คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาตั้งแต่ ไม่แสดงท่าทีอะไรเมื่อรัฐบาลสั่งเคลื่อนกำลังทหารจำนวนนับหมื่นคน เพื่อเตรียมการสลายการชุมนุมของประชาชน
มาจนกระทั่งถึงการวางเฉยต่อกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและการปะทะกันถึง 90 ราย ในขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน
ล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ถูกทวงถามถึงความตระหนักในภาระหน้าที่ของตนเอง ต่อกรณีที่รัฐบาลใช้อำนาจตามพระราชกำหนดฉุกเฉินจับกุมคุมขังประชาชนโดยไม่มีการตั้งข้อหา
ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
มาจนถึงกรณีของนายสมบัติ บุญงามอนงค์
เพราะไม่ว่าจะโดยภาระหน้าที่ หรือคุณสมบัติส่วนตัว ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็จะต้องมีตระหนักสำนึกในเรื่องสิทธิมนุษยชนสูงกว่าผู้อื่น
การไม่แสดงออกถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ จนกระทั่งต้องมีประชาชนลุกขึ้นมาทวงถามก็ดี หรือมีองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศต้องยื่นมือเข้ามาทำหน้าที่แทนก็ดี
มิได้เป็นเพียงความล้มเหลวส่วนบุคคลของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังเป็นความล้มเหลวขององค์กรและระบบ
ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประชาชนหมดความเชื่อถือศรัทธาในหลักการสิทธิมนุษยชนไปด้วย
ถ้าไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความกล้าหาญเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันก็น่าจะลาออก เพื่อเปิดทางให้ผู้มีความพร้อมหรือความกล้าหาญมากกว่าเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน
ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนขาดที่พึ่ง สังคมเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าจะสามารถถืออะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวได้
ถ้าองค์กรที่ควรจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผดุงความเป็นธรรมอย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของตนเองอย่างเต็มกำลัง
ความล้มเหลวในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นนั้น
จะยิ่งฉุดลากสังคมให้ดิ่งลึกลงไปในหุบเหวแห่งหายนะ
ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาตั้งแต่ ไม่แสดงท่าทีอะไรเมื่อรัฐบาลสั่งเคลื่อนกำลังทหารจำนวนนับหมื่นคน เพื่อเตรียมการสลายการชุมนุมของประชาชน
มาจนกระทั่งถึงการวางเฉยต่อกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและการปะทะกันถึง 90 ราย ในขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน
ล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ถูกทวงถามถึงความตระหนักในภาระหน้าที่ของตนเอง ต่อกรณีที่รัฐบาลใช้อำนาจตามพระราชกำหนดฉุกเฉินจับกุมคุมขังประชาชนโดยไม่มีการตั้งข้อหา
ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
มาจนถึงกรณีของนายสมบัติ บุญงามอนงค์
เพราะไม่ว่าจะโดยภาระหน้าที่ หรือคุณสมบัติส่วนตัว ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็จะต้องมีตระหนักสำนึกในเรื่องสิทธิมนุษยชนสูงกว่าผู้อื่น
การไม่แสดงออกถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ จนกระทั่งต้องมีประชาชนลุกขึ้นมาทวงถามก็ดี หรือมีองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศต้องยื่นมือเข้ามาทำหน้าที่แทนก็ดี
มิได้เป็นเพียงความล้มเหลวส่วนบุคคลของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังเป็นความล้มเหลวขององค์กรและระบบ
ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประชาชนหมดความเชื่อถือศรัทธาในหลักการสิทธิมนุษยชนไปด้วย
ถ้าไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความกล้าหาญเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันก็น่าจะลาออก เพื่อเปิดทางให้ผู้มีความพร้อมหรือความกล้าหาญมากกว่าเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน
ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนขาดที่พึ่ง สังคมเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าจะสามารถถืออะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวได้
ถ้าองค์กรที่ควรจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผดุงความเป็นธรรมอย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของตนเองอย่างเต็มกำลัง
ความล้มเหลวในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นนั้น
จะยิ่งฉุดลากสังคมให้ดิ่งลึกลงไปในหุบเหวแห่งหายนะ