บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประธานสอบคลิปลับ แค่ตั้งก็พังแล้ว!

ที่มา บางกอกทูเดย์

ประธานสอบคลิปลับ แค่ตั้งก็พังแล้ว!





“พสิษฐ์” เคยเรียน”พระปกเกล้าฯ”
เป็นลูกศิษย์”บวรศักดิ์”มาก่อน
จาก การที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลิปวิดีโอ ที่พาดพิงถึงศาลรัฐธรรมนูญ

โดยนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ว่า คณะกรรมการดังกล่าวมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ประธานกรรมการ 2.ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด 3.ผู้แทนสภาทนายความ 4.นายกำชัย จงจักรพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5.นายศักดา ธนิตกุล คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ 6.นายเชาวนะ เป็นเลขานุการและกรรมการ และ 7.นายธีรพงษ์ ธิติธางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาบุคลากรและระเบียบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับทราบคำสั่ง และให้รายงานผลการตรวจสอบต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ

“เท่าที่ดูจากคำ สั่ง คิดว่าคณะกรรมการน่าจะตรวจสอบครอบคลุมทุกคลิปที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นที่จะตรวจสอบนั้น คณะกรรมการจะประชุมและกำหนดกรอบการทำงานอีกครั้งหนึ่ง คิดว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้จะมีความกว้างขวางกว่าคณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริง ที่มีนายสนิท จรอนันต์ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานก่อนหน้านี้” นายเชาวนะกล่าว

นายเชาวนะยังได้ระบุด้วยว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ให้ความเป็นอิสระในการตรวจสอบ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจะเห็นว่ามีความจำเป็นหรือต้องการที่จะเรียกบุคคลหรือ เอกสารใดมาตรวจสอบสามารถทำได้

“ดังนั้นต้องถือเป็นความก้าวหน้าของศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งคนภายนอกเข้ามาตรวจสอบเรื่องดังกล่าว”

ส่วน ที่ปรากฏเป็นข่าวว่า พรรคการเมืองหนึ่งได้รับเรื่องจากข้าราชการระดับซี 9 คนหนึ่งในศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า เป็นคนดำเนินการจัดสอบบรรจุเป็นข้าราชการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2552 แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องเพราะได้รับรู้มาว่าการสอบอาจจะมีปัญหา ไม่ชอบมาพากลนั้น นายเชาวนะ ชี้แจงว่าได้มีการตรวจสอบได้ความว่า บุคคลที่พรรคการเมองอ้างถึงนั้นมิได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานในการควบคุม กำกับดูแลการออกข้อสอบ ซึ่งเมื่อข้าราชการคนดังกล่าวรู้ว่า ได้รับแต่งตั้งเป็นเพียงคณะทำงานรับและส่งข้อสอบที่ผลิตเสร็จแล้วเท่านั้น ก็ได้ชิงลาออกก่อนที่การออกข้อสอบและการสอบเกิดขึ้น

ดังนั้น ยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบ เพียงแต่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รับและส่งข้อสอบที่ผลิตเสร็จแล้ว และเป็นการเตรียมงานด้านธุรการเพื่อสนับสนุนการสอบที่จะมีขึ้น โดยยังไม่มีการออกข้อสอบหรือการสอบเกิดขึ้น

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีข้าราชการที่มีตำแหน่งสูงกว่าระดับ 9 มี 4 คน ประกอบด้วย นายสนิท จรอนันต์ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายสาโรช โชติพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ นายสุทธิรักษ์ ทรงศิวไล ผู้อำนวยการสำนักอำนวยกิจการศาลรัฐธรรมนูญ และนายสิทธิพร เศาภายน ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดี 6

ทั้งนี้ พบว่านายสาโรชไม่ได้เข้าเป็นคณะกรรมการควบคุมกำกับดูแลการออกข้อสอบในครั้งนั้นเพียงคนเดียว

ซึ่ง นายสาโรชกล่าวเพียงสั้นๆ กับผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า “ไม่ขอพูดอะไร ขอให้ไปสอบถามกับผู้ที่ให้ข่าวก็แล้วกัน ผมเป็นเจ้าหน้าที่พูดอะไรไม่ได้”

อย่าง ไรก็ตามแม้ว่าจะมีการสืบสาวราวเรื่องในส่วนที่เกี่ยวหันกับกรณีคลิ ปฉาว ที่กลายเป็นประเด็นคำถามในสังคมเวลานี้เป็นอย่างมาก ปรากฏว่าการตั้ง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลิปวิดีโอที่พาดพิงถึงศาลรัฐ ธรรมนูญในครั้งนี้ ได้เกิดคำถามมายังนายบวรศักดิ์ ว่าได้มีการตั้งคำถามกับตัวเองบ้างหรือไม่ว่า

สมควรที่จะรับเป็นประธานตรวจสอบ หรือร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องนี้หรือไม่???

ทั้ง นี้การเกิดคำถามขึ้นมา เป็นเพราะความสัมพันธ์ที่ผ่านมาในอดีตนั้น นายบวรศักดิ์เองก็มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับนายพสิษฐ์ด้วยเหมือนกัน นั่นคือ กรณีที่รับนายพสิษฐ์เขข้าเรียกหลักสูตรที่สถาบันพระปกเกล้านั้น นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นนายโดยตรงของนายพสิษฐ์ และได้ช่วยเหลือผลักดันอุ้มชูนายพสิษฐ์มาโดยตลอด เป็นผู้ที่ฝากฝังนายพสิษฐ์ไปกับนายบวรศักดิ์ ซึ่งเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้นายพสิษฐ์ได้มีโควต้า ได้มีโอการเรียนในสถาบันพระปกเกล้า

ดังนั้นจึงต้องถือว่าด้วยความ สัมพันธ์กันในลักษณะดังกล่าวระหว่างนายบวร ศักดิ์ กับนายชัช ซึ่งโยงไปถึงงความสัมพันธ์กับนายพสิษฐ์เช่นที่กล่าวว่า จึงต้องถือว่านายบวรศักดิ์ เป็นผู้ที่เคยมีความสัมพันธ์เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่ถูกสอบ จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว

สมควรแล้วหรือที่จะให้นายบวรศักดิ์ มาเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบในครั้งนี้

เพราะ เรื่องที่นายพสิษฐ์เข้าเรียนที่สถาบันพระปกเกล้านั้นเป้นเรื่องที่ รู้กันทั่ว ว่ามาในสายใดหรือในโควต้าใด และใครเป็นผู้พิจารณาให้มีโอกาสเข้าไปเรียน!!!

ซึ่งเรื่องในทำนองนี้ แม้ว่านายบวรศักดิ์จะยืนยันในความสุจริตว่าสามารถ ที่จะเป็นได้ แต่ก็จะก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ ที่ถ้าเป็นทางสงฆ์ก็ต้องเรียกว่า “โลกะวัชชะ” ดังนั้นเรื่องนี้นายบวรศักดิ์ซึ่งขึ้นมาถึงระดับนี้น่าจะพิจารณษได้ด้วยตัว เองอยู่แล้วว่า เหมาะสมที่จะรับเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนเรื่องราวในครั้งนี้หรือไม่

เพราะ จริงๆแล้วในรายชื่อกรรมการที่เหลือ ก็เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับได้ ซึ่งหากจะให้กรรมการคนอื่นเป็นประธานกรรมการตรวจสอบน่าจะมีความเหมาะสมกว่า

อย่าง เช่นน่าจะเลือกคนที่เป็นนักวิชการ ที่มีภาพลักษณ์เป็นที่ยอมรับ อาทิกรรมการที่มาจากมหาวิทยาลัยทั้ง 2 คน ไม่ว่าจะเป็น นายกำชัย จงจักรพันธ์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ หรือนายศักดา ธนิตกุล คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ล้วนแล้วแต่มีภาพลักษณ์กลางๆที่สามารถจะเป็นประธานกรรมการสอบสวนได้

ส่วน กรรมการคนอื่นๆนั้นเนื่องจากเป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอยู่กับคนที่เป็นพรรครัฐบาล หากแต่งตั้งให้มาเป็นประธานสอบ ก็คงไม่พ้นที่จะถูกครหาอย่างแน่นอน

