เหล็กใน
มีหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งในไทยและต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นกฎหมายที่คุกคามและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง !
หรือแม้แต่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกฯและรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สมัยรัฐบาลขิงแก่แท้ๆ ก็เรียกร้องให้นายกฯมาร์คเลิกกฎหมายพิเศษนี้เสีย
ให้เหตุผลว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน !
จะมีก็แต่นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.)
ซึ่งเสนอแนะให้รัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน
แต่เหตุผลแตกต่างกับคนอื่นๆ บอกว่าอยากให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น
ไม่ใช่เรื่องผิดที่อยากให้บรรยากาศบ้านเมืองดีขึ้น
แต่แปลกใจทำไมไม่หยิบเหตุผลเรื่องการถูกละเมิดสิทธิ์ขึ้นมาด้วย !?
เพราะคณะกรรมการปฏิรูปชุดนี้ถูกวางไว้ให้เป็นผู้เขียนพิมพ์เขียวประเทศไทยในอนาคต
กลับมองข้ามเรื่องที่ประชาชนโดนละเมิดสิทธิ์ไปง่ายๆ
อยากให้คณะกรรมการชุดนี้ไปดูไปสัมผัสคนที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.ก.เผด็จการบ้าง
ทั้ง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ โดนศอฉ.จับเพราะไปผูกริบบิ้นแดงที่ป้ายราชประสงค์
นายนที สรวารี ยืนตะโกนแสดงความในใจว่า "ที่นี่มีคนตาย" ก็โดนตำรวจล็อกไปจับปรับ
นายวสันต์ สายรัศมี หนุ่มกู้ภัยที่ออกมาทวงความยุติธรรมให้เพื่อน 4 ศพก็โดนหมายเรียกศอฉ.เช่นกัน
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ
5 น.ศ.ถือป้ายต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่เชียงราย โดนดำเนินคดีรวด
ไม่เว้นแม้แต่นักเรียน ม.5 วัยแค่ 16 ปี ตำรวจจับส่งสถานพินิจ
ถามว่าการแสดงความเห็นของเด็กอายุแค่ 16 ปีที่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายเผด็จการ
มันร้ายแรงถึงขั้นต้องจับกุมเลยหรือ !?
แต่ไม่ว่าสังคมจะคัดค้านกันยังไง นายกฯมาร์คก็ไม่รับฟังอยู่ดี เพราะยังยืนกรานไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
โดยให้สัมภาษณ์ราวกับว่าเรื่องละเมิดสิทธิ์เป็นแค่ข่าวโคมลอย เป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
นายกฯลืมไปหรือเปล่าว่าความจริงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
ตั้งแต่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว
และละเมิดมาเรื่อยๆ จนถึงการใช้กำลังทหารปราบปรามม็อบเสื้อแดง !!
มีการเสียชีวิตจริงๆ 90 ศพ บาดเจ็บจริงๆ เกือบ 2 พันคน
เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากน้ำมือรัฐบาลชุดนี้
แต่นายกฯไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบตรงนี้เลย
แม้แต่คำว่า "ขอโทษ" ก็ไม่เคยเล็ดลอดจากปาก
มีหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่า
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งในไทยและต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นกฎหมายที่คุกคามและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง !
หรือแม้แต่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกฯและรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สมัยรัฐบาลขิงแก่แท้ๆ ก็เรียกร้องให้นายกฯมาร์คเลิกกฎหมายพิเศษนี้เสีย
ให้เหตุผลว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน !
จะมีก็แต่นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.)
ซึ่งเสนอแนะให้รัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน
แต่เหตุผลแตกต่างกับคนอื่นๆ บอกว่าอยากให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น
ไม่ใช่เรื่องผิดที่อยากให้บรรยากาศบ้านเมืองดีขึ้น
แต่แปลกใจทำไมไม่หยิบเหตุผลเรื่องการถูกละเมิดสิทธิ์ขึ้นมาด้วย !?
เพราะคณะกรรมการปฏิรูปชุดนี้ถูกวางไว้ให้เป็นผู้เขียนพิมพ์เขียวประเทศไทยในอนาคต
กลับมองข้ามเรื่องที่ประชาชนโดนละเมิดสิทธิ์ไปง่ายๆ
อยากให้คณะกรรมการชุดนี้ไปดูไปสัมผัสคนที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.ก.เผด็จการบ้าง
ทั้ง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ โดนศอฉ.จับเพราะไปผูกริบบิ้นแดงที่ป้ายราชประสงค์
นายนที สรวารี ยืนตะโกนแสดงความในใจว่า "ที่นี่มีคนตาย" ก็โดนตำรวจล็อกไปจับปรับ
นายวสันต์ สายรัศมี หนุ่มกู้ภัยที่ออกมาทวงความยุติธรรมให้เพื่อน 4 ศพก็โดนหมายเรียกศอฉ.เช่นกัน
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ
5 น.ศ.ถือป้ายต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่เชียงราย โดนดำเนินคดีรวด
ไม่เว้นแม้แต่นักเรียน ม.5 วัยแค่ 16 ปี ตำรวจจับส่งสถานพินิจ
ถามว่าการแสดงความเห็นของเด็กอายุแค่ 16 ปีที่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายเผด็จการ
มันร้ายแรงถึงขั้นต้องจับกุมเลยหรือ !?
แต่ไม่ว่าสังคมจะคัดค้านกันยังไง นายกฯมาร์คก็ไม่รับฟังอยู่ดี เพราะยังยืนกรานไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
โดยให้สัมภาษณ์ราวกับว่าเรื่องละเมิดสิทธิ์เป็นแค่ข่าวโคมลอย เป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
นายกฯลืมไปหรือเปล่าว่าความจริงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
ตั้งแต่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว
และละเมิดมาเรื่อยๆ จนถึงการใช้กำลังทหารปราบปรามม็อบเสื้อแดง !!
มีการเสียชีวิตจริงๆ 90 ศพ บาดเจ็บจริงๆ เกือบ 2 พันคน
เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากน้ำมือรัฐบาลชุดนี้
แต่นายกฯไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบตรงนี้เลย
แม้แต่คำว่า "ขอโทษ" ก็ไม่เคยเล็ดลอดจากปาก