คอลัมน์ เหล็กใน
"ปฏิรูป" กลายเป็นคำฮิตขึ้นมาอีกครั้งหลังจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งคณะกรรมการขึ้นหลายต่อหลายชุด ที่รู้คุ้นๆ เช่น ปฏิรูปประเทศที่ทาบทามที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส มาเป็นแกนนำ
รวมไปถึงการปฏิรูปตำรวจ ที่พูดกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลคมช.ที่มีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ ราวปี 2550
และพูดกันอึงมี่อีกครั้งเมื่อคราวเกิดเหตุร้ายกับ"จ่าเพียร"พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีตผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ที่ถูกระเบิดโจรใต้เสียชีวิต อันโยงไปถึงปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ
จ่าเพียร ควรจะได้รับการโยกย้ายไปอยู่นอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีชื่ออยู่ในโผแล้ว แต่สุดท้ายต้องอยู่ตำแหน่งเดิม เนื่องจากไปเจอเด็กเส้น และเงินไม่ถึงพอ
นายอภิสิทธิ์ ดึงพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ มาเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ
และเป็นรูปเป็นร่างเมื่อเสนอครม.ให้อนุมัติเรียบร้อย
ที่น่าสนใจก็คือทุกๆ ครั้งที่พูดถึงการปฏิรูปตำรวจ ปัจจัยหลักมักจะต้องการให้ตำรวจมีอิสระ หรือมีความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย
แต่ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ทำให้ตำรวจเหมือนถูกมัดมือ มัดเท้ามาตลอด
และหลายๆ กรณีเหมือนเข้าไปก้าวก่าย และทำผิดระเบียบปฏิบัติเสียเอง
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการตั้งผบ.ตร. ซึ่งยังไม่ได้ตัวจริงมาจนทุกวันนี้ทั้งๆ ที่ผ่านมาจะเกือบ 1 ปีแล้ว
เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ต้องการเสนอชื่อนายตำรวจคนหนึ่ง แต่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) โดยเสียงส่วนใหญ่ เห็นชอบกับอีกชื่อหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ ใช้อำนาจและข้อต่อรองเพื่อให้ได้คนที่ตัวเองต้องการ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สำเร็จ
จึงซิกแซ็กใช้อำนาจเลื่อนตั้งผบ.ตร. โดยใช้วิธีตั้งรักษาการมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้
และล่าสุดเสนอเปิดเก้าอี้ที่ปรึกษา สบ10 เทียบเท่ารองผบ.ตร. ขึ้นมาเป็นพิเศษรองรับนายตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งหมายมั่นปั้นมือว่าจะดันขึ้นเป็นนายใหญ่สีกากีในอนาคต
ซึ่งอาจจะเข้าข่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบ เพราะเป็นการเปิดตำแหน่งเฉพาะซึ่งยังไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น
นี่ยังไม่นับปัญหาการโยกย้ายที่ผ่านมาซึ่งว่ากันว่าใช้ทั้งเส้นสาย และมีเงินสะพัดมากที่สุดยุคหนึ่ง ก็มีชื่อคนใกล้ชิดนายกฯ เข้าไปมีเอี่ยวด้วย
ดูๆไปแล้วการปฏิรูปตำรวจ ยังไม่รู้ว่าคนที่ได้ประโยชน์จริงๆ จะเป็นตำรวจ ประชาชน หรือนักการเมืองกันแน่
วงการตำรวจที่ยังปั่นป่วนอยู่ทุกวันนี้ สาเหตุส่วนใหญ่ล้วนมาจากนักการเมืองทั้งนั้น เพราะขนาดมีพ.ร.บ.ตำรวจ มีคณะกรรมการหลายต่อหลายชุด มีกฎ กติกาป้องกันไว้มากมาย แต่นักการเมืองยังซิกแซ็กเพื่อหาประโยชน์จากตำรวจได้ตลอด
สรุปแล้วนักการเมืองปฏิรูปตัวเองก่อนดีกว่าไหม
รวมไปถึงการปฏิรูปตำรวจ ที่พูดกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลคมช.ที่มีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ ราวปี 2550
และพูดกันอึงมี่อีกครั้งเมื่อคราวเกิดเหตุร้ายกับ"จ่าเพียร"พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีตผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ที่ถูกระเบิดโจรใต้เสียชีวิต อันโยงไปถึงปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ
จ่าเพียร ควรจะได้รับการโยกย้ายไปอยู่นอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีชื่ออยู่ในโผแล้ว แต่สุดท้ายต้องอยู่ตำแหน่งเดิม เนื่องจากไปเจอเด็กเส้น และเงินไม่ถึงพอ
นายอภิสิทธิ์ ดึงพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ มาเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ
และเป็นรูปเป็นร่างเมื่อเสนอครม.ให้อนุมัติเรียบร้อย
ที่น่าสนใจก็คือทุกๆ ครั้งที่พูดถึงการปฏิรูปตำรวจ ปัจจัยหลักมักจะต้องการให้ตำรวจมีอิสระ หรือมีความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย
แต่ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ทำให้ตำรวจเหมือนถูกมัดมือ มัดเท้ามาตลอด
และหลายๆ กรณีเหมือนเข้าไปก้าวก่าย และทำผิดระเบียบปฏิบัติเสียเอง
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการตั้งผบ.ตร. ซึ่งยังไม่ได้ตัวจริงมาจนทุกวันนี้ทั้งๆ ที่ผ่านมาจะเกือบ 1 ปีแล้ว
เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ต้องการเสนอชื่อนายตำรวจคนหนึ่ง แต่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) โดยเสียงส่วนใหญ่ เห็นชอบกับอีกชื่อหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ ใช้อำนาจและข้อต่อรองเพื่อให้ได้คนที่ตัวเองต้องการ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สำเร็จ
จึงซิกแซ็กใช้อำนาจเลื่อนตั้งผบ.ตร. โดยใช้วิธีตั้งรักษาการมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้
และล่าสุดเสนอเปิดเก้าอี้ที่ปรึกษา สบ10 เทียบเท่ารองผบ.ตร. ขึ้นมาเป็นพิเศษรองรับนายตำรวจคนหนึ่ง ซึ่งหมายมั่นปั้นมือว่าจะดันขึ้นเป็นนายใหญ่สีกากีในอนาคต
ซึ่งอาจจะเข้าข่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบ เพราะเป็นการเปิดตำแหน่งเฉพาะซึ่งยังไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น
นี่ยังไม่นับปัญหาการโยกย้ายที่ผ่านมาซึ่งว่ากันว่าใช้ทั้งเส้นสาย และมีเงินสะพัดมากที่สุดยุคหนึ่ง ก็มีชื่อคนใกล้ชิดนายกฯ เข้าไปมีเอี่ยวด้วย
ดูๆไปแล้วการปฏิรูปตำรวจ ยังไม่รู้ว่าคนที่ได้ประโยชน์จริงๆ จะเป็นตำรวจ ประชาชน หรือนักการเมืองกันแน่
วงการตำรวจที่ยังปั่นป่วนอยู่ทุกวันนี้ สาเหตุส่วนใหญ่ล้วนมาจากนักการเมืองทั้งนั้น เพราะขนาดมีพ.ร.บ.ตำรวจ มีคณะกรรมการหลายต่อหลายชุด มีกฎ กติกาป้องกันไว้มากมาย แต่นักการเมืองยังซิกแซ็กเพื่อหาประโยชน์จากตำรวจได้ตลอด
สรุปแล้วนักการเมืองปฏิรูปตัวเองก่อนดีกว่าไหม