ดัง นั้นเรื่องนี้ คงต้องฝากไว้กับสปิริต จริยธรรม และวิจารณญาณของนายบวรศักดิ์เอง ว่าจะพิจารณาอย่างไรในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจะมานั่งเป็นประธานกรรมการสอบเช่นนี้

เพราะเรื่องคลิปฉาวในครั้ง นี้กระทบกระเทือนในเรื่องของความน่าเชื่อถือ มากอยู่แล้ว จึงไม่ควรจะทำให้เกิดช่องโหว่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมาได้อีก

ส่วน ความคืบหน้าของคดี ทางด้านคณะพนักงานสอบสวนคดีผู้นำคลิปที่เกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มาเผยแพร่ ที่มี พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ที่ปรึกษา (สบ 10) เป็นหัวหน้า ได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) โดยมี พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาท รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองปราบปราม (รรท.ผบก.ป.) พล.ต.ต.สุรพล หอมชื่นชม ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) และพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง

พล.ต.ต. ปัญญากล่าวว่า ที่ประชุมมีมติที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.จะสรุปสำนวนส่งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายในวันที่ 20 พฤสจิกายนนี้ เนื่องจากพบพยานหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐ 1-2 คน เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด 2. ที่ประชุมมอบหมายให้ พ.ต.อ.สุพิศาลเดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อขอออกหมายจับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 จำนวน 2 คน

และ 3.ผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 บางคนอยู่นอกราชอาณาจักร ที่ประชุมจึงมีมติให้ทำหนังสือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อมาเป็นพนักงาน สอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 หรืออัยการสูงสุดจะมอบหมายให้พนักงานสอบสวน บก.ป.หรือพนักงานสอบสวน บก.ปอท.เป็นพนักงานสอบสวนต่อไป

ซึ่ง.ต.ท.เกรียงไกร ขวัญไตรรัตน์ พงส.(สบ 3) กก.1 บก.ป. เข้ายื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้อนุมัติหมายจับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนางชุติมา แสนสินรังสี ข้อหากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ข่าวแจ้งว่า นางชุติมาเป็นเลขาฯนายพสิษฐ์ และอยู่ในเหตุการณ์ที่นายพสิษฐ์พูดคุยกับนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ร้านอาหารย่านประชาชื่น

ในขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย ยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ไต่สวน 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีการแต่งตั้งบุตรหลานตัวเองมาเป็นเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เบื้องต้นได้มอบให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ไปรวบรวมข้อมูล หลักฐานในเบื้องต้นแล้วให้รายงานกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ทราบโดยเร็วที่สุด

“หากพบว่ามีหลักฐานมีน้ำหนักเพียงพอ จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนต่อไป”

นายก ล้านรงค์ยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมส่งสำนวนการสอบสวน กรณีคลิปลับศาลรัฐธรรมนูญ มาให้ ป.ป.ช.ดำเนินคดีกับนายพสิษฐ์ ว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งเรื่องมา ป.ป.ช.ต้องพิจารณาใน 2 ประเด็นคือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการกระทำความผิดหรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่หรือไม่ หากเข้าข่ายองค์ประกอบทั้ง 2 ข้อ จะรับเรื่องไว้ดำเนินการ

“การแอบ ถ่ายการประชุมองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนี้ ต้องดูว่า เป็นการทำความผิดในนามส่วนตัว หรือทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หากเป็นการกระทำผิดในนามส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของ ป.ป.ช.”นายกล้านรงค์กล่าว

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พท.และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า คลิปที่เกี่ยวข้องพรรคประชาธิปัตย์และศาลรัฐธรรรมนูญที่ออกมาทั้งหมดนี้ ถือว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม "ใจผมจะไม่เรียกร้องอะไรอีก ยังอยากให้ ปชป.อยู่ไปจนกว่าจะมีศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่มาพิจารณา อยากให้ ปชป.อยู่ถึงวันเลือกตั้ง อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯลงไปหาเสียง พบปะญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต คนบาดเจ็บ และคนที่ถูกคุมขังทั่วประเทศเสียก่อน เพราะนี่คือกฎแห่งกรรมที่แท้จริง"

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker