กู เกิลเพิ่มข้อมูลที่รัฐบาลต่างๆ ขอให้เซ็นเซอร์ละเอียดขึ้น โดยเปิดเผยเหตุผลที่ถูกให้ลบเนื้อหา และเปิดเผยสัดส่วนการยินยอมให้ข้อมูลผู้ใช้ตามที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ขอมาด้วย
ที่มา: http://www.google.com/transparencyreport/governmentrequests/TH/
หลัง กูเกิลเปิดหน้า Government requests (http://www.google.com/governmentrequests/) แสดงจำนวนครั้งที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ขอให้กูเกิลลบเนื้อหาจากผลการค้นหาของกูเกิลหรือผลิตภัณฑ์ของกูเกิล เช่น ยูทูบ (YouTube) และการขอข้อมูลบัญชีผู้ใช้กูเกิล เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ปีที่แล้ว โดยวางแผนจะปรับปรุงข้อมูลทุกๆ 6 เดือน และมีการเพิ่มส่วน Traffic ซึ่งเปิดเผยปริมาณการจราจรของกูเกิลจากประเทศต่างๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีเหตุผิดปกติอะไรกับการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศนั้นๆ หรือไม่ เมื่อเดือนกันยายน ปีที่แล้ว
ล่าสุด (27 มิ.ย.54) กูเกิลได้ประกาศปรับปรุงหน้าตาของรายงานใหม่ พร้อมเพิ่มเติมรายละเอียดมากขึ้น โดยกูเกิลได้ไฮไลท์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางอย่างในสถิติข้อมูลและให้บริบท เกี่ยวกับสาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ รายงาน และได้เปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลรายประเทศได้
นอก จากนี้ ในส่วนการร้องขอจากรัฐบาล (Government Requests) กูเกิลได้เปิดเผยเหตุผลที่ถูกร้องขอให้ลบเนื้อหาด้วย เช่น เข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือเป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech) พร้อมเปิดเผยสัดส่วนการยินยอมให้ข้อมูลผู้ใช้ตามที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ขอมาด้วย
ทั้งนี้ ทีมงานของกูเกิลชี้แจงจุดประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ว่าเพื่อให้ผู้ ใช้เข้าถึงข้อมูลและเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยเมื่อใดก็ตามที่กูเกิลได้รับการร้องขอข้อมูล กูเกิลจะตรวจสอบว่าการร้องขอนั้นเป็นไปตามตัวบทกฏหมายและเจตนารมณ์ของกฏหมาย ก่อนจะยินยอม ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ กูเกิลจะแจ้งผู้ใช้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการขอข้อมูลส่วนตัว และหากการร้องขอใดกว้างเกินไป กูเกิลจะพยายามจำกัดให้แคบลงด้วย
ใน ส่วนของประเทศไทย ช่วง ก.ค.-ธ.ค.53 กูเกิลเปิดเผยว่า ได้รับการร้องขอจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ลบเนื้อหา 43 ชิ้นในเว็บยูทูบ เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ ซึ่งเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรณีนี้กูเกิลทำตามที่ร้องขอมา 100% ด้วยการไม่อนุญาตให้ผู้ใช้จากประเทศไทยดูคลิปวิดีโอทั้ง 43 ชิ้น
แปลและเรียบเรียงจาก http://googleblog.blogspot.com/2011/06/updated-and-more-detailed-transparency.html