บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อินเตอร์เน็ตกับการเมือง: ผ่านมุมมอง"พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ -สาวตรี สุขศรี "

ที่มา มติชน



ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ากระแสของข่าวสารหรือข้อมูล ข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตค่อนข้างแพร่หลาย และเกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารได้เร็ว โดยเฉพาะสังคมโลกออนไลน (Social Network) ที่เข้าไปมีอิทธิพลกับคนทุกรุ่นทุกวัย และในอนาคตเชื่อว่าจะมีแนวโน้มเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดของคนทั่วโลกมากขึ้น ชนิดที่ว่าหายใจเข้าออกเป็นอินเตอร์เน็ตหรือมองตัวเองผ่านโลกไซเบอร์อยู่ ตลอดเวลา ด้วยอิทธิพลและบทบาทของอินเตอร์เน็ตนี้เองทำให้เกิด "สื่อพลเมือง" ซึ่งในที่นี้ก็หมายความถึง "สื่อพลเมืองเน็ต" ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, อีเมล, ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ค และการติดต่อสื่อสารในยุดโลกาภิวัฒน์ ซึ่งก่อนหน้านี้คำว่าสื่อพลเมืองอาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จะเกิดอาการส่ายหน้า เพราะแต่ก่อนคนธรรมดาทั่วไปจะเข้าถึงการสื่อสารแบบตัวต่อตัวหรือแบบเห็นหน้า กัน (face to face) แต่ปัจจุบันคนไทยกว่า 4.6 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ค (facebook.com) ที่เป็นการสื่อสารแบบสองทาง สะดวก เป็นกันเอง และให้ความบันเทิงได้ขณะเดียวกัน

ความ เคลื่อนไหวในวงการอินเตอร์เน็ตนั้น แน่นอนว่าย่อมเกิดทั้งผลดี ผลเสีย หรือมีทั้งประโยชน์และโทษต่อสังคม ประชาชน โดยเฉพาะการเมืองที่ถูกนำมาเป็นเครื่องมือ ซึ่งได้ตอกย้ำความสำคัญของสื่อพลเมืองมากยิ่งขึ้น และจากเวทีการสัมนา "การเมืองเรื่องอินเตอร์เน็ตและภาระของตัวกลาง" ซึ่งจัดโดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ และศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษจิกายน 53 ก็ได้นำเสนอประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต และหัวข้อที่น่าสนใจที่หยิบมานำเสนอก็คือ "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กับการเมืองเรื่องอินเตอร์เน็ต"

ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองในแง่ของนักรัฐศาสตร์ ซึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือมองอินเตอร์เน็ตในฐานะสังคมใหม่สังคมหนึ่ง ถ้าคนมีมุมมองของสังคมวิทยาเข้ามากำกับก็ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย หรือควรทำความเข้าใจธรรมชาติของสังคมอินเตอร์เน็ตแค่ไหน แน่นอนคือคงไม่มีคำตอบเดียว ประเด็นนี้ก็ถือเป็นประเด็นใหญ่ในสังคม กล่าวคือ เมื่อปี 2549 หากย้อนไปดูในงานวิจัยต่าง ๆ แล้ว ความสนใจเรื่องอินเตอร์เน็ตมีมานาน ก็เหมือนสังคมหนึ่งที่เกิดขึ้นมานาน หรือเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมา เมื่อเราศึกษาสังคมมันก็จะมีอะไรใหม่ ๆ มีการเปลี่ยนแปลง (Modernization) มันมีสังคมใหม่ที่แตกต่างจากสังคมเดิม หรือมองว่ามันเป็นกรอบใหม่กับกรอบเก่า คือ จะโลกออนไลน์กับออฟไลน์มันต่อเนื่องกันอย่างไร ทั้งนี้โลกออฟไลน์ก็ไม่ได้ล้าสมัย แต่เสมือนมีอีกโลกหนึ่งเกิดขึ้นมา แต่ก่อนกรอบใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะมันมีอะไรที่ตื่นเต้นในโลกอินเตอร์เน็ต มันไม่ใช่กรอบการเมืองที่แท้จริง

"แม้กระทั่งคำใหม่ที่เกิดขึ้น "ชิมิ" ที่หลายคนมองว่าเป็นวิบัติคำนั้น มันก็เกิดมาจากการพัฒนาด้านอินเตอร์เน็ต และเป็นพลวัฒน์ของสังคม เพราะคนใช้ต้องการความรวดเร็วขึ้น สะดวก ก็เลยเกิดการย่อคำ เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับสังคม ซึ่งเป็นโลกที่คนโบราณใช้ไม่เป็น หากเราไม่เข้าใจพื้นฐานของสังคมวิทยาแล้ว เราก็เข้าใจการเมืองในอินเตอร์เน็ตยาก"

เมื่อก่อนการทำรัฐประหาร เมื่อปี 2549 ต้องตั้งคำถามว่า อินเตอร์เน็ตเขามองเรื่องอะไร ส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องวิตกว่าสังคมเป็นอย่างไร ซึ่งมันทับซ้อนกับสิ่งที่วิตกในสังคมอยู่แล้ว แต่คนรุ่นใหม่ที่ได้เครื่องมือใหม่ก้คืออินเตอร์เน็ต จากการศึกษาอินเตอร์เน็ตก็จะวนเวียนอยู่ 2 เรื่อง คือ ศึกษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือ อีกแบบหนึ่งก็ศึกษาว่าโลกไซเบอร์เป็นอย่างไร ต่อมาเมื่อเทียบกันแล้วก็คือการเมืองในยุคนั้นเป็นอย่างไร เมื่อคนไทยเริ่มนิยมอินเตอร์เน็ต ช่วงแรกเริ่มประมาณ 1 ล้านคน เริ่มสนใจ เริ่มมีการถกเถียงกันมากขึ้น

"ทั้ง นี้การเมืองในอินเตอร์เน็ตในยุคแรกค่อนข้าง มีลักษระเป็นสากล ประเด็นใหญ่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม เรื่อเว็บโป้ ลามกอนาจารเป็นส่วนใหญ่ เครือข่ายผู้ปกครองจะเข้ามาดูมาก ถ้าเป็นสงครามในอินเตอร์เน็ตยุคนั้น รัฐยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการต่อสู้ของคนที่เข้าไปใช้มากกว่า แต่ภายหลังรัฐก็ได้มีกรอบกฎหมายออกมา แต่ล่าช้ากว่า ประเด็นใหญ่กว่านั้นมันเป็นการสู้ภายในประชาสังคม โดยเฉพาะเรื่องศีลธรรมเพราะโลกอีนเตอร์เน็ตถูกแบ่งออกเป็น 2 โลก คือ โลกที่อยู่ในเว็บบอร์ด เป็นการใช้คำหยาบแต่ไม่มีการหมิ่นเบื้องสูง และโลกหนึ่งคือโลกที่ขาวสะอาดหรือเว็บที่ใช้เป็นเครื่องมือ"

จุด เปลี่ยนผันอันต่อมาคือ เมื่อมีการทำรัฐประหาร ความรู้สึกที่ว่าการต่อต้านสรุปแล้วพยายามหาทางออกหรือเพิ่มขึ้น มันสำคัญตรงที่เมื่อการเมืองเปลี่ยน เริ่มมีกลุ่มต่อต้าน ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ปรากฎบนอินเตอร์เน็ต สุดท้ายก็คือว่าการเมืองในอินเตอร์เน็ตมันซับซ้อนมากขึ้น เมื่อก่อนที่จะมีกฎหมายต่าง ๆ นั้น สังคมก็เรียกร้องว่าการที่ออกมาถกเถียงกันนั้นมีตัวตนจริงหรือเปล่า คุณเป็นใครในอินเตอร์เน็ต ซึ่งพื้นฐานสังคมเหล่านี้มันรองรับโครงสร้างกฎหมายบางอย่าง หลังจากนั้นการเมืองอินเตอร์เน็ตมันเฟื่องฟูมากขึ้น รัฐก็อยากจัดระเบียบให็ได้ แต่คนยุคใหม่มันเหมือนว่าไม่มีที่จะไป คนเลยเข้าไปอยู่ในนั้นกันหมด ท้ายที่สุดเป็นพื้นที่ในการต่อสู้ที่สลับซับซ้อน

