เผยแพร่ครั้งแรกที่ เว็บไซต์นิติราษฎร์
ศาล รัฐธรรมนูญยังคงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เมื่อคลิปสองชุดแรกซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง ไม่ทันจางหายจากความสนใจของสาธารณชน คลิปชุดที่สามที่มีชื่อว่า “คำสารภาพคนโกงข้อสอบ” ก็ถูกนำมาเผยแพร่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในเวปไซต์ยูทิวบ์เป็นอีกตอนหนึ่ง
ทบทวน ความทรงจำเบื้องต้นว่าบรรดาคลิปฉาวทั้งหมดที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้นมี เนื้อหาในสองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาคดีของศาล เรื่องที่สองเป็นกรณีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนหนึ่ง
หากสามัญสำนึกความเป็นวิญญูชนไม่บกพร่องเกินไป โดยเนื้อหาของคลิปที่ปรากฏ คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าเรื่องนี้ไม่มีความสำคัญ....
เพราะ นั่นคือปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับองค์กรตุลาการของประเทศที่ชื่อว่า ”ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็เมื่อองค์กรตุลาการดังกล่าวนี้ มีหน้าที่หลักคือการรักษาความถูกต้องตามกฎหมายสูงสุดให้กับสังคม บนพื้นฐานจริยธรรมตามสถานะของบุคคลผู้ซึ่งเป็นตุลาการวินิจฉัยคดี หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปกระทำในเรื่องที่มิชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมเสีย เองแล้ว สาธารณชนจะวางใจได้อย่างไรว่าการวินิจฉัยคดีของตุลาการฯ แต่ละเรื่องจะเป็นไปโดยชอบ ปราศจากอคติลำเอียง
น่าสนใจว่าขณะที่สถาบันศาลรัฐธรรมนูญกำลังประสบปัญหา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้หาทางออกเพื่อแก้ไขความยุ่งยากดังกล่าวนี้อย่างไร
หาก ติดตามคำแถลงต่อสื่อมวลชนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านและเลขาธิการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในช่วงต่างเวลากัน จะพบว่าวิธีการแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมุ่งไปที่การร้องทุกข์กล่าวโทษ ละการเผยแพร่คลิปที่เกี่ยวข้องะการเผยแพร่คลิปที่เกี่ยวข้องกับตุลาการศาล รัฐธรรมนูญฐานหมิ่นประมาทและความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพ์ฯเพื่อดำเนินคดี อาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเผยแพร่คลิปที่มีเนื้อหาพาดพิงไปถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน
การแก้ไขความยุ่งยากของศาลรัฐธรรมนูญ โดยวิธีการนี้ แน่นอนว่าย่อมถือเป็นสิทธิโดยชอบที่ศาลสามารถกระทำ อย่างไรก็ดี ขณะที่วิธีการแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญดังนี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ซึ่งอาจไม่ทันการณ์ต่อการแก้ไขวิกฤติ ศรัทธาที่สาธารณชนกำลังมีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง เหตุดังนี้ ทำไมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงว่าได้กระทำการบางอย่างโดยมิชอบ จึงไม่ออกมาชี้แจงกับสาธารณชนเป็นเบื้องต้นว่าตนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือ ไม่คู่ขนานกันไปกับการร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้จัดทำและเผยแพร่คลิป
มี คำอธิบายในทำนองว่า เหตุที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกพาดพิงว่าได้กระทำการบางอย่างโดยมิชอบ ไม่ยอมออกมาชี้แจงกับสาธารณชนก็เพราะว่า โดยสถานะตุลาการแล้วย่อมไม่อาจจะกระทำเช่นนั้นได้ นอกจากนี้ การชี้แจงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกพาดพิงอาจทำให้เกิดการโต้เถียงไปมา ไม่มีข้อยุติ ทั้งยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ความผิดที่แน่นอน
ต่อคำ อธิบายเช่นนี้ แท้จริงแล้วคงต้องพิจารณาจากลักษณะของเรื่องเป็นสำคัญ ถ้าเป็นคำชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ศาลกำลังพิจารณาอยู่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่อาจมาแถลงต่อสาธารณชนได้ ความเห็นของตุลาการฯในทางคดีจะเป็นอย่างไร จำเป็นต้องไปดูจากคำพิพากษาของศาลเมื่อได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี กรณีที่เป็นปัญหาอยู่หาได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีไม่ หากทว่าเป็นความสงสัยที่สาธารณชนมีอยู่กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง ถึงความเกี่ยวข้องกับการทุจริตการสอบเข้ารับราชการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น โดยลักษณะของเรื่อง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงจึงย่อมสามารถที่จะชี้แจงต่อสาธารณชนได้ ว่าตนเกี่ยวข้องกับการนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร
และหากตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญได้ออกมาชี้แจงอย่างองอาจกล้าหาญเหมือนดังที่ ตนได้ออกนั่งบัลลังค์พิจารณาพิพากษาคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ของบุคคลอื่น สาธารณชนก็คงจะเกิดความไว้วางใจว่าเบื้องต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้ กระทำแล้วในสิ่งที่ควรกระทำ
มีข้อควรพิจารณาต่อไปว่า แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการ สอบเข้ารับราชการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ออกมาชี้แจง คำถามยังคงมีอีกว่า เพราะเหตุใดสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงถึง เรื่องดังกล่าวให้กระจ่าง
ด้านหนึ่ง คำอธิบายจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งในคราวที่ได้แถลงต่อสื่อมวลชนมี อยู่ว่า เหตุที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงตาม เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในคลิป ก็เนื่องจากว่าคณะกรรมการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกทำลายความน่าเชื่อ ถือไปหมดแล้ว
การให้เหตุผลเช่นนี้ แท้ที่จริงยังไม่มีข้อเท็จจริงใดที่มีนัยสำคัญแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อ การสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหากจะมีการจัดตั้ง ขึ้น อย่างไรก็ดี หากความไม่เชื่อมั่นจากสาธารณชนจะมีอยู่บ้าง ทว่านั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาปฏิเสธการตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบข้อเท็จ จริง เพราะไม่ว่าสังคมจะมีความเชื่อมั่นหรือไม่อย่างไร และไม่ว่าจะมีองค์กรอื่นมาทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ กล่าวอย่างถึงที่สุดในทางบริหารแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ซึ่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องกระทำเพื่อให้ข้อเท็จจริง ของเรื่องนี้ปรากฏ ลองเทียบเคียงว่าหากปรากฏหลักฐานอันควรสงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้หนึ่ง ได้กระทำอนาจารต่อผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้หญิง กรณีที่มีการร้องเรียนขึ้นมา หากผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นั้นไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยให้ เหตุผลว่าสังคมไม่ให้ความเชื่อถือต่อคณะกรรมการที่ตนจะตั้งขึ้นแล้ว ผลจะเป็นอย่างไร วิธีการและมาตรการทางบริหารจะมีอยู่เพื่ออะไร
อีก ด้านหนึ่ง คำอธิบายจากเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อคราวได้แถลงต่อสื่อมวลชนก็ มีอยู่ว่า เหตุที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงตาม เนื้อหาที่ปรากฏในคลิป ก็เนื่องจากว่าที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ให้ความเห็นอะไรใน เรื่องนี้ ซึ่งเข้าใจว่าคณะตุลาการฯคงมองว่าการเผยแพร่คลิปเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ ต้องรีบเร่งดำเนินการมากกว่า นอกจากนั้น กรณีอาจมีการพาดพิงเกี่ยวโยงไปถึงระดับอื่นที่สูงกว่า ฉะนั้น ขณะนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร
ต่อคำอธิบายข้าง ต้น น่าเสียดายที่ที่ประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นถึงความจำเป็นรีบ ด่วนของการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่กลับมองเพียงว่านี่เป็นกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องรีบดำเนินการทางกฎหมายทั้งต่อผู้จัดทำและเผยแพร่คลิปเสียก่อน ความจริงแล้ว การสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นกับสถาบันตนย่อมเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าการร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลอื่น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นองค์กรตุลาการ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านใดถูกตั้งข้อสงสัยด้วยเหตุอันสมควรว่าได้กระทำ การบางอย่างโดยมิชอบเสียแล้ว ความไว้วางใจของสาธารณชนต่อการวินิจฉัยคดีทั้งหลายทั้งปวงของศาลรัฐธรรมนูญ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญไม่เห็นความสำคัญ ของการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงถึงกรณีที่เป็นปัญหาภายในศาล สาธารณชนก็ย่อมมีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบกับการ นี้กำลังจะใช้วิธี “แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน” และด้วยการกระทำดังนี้ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ก็จำเป็นต้องกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลัง “ทำโอกาสให้กลายเป็นวิกฤติ” ยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันว่าวิธีการแก้ไขความยุ่งยากภายในศาล อย่างที่ได้กระทำมานั้นถือว่าถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในการเรียกความน่าเชื่อถือของสถาบันศาลรัฐธรรมนูญต่อ สาธารณชนกลับคืนมา