โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
ห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักอันเนื่องจากกรณี"คลิปฉาว"หลาย ชุดที่มีการนำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์Youtupe โดยมีการกล่าวหาว่า ตุลาการบางคนนำข้อสอบคัดเลือกเข้าเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไป ให้พรรคพวกและเครือญาติ
แน่นอนว่า ผู้ที่เผยแพร่คลิปดังกล่าวและพรรคเพื่อไทย ต้องการใช้"คลิปฉาว"เป็นเครื่องมือในการกดดันการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
ขณะ เดียวกัน เนื้อหาในคลิปดังกล่าวก็ทำให้สาธารณชนคลางแคลงใจต่อพฤติกรรมของตุลาการบางคน ว่า ซื่อสัตย์เที่ยงธรรมเพียงพอในการทำหน้าที่หรือไม่
แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบจริยธรรมเข้ามาไต่สวนหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้แต่ประการใด
ได้อ่านหนังสือเรื่อง "การทุจริตและสิทธิมนุษยชน:การเชื่อมโยง(Corrution and Human Right : making the Connection)"ซึ่ง เป็นรายงานที่จัดทำโดยสมัชชาสากลว่าด้วยนโยบายสิทธิมนุษยชน(แปลโดย รศ.วีระ สมบูรรณ์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ)
หนังสือเล่มนี้มีจุดเด่นที่สามารถ เชื่อมโยงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การทุจริตทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุยชนในหลายด้าน อาทิ ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในทางการเมือง สุขภาพ การศึกษา การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมฯลฯ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอคคล้องการวิพากษ์วิจารณ์ข้างต้น จึงขอสรุปหัวข้อ"มาตรฐานอันเกี่ยวกับการบริหารวานยุติธรรม"มานำเสนอให้เห็นภาพว่า ในทางสากลนั้น มองเรื่องนี้อย่างไร
ความ เห็นในรายงานระบุว่า การทุจริตอาจส่งผลเสียต่อความเป็นอิสระของศาล เช่น การทุจริตในกระบวนการแต่งตั้งจะก่อให้เกิดการแทรกแซงหลักการในหลายด้านด้วย กัน
การแทรกแซงระบบตุลาการจากฝ่ายการเมืองเกิดขึ้นเมื่อผู้มี อำนาจทางการ เมืองใช้อิทธิพลของตน (ซึ่งรวมทั้งการคุกคาม ข่มขู่ หรือสินบน) เพื่อบังคับหรือโน้มน้าวผู้พิพากษา (หรือเจ้าหน้าที่ของศาล) เพื่อให้ตัดสินคดีโดยเอื้อต่อผลประโยชน์ของตนและไม่เป็นไปตามกฎหมาย
การ แทรกแซงจากฝ่ายการเมืองยังเกิดขึ้นเมื่อมีการควบคุมการแต่งตั้ง ผู้พิพากษา การกำหนดเงินเดือนและเงื่อนไขของการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้พิพากษา อัยการ และเจ้าหน้าที่ศาลได้ นำมาซึ่งระบบตุลาการที่อ่อนปวกเปียกคล้อยตามผู้มีอำนาจ
การ แทรกแซงทางการเมืองยังรวมไปถึงประเด็นการ ใช้กฎหมายคุ้มกันผู้พิพากษา แม้ว่าผู้พิพากษาที่ทุจริตอาจใช้กฎหมายคุ้มกันที่ล้าสมัยเพื่อปกป้องตนเอง
แต่ถ้าปราศจากกฎหมายคุ้มกันผู้พิพากษาที่มีความเป็นอิสระอาจถูกอำนาจทางการเมืองใช้คดีความรังควานได้
กฎหมาย หมิ่นประมาทอาจถูกใช้ในหลายทางเพื่อขับ ผู้พิพากษาที่เป็นอิสระให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเพื่อคุ้มครองผู้พิพากษาที่ทุจริตอย่างไม่เป็นธรรม
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการติดสินบนในการดำเนินงานยุติธรรม ส่วนใหญ่หมายถึงภาคประชาสังคมถูกเรียกสินบนหรือให้สินบน รวมไปถึงประชาชนที่มีรายได้ต่ำซึ่งแทบจะไม่สามารถจ่ายสินบนเหล่านั้นได้
รายงานระบุด้วยว่า หลักการของความไม่ลำเอียงนั้นมีความสำคัญมาก ทั้งในการปฏิบัติจริงและโดยภาพลักษณ์ที่ปรากฏ
ในบริบทนี้พึงตระหนักว่า การทุจริตในกระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ตุลาการอาจส่งผลให้คุณภาพของการทำงานลดต่ำลง
การแต่งตั้งควรพิจารณาจากคุณสมบัติ การเป็นที่ยอมรับทางศีลธรรม และความสามารถของบุคคลผู้นั้น
แต่ ถ้าได้รับอิทธิพลจากการทุจริตแล้ว ฝ่ายตุลาการก็จะมีความสามารถและความเป็นอิสระน้อยลง และสิทธิของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองอย่าง เต็มที่
นอกจากความเที่ยงธรรมแล้ว ประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาคดีภายในระยะเวลาอันเหมาะสม
องค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งระบุว่า การวินิจฉัยความหมายของคำว่า "ความล่าช้าอันมิสมควร" หรือ "กระบวนการอันรวดเร็ว" นั้นขึ้นอยู่กับสภาพการณ์แวดล้อมและความซับซ้อนของคดี รวมทั้งการปฏิบัติของคู่ความที่เกี่ยวข้อง
การละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยปราศจากความล่าช้าอันมิสมควร อาจเกิดขึ้นในกรณีตัวอย่างเช่น เมื่อมีการติดสินบนผู้พิพากษาเพื่อทำให้กระบวนการล่าช้าออกไปเท่าที่จะทำได้
ในกรณีเช่นนี้ สิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมย่อมถูกละเมิดโดยการติดสิบนอย่างชัดเจน
เมื่อดูมาตรฐานสากลแล้ว มาย้อนดูประเทศไทยโดยเฉพาะการแต่งตั้งตุลาการ ควรพิจารณาจากคุณสมบัติ"การเป็นที่ยอมรับทางศีลธรรม"ว่า ต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่