บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน. ฟัน6ส.ส.ถือหุ้นต้องห้าม

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ



เวลา 15.00 น. วันที่ 3 พ.ย. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดยนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทน ราษฎร ส่งความเห็นกกต. ให้วินิจฉัยกรณีสมาชิกภาพของ ส.ว.และส.ส. สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6)

เนื่องจากกระทำการต้องห้ามตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) ประกอบมาตรา 48 กรณีถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อสารมวลชน โทรคมมาคม หรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญา และเป็นสัมปทานกับรัฐหรือไม่

มีตุลาการออกนั่ง 8 คน ขาดนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาพักร้อนไปต่างประเทศ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ให้สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของ

1.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ 2.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา และรมช.คมนาคม 3.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน

4.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย และรมช.มหาดไทย 5.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส. ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย และ 6.ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน

สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6) เนื่องจากถือครองหุ้นในธุรกิจที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ หรือคู่สัญญากับรัฐ และธุรกิจสื่อโทรคมนาคม ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) ประกอบมาตรา 48

เนื่องจากขณะถือครองหุ้นดังกล่าว ผู้ถูกร้องทั้ง 6 คนมีสถานะเป็นส.ส.แล้ว โดยเริ่มนับตั้งแต่ 23 ธ.ค.50 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง

โดย นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยระบุเหตุผลของศาลว่า กกต.มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแสดงหลักฐานเพื่อโต้แย้งแล้ว

ขณะ ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 265 บัญญัติห้ามการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ระบุถึงการห้ามครองหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐทั้งทางตรงและ ทางอ้อม

ซึ่งมีความหมายว่า ต้องไม่ให้สมาชิกรัฐสภากระทำการใดๆ ที่จะเป็นการใช้อำนาจเข้าไปบริหารงาน หรือไปใช้อำนาจ

รวม ไปถึงบริษัทที่แม้ไม่รับสัมปทานโดยตรง แต่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทในจำนวนมากพอที่จะมีอำนาจบริหารงาน หรือครอบงำกิจการได้ หรือที่เรียกว่า ′โฮลดิ้งคอมปานี′ ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำโดยอ้อม

แต่การต้องห้ามถือหุ้นตามมาตรา 265 คำนึงว่า ต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น ไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินวัตถุประสงค์ของกฎหมาย

ศาล ยังเห็นว่า การถือหุ้นต้องห้ามไม่ได้มีความหมายรวมไปถึงก่อนการเข้าดำรงตำแหน่งสมาชิก รัฐสภา เพราะหากรัฐธรรมนูญมีเจตนาเช่นนั้น ต้องบัญญัติไว้ เช่น การห้ามคงไว้ซึ่งหุ้นของนายกฯ และรัฐมนตรี ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 269 ด้วย

ซึ่ง หากพิจารณามาตรา 269 มิได้ห้ามนายกฯคงถือหุ้นไว้อย่างเด็ดขาด เพราะยังบัญญัติว่าหากประสงค์จะถือหุ้นดังกล่าวไว้ ก็ให้แจ้งต่อประธาน ป.ป.ช. ทราบใน 30 วัน ทั้งที่นายกฯ ใช้อำนาจบริหารและแสวงหาประโยชน์ได้มากกว่าสมาชิกรัฐสภา

ดังนั้นการห้ามถือหุ้นของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงน่าจะเบาและผ่อนคลายกว่า

อีก ทั้งถ้ารัฐธรรมนูญจะประสงค์ห้ามคงไว้ ต้องเขียนเอาไว้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่นที่เคยบัญญัติไว้ แต่ในรัฐธรรม นูญปัจจุบันต้องการให้เหมือนฉบับปี 2540 ซึ่งไม่มีบัญญัติห้ามการคงไว้

การที่รัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) ประกอบมาตรา 48 บัญญัติให้เป็นเหตุแห่งการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. และ ส.ว. ดังนั้นการจะพิจารณาว่าการกระทำตามมาตรา 265 ถือเป็นความผิดแล้วหรือไม่

ต้องหมายความว่า ส.ส.และส.ว.ต้องมีสมาชิกภาพเสียก่อน จึงจะกระทำการต้องห้ามได้

อีก ทั้งเมื่อพิจารณาถึงลักษณะต้องห้ามของส.ส.และส.ว. มิได้บัญญัติห้ามการถือครองหุ้นในบริษัทดังกล่าวเป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการ สมัครเป็น ส.ส.และส.ว.

หากจะตีความว่า ให้รวมถึงการห้ามคงไว้ ย่อมไม่เป็นธรรมเพราะสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. และ ส.ว. จะเริ่มเมื่อวันเลือกตั้ง หรือเมื่อ กกต.ประกาศผลการสรรหาเป็นส.ว.

ดัง นั้นหากจะตีความให้หมายรวมถึงการคงไว้ด้วย ผู้สมัคร ส.ส.และส.ว. หรือผู้สมัครรับการสรรหาก็ต้องขายหุ้นก่อนวันเลือกตั้ง หรือก่อนจะประกาศผล มิเช่นนั้นผู้ได้รับเลือกตั้งจะสิ้นสมาชิกภาพทันที

ซึ่งจะเป็นการตีความตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จนทำให้เกิดผลประหลาดเกินควรและเกินความได้สัดได้ส่วน

ศาล จึงมีความเห็นด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 ว่าการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) ประกอบมาตรา 48 ต้องกระทำหลังจากมีสมาชิกภาพเป็นส.ส.และส.ว.แล้ว

ส่วน บริษัทต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) ประกอบมาตรา 48 ต้องมีลักษณะอย่างไรนั้น ศาลเห็นว่ากิจการตามมาตรา 48 จะต้องประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม

ขณะ ที่กิจการต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) คือกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ หรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน และการรับสัมปทานคือให้สิทธิในการใช้ทรัพยากรของชาติ ดังนั้นสัมปทานจึงรวมถึงการประทานบัตรไว้ด้วย

ซึ่งผู้ถูกร้องทั้ง 45 คน จะกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรม นูญหรือไม่ ศาลเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 105 บัญญัติให้สมาชิกภาพเริ่มขึ้นตั้งแต่วันเลือกตั้ง ซึ่งวันเลือกตั้งส.ส. มีขึ้นในวันที่ 23 ธ.ค.50 รวมถึงการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 20 ม.ค.51

ส่วน ส.ว. รัฐธรรมนูญมาตรา 117 บัญญัติให้สมาชิกภาพเริ่มขึ้นตั้งแต่วันเลือกตั้ง คือ 2 มี.ค.51 และวันที่กกต.ประกาศผลการสรรหา คือ 29 ก.พ.51

ส่วนนี้ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า นายกำธร คู่สมรสของนางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ตามคำร้องอ้างว่าถือหุ้นบมจ.ทางด่วนกรุงเทพ แต่ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้คือนายกำธรไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว แต่ถือหุ้นในบมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพมาก่อนนางนิภาได้รับเลือกตั้ง

จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

เช่น เดียวกับส.ส.และส.ว.ที่ถูกร้องอีก 37 คน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าถือหุ้นมาก่อนได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.และส.ว. และก่อนได้รับการสรรหาเป็นส.ว. แม้จะยังคงถือไว้ขณะดำรงตำแหน่งก็ไม่เข้าลักษณะต้องห้าม

กรณี นายสมเกียรติ พบว่าซื้อหุ้นบมจ.ปตท. วันที่ 2 ม.ค.51 และ 23 ม.ค.51 ครั้งละ 20,000 หุ้น และวันที่ 18 ม.ค.51 อีก 10,000 หุ้น

นางนลินี ด่านชัยวิจิตร คู่สมรสนายเกื้อกูล ซื้อหุ้นบมจ.ปตท.สผ. 1,000 หุ้น เมื่อ 21 ม.ค.51

นา งมลิวัลย์ ซื้อหุ้นบมจ.ปตท. วันที่ 28 พ.ค.51 จำนวน 500 หุ้น และวันที่ 29 ก.ค. วันที่ 30 ก.ค. และ 1 ส.ค. 51 ครั้งละ 300 หุ้น ต่อมา 1 ธ.ค.51 ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 1,000 หุ้น

และยังพบว่าเข้าไปซื้อหุ้นใน บมจ.ปตท.สผ. ในวันที่ 6 ส.ค.51 จำนวน 1,000 หุ้น จากนั้น 4 ก.ย.51 ซื้อหุ้น 500 หุ้น วันที่ 6 ม.ค.52 ซื้อหุ้น 2,000 หุ้น และ 28 พ.ค.51 ซื้อหุ้นของบมจ.ทีทีแอนด์ที อีก 50,000 หุ้น

นางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ คู่สมรสของนายบุญจง ซื้อหุ้นบมจ.ปตท.สผ. ในวันที่ 9 พ.ค. วันที่ 15 พ.ค. และ 10 มิ.ย.51 ครั้งละ 10,000 หุ้น และ 13 พ.ค.51 จำนวน 20,000 หุ้น

ส่วน ร.ท.ปรีชาพล ซื้อหุ้นบมจ.ปตท. ช่วงเดือนมิ.ย.51 จำนวน 30,000 หุ้น และ ม.ร.ว.กิติวัฒนา ซื้อหุ้นบมจ.ทีทีแอนด์ทีเมื่อ 2 ม.ค.51 จำนวน 50,000 หุ้น

การถือครองหุ้นของผู้ถูกร้องทั้ง 6 เป็นการถือหลังจากเป็นส.ส.แล้ว จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าบริษัทที่ผู้ถูกร้องหรือคู่สมรสเข้าไปถือนั้น ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

ศาลเห็นว่าบมจ.ปตท. ประกอบกิจการค้าขายเชื้อเพลิง แม้ไม่ได้รับสัมปทานแบบผูกขาด แต่ลงทุนในบริษัทอื่นในลักษณะ โฮลดิ้งคอมปานี โดยเข้าไปถือหุ้นในปตท.สผ. รับสัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอัตราส่วนร้อยละ 45

อีก ทั้งยังเข้าไปถือหุ้นในบมจ.ปตท.เคมิคอล ได้รับสัมปทานจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่ผลิตจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำประปาในสัดส่วนร้อยละ 49.16 ถือเป็นหุ้นจำนวนมากพอครอบงำกิจการได้

ดังนั้น การถือหุ้นบมจ.ปตท. จึงเป็นการถือหุ้นบริษัทต้องห้ามโดยทางอ้อม

ส่วน บมจ.ทีทีแอนด์ที ประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์ ได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ฯ ต่อมาแปลงสภาพเป็นบมจ.ทีโอที อีกทั้งยังประกอบโทรคมนาคมด้วย จึงมีลักษณะอันต้องห้ามตามมาตรา 265 (4)

รัฐ ธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า การถือหุ้นเท่าใดเรียกว่าครอบงำกิจการ ดังนั้นการถือเพียงหุ้นเดียวก็เป็นการถือตามความหมาย แม้ไม่มีอำนาจบริหารก็ตาม เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติชัดเจน ป้องกันไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีช่องทางจะใช้หรือถูกใช้ตำแหน่ง หน้าที่ไปหาประโยชน์

แม้ว่าจะเป็นการซื้อในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร ก็ต้องห้าม

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker