เบน จามิน ซาแวคกี นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (เอไอ) ประจำประเทศไทยและพม่ารับ มีนักโทษทางความคิดในไทยมากกว่า 1 คน แต่เปิดเผยรายละเอียดไม่ได้ เหตุมีจำนวนไม่แน่นอนและมีผลต่อการทำงานทางยุทธศาสตร์ทางสากล
เบนจา มิน ซาแวคกี นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (เอไอ) ประจำประเทศไทยและพม่า เปิดเผยว่าประเทศไทยมีนักโทษมโนธรรมสำนึกหรือนักโทษทางความคิด (Prisoner of Conscience) มากกว่า 1 คน แต่เอไอไม่สามารถเปิดเผยจำนวนและชื่อของคนที่ถูกจำคุกด้วยข้อหาหมิ่นพระบรม เดชานุภาพทั้งหมดได้ “เนื่องจากเราไม่สามารถประกาศได้ทุกครั้งเมื่อใครคนใดคนหนึ่งกลายเป็นนักโทษ มโนธรรมสำนึก"
ซาแวคกีให้เหตุผลว่าสาเหตุที่เอไอไม่สามารถตีพิมพ์ รายชื่อของนักโทษ มโนธรรมสำนึก และนักโทษทางการเมืองที่ถูกตัดสินจากมาตรา 112 ทั้งหมดในรายงานประจำปีของเอไอสากลได้ เนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด
นอก จากนี้ เขายังกล่าวว่าคนที่ถูกจับด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีจำนวนที่ไม่แน่นอน และพูดถึงการเปิดเผยข้อมูลและการรณรงค์ในทางสาธารณะในประเด็นนี้ว่า เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา เนื่องจากมีผลต่อการทำงานทางยุทธศาสตร์ขององค์กร
ก่อน หน้านี้ซาแวคกี ในฐานะนักวิจัยของเอไอสากลในประเทศไทย ถูกกล่าวหาโดยนักสิทธิมนุษยชนไทยบางส่วนว่าประนีประนอมกับสถาบันทางอำนาจของ ไทยมากเกินไป และไม่ให้ความสำคัญของปัญหากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่าที่ควร หลังจากการเสวนาที่ FCCT เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาในหัวข้อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเขาเองเป็นหนึ่งในผู้พูดด้วยนั้น เขาได้ให้สัมภาษณ์ต่อเนชั่นว่าปัญหา “การขาดความโปร่งใส” ต่อจำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ควรเป็นปัญหาของรัฐบาลไทยมากกว่าของเอไอ
ในรายงานสากลประจำปีของแอ มเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่ผ่านมา เอไอได้ระบุว่าประเทศไทยมีนักโทษมโนธรรมสำนึกอย่างน้อยหนึ่งคน คือ วิภาส รักสกุลไทย นักธุรกิจจากจังหวัดระยองที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 เนื่องจากโพสต์ข้อความในเฟซบุ้กที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ เอไอให้คำนิยามของ “นักโทษมโนธรรมสำนึก” ว่าหมายถึง “บุคคลใดก็ตามที่ถูกจำคุกจากสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ภาษา เพศ ความเชื่อ และวิถีชีวิต ซึ่งไม่ใช้และไม่สนับสนุนความรุนแรง นอกจากนี้ยังหมายถึงผู้ที่ถูกจำคุกเนื่องจากการแสดงออกทางความคิดเห็นโดย วิธีสันติ”