สัมภาษณ์พิเศษ
การกลับมาของปีกแดง อดีต 1 ใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 14 ตุลา 2516
ย่อมมีเพื่อนพ้องน้องพี่อยู่ในสังกัด 2 ขั้ว 2 ค่าย ทั้งสีแดง-สีเหลือง
ทั้งฝ่าย นปช.และฝ่ายพันธมิตร
บุญส่ง ชเลธร เพิ่งได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมทางการเมืองไทยได้ 3 สัปดาห์ หลังจากใช้ชีวิตในสวีเดน 30 ปี
ประสบการณ์ส่วนตัวในต่างแดน ทำให้ "บุญส่ง" รู้สึกคุ้นเคยกับเค้าโครงเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการ
หลังจากตระเวนไปพบเพื่อน-ปีกแดง "วีระ มุสิกพงศ์" ที่เรือนจำ
และเข้าไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อสนทนากับ "สมาน เลิศวงศ์รัฐ" อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
เขาเปิดใจกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ทั้งเรื่องเพื่อน-การเมือง และพันธะแห่งมิตร
- ในฐานะที่มีเพื่อนอยู่ 2 ขั้ว มองความหวังเรื่องแผนปรองดองของรัฐบาลอย่างไร
ในแง่ของความเป็นเพื่อน ก็แยกเป็นเรื่องหนึ่ง
เพราะผมมีเพื่อนทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไม่อยากตัดสินเรื่องความถูกต้อง
เพราะมีการพูดมาเยอะแล้ว อยากให้สถานการณ์คลี่คลายเอง
แต่การปรองดอง หมายถึงทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมปรองดอง
สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันการปรองดองอย่างเป็นนามธรรมแบบนี้คงไม่สำเร็จ
ต้องทำให้ความจริงปรากฏจะรู้ว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ถ้าเห็นความจริงแล้วก็มีโอกาสเกิดความปรองดอง
- แต่ความจริงการต่อสู้ของแต่ละฝ่ายอุดมการณ์ไม่เหมือนกัน
ใช่...เป็นเรื่องนามธรรม ความจริงของทั้ง 2 ฝ่ายไม่เหมือนกัน
ความจริงของอีกคนหนึ่งอาจจะเป็นความเท็จของอีกคนหนึ่ง
แต่ผมและคนอีกจำนวนไม่น้อย
ก็ไม่ได้ไปมีส่วนร่วมในการกระพือให้เกิดความ ขัดแย้ง ให้มากไปกว่านี้
ในสังคมไทยมีคนต้องการความสงบสุขมากมายมหาศาล
คนเหล่านี้ต้องมาช่วยกันสร้างบรรยากาศใหม่ขึ้นมา
- เป็นความขัดแย้งรุนแรงเพราะผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ใช่เพียงคิดต่างกัน
ผมคิดว่าต้องมีไม้บรรทัดวัด ต้องมีกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายมาเป็นตัวพิจารณา
แม้กฎหมายบางข้อ จะมีปัญหา แต่ถ้าเอาคนมาเถียงกัน
เรื่องอันไหนถูกอันไหนผิด ก็นั่งเถียงกันไม่จบ
ผมเชื่อในระบบกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพียงแต่ผู้รักษากฎหมายต้องรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด
ส่วนที่ถูกมองว่า 2 มาตรฐานนั้นเป็นเพราะคนไม่รักษากฎหมายมากกว่า
ตอนนี้ทั้ง 2 ฝ่ายมีคำอธิบายหมดแล้ว
ถ้าผมโดดไปคลุกด้วยก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร ในส่วนผมก้าวข้ามจุดนั้นแล้ว
ในต่างประเทศ เช่น สวีเดน เวลาเดินขบวนเขาไม่ได้กดดันเอาชนะรัฐบาล
เพราะอำนาจรัฐมาอย่างถูกต้อง มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้วไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง
เพราะฉะนั้นเขามั่นใจในอำนาจรัฐ
และเขาเชื่อมั่นว่าเขาเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐได้ในการเลือกตั้งสมัยต่อไป
- การชุมนุมในเมืองไทย ไม่ว่าฝ่ายไหนก็อ้างการสูญเสียชีวิตคนในการต่อสู้
คนไทยคิดเรื่องเกมแพ้-ชนะสูงมาก ทุกฝ่ายก็จะอ้างความสูญเสียนี้เพื่อมา ปลุกระดมต่อ
- เตรียมเข้าสู่ระบบการเมืองโดยการลงเลือกตั้งในฐานะสมาชิกพรรคการเมืองใหม่
ผมไม่มีประสบการณ์เรื่องเล่นเกมการเมือง...
ผมเห็นด้วยอย่างสูงมากกับคำวิจารณ์เรื่องการเมืองเก่าว่านักการเมืองไร้จริยธรรม น้ำเน่า ซื้อเสียง
เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ดูถูก เหยียดหยามประชาชน
ผมเห็นด้วยว่า การเมืองต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
- พรรคการเมืองใหม่ถูกมองว่าปกป้องโครงสร้างอนุรักษนิยมระบบเก่า
ปัญหาคือทุกพรรคก็โดนวิจารณ์จากฝ่ายตรงข้ามเหมือนกันหมด
ไม่มีพรรคที่บริสุทธิ์ผุดผ่องโดยไม่มีคำวิจารณ์
แต่มันอยู่ที่ตัวเรามากกว่าว่าเรามีความ เชื่ออย่างไร สามารถผลักดันอะไรได้
และผมเชื่อว่าผมผลักดันอะไรได้พอ สมควร
- มองการเมืองไทยกำลังเดินมาถึงจุดไหน
จุดชุลมุน รออีกนิดหนึ่ง ผมไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นตลบขนาดนี้
สมัยก่อนตอนหนุ่ม ๆ ก็พูดกันว่า
อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน แต่สมัยนี้ มาถึงวันนี้ มันไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องแล้ว
ในอดีตไม่ซับซ้อนเท่าสมัยนี้ ช่วงนั้น (ยุค 14 ตุลา) ประชาชนต่อสู้กับทหารชัดเจน
แต่ปัจจุบันมีเงื่อนไขอื่นสลับซับซ้อนมาก
แต่เสรีภาพในการแสดงออกก็มีสูงมาก พูดได้เกือบทุกเรื่อง
- เนื้อหานโยบายที่จะผลักดันในพรรค การเมืองใหม่
ตอนนี้ผมจับเรื่องรัฐสวัสดิการแต่จะประยุกต์ เรียกว่า "ชุมชนสวัสดิการ"
ทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็งหาเงินเอง ส่วนภาครัฐต้องให้การสนับสนุนบางส่วน
ในท้องถิ่นไม่ได้เน้นการเก็บภาษีแต่เน้นการช่วยเหลือตัวเอง มีธนาคารชุมชนโดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่ง
ที่รัฐบาลทำตอนนี้ยังไม่เป็นรัฐสวัสดิการ
เพราะรัฐสวัสดิการที่ดีต้องเก็บภาษีสูง ส่วนตัวมองว่าเป็นการหาเสียงระยะสั้นเท่านั้น
เพราะสิ่งที่เขาเสนอขึ้นมาไม่ได้มาจากความเรียกร้องต้องการของประชาชน
นโยบายประชานิยมไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน
เพราะเปลี่ยนไปตามนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป
และทำให้ประชาชนรอรับความเมตตาปรานีที่รัฐจะลดแลกแจกแถม
แต่รัฐสวัสดิการจะมองถึงอนาคตของลูกหลาน ประชาชนจะรู้สึกว่า
สิ่งที่เขาได้รับเป็นสิทธิที่เขาพึงได้รับ ไม่ใช่การติดค้างหนี้บุญคุณ
คือถ้าเป็นพรรคการเมืองระบบเก่า จะมีความซับซ้อนของระบบอาวุโสในพรรคเยอะ
มีความอุ้ยอ้ายของคนเยอะ
ระบบอาวุโสคุณมาก่อนผมมาทีหลัง การที่จะแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องง่าย นะครับ
- ภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองใหม่ เป็นพรรคแบบไหน
เป็นพรรคการเมืองที่ยากจนมากไม่มีเงิน แต่ข้อดีคือเป็นคนหนุ่มสาวทั้งนั้นมีพลัง อันนี้คือ
ที่ผมชอบ และเชื่อว่าโดยจิตใจที่มุ่งมั่นเขาจะสามารถพัฒนาตัวเองได้
