บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

ที่มา thaifreenews

โดย Friend-of-Red


ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิดังต่อไปนี้
1. แจ้งหรือขอให้เจ้าพนังงานแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ถูกควบคุม
2. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
3. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนในชั้นสอบสวน
4. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร
5. ได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

เมื่อมีการยื่นฟ้องต่อศาลเป็นจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
1. ได้รับการพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
2. แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
3. ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
4. ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ
5. ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
6. ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน

การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล

• การขอประกันตัวคืออะไร ?
การ ขอประตัว คือ การขออนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยพ้นการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาลตามระยะ เวลานานเกินกว่าความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี

• การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลจะทำได้ในชั้นใดบ้าง ?
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ยังมิได้ถูกฟ้อง ให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนหรือพักงานอัยการแล้วแต่กรณี
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาล และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้วให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล

• กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ขอประกันมีสิทธิประการใดบ้าง ?
ผู้ขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ดังนี้
1. คำสั่งของศาลชั้นต้นให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1
2. คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ให้ประกันตัวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด
ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอประกันตัวใหม่

• คดีที่ถูกฟ้องต้องใช้วงเงินประกันเท่าไร ?
สามารถขอตรวจสอบวงเงินประกันในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (ช่องหมายเลข 9) หรือเว็บไซด์ของศาล

• หลักประกันใดบ้างที่สามารถใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ?
1. เงินสด
2. หลักทรัพย์อื่น เช่น
- โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3)
- พันธบัตรรัฐบาล สลากออกสิน
- สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
- หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
3. บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
- ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างทางทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
- เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ (ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันเฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด) โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่นแพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ฯลฯ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทำสัญญาประกัน ได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

หลักฐานที่ใช้ประกอบการประกันตัว
1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหาหรือจำเลยและของผู้ขอประกัน
2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหา จำเลย และผู้ขอประกัน
3. หากผู้ประกันสมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสให้ความยินยอมพร้อมใบสำคัญการสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรสหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หากหย่าจากคู่สมรสแล้ว ให้นำใบสำคัญการหย่า พร้อมสำเนา หากคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว นำใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนามายื่น
4. หากมีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ให้นำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล พร้อมสำเนามายื่น
5. ในกรณีวางสมุดเงินฝากประจำของธนาคาร ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคาร ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน มายื่น
6. ในกรณีวางโฉนดที่ดิน น.ส.3ก. น.ส.3 ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้อง ที่ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 4 เดือน มายื่น
7. ในกรณีที่ประกันด้วยตำแหน่งหน้าที่ ให้นำหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับ อัตราเงินเดือนที่เป็นปัจจุบันไม่เกิน 1 เดือนมายื่น
- ในกรณีที่ใช้หลักทรัพย์และบุคคลเป็นหลักประกันจะต้องวางเงินจำนวน 2,500 บาท ต่อการประกันจำเลย 1 คน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีกรณีมีการผิดสัญญาประกัน
- กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่น(ญาติ) นำหลักฐานของตนมาประกัน ใบมอบอำนาจต้องทำ ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งที่ดินตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราเป็น สำคัญด้วย
( ที่มา http://www.sahanetilaw.com )

http://rli.in.th/2011/04/28/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4/

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker