โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
27 เมษายน 2554
"ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" วิทยากร เชียงกูร, 2511
นี่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่ผมรู้จัก
โดย Oh Wong-Arthichart
ผม มีความใฝ่ฝันมาตลอดว่าผมอยากเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้ให้ได้ เนื่องด้วยเป็นมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อที่สุดในด้านสังคมศาสตร์และการเืมือง ในที่สุดผมก็ทำสำเร็จและก็ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ในฐานะนักศึกษาคนหนึ่งภาพ แรกที่ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำคือแผ่นป้ายที่เขียนตัวเบ้อเริ่มว่า ขอต้อนรับสู่ดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว รวมทั้งหลายๆคำขวัญที่ตราตรึงเช่นกันในหัวของพวกเราที่เป็นเพื่อนใหม่ การปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตย รักประชาชน หรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางด้านความคิด เป็นสิ่งที่หล่อหลอมเพื่อนใหม่ๆหลายคนและจุดประกายความหวังที่อยากจะ เปลี่ยนแปลงสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ในช่วงแรกเริ่มของชีวิตนักศึกษา
แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างที่หวังไว้
คำขวัญ รักประชาชน เสรีภาพ สิทธิเท่าเทียม ประชาธิปไตย เป็นแค่คำโฆษณาชวนเชื่อขายฝันที่ไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยคิดจะส่งเสริมอย่าง เป็นจริงเป็นจัง แม้แต่องค์การนักศึกษาที่มีประวัติอันยาวนานของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยใน ปัจจุบันก็เหลือเพียงแต่คนที่ไม่ได้สนใจประเด็นสังคมการเมืองอย่างจริงจัง เท่าไหร่นัก องค์การนักศึกษาหรือสภาในปัจจุบันไม่เคยแม้แต่จะกล้าแตะประเด็นทางการเมือง แต่ชอบอ้างว่าตนสนใจการเมือง อยากทำอะไรเพื่อสังคม อยากให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมือง ฯลฯ และการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นก็เห็นมีเพียงแต่กิจกรรมที่พร้อมจะมอบความไร้ สาระแก่น.ศ.ในทุกโอกาส
มหาวิทยาลัยเองก็ถูกกลืนหายไปกับ ทุนนิยมจนโงหัวไม่ขึ้น และแสร้งทำเป็นสนใจวิถีชีวิตแบบติดดินของชาวนาโดยการจัดกิจกรรมเกี่ยวข้าว โดยที่ไม่เคยใส่ใจกับรายละเอียดของกิจกรรมหรือให้ความรู้อย่างเป็นจริงเป็น จรังเกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวนา มีเพียงแต่ข้ออ้างลอยๆที่ฟังดูตลกๆอย่าง "เพื่อเป็นการให้รู้ว่านศ มธ ติดดิน"
และเมื่อมีกลุ่มอาจารย์หรือนักศึกษาที่พร้อมลุกขึ้นมาเขย่าความคิดของนักศึกษาให้ตื่นขึ้น อธิการบดีก็พร้อมที่จะปิดกั้นโอกาสนั้น
ดังวิสัยทัศน์ล่าสุดของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ที่กล่าวไว้ในสเตตัสของตัวเองว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้มธ.เป็นฐานเคลื่อนไหวทางการเมือง แม้ไม่ผิดกฏหมาย แต่ฉวัดเฉวียน หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดใคร หรือสถาบันใดก็ตาม" (จากเฟสบุ๊ก Somkit Lertpaithoon)
นี่ หรือคือความคิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ? ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการออกมาวิจารณ์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันต้องเกิดการพาดพิงในตัวของมันเองอยู่แล้วมิใช่หรือ ความหมิ่นเหม่ที่จะละเมิดใครไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมดาของการวิจารณ์หรอกหรือ?
ต้อง ยอมรับว่าผมผิดหวังในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาก มหาวิทยาลัยที่ผมตั้งความหวังไว้ว่าจะมีอะไร กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีแต่ความกลวงปล่าว เสรีภาพ สิทธิ ความคิดทางการเมืองที่แหลมคม ถูกผลักให้ไปอยู่ขอบนอกของวิสัยทัศน์ที่แท้จริง และถูกทำให้กลายเป็นเครื่องประดับ เหมือนต้นคริสต์มาสต์ที่เต็มไปด้วยสิ่งประดับหลอกลวง
ถ้า อาจารย์จะพูดอย่างนี้แล้วผมว่าอย่าไปส่งเสริมมันเลยเสรีภาพหรือการเมืองอะไร นั่น ผมว่ายกเลิกการจัดกิจกรรมทางการเมืองทั้งหมดเหมือนที่หลายๆมหาวิทยาลัยเค้า ทำเถอะ จะได้ไม่ต้องมีฐานเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง จะได้ไม่ต้องมีฐานทางความคิดเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนพึงมี
แล้วจะได้ไม่ต้องไปพูดกับใครอีกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ อายเค้า
ด้วยความเคารพ
จากนักศึกษาคนหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งความเพ้อฝัน