บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รอดหรือร่วง ลุ้นศาลรธน.

ที่มา บางกอกทูเดย์



คดีหุ้น44ส.ส.-ส.ว.
ต้องบอก เลยว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในยามนี้ ยิ่งกว่าเผชิญกับภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่เสียอีก เพราะเปียกปอนกระเซอะกระเซิงอย่างยิ่งกับกรณีคลิปฉาว

ทำให้มีทั้งคำถาม มีทั้งการจับตามองการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างมากมาย จนทำให้หลายฝ่ายต่างรู้สึกไม่สบา ยใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ล่า สุดนอกจากจะโดนกดดันเรื่องความพยายามเบี่ยงประเด็นไปเน้นถึงที่มาของ คลิปดังกล่าว พร้อมกับพยายามที่จะเอาผิดกับคนที่เอาคลิปมาเปิดเผย

โดยเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงเนื้อหาและข้อเท็จจริงภายในคลิป

ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก

เพราะ คำถามก็คือ หากมีการเผยแพร่คลิปนักการเมืองมีการทุจริตคอรัปชั่น มีภาพปรากฏว่ามีการหารือเจรจากันว่าต้องจ่าย 30% หรือ 35% แล้วมีการจ่ายเงินกัน บังเอิญมีผู้พบเห็นแล้วถ่ายคลิปเอาไว้

แต่ บังเอิญเป็นที่รู้กันว่านักการเมืองรายนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ผู้ที่มีหลักฐานไม่อยากเสี่ยงออกมาแฉพฤติกรรมอย่างเปิดเผย เพราะเกรงอันตรายจะมาถึงตัว จึงใช้วิธีเอาภาพทุจริตออกมาเผยแพร่

แล้วจะกลายเป็นว่ามาเอาผิดกับคนเผยแพร่คลิป โดยที่ไม่พูดถึงพฤติกรรมของนักการเมืองในคลิปเลย ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ตลกอย่างมาก

ซึ่งกรณีของคลิปที่เกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่น่าที่จะแตกต่างกันแต่อย่างใด

ก็เพราะแบบนี้แหละที่สังคมทุกฝ่ายพากันจับตามองในเรื่องนี้อย่างเขม็ง ว่าสุดท้ายจะมีความกระจ่างให้กับสังคมอย่างไร

สำคัญที่สุดหากสังคมเชื่อในสิ่งที่เห็นจากคลิปว่ามีมูล ตรงนี้จะกระทบกับภาพลักษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด

เนื่องจากขณะนี้ทางตำรวจกลับไปเน้นประเด็นที่ว่า คลิปที่ออกมานั้น ใช้กล้องอะไรถ่าย???

โดย เมื่อหลายวันก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้ามาตรวจดูแลทำเหตุการณ์ จำลองเหมือนในคลิป ก็ยังไม่เข้าใจกันอยู่ว่าถ่ายมาจากอะไร ทางตำรวจจึงพยายามที่จะไขปริศนาว่าใช้วิธีการทางเทคนิคอย่างไรในการแอบถ่าย ครั้งนี้

จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกคุว่า ที่อยากรู้ว่าใช้เทคนิกอะไรถ่าย เพื่อจะเอาไว้ใช้ในการป้องกันในอนาคต จะได้ไม่ถูกแอบถ่ายอีกเช่นนั้นหรือ!!!

ยิ่งกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนให้คนมีความเชื่อในคลิปเหบ่านั้นมากขึ้นไปอีก ว่าแบบนี้น่าจะเป็นคลิปจริง เพราะขนาดตำรวจยังจัดฉากไม่ได้เลย

ดัง นั้นต่อให้แม้ว่าจะจับตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาได้ และยอมรับมีการดำเนินคดีว่าแอบถ่ายคลิปดังกล่าวก็ตาม แต่ถ้านายพสิษฐ์ยืนยันว่า แม้จะเป็นการแอบถ่ายแต่ก็เป็นคลิปที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริงๆ

ตรงนี้แหละจะยิ่งกระเทือนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนักขึ้นไปอีก

จึงไม่แปลกที่เริ่มมีเสียงสะท้อนให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆแล้วในขณะนี้

และ ยิ่งภายในองค์กรศาลรัฐธรรมนูญเริ่มมีปัญหากันเอง เช่นกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาโวยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องรีบออกมาชี้แจงรายละเอียดเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กรมาก

การนิ่ง เฉยของนายเชวนะจึงถูกนายวสันต์มองว่าไม่ปกป้องสถาบัน

ก็ยิ่งกลายเป็นเรื่อง ไฟในนำออก ไฟนอกนำเข้า... หนักยิ่งขึ้นไปอีก

ขณะเดียวกันคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นอกจะงวดใกล้เข้ามา ทุกทีแล้ว จากรกร๊คลิปที่เกิดขึ้น จึงทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมตื่นตัวและหันมาจับตามองในเรื่องนี้อย่างใก้ชิด ว่าสุดท้ายแล้วคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรกันแน่

อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกเอกสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาชี้แจงว่า กรณีคลิปวีดิโอพาดพิงศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินคดีกับผู้หมิ่นประมาท ข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการเพิกถอนหนังสือเดินทางราชการนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการแจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่คลิปวีดิโอ

และขณะนี้ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งให้ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ บล็อกเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อไม่ให้บุคคลที่อยู่ในบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเข้าเว็บไซต์ยูทูบผ่าน เซิร์ฟเวอร์ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำผู้ที่เข้าไปดูคลิปลับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบไม่ได้ตลอดทั้งวัน

