บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซีรีส์ สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมือง ตอน 9: ‘เสรีภาพออนไลน์’ สื่อหลักต้องร่วมปกป้ิอง

ที่มา ประชาไท

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้ สื่อทางเลือกหรือ นิวมีเดียมี รูปแบบที่หลากหลายและนับวันจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เคเบิลทีวี หรือวิทยุชุมชน จนกระทั่งช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาซึ่งประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็ทำให้ยากที่ใครจะปฏิเสธได้ถึงนัยสำคัญที่มีต่อสังคมไทย กระทั่งเป็นที่จับตารอการทำความเข้าใจและอธิบาย

ขณะ เดียวกัน สื่อสารมวลชนไทยกระแสหลักเองก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงการทำ หน้าที่ตลอดช่วงความขัดแย้งดังกล่าว ไม่เพียงแต่การตั้งคำถามถึงจริยธรรม จรรยาบรรณ จุดยืน ตลอดจนท่าทีที่มีต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนต่างๆ ในบริบทของการแบ่งแยกขั้วแบ่งแยกข้างทางการเมือง จนนำไปสู่วิกฤติความน่าเชื่อถือของสื่อ และเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ช่องทางและการสื่อสารใหม่ๆ มีผู้ใช้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนความคิดและความเคลื่อนไหวทางการ เมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ประชาไท สัมภาษณ์นักคิด นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และนักปฏิบัติการสื่อออนไลน์ 12 คน เพื่อร่วมถกเถียงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะนำเสนออย่างต่อเนื่อง โดยความสนับสนุนของมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ ซึ่งบทสัมภาษณ์อย่างละเอียดจะนำเสนอเป็นรูปเล่มต่อไป

สฤณี อาชวานันทกุล ปัจจุบัน เป็นอาจารย์พิเศษวิชา ธุรกิจกับสังคมใน หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเป็นคอลัมนิสต์ในสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ ในโลกอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจเริ่มรู้จักเธอในฐานะบล็อกเกอร์ คนชายขอบแห่งบล็อก http://fringer.org ก่อนจะขยับมาเป็นคอลัมนิสต์ประจำโอเพ่นออนไลน์ (http://www.onopen.com) และเป็นบรรณาธิการของเว็บในเวลาต่อมา นอกจากนั้น เธอยังสวมหมวกกรรมการก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ตด้วย

ประชา ไทพูดคุยกับเธอในฐานะผู้ที่คร่ำหวอดอยู่กับวงการอินเทอร์เน็ต หนึ่งในกรรมการก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต ซึ่งแทบจะเป็นองค์กรเดียวที่ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนกรณีมีผู้ถูกจับ ถูกดำเนินคดีด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่แรกๆ ที่มีการบังคับใช้ เพื่อเรียกร้องให้ใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

บทบาทสื่อหลักในพื้นที่ใหม่

ขณะ ที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแต่จะมากขึ้นทุกวัน เทคโนโลยีราคาถูกลงเรื่อยๆ เธอมองว่า โดยธรรมชาติ สื่อหลักก็ต้องกระโจนเข้ามาในพื้นที่สื่อใหม่นี้ เพื่อให้คนอ่านของเขารู้สึกว่าได้เห็นเขาทุกแห่งที่ไป ทำให้เธอนึกถึงประเด็นที่่ว่า เมื่อทั้งหมดมาอยู่รวมในพื้นที่เดียวกันแล้ว สื่อหลักจะมีบทบาทช่วยเหลือประชาชนอย่างไร

สำหรับกรณีแบบนี้ สฤณีเล่าด้วยความผิดหวังว่า ประเด็นที่รู้สึกว่าประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นก็คือ เรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

เมื่อ เอาเข้าจริงแล้วประชาชนเวลาเข้าไปอยู่บนเน็ตแล้วสื่อสารกัน นั่นก็คือเสรีภาพในการสื่อสาร ดังนั้นมันคือคำตอบว่า ทำไมพอบล็อกเกอร์ถูกจับ ถูกบล็อค ถูกเซ็นเซอร์ องค์กรวิชาชีพสื่อในต่างประเทศถึงได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำไมสื่อต่างชาติถึงได้ทำข่าวเรื่องบล็อกเกอร์เรื่องเฟซบุ๊กพวกนี้ว่าเป็น เรื่องใหญ่ ทั้งๆ ที่คนที่โดนไม่ใช่นักข่าววิชาชีพ แล้วทำไมในเมืองไทย มันยังไม่มีเรื่องพวกนี้ องค์กรวิชาชีพยังมองว่าไม่ใช่เรื่องของเขา

