ภาพโดย doskoi (CC BY-NC-SA 2.0)
เรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ตาม ที่ท่านรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นต่อจดหมายเปิดผนึกเรื่อง เรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม ของนักเขียน โดยมีเนื้อข่าวสั้น ๆ ตามการรายงานของเว็บไซต์มติชนออนไลน์ดังนี้
"ผมไม่เคยเห็นมาตรา 112 ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และนักการเมืองกว่า ร้อยละ 99 ก็ไม่มีปัญหากับมาตราดังกล่าว ผมเดินทางไปหลายประเทศที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ชาวบ้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียดายที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์แล้ว อยากจะรื้อฟื้นให้กลับมาใหม่ เพื่อจะเป็นประมุข รวมทั้งสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ กลับกันไทยยังมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงสมควรมีมาตราดังกล่าวไว้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์" นายนิพิฏฐ์กล่าว
นาย นิพิฏฐ์กล่าวว่า หากเราแก้ไขมาตรา 112 ให้ไปอยู่ในหมวดเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคล เชื่อว่าสุดท้ายก็อาจมีการเสนอให้แก้ไขลดโทษลง หรือแก้ให้ยอมความกันได้อีก ยิ่งข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้แก้ไขให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องเอง ยิ่งทำให้เกิดปัญหา เพราะจะกลายเป็นว่าเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน การ ให้ชาวบ้านฟ้องร้องเองได้ถ้าพบเห็นพฤติกรรมที่อาจฝ่าฝืนมาตรา 112 ส่วนตัวคิดว่าว่าเหมาะสมแล้ว เพราะมาตราดังกล่าวอยู่ในลักษณะความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร
http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306048341&grpid=01&catid=01
มีสองประเด็นในการให้สัมภาษณ์ของท่านรัฐมนตรี ที่เราเห็นว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจนำไปสู่ความตกต่ำของวัฒนธรรมทางปัญญาในสังคมไทย ดังที่ขีดเส้นใต้เอาไว้
เราในฐานะผู้ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว จึงขอเรียนชี้แจงมายังท่านรัฐมนตรี เพราะเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีอาจกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ข้อแรก: ไม่เคยเห็นมาตรา 112 ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
เป็น ที่ประจักษ์ชัดว่ามีการอ้างสถาบันกษัตริย์มาโจมตีกันทางการเมือง พร้อม ๆ กับใช้ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาร้องทุกข์กล่าวโทษฟ้องร้องกัน จนสถิติของคดีความเกี่ยวกับกฎหมายมาตราดังกล่าวพุ่งขึ้นสูงในช่วงสองถึงสาม ปีที่ผ่านมา
ในการประชุมผู้บริหารพรรคการเมืองที่กกต.จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม พรรคการเมืองทุกพรรคต่างเห็นพ้องต้องกันถึงกรณีการนำสถาบันมาใช้ในการหา เสียงว่าควรนำมาอยู่ในระเบียบข้อห้ามของ กกต. โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยให้เหตุผลว่า ไม่ควรนำสถาบันมาเกี่ยวข้องกับทุกประเด็น ไม่เช่นนั้นจะมีการนำกรณีดังกล่าวไปขยายความหากมีคนเลือกพรรคที่ไม่เชิดชู สถาบัน
ในที่สุด วันที่ 4 พฤษภาคม ที่ประชุม กกต. ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบ กกต. ว่าด้วยการหาเสียง ให้แก้ไขเพิ่มเติมว่า มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งจะอยู่ในหมวดข้อควรปฏิบัติในการเลือกตั้ง
หากไม่มีการนำสถาบัน พระมหากษัตริย์มาอ้างใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แล้วเหตุใดพรรคการเมืองทุกพรรคจึงเห็นพ้องต้องกันจนกระทั่ง กกต. ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าว?
คำกล่าวของท่านรัฐมนตรีที่ ว่า ไม่เคยเห็นมาตรา 112 ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้น เป็นคำพูดที่ผิดกับข้อเท็จจริงจนน่างุนงงสงสัย หากการพูดดังกล่าวถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียง โดยอาจมีผู้เข้าใจว่าท่านรัฐมนตรีกล่าวถ้อยคำที่ผิดกับข้อเท็จจริงนี้เพื่อ หวังเสียงสนับสนุนทางการเมือง ก็เป็นที่น่ากังวลว่า ท่านรัฐมนตรีอาจจะถูกเข้าใจว่ากำลังจะทำผิดข้อควรปฏิบัติตามระเบียบของ กกต. เสียเอง
ข้อสอง: สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องเอง ยิ่งทำให้เกิดปัญหา เพราะจะกลายเป็นว่าเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน
ต่อ ประเด็นนี้ต้องเรียนย้ำกับท่านรัฐมนตรีว่า สำนักราชเลขาธิการ “เคย” เป็นคู่คดีกับชาวบ้านมาแล้วในคดีหมายเลขดำ อ.2358/2551 หรือเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดสร้าง “พระสมเด็จเหนือหัว” โดยสำนักราชเลขาธิการได้มอบหมายให้ดีเอสไอเป็นโจทย์ยื่นฟ้อง นายสิทธิกร บุญฉิม หรือ เสี่ยอู๊ด
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังเคยกล่าวยืนยันว่า มาตรา 112 มีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้ โดยเฉพาะในส่วนที่ให้ใครก็เป็นผู้ร้องได้ ในระหว่างตอบคำถามนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ในงานวันนักข่าวประจำปี 2552 มีความดังนี้
“ผมเคยถามชาวต่างประเทศว่า ที่คุณมาขอให้ยกเลิกกฎหมายนี้ แต่ทำไมคุณมีกฎหมายไม่ให้หมิ่นศาล ดังนั้น มันก็ต้องมีกลไกลักษณะนี้ สิ่งที่ผมรับไม่ได้คือ ที่ว่าใครก็ตามที่ได้ถูกกล่าวหาแบบนี้ ต้องยกเลิกให้หมด ผมรับไม่ได้ ถ้าท่านไปยืนยันข้อเท็จจริง และทำให้เสื่อมเสียแก่ราชวงศ์ คุณทำกับคนธรรมดายังถูกฟ้อง นักการเมืองบางคนฟ้องเป็นพันล้านบาท มันจึงไม่มีเหตุผลว่าอยู่ดีๆ จะไปละเมิดสถาบัน แต่ปัญหาที่ผมคิดว่าต้องปรับปรุงแก้ไขคือ ใครก็ไปร้องได้ ผม คุยกับ ผบ.ตร.ว่า ต้องบังคับใช้กฎหมายให้ดี แต่ผมไม่ยอมให้ใครมาอ้างสิทธิเสรีภาพ แล้วมาทำร้ายสถาบัน ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ผมไม่รับฟัง”
http://www.siamintelligence.com/abhisit-disagree-on-lese-majeste-abortion/
ดัง นั้น สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีกล่าวว่า สำนักราชเลขาธิการไม่ควรเป็นคู่ความกับชาวบ้าน นอกจากจะผิดกับข้อเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ยังแย้งกับสิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เคยให้ความเห็นไว้ด้วย
การ ที่ท่านรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกระทรวงวัฒนธรรมแสดงความ เห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องเรื่องมาตรา 112 นี้เป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่การที่ท่านแสดงความเห็นโดยผิดกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจนดูเป็นการบิด เบือน ทำให้เรารู้สึกเป็นห่วงวิจารณญาณของกระทรวงวัฒนธรรม
ใน วัฒนธรรมทางปัญญา ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความเคารพ และไม่บิดเบือน แม้ว่าบางข้อเท็จจริงจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตรงกับใจของตน แต่การยอมรับความจริงและเผชิญหน้ากับความจริงคือหัวใจหนึ่งของวัฒนธรรมทาง ปัญญา การที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมให้สัมภาษณ์ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ในสองประเด็นที่กล่าวมาจึงไม่เป็นผลดีต่อการใช้เหตุผลและสติปัญญาของสังคม และอาจส่งผลให้วัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมไทยเสื่อมถอยได้
30 พฤษภาคม 2554