เลยทำให้ข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากว่า เป็นการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะ ที่นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง และทีมกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้ปรากฏตัวอยู่ในคลิปเกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า หากดูทั้งหมดจะเห็นว่าคลิปดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะนายวิรัชไปพบนายพสิฐษ์เป็นการส่วนตัว ไม่ได้บอกให้คนในพรรคทราบแม้แต่คนเดียว จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาในคดียุบพรรคแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามคณะ กรรมการฯได้มีการสรุปออกมาว่านายวิรัช มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำไม่ถูก ไม่ควรไปพบกับนายพสิษฐ์ และเมื่อถูกถามนำก็ไม่ควรตอบให้เกี่ยวพัน โยงใยถึง ขนาดนั้น เพราะรู้อยู่แล้วว่านายพสิษฐ์ เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตัวเองเป็นทีมกฎหมายของพรรค ยิ่งไม่ควรไป เพราะผูกโยงกันอยู่

สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดผลกระทบต่อพรรค ทำให้คนรู้สึกคลางแคลงใจสับสนในพรรคว่าเป็นอย่างไรกันแน่

ส่วน บทลงโทษจะกระทบต่อตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของนายวิรัชหรือไม่นั้น อยู่ที่ดุลพินิจของหัวหน้าพรรคที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคข้อที่ 79 คือ การตักเตือน หรือภาคทัณฑ์

ดังนั้นไม่ว่างานนี้สุดท้ายแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละ ที่จะถูกกระทบในเรื่องภาพลักษณมากที่สุด

ดังนั้นสังคมจึงมีการจับตา มองว่า สำหรับคดีดังอีกคดีหนึ่งที่จะมีการตัดสินในวันนี้ ( 3 พ.ย.) เวลา 15.00 น. นั่นจะเป็นการทดสอบภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อน ที่จะถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

นั่นก็คือ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธาน จะร่วมกันลงมติและแถลงผลการวินิจฉัยคดีหุ้นสัมปทานของรัฐของ ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่งที่สังคมไทยจับตามองมาตลอด

โดยคดีดังกล่าวยื่น โดยประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส.และ ส.ว. 44 ราย ในฐานะผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

เนื่องจากกระทำการ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) ถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ

ทั้ง นี้ ส.ส. ผู้ที่มีชื่อเข้าข่ายจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพ มีทั้งสิ้น 28 ราย โดยเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 12 ราย พรรคชาติไทยพัฒนา 1 ราย และพรรคภูมิใจไทย 2 ราย รวม 15 ราย

โดย มี ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย คือนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และรมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วนและรองนายกรัฐมนตรี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา และ รมช. มหาดไทย นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม 

อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ไม่มีผลทำให้ 4 รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีผลผูกพันต่อการเป็นรัฐมนตรี เป็นแค่การสิ้นสภาพ ส.ส.เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านมี ส.ส .จากพรรคเพื่อไทย 8 ราย พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 ราย โดยเป็น ส.ส.ในกลุ่มสามพี พรรคประชาราช 2 ราย

ดังนั้น จึงเท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ ส.ส.ทั้งหมดต้องพ้นสมาชิกสภาพ เสียง ส.ส.ซีกรัฐบาลจะหายไป 15 เสียง ส่วนเสียง ส.ส.ซีกฝ่ายค้านจะหายไป 13 เสียง จึงไม่มี ผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลในสภาฯมากนัก

ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ซึ่งมีชื่อถูก กกต.ส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มีทั้งสิ้น 16 ราย โดยมีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธ์ุ เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทที่ กกต.เคยมีมติว่า เข้าข่ายเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ และเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 265 (2) (4) มีทั้งสิ้น 22 บริษัท อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัทชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัททรูคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.และ ส.ว. กล่าวว่า แม้จะเป็นผู้ยื่นคำร้องแต่คงไม่เดินทางไปฟังคำตัดสิน เนื่องจากถือว่าไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง การตัดสินกรณีดังกล่าวจะถือเป็นบรรทัดฐานตลอดนับจากนี้ไป เพราะกรณีเรื่องการถือครองหุ้นของ ส.ส.และ ส.ว. เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการวางบรรทัดฐานมาก่อน อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการถือครองหุ้น โดยเฉพาะมาตรา 265 และมาตรา 267 จะได้มีความชัดเจน

โดยเฉพาะกรณีการถือครองหุ้นมาก่อนหรือหลังรับตำแหน่ง

เพราะ เดิมมีเนื้อหาระบุเพียงว่า ห้ามมิให้ ส.ส.และ ส.ว.ถือครองหุ้นที่เป็นสัมปทานกับรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ได้มีการระบุข้อยกเว้นเหมือนกับมาตรา 269 ที่บังคับกับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ยกเว้นให้สามารถถือครองได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถโอนฝากไว้ที่ลูกหลานและเครือญาติได้

"ถ้าศาลตัดสินว่ามีความผิด ส.ส.ที่เป็นระบบสัดส่วน ถ้าพรรคการเมืองนั้นไม่มีให้เลื่อนขึ้นมา ก็จะต้องเว้นว่าง แต่ถ้าเป็น ส.ส.ปกติก็ต้องจัดเลือกตั้งหลายเขต ซึ่งจะมีวาระเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ส่วนถ้าเป็น ส.ว.สรรหา ก็ต้องมาเริ่มกระบวนการคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติมาดำรง ตำแหน่งกันใหม่ ซึ่งก็มีวาระอยู่ได้ไม่ถึง 6 เดือน ดังนั้น จึงอาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณของหลวง หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ผมเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไปในคราวเดียวกันเลย" นายเรืองไกรกล่าว

ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยยันต์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 1 ใน 28 ส.ส. กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. คงขอลาประชุมสภาฯหนึ่งวันเพื่อไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพราะรู้สึกเครียดมากกับคดีนี้ หากไปร่วมฟังด้วยอาจจะช็อกคาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker