โดย tongtata
มาร์ค” นักฆ่าแห่งอีตั้น นักเล่านิทานเด็กเลี้ยงแกะ ฉายาที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 16 กรกฎาคม 2553 23:30 น.
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ใครจะไปเชื่อว่า ภายใต้ใบหน้าที่หล่อเหลาและการพูดจาที่ไพเราะเสนาะหู จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงราวหน้ามือกับหลังมือของชายที่มีชื่อว่า “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย ยิ่งในระยะหลังด้วยแล้ว เขายิ่งฉายแววของความอำมหิตมากขึ้นไปทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวัดผลจากประสิทธิภาพในการบริหารชาติบ้านเมือง
ไล่เรื่อยมาตั้งแต่การปล่อยให้ “เนวินกรุ๊ป” และ “อดีตกำนันตำบลท่าสะท้อน” กระทำย่ำยีและสูบผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้องโดยไม่เคยคิดที่จะห้ามปราบ ความผิดพลาดในการจัดการกับขบวนการก่อการร้ายเสื้อแดงกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมเผาบ้านเผาเมือง และล่าสุดกับการเล่นเกม 2 หน้าในการทำลายศัตรูทางการเมืองให้ย่อยยับด้วยการสั่งการและเร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ฟ้องกราวรูด 79 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมด้วยข้อหาที่ไม่เป็นธรรมคือซ่องโจรและก่อการร้าย ในคดีการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
ดังนั้น จึงไม่เกินเลยไปนักที่จะมอบสมญานาม “นักฆ่าแห่งอีตั้น” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสืบไป
”มาร์ค-เทือกและห้อย”
การผนึกกำลังของเทพมารสะท้านฟ้า
หากต้องการจะฉายภาพเจ้าของสมญานาม “นักฆ่าแห่งอีตั้น” ที่ชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คงต้องย้อนกลับไปไล่เรียงกันมาตั้งแต่ก่อนที่เขาจะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย เพราะนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของชุดความคิดทางการเมืองที่ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิมาร์ค-เนวินและแนวคิดเทพเทือก” ที่จัดขั้วผสมพันธุ์กันเป็นรัฐบาลด้วยการทรยศหักหลังของนายเนวิน ชิดชอบที่มีต่อ นช.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งการโอบอุ้มของเหล่าขุนทหารทั้งในและนอกราชการ นำทีมโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ฯลฯ โดยมี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” เป็นผู้จัดการรัฐบาล จนรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ได้รับฉายาว่า “รัฐบาลเทพประทาน”
กลายเป็นรัฐบาลที่มีจุดกำเนิดที่พิกลพิการที่สุดรัฐบาลหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
“ผมรับไม่ได้กับการที่ประชาธิปัตย์ไปร่วมมือกับนายเนวิน”ผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่งให้ความเห็นถึงสถานการณ์เมื่อครั้งพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลเป็นผลสำเร็จ และนั่นเป็นที่มาที่ทำให้ผู้ใหญ่คนนี้ถอนตัวออกจากพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคนี้
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นรัฐบาลปาฏิหาริย์รักต่างสายพันธุ์เช่นนี้ ทำให้ต้องมีการค้นคิดสมการทางการเมืองขึ้นมาเพื่อแต่งหน้าทาปากให้เป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาเสถียรภาพในการเป็นรัฐบาลเอาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะการประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อในการจัดการกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริต
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์ก็หรี่ตาเอาไว้ข้างหนึ่งด้วยการปล่อยให้นายสุเทพ ร่วมมือกับนายเนวินไปกระทำการต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ โดยไม่เคยที่จะจัดการอะไรกับบรรดารัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยของนายเนวินที่เข็นสารพัดโครงการที่คนไทยทั้งประเทศกังขา หรือถ้าคัดง้างก็ทำพอเป็นพิธี จากนั้นก็ทำเป็นนิ่งเฉยเลยผ่าน
กระทั่งในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป ประชาชนที่เคยสนับสนุนก็เริ่มหูตาสว่างและได้รับรู้ความจริงนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ที่โฆษณาชวนเชื่อว่า “ประชาชนมาก่อน” นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเพียงแค่คำพูดของ “เด็กเลี้ยงแกะ” เพราะ “เนวินมาก่อน” ต่างหากเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ยึดถือเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารอำนาจของตัวเองหลังจากเสพติดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีจนทนไม่ได้ที่จะมีอันต้องพรากจากไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่นายเนวินเท่านั้น หากแต่รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์เองก็มิได้เคยควบคุมให้อยู่ในร่องในรอยได้สำเร็จ ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมาถูกโจมตีในเรื่องคอรัปชันไม่น้อย เริ่มตั้งแต่ปลากระป๋องเน่าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ การถูกกล่าวหาว่าทุจริตในโครงการชุมชมพอเพียง ความไม่โปร่งใสในโครงการ SP2 ที่กระทรวงสาธารณสุข ความไร้สาระในการจัดโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิด ปัญหาไข่ไก่ราคาแพง การปล่อยข่าวซื้อไทยคมที่ทำให้หุ้นพุ่งสูงขึ้นโดยที่ยังไม่ได้มีแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ฯลฯ
ซ้ำร้ายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังยอมเดินตามรอยรัฐบาลทักษิณที่ใช้นโยบาย “ประชานิยม” ครองใจชาวบ้านจนทุกวันนี้อย่างไม่ปราณีปราศรัย เพื่อหวังผลทางการเมือง กระชับความรู้สึกกับรากหญ้า ซื้อใจประชาชน หวังผลในเรื่องคะแนนเสียงคะแนนนิยมในการเลือกตั้งที่จะมาถึงโดยหว่านโปรย ลด แลก แจก แถมอย่างจุใจ จนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านงบประมาณในอนาคตได้
และเมื่อตระหนักรู้ว่า ชุดความคิดของลัทธิมาร์ค-เนวินและแนวคิดเทพเทือกได้ผล นายอภิสิทธิ์ก็เริ่มที่จะไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนหรือกลุ่มชนที่เคยให้การสนับสนุนในการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของเขา ไม่สนใจประชาชนที่เสียภาษีให้เขาได้จับจ่ายใช้สอยอย่างสบายมือหากแต่คิดถึงพวกพ้องของตัวเองเป็นสำคัญ มิหนำซ้ำนานวันเข้า ก็ยิ่งเห็นเป็นศัตรูทางการเมืองที่จะต้องกำจัดไปให้สิ้นซาก เพื่อมิให้เป็นหอกข้างแคร่ขัดขวางเส้นทางอำนาจของเขา
จนกระทั่งลืมไปว่า ในยามที่นายอภิสิทธิ์ตกอยู่ในภาวะลำบากถึงขีดสุดจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ใครคือผู้ที่ช่วยพยุงเก้าอี้ของเขาเอาไว้ มิใช่ประชาชนที่ลุกขึ้นมาให้กำลังใจหรอกหรือ
พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตคมช.คนสำคัญถึงกับเปรยเสียงดังๆ ให้คนข้างตัวได้ยินว่า “พรรคประชาธิปัตย์ไม่ฉลาดเลยที่ทอดทิ้งประชาชน และทอดทิ้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายคนจึงเริ่มตั้งคำถามพร้อมวิพากษ์วิจารณ์ดังๆ ออกมาให้ได้ยินกันหนาหูว่า จริงๆ แล้วนายอภิสิทธิ์นั้นมี “ความเหี้ยม” กว่า “นช.ทักษิณ” เสียอีก เพราะเป็นความเหี้ยมที่ประชาชนคนธรรมดาที่มิได้ “รู้ทันอภิสิทธิ์” ตามความคิดของเขาทันได้
ขณะเดียวกัน เมื่อคนที่รู้เท่าทันเริ่มตรวจสอบนายอภิสิทธิ์ เกมการเมืองเพื่อ “เลี้ยงไข้” ปัญหาต่างๆ ก็ถูกงัดออกมาเพื่อทำให้สังคมช่วยกันโอบอุ้มเขาให้นั่งอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะถ้าหากเขาพ้นไปแล้ว ไม่มีคนที่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่นี้ได้
ฟ้อง 79 พันธมิตรฯ
หมากกลเพื่อรักษาอำนาจ
เมื่อรูปการณ์เป็นเช่นนี้ เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ จะพบเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ มิหนำซ้ำยังมีความพยายามที่จะนำมาเชื่อมโยงเข้าหากันเพื่อหวังผลทางการเมืองอีกต่างหาก
เหตุการณ์แรกคือ-การดำเนินคดีกับกลุ่มคนเสื้อแดงในข้อหาผู้ก่อการร้ายจากกรณีเผาบ้านเผาบ้านเผาเมือง
เหตุการณ์ที่สองคือ-การดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในคดีการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง
และเหตุการณ์ที่สามคือ-การที่คณะกรรมการร่วมระหว่างอัยการสูงสุด(อสส.) และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติร่วมกันให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในข้อกล่าวหาอาจได้รับเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
ยิ่งเมื่อพิจารณาคำพูดของนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่า “เรื่องของคดีอย่างที่เคยเรียน มุมหนึ่งก็จะต่อว่าช้า อีกมุมหนึ่งก็บอกว่าเร็วทุกกรณี ซึ่งกรณีของพันธมิตรฯ เป็นคดีที่ให้มีการรายงานพร้อมๆ กับคดีที่เกี่ยวข้องการชุมนุมทางการเมืองทุกคดี นับตั้งแต่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.)ในขณะนั้น ก่อนที่จะมาคดีของพันธมิตรฯ และคดีของ นปช. และขอให้มีการดำเนินการไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ ที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าค่อนข้างช้า ซึ่งตนได้บอกไปว่า ต้องทำให้มีความเสมอภาค และให้ความเป็นธรรม” ยิ่งทำให้เห็นความเชื่อมโยงที่ชัดขึ้นไปอีก
เนื่องจากคำพูดของนายอภิสิทธิ์มิอาจตีความเป็นอื่นได้ เพราะมีความชัดเจนว่าเขาคือผู้สั่งให้เร่งรัดคดีของพันธมิตรฯ แถมจำนวนผู้ต้องหาจาก 36 คนเป็น 79 คนอีกต่างหาก ภายใต้การสร้างภาพว่า...รัฐบาลไม่แทรกแซงการทำงานของตำรวจ...ไม่สองมาตรฐาน
ทั้งนี้ ชุดความคิดดังกล่าวมีความเป็นไปสูงที่มีเป้าประสงค์เพื่อต้องการกำจัดศัตรูทางการเมือง คือกวาดทั้งเหลืองทั้งแดงให้ไปกองอยู่รวมกัน โดยพยายามสร้างภาพให้ทั้งสองกลุ่มคือผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ขณะที่ตนเองและพรรคประชาธิปัตย์คือผู้ที่มาช่วยกอบกู้บ้านเมือง หรือสรุปง่ายๆ คือต้องการใช้คดีความเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง และเป็นเครื่องมือบีบให้ทั้งสองกลุ่มอยู่ภายใต้เกมที่ตนเองกำหนดขึ้น
แหล่งข่าวจาก “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะจัดชุมนุมใหญ่ครั้งที่ 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงได้เรียกตัว “พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ” รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปพบเพื่อขอหารือ โดยหัวข้อการหารือที่สำคัญคือ ความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะไม่ต้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงใช้เป็นเงื่อนไขในการชุมนุมกดดัน
ขณะที่ พล.ต.อ.ปทีปได้ตอบกลับไปว่า เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายแล้ว การกระทำของพันธมิตรไม่เข้าข่ายความผิดฐานก่อการร้าย จึงทำให้ความพยายามของนายสุเทพในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
“เรื่องของเรื่องคือสุเทพต้องการกระทืบคุณสนธิ(ลิ้มทองกุล)”แหล่งข่าวในศอฉ.กล่าว
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก ความพยายามครั้งที่ 2 จึงถูกส่งผ่านต่อไปยังคู่หูคู่คิดทางการเมืองคือ “นายเนวิน ชิดชอบ” จากนั้นคำสั่งปฏิบัติการก็ถูกส่งต่อมายัง “พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ท.สมยศมีความพยายามที่จะไปขอศาลออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ และผู้เข้าร่วมชุมนุม โดยเมื่อวันที่ 11 มี.ค.53 ก่อนที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงจะเริ่มต้นเพียงแค่ 1 วันคือวันที่ 12 มี.ค.53 นายตำรวจผู้นี้ได้ขนสำนวนเอกสารและหน่วยคอมมานโดไปรอขอออกหมายจับ
นี่คือเกมการเมืองที่อำมหิตไม่น้อย เพราะเจตนาในการสั่งให้ออกหมายเรียกก่อนการชุมนุมใหญ่ของม็อบเสื้อแดงเพียงแค่ 1 วัน ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการให้เกิด “ปรากฏการณ์ม็อบชนม็อบ” เพราะทันทีที่หมายเรียกออกมา แน่นอนว่า กลุ่มคนเสื้อเหลืองอาจไม่พอใจกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งออกมาชุมนุม ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่จะทำให้เกิดการปะทะกับม็อบเสื้อแดง
แน่นอน ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจเชื่อว่า เป็นการสั่งการของนายสุเทพเพียงคนเดียว แต่จากบทเรียนและบทพิสูจน์ที่ผ่านมา ทำให้สังคมรับรู้ได้ว่า คนสั่งการจริงๆ คือนายอภิสิทธิ์
ซ่องโจร-ก่อการร้าย
ข้อหาที่ไม่เป็นธรรม
ถึงตรงนี้....สิ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.ปทีป ตันเสริฐ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะเจ้าของคดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีจะต้องตอบคำถามก็คือ การออกหมายเรียกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจำนวน 79 คนนั้น มีความชอบธรรมเพียงใดกับการยัดข้อกล่าวหาที่หนักหน่วงรุนแรงทั้ง 12 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 11 และ 12 ในข้อหาซ่องโจรและผู้ก่อการร้ายตามลำดับ
เพราะถ้าหากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการจัดการชุมนุมของพันธมิตรฯ แล้ว จะเห็นถึงเจตนาที่ชัดเจนว่า เป็นการชุมนุมโดยสันติ สงบและอหิงสา และผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมืองแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองของขบวนการก่อการร้ายเสื้อแดง
ที่สำคัญคือการชุมนุมของพันธมิตรฯ เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 ซึ่งวรรคท้ายได้บัญญัติเอาไว้ว่า “การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้งหรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นความผิดฐานก่อการร้าย”
นอกจากนี้ การเข้าไปชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองนั้น เป็นเพราะในวันที่ 25 พ.ย.51 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจะเดินทางกลับมาจากประเทศเปรู ประชาชนจึงไม่มั่นใจว่าจะมาลงที่สนามบินดอนเมืองหรือสุวรรณภูมิ จึงเดินทางมาเพื่อกดดันที่สนามบินทั้งสอง มิได้มีเจตนาปิดกั้นและไม่ได้เข้ายึดหอการบิน หากแต่ “นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์” ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งเป็น “น้องภรรยา” ของ “นายวีระ มุสิกพงศ์” ได้ประกาศปิดสนามบินก่อนที่พันธมิตรฯจะเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนั้น นายเสรีรัตน์ต่างหากคือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ขณะเดียวกันการชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็กระทำที่บริเวณด้านหน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการขึ้นลงของเครื่องบิน ทั้งในส่วนของลานบิน หลุมจอด หอบังคับการบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขึ้นหรือลงของสนามบินทั้งสองแห่ง
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้ความเห็นถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธอย่างเต็มที่ ขณะที่การก่อการร้ายนั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องมีการใช้กำลังประทุษร้าย ทำลายทรัพย์สิน ปลุกระดมให้เผาบ้านเผาเมือง ถ้ากระทำตามนั้นก็เป็นผู้ก่อการร้ายได้ แต่สำหรับรายชื่อ 79 คนที่ออกมา ตนเห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้แบ่งเป็นกลุ่มราว 2-3 กลุ่ม ซึ่ง 30-40 คนนี้อยู่ในกลุ่มของผู้ก่อการร้าย ตนเห็นรายชื่อแล้วสงสัยว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ก่อการร้ายได้อย่างไร ในเมื่อกฎหมายได้ระบุคุณสมบัติต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการตั้งข้อหาเพื่อให้สำนวนอ่อนจนศาลอาจสั่งไม่ฟ้องนั้น ตนมองว่านายกฯ ได้ระบุว่าเพื่อความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ฉะนั้นในเมื่อเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย เสื้อเหลืองจะต้องเป็นผู้ก่อการร้ายด้วย เพื่อไม่ให้ 2 มาตรฐาน คนเป็นนายกฯ ไม่ควรพูด อุตส่าห์พูดเก่งแต่ควรคิดให้ลึกมากกว่านี้”
“ผมดูรายชื่อผู้ต้องหาก่อการร้าย คนที่ขึ้นไปแสดงความคิดเห็นบนเวทีให้ผู้ชุมนุมเขาเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ก็ดี คนที่ไปร้องเพลงเล่นดนตรีก็ดี คนที่ไปเยี่ยมหลังเวทีต่างๆ มันโดนหมดเลย ในขณะที่ทางฝ่ายเสื้อแดงคนที่ขึ้นเวที สนับสนุนเงินทอง นักการเมืองในพรรคเพื่อไทย พูดจาปราศรัยปลุกระดมกลับไม่เห็นมีรายชื่อเป็นก่อการร้ายในหมายเรียก หมายจับ แต่ขณะที่หมายเรียกของพวกเสื้อเหลือง ผมดูไปแล้วมันน่าหัวเราะ แล้วจะมาบอกว่ามันยุติธรรม ส่วนการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองก็เป็นการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ ผมไม่เคยเห็นผู้ชุมนุมมีอาวุธหรือมีการซ่องสุ่มอาวุธ ผมไม่ได้พูดเข้าข้างแต่จะชี้ให้เห็นเลยว่าพฤติกรรมกับพวกเสื้อแดงนี่มันต่างกัน ควรไปอ่านกฎหมายให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่มายกว่ามาตรฐานเดียวกัน” น.ต.ประสงค์กล่าว
แน่นอนว่า เป้าประสงค์ในครั้งนี้ก็คือ การยัดข้อหา “ก่อการร้าย” ให้กับทั้งเหลืองทั้งแดง จากนั้นก็ได้ฤกษ์ยามได้จังหวะที่จะนิรโทษกรรมให้ทั้งสองฝ่าย บ้านเมืองจะได้นับหนึ่งกันใหม่....รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะได้ไม่ต้องวุ่นวายกับการแก้ปัญหา
แต่นี่คือตรรกะที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะการนับหนึ่งของรัฐบาลด้วยการยกชั้นและยัดเยียดให้พันธมิตรฯ เป็นผู้ก่อการร้ายเท่ากับพวกชุดดำ ชุดแดงที่เผาบ้านเผาเมืองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรมด้วยประการทั้งปวง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 16 กรกฎาคม 2553 23:30 น.
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ใครจะไปเชื่อว่า ภายใต้ใบหน้าที่หล่อเหลาและการพูดจาที่ไพเราะเสนาะหู จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงราวหน้ามือกับหลังมือของชายที่มีชื่อว่า “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย ยิ่งในระยะหลังด้วยแล้ว เขายิ่งฉายแววของความอำมหิตมากขึ้นไปทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวัดผลจากประสิทธิภาพในการบริหารชาติบ้านเมือง
ไล่เรื่อยมาตั้งแต่การปล่อยให้ “เนวินกรุ๊ป” และ “อดีตกำนันตำบลท่าสะท้อน” กระทำย่ำยีและสูบผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองและพวกพ้องโดยไม่เคยคิดที่จะห้ามปราบ ความผิดพลาดในการจัดการกับขบวนการก่อการร้ายเสื้อแดงกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมเผาบ้านเผาเมือง และล่าสุดกับการเล่นเกม 2 หน้าในการทำลายศัตรูทางการเมืองให้ย่อยยับด้วยการสั่งการและเร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ฟ้องกราวรูด 79 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมด้วยข้อหาที่ไม่เป็นธรรมคือซ่องโจรและก่อการร้าย ในคดีการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
ดังนั้น จึงไม่เกินเลยไปนักที่จะมอบสมญานาม “นักฆ่าแห่งอีตั้น” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสืบไป
”มาร์ค-เทือกและห้อย”
การผนึกกำลังของเทพมารสะท้านฟ้า
หากต้องการจะฉายภาพเจ้าของสมญานาม “นักฆ่าแห่งอีตั้น” ที่ชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คงต้องย้อนกลับไปไล่เรียงกันมาตั้งแต่ก่อนที่เขาจะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย เพราะนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของชุดความคิดทางการเมืองที่ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิมาร์ค-เนวินและแนวคิดเทพเทือก” ที่จัดขั้วผสมพันธุ์กันเป็นรัฐบาลด้วยการทรยศหักหลังของนายเนวิน ชิดชอบที่มีต่อ นช.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งการโอบอุ้มของเหล่าขุนทหารทั้งในและนอกราชการ นำทีมโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ฯลฯ โดยมี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” เป็นผู้จัดการรัฐบาล จนรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ได้รับฉายาว่า “รัฐบาลเทพประทาน”
กลายเป็นรัฐบาลที่มีจุดกำเนิดที่พิกลพิการที่สุดรัฐบาลหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
“ผมรับไม่ได้กับการที่ประชาธิปัตย์ไปร่วมมือกับนายเนวิน”ผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่งให้ความเห็นถึงสถานการณ์เมื่อครั้งพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลเป็นผลสำเร็จ และนั่นเป็นที่มาที่ทำให้ผู้ใหญ่คนนี้ถอนตัวออกจากพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคนี้
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เป็นรัฐบาลปาฏิหาริย์รักต่างสายพันธุ์เช่นนี้ ทำให้ต้องมีการค้นคิดสมการทางการเมืองขึ้นมาเพื่อแต่งหน้าทาปากให้เป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาเสถียรภาพในการเป็นรัฐบาลเอาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะการประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อในการจัดการกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริต
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์ก็หรี่ตาเอาไว้ข้างหนึ่งด้วยการปล่อยให้นายสุเทพ ร่วมมือกับนายเนวินไปกระทำการต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ โดยไม่เคยที่จะจัดการอะไรกับบรรดารัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยของนายเนวินที่เข็นสารพัดโครงการที่คนไทยทั้งประเทศกังขา หรือถ้าคัดง้างก็ทำพอเป็นพิธี จากนั้นก็ทำเป็นนิ่งเฉยเลยผ่าน
กระทั่งในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป ประชาชนที่เคยสนับสนุนก็เริ่มหูตาสว่างและได้รับรู้ความจริงนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ที่โฆษณาชวนเชื่อว่า “ประชาชนมาก่อน” นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเพียงแค่คำพูดของ “เด็กเลี้ยงแกะ” เพราะ “เนวินมาก่อน” ต่างหากเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ยึดถือเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารอำนาจของตัวเองหลังจากเสพติดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีจนทนไม่ได้ที่จะมีอันต้องพรากจากไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่นายเนวินเท่านั้น หากแต่รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์เองก็มิได้เคยควบคุมให้อยู่ในร่องในรอยได้สำเร็จ ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมาถูกโจมตีในเรื่องคอรัปชันไม่น้อย เริ่มตั้งแต่ปลากระป๋องเน่าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ การถูกกล่าวหาว่าทุจริตในโครงการชุมชมพอเพียง ความไม่โปร่งใสในโครงการ SP2 ที่กระทรวงสาธารณสุข ความไร้สาระในการจัดโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิด ปัญหาไข่ไก่ราคาแพง การปล่อยข่าวซื้อไทยคมที่ทำให้หุ้นพุ่งสูงขึ้นโดยที่ยังไม่ได้มีแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ฯลฯ
ซ้ำร้ายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังยอมเดินตามรอยรัฐบาลทักษิณที่ใช้นโยบาย “ประชานิยม” ครองใจชาวบ้านจนทุกวันนี้อย่างไม่ปราณีปราศรัย เพื่อหวังผลทางการเมือง กระชับความรู้สึกกับรากหญ้า ซื้อใจประชาชน หวังผลในเรื่องคะแนนเสียงคะแนนนิยมในการเลือกตั้งที่จะมาถึงโดยหว่านโปรย ลด แลก แจก แถมอย่างจุใจ จนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านงบประมาณในอนาคตได้
และเมื่อตระหนักรู้ว่า ชุดความคิดของลัทธิมาร์ค-เนวินและแนวคิดเทพเทือกได้ผล นายอภิสิทธิ์ก็เริ่มที่จะไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนหรือกลุ่มชนที่เคยให้การสนับสนุนในการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของเขา ไม่สนใจประชาชนที่เสียภาษีให้เขาได้จับจ่ายใช้สอยอย่างสบายมือหากแต่คิดถึงพวกพ้องของตัวเองเป็นสำคัญ มิหนำซ้ำนานวันเข้า ก็ยิ่งเห็นเป็นศัตรูทางการเมืองที่จะต้องกำจัดไปให้สิ้นซาก เพื่อมิให้เป็นหอกข้างแคร่ขัดขวางเส้นทางอำนาจของเขา
จนกระทั่งลืมไปว่า ในยามที่นายอภิสิทธิ์ตกอยู่ในภาวะลำบากถึงขีดสุดจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ใครคือผู้ที่ช่วยพยุงเก้าอี้ของเขาเอาไว้ มิใช่ประชาชนที่ลุกขึ้นมาให้กำลังใจหรอกหรือ
พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตคมช.คนสำคัญถึงกับเปรยเสียงดังๆ ให้คนข้างตัวได้ยินว่า “พรรคประชาธิปัตย์ไม่ฉลาดเลยที่ทอดทิ้งประชาชน และทอดทิ้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายคนจึงเริ่มตั้งคำถามพร้อมวิพากษ์วิจารณ์ดังๆ ออกมาให้ได้ยินกันหนาหูว่า จริงๆ แล้วนายอภิสิทธิ์นั้นมี “ความเหี้ยม” กว่า “นช.ทักษิณ” เสียอีก เพราะเป็นความเหี้ยมที่ประชาชนคนธรรมดาที่มิได้ “รู้ทันอภิสิทธิ์” ตามความคิดของเขาทันได้
ขณะเดียวกัน เมื่อคนที่รู้เท่าทันเริ่มตรวจสอบนายอภิสิทธิ์ เกมการเมืองเพื่อ “เลี้ยงไข้” ปัญหาต่างๆ ก็ถูกงัดออกมาเพื่อทำให้สังคมช่วยกันโอบอุ้มเขาให้นั่งอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะถ้าหากเขาพ้นไปแล้ว ไม่มีคนที่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่นี้ได้
ฟ้อง 79 พันธมิตรฯ
หมากกลเพื่อรักษาอำนาจ
เมื่อรูปการณ์เป็นเช่นนี้ เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ จะพบเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ มิหนำซ้ำยังมีความพยายามที่จะนำมาเชื่อมโยงเข้าหากันเพื่อหวังผลทางการเมืองอีกต่างหาก
เหตุการณ์แรกคือ-การดำเนินคดีกับกลุ่มคนเสื้อแดงในข้อหาผู้ก่อการร้ายจากกรณีเผาบ้านเผาบ้านเผาเมือง
เหตุการณ์ที่สองคือ-การดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในคดีการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง
และเหตุการณ์ที่สามคือ-การที่คณะกรรมการร่วมระหว่างอัยการสูงสุด(อสส.) และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติร่วมกันให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในข้อกล่าวหาอาจได้รับเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
ยิ่งเมื่อพิจารณาคำพูดของนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่า “เรื่องของคดีอย่างที่เคยเรียน มุมหนึ่งก็จะต่อว่าช้า อีกมุมหนึ่งก็บอกว่าเร็วทุกกรณี ซึ่งกรณีของพันธมิตรฯ เป็นคดีที่ให้มีการรายงานพร้อมๆ กับคดีที่เกี่ยวข้องการชุมนุมทางการเมืองทุกคดี นับตั้งแต่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.)ในขณะนั้น ก่อนที่จะมาคดีของพันธมิตรฯ และคดีของ นปช. และขอให้มีการดำเนินการไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ ที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าค่อนข้างช้า ซึ่งตนได้บอกไปว่า ต้องทำให้มีความเสมอภาค และให้ความเป็นธรรม” ยิ่งทำให้เห็นความเชื่อมโยงที่ชัดขึ้นไปอีก
เนื่องจากคำพูดของนายอภิสิทธิ์มิอาจตีความเป็นอื่นได้ เพราะมีความชัดเจนว่าเขาคือผู้สั่งให้เร่งรัดคดีของพันธมิตรฯ แถมจำนวนผู้ต้องหาจาก 36 คนเป็น 79 คนอีกต่างหาก ภายใต้การสร้างภาพว่า...รัฐบาลไม่แทรกแซงการทำงานของตำรวจ...ไม่สองมาตรฐาน
ทั้งนี้ ชุดความคิดดังกล่าวมีความเป็นไปสูงที่มีเป้าประสงค์เพื่อต้องการกำจัดศัตรูทางการเมือง คือกวาดทั้งเหลืองทั้งแดงให้ไปกองอยู่รวมกัน โดยพยายามสร้างภาพให้ทั้งสองกลุ่มคือผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ขณะที่ตนเองและพรรคประชาธิปัตย์คือผู้ที่มาช่วยกอบกู้บ้านเมือง หรือสรุปง่ายๆ คือต้องการใช้คดีความเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง และเป็นเครื่องมือบีบให้ทั้งสองกลุ่มอยู่ภายใต้เกมที่ตนเองกำหนดขึ้น
แหล่งข่าวจาก “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะจัดชุมนุมใหญ่ครั้งที่ 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงได้เรียกตัว “พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ” รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปพบเพื่อขอหารือ โดยหัวข้อการหารือที่สำคัญคือ ความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะไม่ต้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงใช้เป็นเงื่อนไขในการชุมนุมกดดัน
ขณะที่ พล.ต.อ.ปทีปได้ตอบกลับไปว่า เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายแล้ว การกระทำของพันธมิตรไม่เข้าข่ายความผิดฐานก่อการร้าย จึงทำให้ความพยายามของนายสุเทพในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
“เรื่องของเรื่องคือสุเทพต้องการกระทืบคุณสนธิ(ลิ้มทองกุล)”แหล่งข่าวในศอฉ.กล่าว
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก ความพยายามครั้งที่ 2 จึงถูกส่งผ่านต่อไปยังคู่หูคู่คิดทางการเมืองคือ “นายเนวิน ชิดชอบ” จากนั้นคำสั่งปฏิบัติการก็ถูกส่งต่อมายัง “พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง” ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ท.สมยศมีความพยายามที่จะไปขอศาลออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ และผู้เข้าร่วมชุมนุม โดยเมื่อวันที่ 11 มี.ค.53 ก่อนที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงจะเริ่มต้นเพียงแค่ 1 วันคือวันที่ 12 มี.ค.53 นายตำรวจผู้นี้ได้ขนสำนวนเอกสารและหน่วยคอมมานโดไปรอขอออกหมายจับ
นี่คือเกมการเมืองที่อำมหิตไม่น้อย เพราะเจตนาในการสั่งให้ออกหมายเรียกก่อนการชุมนุมใหญ่ของม็อบเสื้อแดงเพียงแค่ 1 วัน ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องการให้เกิด “ปรากฏการณ์ม็อบชนม็อบ” เพราะทันทีที่หมายเรียกออกมา แน่นอนว่า กลุ่มคนเสื้อเหลืองอาจไม่พอใจกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งออกมาชุมนุม ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่จะทำให้เกิดการปะทะกับม็อบเสื้อแดง
แน่นอน ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจเชื่อว่า เป็นการสั่งการของนายสุเทพเพียงคนเดียว แต่จากบทเรียนและบทพิสูจน์ที่ผ่านมา ทำให้สังคมรับรู้ได้ว่า คนสั่งการจริงๆ คือนายอภิสิทธิ์
ซ่องโจร-ก่อการร้าย
ข้อหาที่ไม่เป็นธรรม
ถึงตรงนี้....สิ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.ปทีป ตันเสริฐ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะเจ้าของคดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีจะต้องตอบคำถามก็คือ การออกหมายเรียกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจำนวน 79 คนนั้น มีความชอบธรรมเพียงใดกับการยัดข้อกล่าวหาที่หนักหน่วงรุนแรงทั้ง 12 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 11 และ 12 ในข้อหาซ่องโจรและผู้ก่อการร้ายตามลำดับ
เพราะถ้าหากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการจัดการชุมนุมของพันธมิตรฯ แล้ว จะเห็นถึงเจตนาที่ชัดเจนว่า เป็นการชุมนุมโดยสันติ สงบและอหิงสา และผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมืองแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองของขบวนการก่อการร้ายเสื้อแดง
ที่สำคัญคือการชุมนุมของพันธมิตรฯ เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 ซึ่งวรรคท้ายได้บัญญัติเอาไว้ว่า “การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้งหรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นความผิดฐานก่อการร้าย”
นอกจากนี้ การเข้าไปชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองนั้น เป็นเพราะในวันที่ 25 พ.ย.51 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจะเดินทางกลับมาจากประเทศเปรู ประชาชนจึงไม่มั่นใจว่าจะมาลงที่สนามบินดอนเมืองหรือสุวรรณภูมิ จึงเดินทางมาเพื่อกดดันที่สนามบินทั้งสอง มิได้มีเจตนาปิดกั้นและไม่ได้เข้ายึดหอการบิน หากแต่ “นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์” ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งเป็น “น้องภรรยา” ของ “นายวีระ มุสิกพงศ์” ได้ประกาศปิดสนามบินก่อนที่พันธมิตรฯจะเดินทางไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนั้น นายเสรีรัตน์ต่างหากคือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ขณะเดียวกันการชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็กระทำที่บริเวณด้านหน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการขึ้นลงของเครื่องบิน ทั้งในส่วนของลานบิน หลุมจอด หอบังคับการบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขึ้นหรือลงของสนามบินทั้งสองแห่ง
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้ความเห็นถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธอย่างเต็มที่ ขณะที่การก่อการร้ายนั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องมีการใช้กำลังประทุษร้าย ทำลายทรัพย์สิน ปลุกระดมให้เผาบ้านเผาเมือง ถ้ากระทำตามนั้นก็เป็นผู้ก่อการร้ายได้ แต่สำหรับรายชื่อ 79 คนที่ออกมา ตนเห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้แบ่งเป็นกลุ่มราว 2-3 กลุ่ม ซึ่ง 30-40 คนนี้อยู่ในกลุ่มของผู้ก่อการร้าย ตนเห็นรายชื่อแล้วสงสัยว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ก่อการร้ายได้อย่างไร ในเมื่อกฎหมายได้ระบุคุณสมบัติต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการตั้งข้อหาเพื่อให้สำนวนอ่อนจนศาลอาจสั่งไม่ฟ้องนั้น ตนมองว่านายกฯ ได้ระบุว่าเพื่อความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ฉะนั้นในเมื่อเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย เสื้อเหลืองจะต้องเป็นผู้ก่อการร้ายด้วย เพื่อไม่ให้ 2 มาตรฐาน คนเป็นนายกฯ ไม่ควรพูด อุตส่าห์พูดเก่งแต่ควรคิดให้ลึกมากกว่านี้”
“ผมดูรายชื่อผู้ต้องหาก่อการร้าย คนที่ขึ้นไปแสดงความคิดเห็นบนเวทีให้ผู้ชุมนุมเขาเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ก็ดี คนที่ไปร้องเพลงเล่นดนตรีก็ดี คนที่ไปเยี่ยมหลังเวทีต่างๆ มันโดนหมดเลย ในขณะที่ทางฝ่ายเสื้อแดงคนที่ขึ้นเวที สนับสนุนเงินทอง นักการเมืองในพรรคเพื่อไทย พูดจาปราศรัยปลุกระดมกลับไม่เห็นมีรายชื่อเป็นก่อการร้ายในหมายเรียก หมายจับ แต่ขณะที่หมายเรียกของพวกเสื้อเหลือง ผมดูไปแล้วมันน่าหัวเราะ แล้วจะมาบอกว่ามันยุติธรรม ส่วนการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองก็เป็นการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ ผมไม่เคยเห็นผู้ชุมนุมมีอาวุธหรือมีการซ่องสุ่มอาวุธ ผมไม่ได้พูดเข้าข้างแต่จะชี้ให้เห็นเลยว่าพฤติกรรมกับพวกเสื้อแดงนี่มันต่างกัน ควรไปอ่านกฎหมายให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่มายกว่ามาตรฐานเดียวกัน” น.ต.ประสงค์กล่าว
แน่นอนว่า เป้าประสงค์ในครั้งนี้ก็คือ การยัดข้อหา “ก่อการร้าย” ให้กับทั้งเหลืองทั้งแดง จากนั้นก็ได้ฤกษ์ยามได้จังหวะที่จะนิรโทษกรรมให้ทั้งสองฝ่าย บ้านเมืองจะได้นับหนึ่งกันใหม่....รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะได้ไม่ต้องวุ่นวายกับการแก้ปัญหา
แต่นี่คือตรรกะที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะการนับหนึ่งของรัฐบาลด้วยการยกชั้นและยัดเยียดให้พันธมิตรฯ เป็นผู้ก่อการร้ายเท่ากับพวกชุดดำ ชุดแดงที่เผาบ้านเผาเมืองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรมด้วยประการทั้งปวง