หนังสือ ร้องเรียนที่ผู้ร้องเรียนส่งถึงประธานศาลฎีกาและอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 1 มิใช่ร้องเรียนพฤติกรรมการเรียกรับสินบนของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายหนึ่ง คนใกล้ชิด และบริวารเท่านั้น หากยังระบุว่าถูกข่มขู่คุกคามจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้และผู้หญิงคน ใกล้ชิดอีกด้วย
"มติชนออนไลน์"เรียบเรียงมานำเสนอดังนี้
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวระบุว่า หลังจากผู้ร้อง และ นาย พ. สามีของนางสาว น. ได้ติดตามพฤติกรรมของ นางสาว น. จนทราบว่า ภรรยาเป็นชู้กับผู้พิพากษาจริง ซึ่งนางสาว น.ภรรยาก็ยอมรับ และยังร่วมกันเรียกและรับสินบน คนทั้งสองได้ร่วมกันข่มขู่ว่าจะเอาชีวิต ผู้ร้อง นาย พ. และ ลูกน้องที่ทราบเรื่อง เป้าหมายเพื่อต้องการที่ให้ นาย พ.ซึ่งเป็นเจ้าของอู่รถยนต์ หย่าขาดจากภรรยา รวมทั้งไม่ให้ผู้ร้องเป็นพยานให้ นาย พ.สามี และไม่กล้าร้องเรียน เอาผิดกับผู้พิพากษาจน เป็นเหตุให้ นาย พ.เจ้าของอู่และลูกน้องต้องหลบหนี ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ต่อมา นางสาว น.ทราบว่าผู้ร้องมีเอกสารการเรียกและรับสินบนในคดีต่างๆ ของนางสาว น.และผู้พิพากษา ทำให้ผู้พิพากษารายนี้และนางสาว น.โกรธแค้นอย่างหนัก ได้แสดงอิทธิพลข่มขู่จะเอาชีวิต นาย พ. และผู้ร้อง และข่มขู่ผ่านแม่ของลูกน้อง จน เป็นเหตุบีบคั้นให้เกิดการตัดสินใจร้องเรียนต่อประธานศาลฎีกา จนทำให้ ผู้พิพากษารายนี้ใช้วิธีข่มขู่บีบคั้นด้วยวิธีต่างๆ เมื่อไม่ได้ผลก็ใช้วิธีประกาศปิดกิจการอู่รถยนต์ ซึ่งเป็นรายได้หลักของผู้ร้อง และ นาย พ.และนาย ธ.ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนกับนาย พ.เพื่อบีบให้นาย พ.ออกมาเจรจา ทำให้นาย พ.และผู้ร้องได้ยื่นฟ้อง นางสาว น. กับพวก รวม 9 คน ซึ่งเป็นคดีแพ่งของศาลจังหวัดตลิ่งชัน พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉุกเฉิน
และศาลจังหวัดตลิ่งชันได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลนำหมายคุ้มครองชั่วคราวไปส่ง นางสาว น.หญิงคนสนิทผู้พิพากษา ปรากฎว่านางสาว น. ไม่ยอมให้ผู้ร้อง และนาย ธ.เข้าไปในร้าน และอาละวาด เจ้าหน้าที่ศาลพยายามบอกว่าเป็นคำสั่งศาลแต่ นางสาว น.ไม่ยอมฟัง ผู้ร้องได้โทรศัพท์ไปหาผู้พิพากษารายนี้ แต่ผู้พิพากษารายนี้กลับบอกว่า นางสาว น.ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เพราะวันจันทร์ศาลก็จะเพิกถอนคำสั่ง และขอให้ นายพ.รีบมาเจรจากับผู้พิพากษารายนี้และให้ไปถอนคำร้องเรียนโดยเร็ว
หนังสือร้องเรียนระบุด้วยว่า ผู้ร้องเชื่อว่าแม้ผู้พิพากษารายนี้มีอิทธิพลมากเพียงใด แต่กำลังถูกตั้งกรรมการสอบในเรื่องความประพฤติ ไม่น่าจะติดต่อผู้พิพากษาคนใดได้ แต่ปราก ฎว่าวัน จันทร์ที่ 5 เมษายน 2553 นางสาว น. ไปยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เมื่อเวลา 14.30 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์พิจารณาเวลา 15.30 น. ผู้ร้องนำคำร้องขอเลื่อนคดีเพื่อใช้สิทธิคัดค้านไปยื่นในห้องพิจารณาเวลา 15.45 น. ศาลบอกว่ามีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้ว หลังจากนั้นจึงลงเวลาในคำร้องดังกล่าวว่า 16.15 น.
หนังสือร้องเรียนระบุว่า ผู้ร้องไม่รู้กฎหมาย ได้แต่ไตร่ตรองและสอบถามทนายความหลายคน ได้รับคำตอบว่ากระบวนการเรื่้องเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวครั้งนี้ผิด ปกติ?
หนังสือร้องเรียนได้ระบุในตอนท้ายว่า
1.ได้ ยื่นคำฟ้องพร้อมคำร้องตั้งแต่เช้า ผู้ พิพากษาเรียกเข้าห้องพิจารณารายละเอียดประมาณเที่ยงวันและไต่สวนพยานตอนบ่าย แล้วนัดคำสั่งวันรุ่งขึ้นเวลา 10.00 น.โดยบอกว่ามีเอกสารจำนวนมากจำเป็นต้องพิจารณาโดยละเอียด แต่การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลได้มีคำสั่งไว้แล้ว น่าจะพิจารณาโดยทั้งเอกสารของผู้ร้องและผู้ถูก
ร้องเช่นกันใช่หรือไม่ และเหตุใดจึงใช้เวลาพิจารณาไม่ถึง 20 นาที
2. การที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยไม่ให้โอกาสอีกฝ่ายคัดค้านและยังไม่ ให้พยานเบิกความ หรือแสดงพยานหลักฐาน เพื่อจะได้มีความรับผิดในทางอาญา เพียงแต่สอบถามให้จำเลยที่ 1 ยืนยันตามคำร้องเท่านั้น ไม่สอบถามด้วยว่า จำเลยที่ 1 ได้รู้จักข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นั้น ถูกร้องเรียนเรื่องชู้สาวกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับ
การเรียกรับสินบน เพื่อประกันตัวผู้ต้องหาชาวต่างประเทศ ตามโจทก์ที่ 2 เบิกความจริงหรือไม่ โดยไม่ให้พยานเบิกความ เป็นกระบวนการพิจารณาที่ศาลทั่วไปกระทำโดยปกติ หรือไม่
3. การที่ศาล ไม่เรียกเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมาย ห้ามชั่วคราวให้จำเลยทั้ง 9 มาสอบถาม ซึ่งจะทำให้ทราบว่า จำเลยทั้งเก้าไม่ย่อมปฎิบัติตามหมายศาลเลย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งเก้าจะเสียหายจากคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จนศาลต้องรีบมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยด่วน เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลทั่วไปกระทำโดยปกติ หรือไม่