เขาเสนอตัวจะลง ส.ก. ส.ข.สมัยหน้า เป็นการลงสนามการเมืองจริง ๆ ครั้งแรกด้วย หลังจากตั้งท่ามานาน
- คิดว่าพรรคนี้จะสามารถแย่งฐาน คะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่
พูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะไม่งั้นก็ไม่ต้องมีพรรคการเมืองใหม่
ถ้ากลัวจะแย่ง คะแนนเสียงประชาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลา
แต่ประชาชนต้องมีทางเลือก
เลือก ประชาธิปัตย์ก็ได้ เลือกเพื่อไทยก็ได้ เลือกชาติไทยพัฒนาก็ได้ เลือกพรรคการเมืองใหม่ก็ได้
ผมว่าประชาชนต้องมีสิทธิเลือก
ในเมื่อมีสิทธิเลือกก็ต้องเอาชนะกันด้วยนโยบายการทำงาน อยากให้เป็นการ แข่งขันกันตามกติกา
สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นขึ้นมาได้ การแข่งขันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องร้ายแรงหรืออัปลักษณ์
เราได้ทำดีที่สุด ถ้าเขาเลือกเราก็ทำหน้าที่
แต่ถ้าเขาไม่เลือกก็อาจเป็นเพราะ ยังไม่รู้จักเราดี ก็ไม่เป็นไรเพราะงาน การเมืองไม่ได้จบอยู่แค่นี้
การกลับมาของปีกแดง อดีต 1 ใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 14 ตุลา 2516
ย่อมมีเพื่อนพ้องน้องพี่อยู่ในสังกัด 2 ขั้ว 2 ค่าย ทั้งสีแดง-สีเหลือง
ทั้งฝ่าย นปช.และฝ่ายพันธมิตร
บุญส่ง ชเลธร เพิ่งได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมทางการเมืองไทยได้ 3 สัปดาห์ หลังจากใช้ชีวิตในสวีเดน 30 ปี
ประสบการณ์ส่วนตัวในต่างแดน ทำให้ "บุญส่ง" รู้สึกคุ้นเคยกับเค้าโครงเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการ
หลังจากตระเวนไปพบเพื่อน-ปีกแดง "วีระ มุสิกพงศ์" ที่เรือนจำ
และเข้าไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อสนทนากับ "สมาน เลิศวงศ์รัฐ" อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
เขาเปิดใจกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ทั้งเรื่องเพื่อน-การเมือง และพันธะแห่งมิตร
- ในฐานะที่มีเพื่อนอยู่ 2 ขั้ว มองความหวังเรื่องแผนปรองดองของรัฐบาลอย่างไร
ในแง่ของความเป็นเพื่อน ก็แยกเป็นเรื่องหนึ่ง
เพราะผมมีเพื่อนทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไม่อยากตัดสินเรื่องความถูกต้อง
เพราะมีการพูดมาเยอะแล้ว อยากให้สถานการณ์คลี่คลายเอง
แต่การปรองดอง หมายถึงทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมปรองดอง
สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันการปรองดองอย่างเป็นนามธรรมแบบนี้คงไม่สำเร็จ
ต้องทำให้ความจริงปรากฏจะรู้ว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ถ้าเห็นความจริงแล้วก็มีโอกาสเกิดความปรองดอง
- แต่ความจริงการต่อสู้ของแต่ละฝ่ายอุดมการณ์ไม่เหมือนกัน
ใช่...เป็นเรื่องนามธรรม ความจริงของทั้ง 2 ฝ่ายไม่เหมือนกัน
ความจริงของอีกคนหนึ่งอาจจะเป็นความเท็จของอีกคนหนึ่ง
แต่ผมและคนอีกจำนวนไม่น้อย
ก็ไม่ได้ไปมีส่วนร่วมในการกระพือให้เกิดความ ขัดแย้ง ให้มากไปกว่านี้
ในสังคมไทยมีคนต้องการความสงบสุขมากมายมหาศาล
คนเหล่านี้ต้องมาช่วยกันสร้างบรรยากาศใหม่ขึ้นมา
- เป็นความขัดแย้งรุนแรงเพราะผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ใช่เพียงคิดต่างกัน
ผมคิดว่าต้องมีไม้บรรทัดวัด ต้องมีกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายมาเป็นตัวพิจารณา
แม้กฎหมายบางข้อ จะมีปัญหา แต่ถ้าเอาคนมาเถียงกัน
เรื่องอันไหนถูกอันไหนผิด ก็นั่งเถียงกันไม่จบ
ผมเชื่อในระบบกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพียงแต่ผู้รักษากฎหมายต้องรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด
ส่วนที่ถูกมองว่า 2 มาตรฐานนั้นเป็นเพราะคนไม่รักษากฎหมายมากกว่า
ตอนนี้ทั้ง 2 ฝ่ายมีคำอธิบายหมดแล้ว
ถ้าผมโดดไปคลุกด้วยก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร ในส่วนผมก้าวข้ามจุดนั้นแล้ว
ในต่างประเทศ เช่น สวีเดน เวลาเดินขบวนเขาไม่ได้กดดันเอาชนะรัฐบาล
เพราะอำนาจรัฐมาอย่างถูกต้อง มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้วไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง
เพราะฉะนั้นเขามั่นใจในอำนาจรัฐ
และเขาเชื่อมั่นว่าเขาเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐได้ในการเลือกตั้งสมัยต่อไป
- การชุมนุมในเมืองไทย ไม่ว่าฝ่ายไหนก็อ้างการสูญเสียชีวิตคนในการต่อสู้
คนไทยคิดเรื่องเกมแพ้-ชนะสูงมาก ทุกฝ่ายก็จะอ้างความสูญเสียนี้เพื่อมา ปลุกระดมต่อ
- เตรียมเข้าสู่ระบบการเมืองโดยการลงเลือกตั้งในฐานะสมาชิกพรรคการเมืองใหม่
ผมไม่มีประสบการณ์เรื่องเล่นเกมการเมือง...
ผมเห็นด้วยอย่างสูงมากกับคำวิจารณ์เรื่องการเมืองเก่าว่านักการเมืองไร้จริยธรรม น้ำเน่า ซื้อเสียง
เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ดูถูก เหยียดหยามประชาชน
ผมเห็นด้วยว่า การเมืองต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
- พรรคการเมืองใหม่ถูกมองว่าปกป้องโครงสร้างอนุรักษนิยมระบบเก่า
ปัญหาคือทุกพรรคก็โดนวิจารณ์จากฝ่ายตรงข้ามเหมือนกันหมด
ไม่มีพรรคที่บริสุทธิ์ผุดผ่องโดยไม่มีคำวิจารณ์
แต่มันอยู่ที่ตัวเรามากกว่าว่าเรามีความ เชื่ออย่างไร สามารถผลักดันอะไรได้
และผมเชื่อว่าผมผลักดันอะไรได้พอ สมควร
- มองการเมืองไทยกำลังเดินมาถึงจุดไหน
จุดชุลมุน รออีกนิดหนึ่ง ผมไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นตลบขนาดนี้
สมัยก่อนตอนหนุ่ม ๆ ก็พูดกันว่า
อำนาจรัฐมาจากปากกระบอกปืน แต่สมัยนี้ มาถึงวันนี้ มันไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องแล้ว
ในอดีตไม่ซับซ้อนเท่าสมัยนี้ ช่วงนั้น (ยุค 14 ตุลา) ประชาชนต่อสู้กับทหารชัดเจน
แต่ปัจจุบันมีเงื่อนไขอื่นสลับซับซ้อนมาก
แต่เสรีภาพในการแสดงออกก็มีสูงมาก พูดได้เกือบทุกเรื่อง
- เนื้อหานโยบายที่จะผลักดันในพรรค การเมืองใหม่
ตอนนี้ผมจับเรื่องรัฐสวัสดิการแต่จะประยุกต์ เรียกว่า "ชุมชนสวัสดิการ"
ทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็งหาเงินเอง ส่วนภาครัฐต้องให้การสนับสนุนบางส่วน
ในท้องถิ่นไม่ได้เน้นการเก็บภาษีแต่เน้นการช่วยเหลือตัวเอง มีธนาคารชุมชนโดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่ง
ที่รัฐบาลทำตอนนี้ยังไม่เป็นรัฐสวัสดิการ
เพราะรัฐสวัสดิการที่ดีต้องเก็บภาษีสูง ส่วนตัวมองว่าเป็นการหาเสียงระยะสั้นเท่านั้น
เพราะสิ่งที่เขาเสนอขึ้นมาไม่ได้มาจากความเรียกร้องต้องการของประชาชน
นโยบายประชานิยมไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน
เพราะเปลี่ยนไปตามนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป
และทำให้ประชาชนรอรับความเมตตาปรานีที่รัฐจะลดแลกแจกแถม
แต่รัฐสวัสดิการจะมองถึงอนาคตของลูกหลาน ประชาชนจะรู้สึกว่า
สิ่งที่เขาได้รับเป็นสิทธิที่เขาพึงได้รับ ไม่ใช่การติดค้างหนี้บุญคุณ
คือถ้าเป็นพรรคการเมืองระบบเก่า จะมีความซับซ้อนของระบบอาวุโสในพรรคเยอะ
มีความอุ้ยอ้ายของคนเยอะ
ระบบอาวุโสคุณมาก่อนผมมาทีหลัง การที่จะแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องง่าย นะครับ
- ภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองใหม่ เป็นพรรคแบบไหน
เป็นพรรคการเมืองที่ยากจนมากไม่มีเงิน แต่ข้อดีคือเป็นคนหนุ่มสาวทั้งนั้นมีพลัง อันนี้คือ
ที่ผมชอบ และเชื่อว่าโดยจิตใจที่มุ่งมั่นเขาจะสามารถพัฒนาตัวเองได้
เขาเสนอตัวจะลง ส.ก. ส.ข.สมัยหน้า เป็นการลงสนามการเมืองจริง ๆ ครั้งแรกด้วย หลังจากตั้งท่ามานาน
- คิดว่าพรรคนี้จะสามารถแย่งฐาน คะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่
พูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะไม่งั้นก็ไม่ต้องมีพรรคการเมืองใหม่
ถ้ากลัวจะแย่ง คะแนนเสียงประชาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลา
แต่ประชาชนต้องมีทางเลือก
เลือก ประชาธิปัตย์ก็ได้ เลือกเพื่อไทยก็ได้ เลือกชาติไทยพัฒนาก็ได้ เลือกพรรคการเมืองใหม่ก็ได้
ผมว่าประชาชนต้องมีสิทธิเลือก
ในเมื่อมีสิทธิเลือกก็ต้องเอาชนะกันด้วยนโยบายการทำงาน อยากให้เป็นการ แข่งขันกันตามกติกา
สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นขึ้นมาได้ การแข่งขันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องร้ายแรงหรืออัปลักษณ์
เราได้ทำดีที่สุด ถ้าเขาเลือกเราก็ทำหน้าที่
แต่ถ้าเขาไม่เลือกก็อาจเป็นเพราะ ยังไม่รู้จักเราดี ก็ไม่เป็นไรเพราะงาน การเมืองไม่ได้จบอยู่แค่นี้