชนฝ่ายเขารับข้อมูลของเขาเป็นหลัก และสถานการณ์มันจะดีขึ้นไม่ได้ตราบใดที่ยังมีการไล่ปิดสื่อ ยังมีการจับกุมคุมขังอีกฝ่าย พ.ร.ก.ฉุกเฉินควรจะเพลาๆ ลงได้แล้ว ถ้าไม่หยุดมันไม่มีทางแก้ได้ เพราะอีกฝ่ายเขาจะรู้สึกว่าเขาถูกกระทำอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเขาก็จะต้องมีการรวมตัวมีการต่อต้าน มีความพยายามที่จะต่อต้านรัฐบาล มันไม่จบ ต่อให้ตั้งคณะกรรมการโน่นนี่นั่นมาปฏิรูปปรองดอง ถ้าคุณยังทำสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา หน้าฉากคุณบอกว่าคุณมีการปฏิรูป มีการหาข้อเท็จจริง แต่ข้างหลังคุณเล่นเขาตลอด สื่อยังโดนปิดอยู่ คนต่างจังหวัดยังโดนจับกุมอยู่ บางคนไม่มีทนาย มันไม่มีทางจบ"
"มัน มีการพูดกันเยอะว่าการคง พ.ร.ก.ไว้คือการคงอำนาจของฝ่ายบริหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ พ.ร.ก.ยังประกาศไว้ ฝ่ายนิติบัญญัติจบ ฝ่ายบริหารเป็นคนใช้อำนาจเต็ม ขณะที่ฝ่ายตุลาการไม่เข้าตรวจสอบ ทุกอย่างเข้ามาอยู่ใต้อำนาจฝ่ายบริหารหมดเลย เขาจะทำอะไรก็ได้ นี่คืออำนาจเต็มของเขา เขาจึงพยายามที่จะคงไว้ตลอดเวลา ตอนนี้ที่เราเรียกร้องแน่ๆ คือต้องยกเลิกไป อันที่สองถ้าไม่ยกเลิกมันต้องตั้งคณะวินิจฉัยว่าฉุกเฉินไหม เอาออกกฎเกณฑ์เองแล้ววินิจฉัยเองว่าฉุกเฉินอำนาจก็อยู่กับเขาหมด ต้องมีทุกฝ่ายเข้ามา แม้กระทั่งฝ่ายตรงข้ามรัฐเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วยกันว่าตอนนี้ฉุกเฉินหรือ เปล่า จำเป็นต้องประกาศหรือเปล่า ลักษณะนี้สังคมอาจะยอมรับมากกว่า มันต้องทำตรงนี้ ถ้าไม่ทำมันไปไม่ได้"
แม้จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม อ.สาวิตรี ก็มองว่าไม่ได้ช่วยลดความขัดแย้ง
"มัน เป็นกระแสอีกครั้ง มันเหมือนมีการคุยอะไรกันมาก่อนแล้วหรือเปล่า แต่นิรโทษกรรมมันเป็นเรื่องที่คนข้างบนเขาทำกัน ฝ่ายที่เป็นตัวหลักๆ ของอำนาจ แต่ประชาชนข้างล่างเขาอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม เขาอาจจะรู้สึกว่าเฮ้ยก็ปัญหามันยังไม่ได้แก้อะไรเลย เขาก็จะเคลื่อนไหวอย่างนี้ต่อไป ต่อให้ข้างบนไปตกลงอะไรกันได้ แต่สภาพการณ์สังคมมันยังเป็นแบบนี้ก็เป็นไปได้ว่ารัฐบาลก็จะยังคง พ.ร.ก.ไว้ต่อไป ประชาชนเขาก็ต้องดิ้นต่อ ประชาชนที่เขาตื่นตัวทางการเมืองแล้วก็ไม่ได้ผูกติดกับนักการเมืองพรรคเพื่อ ไทยแล้ว นักการเมืองนิรโทษกรรมไปแล้วแต่ประชาชนที่เขามาสู้ เขามีประเด็นที่ชัดเจน เขาต้องการให้แก้ปัญหาตรงนี้จริงๆ จะเอาอะไรมาเสนอเขาไม่สน แต่เขาต้องการตรงนี้ เรามองได้เลยว่ามันก้าวหน้ากว่านักการเมืองพรรคการเมือง ในหลายๆ พื้นที่ตอนนี้กลุ่มที่เขายังอยู่เขาไม่ได้เกาะกุมอยู่กับพรรคการเมืองแล้ว เขากลายเป็นกลุ่มบริสุทธิ์แล้ว เป็นกลุ่มที่แยกออกมาว่าฉันจะสู้ต่อ แต่แน่นอนเราปฏิเสธไม่ได้ว่าจะยังมีบางกลุ่มที่อาจจะเชื่อมกับนักการ เมืองอยู่ มีตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ก็มีเหมือนกัน กรณีที่คนต่างจังหวัดที่เขาโดนกระทำโดนจับกุม พรรคเพื่อไทยเขามีทนายความเข้าไป ก็มีบางพื้นที่ที่ปฏิเสธไม่เอาทนายความของพรรค เขาก็เริ่มมองเห็นผลประโยชน์ที่พรรคการเมืองมีวาระแฝงอยู่ ประชาชนจำนวนหนึ่งเขารู้สึกว่าเขาสู้เองดีกว่า"
ปัญญาชนเสื้อแดงจะเป็นตัวสร้างแรงกระเพื่อม
"แต่ นักวิชาการ ปัญญาชนที่เป็นเสื้อแดง ณ ปัจจุบันก็ยังสงวนท่าทีอยู่ ไม่ได้ลงไปลักษณะเป็นผู้นำกลุ่มหรือเป็นแกนนำ แต่เขาจะมีงานวิชาการที่มันเข้ากันได้กับแนวคิดประชาธิปไตย กลุ่มคนที่เขาสู้เขาจะเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้เพื่อที่จะรวมกลุ่มให้เข้มแข็ง มันจะเกิดเป็นลักษณะมีข้อมูล support ต่อไปมันน่าจะกลายเป็นเรื่องของการสู้กันด้วยข้อมูลข่าวสาร สู้กันด้วยเหตุผลทางวิชาการ พอเขาหลุดออกมาจากการเมืองแล้ว ข้อเรียกร้องต่างๆ นานาจะไม่ใช่อยู่แค่เรื่องของการเมือง ซึ่งมองในแง่ดีจะเป็นผลบวกกับมวลชนมากกว่าที่จะไปผูกกับพรรคการเมือง จะมีเหตุมีผลขึ้น"