โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 เมษายน 2554
ไทยอีนิวส์ร่วมเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านที่รักในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ร่วมกันปกป้องพื้นที่อันน้อยนิดในสื่อที่พวกเรามี ร่วมกันต่อต้านและหยุด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่ลักไก่เขียนและผลักดันโดยรัฐบาลเผด็จการอภิสิทธิ์
จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เรื่อง ขอให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อ “หยุด” การนำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่ 18 เมษายน 2554
เรียน ประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
สำเนาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร
เรื่อง ขอให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อร่วมกัน “หยุด” การนำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
เนื่อง ด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ กระทรวงไอซีที ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาใหม่ โดยมีแนวโน้มว่าจะเสนอร่างกฎหมายนี้เข้าสู่วาระที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ทันก่อนยุบสภาประเด็นสำคัญในร่างกฎหมายดังกล่าวถูกนำเสนอในสื่อมวลชนและเว็บไซต์ต่างๆ [ http://ilaw.or.th/node/857 ] พบว่าสาระสำคัญของร่างกฎหมายสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและ ผู้ให้บริการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมาย มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น นอกจากจะไม่ได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้ว ยังเพิ่มสาระสำคัญที่ยิ่งสวนทางกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบัน ได้แก่ ความพยายามเอาผิดกับตัวกลางผู้ให้บริการ ซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรมการจับแพะและการเซ็นเซอร์ตัวเอง การวางกรอบให้เจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ต้องมีความรู้ความสามารถแต่มีอำนาจสูง และมีอำนาจควบคุมข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน นอกจากนี้ยังมีหลายมาตราที่เขียนไม่ชัดเจน เปิดช่องให้ตีความได้กว้างขวาง
เมื่อ พิจารณาในร่างกฎหมายฉบับใหม่ พบว่าปัญหาเดิมเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไข แต่กลับยิ่งเพิ่มเนื้อหาหลายมาตราอันจะส่งผลให้ผู้ดูแลระบบซึ่งเป็นตัวกลาง มีความเสี่ยงต่อโทษอาญาสูงขึ้น โปรแกรมหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและเข้าถึงข้อมูลอาจกลายเป็น โปรแกรมผิดกฎหมาย การสำเนาข้อมูลก็เสี่ยงต่อการถูกตีความว่าผิดกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ไม่มีสัดส่วนและที่มาที่เชื่อมโยงกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย ฯลฯ จนสามารถกล่าวได้ว่า ตามวิธีการเขียนกฎหมายเช่นนี้ ทุกคนมีโอกาสทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว เพราะกฎหมายหลายมาตราไม่ชัดเจน เปิดช่องให้ตีความได้กว้างขวางตามดุลยพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายฝ่ายเดียว
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ไม่ควรดำเนินการอย่างเร่งรีบโดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากไม่เปิดพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วม ความเร่งรีบนี้ก็ชวนให้ตั้งคำถามถึงความไม่ชอบมาพากลว่า ผลประโยชน์ที่แท้จริงตกแก่ฝ่ายใด การสร้างความชอบธรรมในกฎหมายสามารถทำได้โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไข กฎหมายอย่างเต็มที่
แม้อาจกล่าวได้ว่า กว่ากฎหมายจะออกมาได้ต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนที่อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนมี ส่วนร่วมได้ก็ตาม แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วก็ไม่สามารถแก้ไขในหลักการและสาระสำคัญได้ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมเสนอแก้ไขกฎหมาย สามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่ต้องผัดวันประกันพรุ่งให้เป็นภาระของอนาคต
บุคคลและองค์กรซึ่งมีรายชื่อลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ยุติการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ....เข้าสู่กระบวนการ ทั้งนี้ ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเสนอข้อแก้ไขหรือทำประชาพิจารณ์
ร่วมลงชื่อเพื่อแสดงจุดยืนในฐานะผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อ “หยุด” ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
จอน อึ๊งภากรณ์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
ฐิตินบ โกมลนิมิ นักข่าวพลเมือง
พฤษภ์ บุญมา อ.ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ
ประทับจิต นีละไพจิตร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
จีรนุช เปรมชัยพร หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
สัณห์ชัย โชติรสเศรณี พลเมือง
ธัญ รัษฎานุกูล พลเมือง
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ เว็บไซต์ Blognone
ธนกฤต เปี่ยมมงคล โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ พลเมือง
คิม ไชยสุขประเสริฐ นักข่าวพลเมือง
เยาวลักษณ์ ศรณ์เศรษฐกุล นักพัฒนาเว็บไซต์
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ พลเมือง
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ตจรรยา ยิ้มประเสริฐ Action for People's Democracy in Thailand
ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง พลเมือง
ปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ พลเมือง
ธนพล พงศ์อธิโมกข์ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิรัฐ เจะเหล่า พลเมือง
ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ พลเมือง
วรจิตต์ โชติเสวตร พลเมือง
ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ พลเมือง
เอกชัย ซ่อนกลิ่น พลเมือง
ภิรมย์ ภึ่งแย้ม พลเมือง
วีรุทัย อยู่เหลือสุข พลเมือง
ชัยธวัช ตุลาธน พลเมือง
อภิชน รัตนาภายน พลเมือง
* * * * * * * * *
ช่วยกัน “หยุด” ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดย
- ช่วยกันลงชื่อด้วยการแจ้งชื่อสกุล มาได้ที่ ilaw@ilaw.or.th
- สำหรับผู้ที่มีเฟสบุ๊ค สามารถเข้าไปลงชื่อได้ที่หน้าเพจ "หยุด" ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
- ช่วยกันบอกต่อและรวบรวมรายชื่อจากเพื่อนๆ และช่วยกันแชร์ note นี้ให้เพื่อนของเพื่อนรับรู้
- เสนอไอเดียสร้างสรรค์อื่นๆ เพื่อแสดงออกถึงจุดยืนที่มีต่อร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ;)