คนอาสาทำเพื่อชาติอยู่ในห้องแอร์เย็นฉ่ำราคาแพง..
คนไม่แหงนหน้าอาสาทำเพื่อชาติตากแดด ตากลม ฝนและอาศัยห้องราคาพอเพียงหรือบางคนก็เพียงพอ
ภายหลังเหตุการณ์เผาเมือง 19 พฤษภาคม 2553 ประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยออกมาร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ ความยากจน อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำระหว่าง “คนรวย” กับ “คนจน”
ความเหลื่อมล้ำที่ว่าสะท้อนผ่านการ “ถือครองที่ดิน”
ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน ปี 2549 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ร้อยละ 40 ของครัวเรือนภาคเกษตรไม่มีที่ดินเลย หรือถือครองที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ และจำนวนครัวเรือนที่ไม่ได้ถือครองที่ดินเลยนับวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตอย่างแท้จริง แต่เป็นการซื้อที่ดินของนายทุนเพื่อเก็งกำไร
หากว่ากันจริงๆ กางแผนที่จิ้ม “ที่ดิน” ...ไม่น้อยที่อยู่ในการครอบครองของ “ตัวแทนประชาชน”
รวมไปถึงขุนนางผู้มีเกียรติของไทย!!
สถิติเหล่านี้ล้วนตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคม!! อย่างมิอาจมองข้าม
ไม่นับรวมผู้ทรงอิทธิพลทางการเงินที่กว้านซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเพื่อน “โก่งราคา” เก็งกำไรอีกไม่น้อย
ชาวเกษตรกรส่วนใหญ่อับจนที่ดินทำกินในขณะที่ดินกับมั่งคั่งในพรรคการเมือง ตั้งแต่พรรคใหญ่ถึง
พรรคเล็ก อย่าง ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ชาติไทยพัฒนา หรือภูมิใจไทย ที่จัดอยู่ในพรรคขนาดกลางแต่ “มั่งคั่ง”
นอกจากที่ดินที่คนไทยมีสิทธิ์ครอบครองแล้วพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดถือครองเป็นการส่วนบุคคลก็ยังมีการครอบครองโดยผู้ทรงอิทธิพล
คำถามที่มีคำตอบแต่ไร้คำตอบ...เพราะความรวย-ความจน-บทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันยังค้ำคอให้ “ใบ้แดก” อาทิ ที่ดินสปก.4-01 ยังค้างคาหาคำตอบให้กับสังคมไม่ได้ หรือแม้จะมีการชี้แจงไปแล้วแต่ “ไม่ชัดเจน”
หากมองไปที่กลุ่มเกษตรกรผู้เหลื่อมล้ำทำกินไปในที่สาธารณะ... ต้องพับแผนเก็บการขยายที่ทำกินอย่างเร่งด่วน..
สะท้อนให้เห็นการตรวจสอบ ควบคุมที่มีช่องว่างและความล้มเหลวของภาครัฐ..
ตราบใดที่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังมีให้เห็นความต่างที่ยากต่อการทำความเข้าใจ..คนของบ้านเมืองยังใหญ่คับฟ้ากว่าชาวบ้านตาดำๆ
สังคมไทยคงถามหาความเสมอภาคได้ยากยิ่ง