ขณะที่ในมุมมองของนักวิชาการทางด้านกฎหมาย อย่างอาจารย์สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชื่อม โยงประเด็นที่ว่าอินเตอร์เน็ตกับการเมือง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับการเมือง และพรบ.คอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ต ว่าในที่สุดแล้วทั้งหมดทั้งมวลเกี่ยวข้องกันอย่างไร ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับประเทศ แท้จริงแล้วอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการสื่อสารที่มีอิทธิพลอย่างมากกับการ เมืองการปกครอง มีปัจจัยในรูปแบบบริการ

ไม่ว่า social network, blog ฯลฯ ต่อมามันมีเนื้อหาที่ถูกทำให้ปรากฎมันมีลักษณะเป็นการเมือง ที่ไม่ใช่ในยุคหลังด้วยซ้ำไป เพราะการก่อให้เกิดอินเตอร์เน็ตนั้นมันมาจากการเมือง เพื่อเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารในการรบ ให้ต่อเนื่อง แม่นยำ สมัยเมื่อสงครามของอเมริกาหรือสมัยสงครามโลก เกิดการคิดค้นเครือข่ายต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้นการเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตมันเข้าไปเกี่ยวพันกับการเมืองแล้ว

นอก จากนี้อินเตอร์เน็ตได้เข้าไปมีอิทธิพลในวงการการศึกษา หรือบันเทิง ถูกนำมาใช้มากขึ้น กับบทบาทของสื่อทางเลือก ถูกนำมาใช้ในทางการเมืองมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะการเมืองในประเทศของแต่ละประเทศ ที่สำคัญก็คือว่ามันไม่ใช่การเมืองของภาครัฐแล้ว แต่กลับเป็นสื่อพลเมืองแทน เราจึงปฎิเสธไม่ได้ว่าอินเตอร์เน็ตถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งทาง การสื่อสาร ฉะนั้นมันมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก แต่ก็จะหนักไปทางที่ว่าอินเตอร์เน็ตที่ถูกจัดว่าเป็นสื่อทางเลือกนั้นจะอยู่ ตรงข้ามรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลบางประการมีพื้นที่ในการแสดงออกมากขึ้น ที่สำคัญคือตอบรับอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย และมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่ต่างจากสื่อกระแสหลัก

"ในประเทศไทยก่อน หน้านี้ก็หนักไปในเรื่องบันเทิง พอยุคปลายทักษิณมันมีองค์ประกอบที่ว่าคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ต่อมาคือหลังจากการรัฐประหารแล้วคนก็เริ่มอึดอัดใจในทางการเมืองมากขึ้น สื่อกระแสหลักมันลดทอนความหลากหลายลง มันเป็นเอกภาพของฝ่ายเดียว ซึ่งในทางประชาธิปไตยมันจะมีความเห็นในทิศทางเดียวกันไม่ได้ สุดท้ายมันมีพฤติกรรมของรัฐบางประการที่ใช้อำนาจปิดกั้นสื่อหรือแทรกแซงสื่อ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยหรือองค์ประกอบเหล่านี้ย่อมทำให้อินเตอร์เน็ทเข้ามามีบทบาททางการ เมืองและเข้ามาประสานงานกับบริการรูปแบบใหม่ ๆ อย่างเช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์"

แต่ก่อนอินเตอร์เน็ตกับการเมืองมี คนเข้าดูไม่กี่กลุ่มหรือมีไม่กี่บล็อค แต่ต้องยอมรับว่าบางทีคนไทยก็เบื่อกับการอ่านอะไรที่ยาวเกินไป พอเจอพวกเทคโนโลยีใหม่ ๆ มันก็เลยแพร่หลาย แต่ก็ไม่เหนือไปจากกลุ่มโทรทัศน์และวิทยุ เพราะมันยังเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ แต่การเข้าถึงมันมีจุดแข็งมากกว่า โดยที่ผู้ใช้อำนาจรัฐต้องเกรงกลัวบางมุม ก็อย่างเช่น การมีซอกลึกลับ ทำให้คนที่คิดเหมือนกันเข้ามาเจอกันได้ บางคนไมเคยพบเจอกันมาก่อน แล้วรัฐก็ไม่สามารถปิดได้

พูด ง่าย ๆ คือ "ฆ่าไม่หมด" อันต่อมาคือ คนที่เข้าไปใช้อินเตอร์เน็ตนั้นมันมีอะไรบางอย่าง อาจจะมีเงิน มีเวลา มีการศึกษา ซึ่งคนเหล่านั้นอาจจะไม่รู้เรื่องการเมืองเลย หรือรู้น้อย แต่รัฐมักจะมองว่ามีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อรัฐ จุดแข็งต่อมาคือ อินเตอร์เน็ตมันเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญกันคนต่างประเทศได้ดี มีศักยภาพ สุดท้าย การเมืองอินเตอร์เน็ตสามารถกระจายข่าวได้เร็ว กว่ารัฐจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ ได้คือเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ของพ.ร.บ.ทางด้านเทคโนโลยี แต่ก่อนเมื่อมีการร่างเมื่อ พ.ศ.2541 ก่อนที่จะนำมาบังคับใช้จริงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองเลย แต่ที่เกิดมาได้เพราะกระแสอาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศเท่านั้น แต่ก่อนที่จะออกมาจริงแล้ว มาตรา 14 เป็นเนื้อหาว่าด้วยการปลอมแปลงข้อมูล ส่วนมาตรา 15 เพิ่มการรับผิดของตัวกลางและผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้รับโทษเท่ากับคนที่นำเนื้อหามาใส่ สิ่งที่เกี่ยวกับการเมืองจริง ๆ แล้วคือเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาในมาตราที่ 14 ที่ว่าข้อมูลที่ใส่เข้าไปนั้นขัดต่อความมั่นคงต่อรัฐ นั่นแสดงว่าการเมืองเข้ามาแล้ว พอหลังจากช่วงการแปรญัญติของ ครม. มีอีกมาตราคือ มาตรา 20 มีการปิดกั้นเข้าสื่ออินเตอร์เน็ต

"พ.ร.บ .คอมพิวเตอร์ฯ จะไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยถ้าไม่ไปผนวกกับความคลุมเครือใน กฎหมายเรื่องอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เป็นปัญหาที่สุดก็คือ มาตรา 112 หารหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ก็ไม่ได้มีการประมวลว่าการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ ประกอบกับมาตรา 112 มีกี่คดี ภาครัฐก็ไม่เปิดเผยด้วย แต่ความคลุมเครือที่มีมาโดยตลอดและยังไม่ได้รับการแก้ไขก็คือมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการตีความว่าอะไรคือการหมิ่น แง่ต่อมาก็คือว่าผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์นั้นทุกท่านมีสิทธิ์ร้องได้ แน่นอนไม่ได้แค่ประเด็นหมิ่น แต่ไว้ใช้เล่นงานฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง"

อย่าง ไรก็ตามอินเตอร์เน็ตก็ย่อมส่งผลซึ่งกันและกันกับทางการเมืองอย่าง แยกไม่ออก และจากการนำเสนอในครั้งนี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งซึ่งผู้อ่านจะต้องวิเคราะ ห็ด้วยว่าเหตุและผลของอินเตอร์เน็ตกับการเมืองที่นอกเหนือจากนักวิชาการนั้น มันมีอะไรที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสิ่งที่เป็นผลเสียจะแก้ไขได้อย่างไรเพื่อให้อินเตอร์เน็ตกับการเมือง นั้นอยู่คู่กันได้อย่างมีประสิทธภาพ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker