คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
"สี่แยกราชประสงค์" กลับมาขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับอีกครั้ง
หลังจากกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ทำกิจกรรมจัดงานรำลึกราชประสงค์ขึ้นในวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา
เพื่อแสดงสัญลักษณ์ไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิต 90 ศพ
โดยจุดสำคัญของงานอยู่ตรงช่วงที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด ต้องการนำผ้าสีแดงไปผูกที่ป้ายแยกราชประสงค์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามเอาไว้
จึงทำได้เพียงผูกโบสีแดงบนรั้วริมทางเท้าในบริเวณดังกล่าวแทน
และในงานดังกล่าวนี้เองที่ นายนที สรวารี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหา
แล้วแจ้งภายหลังว่าส่งเสียงดังรบกวน เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ
ถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 100 บาท
ถัดมาอีกเพียงวันเดียว กรุงเทพมหานครก็ปลดป้ายสัญลักษณ์สี่แยกราชประสงค์ออก
โดยให้เหตุผลว่าถูกมือดีพ่นสีขาวทับ และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งกทม. ดำเนินการแก้ไข ทำความสะอาด
และจะนำมาติดตั้งในที่เดิมได้ไม่เกิน 2-3 วัน
ขณะที่คนจำนวนไม่น้อยวิจารณ์ว่า เกรงป้ายดังกล่าวจะเป็นจุดนัดพบของกลุ่มคนเสื้อแดง
ที่จะนำสัญลักษณ์อื่นๆ มาพ่วงไว้!!
"สี่แยกราชประสงค์" เป็นสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี 2445 กับถนนพระรามที่ 1 ที่สร้างขึ้นในปี 2463 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อผ่านสี่แยกราชประสงค์ไปทางตะวันออก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนเพลินจิต
จุดเริ่มของสี่แยกราชประสงค์จึงเกิดขึ้นในปี 2463
สี่แยกราชประสงค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสี่แยกใจกลางกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นที่ย่านธุรกิจสำคัญ
โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของ ห้างสรรพสินค้าและโรงแรมระดับ 5 ดาว หลายแห่ง เช่น
สยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา, ศูนย์การค้า เกษร, อัมรินทร์ พลาซ่า, เพนนินซูล่า พลาซ่า, เอราวัณ แบงค็อก, บิ๊กซี สาขาราชดำริ, รร.แกรนด์ไฮแอท เอรา วัณ, รร.เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์, รร.อิน เตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ฯลฯ
รวมถึงสถานที่ราชการ เช่น ร.พ.ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตลอดจนวัดและโรงเรียนต่างๆ อีกหลายแห่งด้วยกัน
นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าสี่แยกเทพเจ้า เนื่องจากมี ศาลเทพเจ้ามากถึง 7 องค์ คือ
ศาลท่านท้าวมหาพรหม รร.เอราวัณ, ศาลพระตรีมูรติ เซ็นทรัลเวิลด์, ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์, ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ รร.อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ, ศาลพระลักษมี ศูนย์การค้าเกษร, ศาลท้าวอมรินทราธิราชเจ้า อัมรินทร์พลาซ่า
และศาลพระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อันเป็นที่เคารพ สักการบูชาทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2553 กลุ่มแนวร่วมประชาธิป ไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เข้ายึดบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำของสังคม
ก่อนรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะใช้มาตรการกระชับพื้นที่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 90 ศพ
เป็นที่มาของ งานรำลึกราชประสงค์
และการถอนป้ายสัญลักษณ์
"สี่แยกราชประสงค์" กลับมาขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับอีกครั้ง
หลังจากกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ทำกิจกรรมจัดงานรำลึกราชประสงค์ขึ้นในวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา
เพื่อแสดงสัญลักษณ์ไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิต 90 ศพ
โดยจุดสำคัญของงานอยู่ตรงช่วงที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด ต้องการนำผ้าสีแดงไปผูกที่ป้ายแยกราชประสงค์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามเอาไว้
จึงทำได้เพียงผูกโบสีแดงบนรั้วริมทางเท้าในบริเวณดังกล่าวแทน
และในงานดังกล่าวนี้เองที่ นายนที สรวารี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหา
แล้วแจ้งภายหลังว่าส่งเสียงดังรบกวน เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ
ถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 100 บาท
ถัดมาอีกเพียงวันเดียว กรุงเทพมหานครก็ปลดป้ายสัญลักษณ์สี่แยกราชประสงค์ออก
โดยให้เหตุผลว่าถูกมือดีพ่นสีขาวทับ และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งกทม. ดำเนินการแก้ไข ทำความสะอาด
และจะนำมาติดตั้งในที่เดิมได้ไม่เกิน 2-3 วัน
ขณะที่คนจำนวนไม่น้อยวิจารณ์ว่า เกรงป้ายดังกล่าวจะเป็นจุดนัดพบของกลุ่มคนเสื้อแดง
ที่จะนำสัญลักษณ์อื่นๆ มาพ่วงไว้!!
"สี่แยกราชประสงค์" เป็นสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี 2445 กับถนนพระรามที่ 1 ที่สร้างขึ้นในปี 2463 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อผ่านสี่แยกราชประสงค์ไปทางตะวันออก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนเพลินจิต
จุดเริ่มของสี่แยกราชประสงค์จึงเกิดขึ้นในปี 2463
สี่แยกราชประสงค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสี่แยกใจกลางกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นที่ย่านธุรกิจสำคัญ
โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของ ห้างสรรพสินค้าและโรงแรมระดับ 5 ดาว หลายแห่ง เช่น
สยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา, ศูนย์การค้า เกษร, อัมรินทร์ พลาซ่า, เพนนินซูล่า พลาซ่า, เอราวัณ แบงค็อก, บิ๊กซี สาขาราชดำริ, รร.แกรนด์ไฮแอท เอรา วัณ, รร.เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์, รร.อิน เตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ฯลฯ
รวมถึงสถานที่ราชการ เช่น ร.พ.ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตลอดจนวัดและโรงเรียนต่างๆ อีกหลายแห่งด้วยกัน
นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าสี่แยกเทพเจ้า เนื่องจากมี ศาลเทพเจ้ามากถึง 7 องค์ คือ
ศาลท่านท้าวมหาพรหม รร.เอราวัณ, ศาลพระตรีมูรติ เซ็นทรัลเวิลด์, ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์, ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ รร.อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ, ศาลพระลักษมี ศูนย์การค้าเกษร, ศาลท้าวอมรินทราธิราชเจ้า อัมรินทร์พลาซ่า
และศาลพระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อันเป็นที่เคารพ สักการบูชาทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2553 กลุ่มแนวร่วมประชาธิป ไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เข้ายึดบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำของสังคม
ก่อนรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะใช้มาตรการกระชับพื้นที่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 90 ศพ
เป็นที่มาของ งานรำลึกราชประสงค์
และการถอนป้ายสัญลักษณ์