เธอ เล่าถึงการแลกเปลี่ยนกับสื่อหลักบางสำนักจากประเด็นนี้ ซึ่งได้คำตอบที่น่าหดหู่ หลังตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาไม่ปกป้องประชาชนเวลาที่ประชาชนโดนข้อหาหมิ่นประมาท หรือข้อหาอื่นๆ แล้วได้คำตอบว่า ขนาดสื่อเองยังปกป้องตัวเองไม่ได้เลย แทนการบอกว่ากลไกที่สื่อมีนั้นแย่และต้องไปซ่อมกลไกให้ครอบคลุมกับคนทุกคน

อย่าง ไรก็ตาม เธอมองว่ามันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่หนีไม่พ้น อีกหน่อยสื่อกระแสหลักเองก็จะต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของพวกเขา ด้วย เพราะพวกเขาเองก็มีสิทธิ์ที่จะโดนด้วยเหมือนกัน เพราะมันเป็นพื้นที่เดียวกัน

การจัดการข้อมูลของสื่อใหม่

ที่ ผ่านมา ในช่วงที่มีปัญหาทางการเมืองมากๆ มีเสียงจากสื่อหลักพูดถึงปัญหาของข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดหรือบิดเบือนใน สื่อใหม่ อาทิ การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ผู้นำเสนอไม่เป็นมืออาชีพ และทำให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น

สฤณี บอกว่า เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้ แต่ตั้งคำถามต่อว่าจะจัดการอย่างไร พร้อมเสนอว่า วิธีการที่จะตั้งต้นมองตรงนี้ได้ดีก็คือ การเปรียบเทียบว่าในโลกของทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กมันคล้ายๆ กับโลกที่เราคุยกันเอง เวลาที่เราซุบซิบนินทากับเพื่อน ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เรากลั่นกรองตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์เวลาคุยกัน ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่การสื่อสารแบบส่วนตัว

คืออินเทอร์เน็ตมันน่าสนใจตรงที่ว่า เวลาเราสื่อสาร เราสื่อสารส่วนตัว เราคุยกันกับเพื่อน เพียงแต่ว่าผลกระทบมันเป็นสาธารณะ

อย่าง ไรก็ตาม เธอไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้กลั่นกรองก่อน เหมือนที่สื่อกระแสหลักมีกองบรรณาธิการ เพราะมองว่าวิธีแก้่ปัญหาทำได้โดยการสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งถือว่าต้องเป็นทักษะพื้นฐานในโลกสมัยใหม่ อาจจะต้องมีการสอนกันในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อให้ทุกคนมีระดับการรู้เท่าทันสื่อ สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรเชื่อไม่เชื่อ ขณะที่ตัวของคนที่สื่อสารก็ควรคำนึงถึงเรื่องมารยาทหรือข้อควรระวังด้วย เธอมองว่า คนทั่วไปแม้ไม่ได้เป็นสื่อมืออาชีพแต่ก็คงไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง ความเข้าใจผิด ซึ่งกรณีแบบนี้สามารถป้องกันได้โดยไม่ซับซ้อน เช่นเวลาเล่นทวิตเตอร์ เมื่อรีทวีตข่าวลือ ซึ่งเป็นข้อมูลที่อ่อนไหว ก็อาจจะใส่ข้อความเตือนว่าเป็น ข่าวลือหรือ ทวีตอะไรไปแล้วต่อมามีการยืนยันข้อมูลใหม่ ก็ควรจะทวีตแก้ไขด้วย เธอมองว่า หากรณรงค์เรื่องพวกนี้ ก็จะช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

แหล่งข้อมูลหลากหลายในภาวะสื่อหลักเซ็นเซอร์ตัวเอง

อย่าง ไรก็ตาม ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง สฤณีมีข้อสังเกตว่า ด้านที่ดีของสื่อใหม่โดยธรรมชาติเลยคือ การเปิดให้ข้อมูลที่หลากหลายจริงๆ โดยเฉพาะภาวะที่สื่อกระแสหลักเซ็นเซอร์ตัวเอง รัฐบาลก็เซ็นเซอร์ สื่อรัฐก็พร็อพพากันดาอย่างชัดเจน ถือเป็นการถ่วงดุลกันโดยธรรมชาติ หากไม่มีสื่อเหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ตรงข้ามกับรัฐจะออกมาอย่างไร คงจะยากมาก ประเด็นก็มีแค่ว่าข้อมูลพวกนี้มันจะทำยังไงให้คนที่เขาเกลียด ต่อต้าน หรือไม่เชื่อได้เห็น ซึ่งต้องใช้การคิด

คือ ตอนนี้ประเด็นก็คือคนที่หมกมุ่นกับฝั่งใดฝั่งหนึ่งหรือความคิดของตัวเองก็ แล้วแต่ บางทีเขาจะไม่เปิดหูเปิดตาเลย คือแค่คลิกไปที่อีกเว็บไซต์หนึ่งเขาก็ไม่คลิกแล้ว ทั้งๆ ที่ความจริงมันก็แค่คลิกไปอีกแค่คลิกเดียว แล้วบางทีถ้าเขาแค่ยอมคลิกไป ไม่ตั้งป้อม เขาก็จะได้เห็นข้อมูลของอีกฝั่งหนึ่งที่มีอยู่อย่างมหาศาลใช่ไหม อันนี้มันคือคุณูปการจริงๆ

อย่าง ไรก็ตาม ธรรมชาติของสื่อใหม่ที่ส่งผลในด้านลบก็คือ การที่ทำให้คนที่คิดอะไรที่คล้ายกัน มาเจอกันได้ง่ายมาก สฤณีบอกว่า ฟังดูเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัญหาก็คือว่า เราจะไม่รู้ตัวเลยว่า มันไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เราไปฟังเรื่องอื่น มันจะตอกย้ำเราในสิ่งที่เราสนใจ คือพอเราเข้ามาในสังคมนี้ เราก็จะรู้สึกว่า มีคนที่คิดเหมือนกับเราเป็นพันคน เกิดเป็นการตั้งป้อม อยู่กันแต่ในชุมชนของตัวเอง ตรงนี้ทำให้เกิดช่องว่างที่ใหญ่มาก ทั้งนี้ในที่สุดมองว่ามันเป็นเรื่องของคน ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือเท่าไร

ต่าง กันกับสภากาแฟในชีวิตจริง สฤณีบอกว่า การจับกลุ่มตัวในอินเทอร์เน็ตนั้นสุดขั้วมากกว่า ขณะที่ในร้านกาแฟ อาจมีการรวมตัวกันได้อย่างมาก 10 หรือ 20 คน หากโต๊ะข้างๆ พูดอะไรมา ก็อาจจะต้องฟังเขาบ้าง แต่ในอินเทอร์เน็ตรวมตัวกันทีได้เป็นพัน และ ไม่จำเป็นต้องสนใจอะไรเลย เมื่อมีกลุ่มของตัวเอง เจอใครแหลมมาก็เตะเขาออกไป ทั้งนี้ การจะสร้างให้เกิดการเปิดรับข้อมูลใหม่หรือฟังกันมากขึ้น คงต้องเริ่มจากในกลุ่มกันเองที่ชักชวน

สฤณี ยกตัวอย่างการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นในโลกออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบต่อโลกจริง อย่างการล่าแม่มด ที่มีการนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่คิดเห็นต่างกันกับกลุ่มของตนมาเผย แพร่ มีการโทรศัพท์ไปขู่คุกคาม ก้าวเข้าสู่การไล่ล่าในโลกจริง

การใช้สื่อใหม่ในทางสร้างสรรค์

สฤณี เปรียบเทียบว่า สื่อใหม่เป็นเหมือนกับเครื่องขยายเสียง เวลาเราพูดอะไรมันก็จะถูกขยายออกไปอีก เพราะฉะนั้น หากเป็นเรื่องสร้างสรรค์ ก็จะขยายผลในเรื่องที่สร้างสรรค์ หากเป็นเรื่องไม่สร้างสรรค์ มันก็จะขยายผลที่ไม่สร้างสรรค์ ตอนนี้จึงมีคำถามที่ว่า เราจะรณรงค์หรือมีวิธีการที่จะใช้อย่างไรให้สร้างสรรค์กว่าเดิม

ก่อนอื่นมีความเข้าใจผิด 2 เรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไข เรื่องแรกคือ การคิดว่าการมารวมตัวกันได้ก็เจ๋งพอแล้ว และคิดว่ามันคือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่ เธอเล่ากรณีที่รุ่นน้องของเธอที่ตั้งกลุ่มต่างๆ ในเฟซบุ๊กขึ้นมาในช่วงที่มีวิกฤติทางการเมือง ซึ่งก็มีคนเข้ามากด ถูกใจจำนวนหลายพัน สร้างความตื่นเต้นดีใจให้พวกเขาอย่างมาก แต่เมื่อลองจัดกิจกรรมชวนคนไปบริจาคเลือด ปรากฏว่ามีคนไป 5 คน

การที่คุณได้แฟนเยอะ มีคน follow (ติดตาม) เยอะบนทวิตเตอร์ อย่าไปคิดว่าการที่เป็นแบบนี้คุณได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่ อย่างดีที่สุดเลย คุณได้สร้างพื้นที่ของข้อมูลมาพูด แต่มันก็อยู่ที่ตัวคุณเอง

เธอเน้นว่า อยู่ที่การออกแบบเป้าหมายและการบริหารจัดการว่าต้องการอะไร ในขั้นนี้เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ

กรณี ของสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ที่สื่อสารและนัดแนะการทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวจน เกิดเป็นกิจกรรมหลากหลายในทุกวันอาทิตย์ สฤณีมองว่าน่าสนใจ คืออย่างน้อยเขาชัดเจน เขาเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ได้จะปรองดองอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะแปลง คือแกไม่ได้มีแค่เพื่อนเยอะ มีคน follow เยอะ แต่เขาสามารถดึงเอาผู้ที่ติดตาม follow ไปทำกิจกรรมในโลกจริงได้ มันคือความสามารถของการใช้โซเชียลมีเดีย ที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่ว่าคุณมี follow เยอะเท่าคุณหนูหริ่ง แล้วคุณจะสามารถจัดกิจกรรม แล้วมีคนมาร่วมเยอะขนาดนี้ได้ นี่คือการจัดการการใช้

เรื่องที่สองคือ การแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์นั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ชั่ววูบที่ไม่ควรเก็บมาเป็นอารมณ์ เธอว่า อารมณ์มันจะออกมาแหล่มๆ เบี้ยวๆ หรือแรงๆ กว่าโลกจริงเพราะ มันง่าย บางคนอาจจะใส่ชุดนอน สบถและแสดงความเห็นด้วยความสะใจ แต่พอเจอหน้ากันในโลกนอกอินเทอร์เน็ต อาจจะเป็นคนสุภาพเรียบร้อยไปเลยก็ได้

ในระดับที่รุนแรงหน่อย สฤณีมองว่า การไม่เข้าใจธรรมชาติตรงนี้ อาจนำไปสู่การฟ้องหมิ่นประมาท ซึ่งเธอมองว่าไม่เป็นสาระเท่าไร

มัน เป็นเรื่องวัฒนธรรมเน็ต ถามว่าคนที่ด่าๆ อยู่ ลองจับมานั่งโต๊ะอย่างนี้สิ ก็ถามว่าใครรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ นะ คืออย่าลืมว่าอินเทอร์เน็ตปัญหามันก็คือว่า บางทีมันก็ชั่วแล่นออกไปใช่ป่ะ เวลาคุณพิมพ์อะไรไป แล้วคุณก็ไปทำอย่างอื่นแล้ว แล้วมันก็อยู่ไปอย่างนี้

รัฐกับการควบคุมโลกออนไลน์

ระหว่าง ทางที่อินเทอร์เน็ตกำลังเติบโต เธอมองว่า เกิดกระแสทั่วโลกที่รัฐบาลอยากจะเข้ามาควบคุม ไม่ว่าด้วยการกลั่นกรองเนื้อหาก่อนเผยแพร่สู่อินเทอร์เน็ต หรือปิดกั้นการเข้าถึงกันตั้งแต่ต้นทาง

เธอ แสดงความไม่เห็นด้วยกับวิธีเหล่านี้ เพราะการกรองหรือปิดกั้นตั้งแต่ต้นทางเป็นการสอดส่องความเป็นส่วนตัว ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลตั้งแต่ต้น โดยเท่ากับได้ละเมิดสิทธิคนจำนวนมาำกและมีความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลของ ใครก็ตามจะหลุดออกไปได้

สฤณี ย้ำว่าสิ่งที่ควรจะทำคือ การตามไปจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หากจะมีการอ้างว่าถ้าไม่ป้องกันก่อนก็อาจจะแก้ไขปัญหาที่อาจตามมาไม่ทันการ สฤณีตั้งคำถามกลับว่า หากไม่มีการปิดกั้นก่อน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงคืออะไร เธอบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีคำตอบ

อย่า งบล็อคเว็บไซต์ตั้งสี่หมื่นกว่าเว็บ ความเสียหายคืออะไร จริงๆ แล้ว ถ้าคุณไม่บล็อคสี่หมื่นกว่าเว็บมันจะเกิดอะไรขึ้น เราจะมีสงครามกลางเมืองพรุ่งนี้หรือ ตรงนี้มันเป็นประเด็นที่มันไม่เคยชัด

บทบาทเครือข่ายพลเมืองเน็ต

แม้ ว่าเครือข่ายพลเมืองเน็ตจะรวมตัวกัน โดยมีหนึ่งในเป้าประสงค์เพื่อปกป้องเสรีภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แต่ดูเหมือนว่า การรวมตัวเข้ามาเป็นเครือข่ายจะยังไม่เข้มแข็งเท่าใดนัก สฤณีบอกว่า มีปัญหาหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นว่า มีเรื่องวิกฤตการเมืองที่เข้ามา โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นคู่กรณีกับรัฐบาล ทำให้จะรณรงค์ประเด็นอะไรก็ยากขึ้น หรือถูกจับไปอยู่ในขั้วสีด้วย

"ประเด็นใหญ่ของเราก็คือเสรีภาพเน็ต แต่เมื่อมีเรื่องมาตรา 112 (ป.วิอาญา) มาตรา 15 (พร บ.คอม) มันก็เลยทำให้พูดถึงเรื่องพวกนี้ยากมาก ประเด็นที่เราพยายามจะอธิบายก็คือ การที่คุณบล็อคเว็บ หนึ่ง มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร สอง ถ้ามันมีปัญหาในเรื่องกฎหมายเช่น เรื่องละเมิดสิทธิหรืออะไรก็แล้วแต่ คุณก็ไปใช้กฎหมายอื่นจัดการ อย่างถ้ามีเนื้อหาละเมิดลิขลิทธิ์มันก็ถูกจับอยู่แล้ว หรือมีหลักการบางอย่าง เช่น คนที่โพสต์เนื้อหา ไม่ควรจะถือว่าเขาผิดอัตโนมัติ ทีนี้พอมันมีปัญหาเรื่องวิกฤติทางการเมือง มันก็เลยชัดเจนว่าเว็บที่รัฐบาลเล่นงานก็เพราะมีความคิดเห็นแตกต่างทางการ เมืองออกไป แต่ว่าพอปิดเว็บเหล่านั้น ด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมีการสร้างวาทกรรม "ผู้ก่อการร้าย" มันก็เลยทำให้พูดยาก คือทุกอย่างมันปนๆ กันไปหมด

"ถ้า เกิดจะบอกว่าไม่ควรปิดเว็บ ก็ต้องมาอธิบายก่อนว่า พวกนี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายอย่างไร ก็กลายเป็นว่าก็ต้องต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลายเป็นว่าแทนที่จะต้องต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างเดียว ก็ต้องมาต่อต้านว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ไม่ควรใช้ คนพวกนี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่ถ้าทำอย่างนั้น ก็กลายเป็นถูกสรุปแล้วคุณไม่เห็นด้วยหรือที่ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย กลายเป็นว่าเราเป็นพวกเสื้อแดง มันกลายเป็นว่ามันซ้อนทับไง มันก็น่าเสียดาย ที่ทำให้พูดอะไรไม่ได้

สฤณีย้ำว่า เครือข่ายพลเมืองเน็ตไม่ได้จะเลือกปฏิบัติ

"ถ้า เว็บเสื้อเหลืองถูกปิดเราก็จะบอกว่าไม่ควรปิด แต่เผอิญว่าเป็นเว็บเสื้อแดง นี่เป็นปัญหาของการที่รัฐบาลเป็นคู่กรณี ถ้ารัฐบาลไม่ใช่คู่กรณี แล้วสองฝ่ายตีกันมันก็อาจจะง่ายขึ้น สมมติว่าสองฝ่ายตีกันแล้วรัฐบาลเปิดอย่างเท่าเทียมกัน แต่พอเป็นแบบนี้ มันก็เลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มทางการเมือง

"ปัญหา ใหญ่ก็คือทั้งๆ ที่จุดยืนของเรามันไม่ใช่เรื่องการเมือง แล้วก็คิดว่ากลุ่มที่เคลื่อนแบบนี้ทั่วโลกมันก็ไม่ใช่กลุ่มที่จะไปเกี่ยว ข้องกับการเมือง แต่เนื่องจากว่าบริบทและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะบอกว่านี่คือการเคลื่อนไหวทางการเมือง นี่คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะภาพก็จะออกมาอย่างนั้นซึ่งก็ทำให้ลำบากเหมือนกัน

และ แม้ว่างานของเครือข่ายพลเมืองเน็ตจะมีทั้งงานร้อนและงานเย็น แต่ที่ผ่านมา สฤณีบอกว่า เครือข่ายฯ มักต้องเจอกับการแก้ปัญหาเรื่องร้อนๆ ที่เกิดขึ้นอย่างการบล็อกเว็บหรือการจับกุม ที่ทำให้ต้องคิดเรื่องทนายหรือการช่วยเหลือ แทนการรณรงค์ในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นเรื่องการใช้สิทธิส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล อันตรายบนเน็ต หรือจรรยาบรรณของสื่อพลเมือง

อินเทอร์เน็ตกับประชาธิปไตย

อย่าง ไรก็ตาม แม้ภายใต้บรรยากาศเช่นนี้ สฤณียังเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตยังเป็นความหวังที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย ในลักษณะที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ โดยยกตัวอย่างการเซ็นเซอร์ในจีนที่มี Great Firewall ที่ใหญ่มหาศาล และจับบล็อกเกอร์แบบเข้มข้น จนมีคนบอกว่าคนจีนเองในหลายๆ พื้นที่ก็เซ็นเซอร์ตัวเองแล้ว

ใน แง่หนึ่งถ้าคุณเซ็นเซอร์ตัวเอง คุณก็จะรู้สึกว่าคุณเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่ แต่ถ้าถามว่าคุณมีจิตสำนึกเรื่องเสรีภาพไหม คุณก็มีอยู่แล้ว คุณรู้แล้วว่าคุณมีเรื่องอยากพูด อยากรู้แต่คุณรู้ไม่ได้

เพราะฉะนั้นมันก็แค่น้ำเดือดๆ แล้วคุณก็ปิดฝาเท่านั้นเอง แต่ถ้าถามว่าน้ำมันหายเดือดไหม มันก็ไม่หายเดือดสฤณีบอกก่อนจะย้ำว่าสุดท้าย รัฐบาลคงจะรู้แล้วว่า ด้วยความที่อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างที่มันเป็น มันเซ็นเซอร์ไม่ได้หรอก มันไม่ได้ช่วยคุณเลย ไม่ว่าคุณอยากจะทำอะไร มันก็ไม่ได้ช่วยคุณเลย

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker