บทบรรณาธิการ
มีข้อสงสัยและคำถามถึงมาตรฐานในกระบวนการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ในการทำคดีข้อหาก่อการร้ายกับนายสุรชัย เทวรัตน์ หรือหรั่ง
ตั้งแต่การระบุว่าผู้ต้องหามีความเกี่ยวพันกับความผิดถึง 8 คดี
โดยที่ผู้ต้องหายังมิได้ให้การใดๆ หรือไม่รับสารภาพ
และยังมิได้มีการแสดงหลักฐานหรือข้อมูลใดๆ
ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาเกี่ยวพันกับความผิดที่ถูกระบุเอาไว้จริง
ล่าสุด ยังระบุว่าพร้อมจะกันตัวมารดาและภรรยาของผู้ต้องหาเอาไว้เป็นพยาน
แลกกับการที่จะให้ผู้ต้องหารับสารภาพตามข้อหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษระบุเอาไว้
ประเด็นที่จะต้องพิจารณามีอยู่ว่า
หากกรมสอบสวนคดีพิเศษระบุว่ามารดาและภรรยาของผู้ต้องหา มีความเกี่ยวข้องกับคดี อาทิ
เป็นผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายอาวุธจริง
แม้พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจในการกันตัวผู้สมรู้ร่วมคิดเป็นพยาน
เพื่อประโยชน์ของการดำเนินคดี
แต่ที่จะต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นก็คือ
ภรรยาและมารดาของนายสุรชัยมีส่วนร่วมในคดีที่ถูกระบุถึงจริงหรือไม่
และถึงหากทั้งสองตกเป็นผู้ต้องหาหรือผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย
ก็ยังมีคำถามว่าสมควรหรือไม่ที่จะใช้วิธีการ "ต่อรอง" กับผู้ต้องหาสำคัญ
แน่ใจหรือว่าข้อมูลที่ได้จากการต่อรองเช่นนี้คือข้อมูลที่แท้จริง
เพราะหากมั่นใจในข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดเลย
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษจะต้องใช้วิธีการนอกรูปแบบ
เพื่อ "รีด" เอาคำสารภาพจากผู้ต้องหาให้มามัดตัวเองหรือโยงไปสู่บุคคลอื่นๆ ที่ต้องการ
และเพราะวิธีการดำเนินคดีที่ "ล้ำเส้น" ของความเป็นพนักงานสอบสวนที่ดีนี่เอง
ที่ทำให้สังคมตั้งคำถามเอากับความเที่ยงตรงชอบธรรมของกรมสอบสวนคดีพิเศษเอง
ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ล่อแหลม
ในสถานการณ์ที่ความยุติธรรมความตรงไปตรงมาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหา
หรือสร้างความสมานฉันท์
การกระทำอื่นๆ นอกเหนือไปจากนี้มีแต่จะก่อปัญหายิ่งขึ้นกว่าเดิม
มีข้อสงสัยและคำถามถึงมาตรฐานในกระบวนการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ในการทำคดีข้อหาก่อการร้ายกับนายสุรชัย เทวรัตน์ หรือหรั่ง
ตั้งแต่การระบุว่าผู้ต้องหามีความเกี่ยวพันกับความผิดถึง 8 คดี
โดยที่ผู้ต้องหายังมิได้ให้การใดๆ หรือไม่รับสารภาพ
และยังมิได้มีการแสดงหลักฐานหรือข้อมูลใดๆ
ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องหาเกี่ยวพันกับความผิดที่ถูกระบุเอาไว้จริง
ล่าสุด ยังระบุว่าพร้อมจะกันตัวมารดาและภรรยาของผู้ต้องหาเอาไว้เป็นพยาน
แลกกับการที่จะให้ผู้ต้องหารับสารภาพตามข้อหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษระบุเอาไว้
ประเด็นที่จะต้องพิจารณามีอยู่ว่า
หากกรมสอบสวนคดีพิเศษระบุว่ามารดาและภรรยาของผู้ต้องหา มีความเกี่ยวข้องกับคดี อาทิ
เป็นผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายอาวุธจริง
แม้พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจในการกันตัวผู้สมรู้ร่วมคิดเป็นพยาน
เพื่อประโยชน์ของการดำเนินคดี
แต่ที่จะต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นก็คือ
ภรรยาและมารดาของนายสุรชัยมีส่วนร่วมในคดีที่ถูกระบุถึงจริงหรือไม่
และถึงหากทั้งสองตกเป็นผู้ต้องหาหรือผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย
ก็ยังมีคำถามว่าสมควรหรือไม่ที่จะใช้วิธีการ "ต่อรอง" กับผู้ต้องหาสำคัญ
แน่ใจหรือว่าข้อมูลที่ได้จากการต่อรองเช่นนี้คือข้อมูลที่แท้จริง
เพราะหากมั่นใจในข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดเลย
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษจะต้องใช้วิธีการนอกรูปแบบ
เพื่อ "รีด" เอาคำสารภาพจากผู้ต้องหาให้มามัดตัวเองหรือโยงไปสู่บุคคลอื่นๆ ที่ต้องการ
และเพราะวิธีการดำเนินคดีที่ "ล้ำเส้น" ของความเป็นพนักงานสอบสวนที่ดีนี่เอง
ที่ทำให้สังคมตั้งคำถามเอากับความเที่ยงตรงชอบธรรมของกรมสอบสวนคดีพิเศษเอง
ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ล่อแหลม
ในสถานการณ์ที่ความยุติธรรมความตรงไปตรงมาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหา
หรือสร้างความสมานฉันท์
การกระทำอื่นๆ นอกเหนือไปจากนี้มีแต่จะก่อปัญหายิ่งขึ้นกว่าเดิม