โค้ง สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง นอกจากฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ให้สุวิทย์ คุณกิตติ เดินเกมคลั่งชาติ ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขานรับ เพื่อสร้างคะแนนนิยมที่ประชาชนอาจไม่นิยม และอาจก่อให้เกิดสงครามโดยใช่เหตุในอนาคตก็เป็นไปได้
ฝ่ายอำมาตยา ธิปไตย ยังได้ให้เครือข่าย ในนาม คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือครป. ซึ่งควรเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการรัฐประหาร ต่างหาก เนื่องเพราะสนับสนุนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สมัยสุริยะใส กตสิลา เป็นเลขาธิการ
ครป ออกแถลงการณ์ ในนามของ สุริยันต์ ทองหนูเอียด ใช้วาทกรรม ทิ่มแทงนักการเมืองอันเป็นวาทกรรมเดียวกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย
เพียงแต่เนียมอายไม่เสนอให้โหวตโนโดยตรงเท่านั้นเอง แต่ถ้าตีความข้อเสนอก็เพื่อต้องการให้โหวตโนได้เช่นกัน
วาทกรรมที่มีนัยยะว่า “ประชาชนโง่ ตามนักการเมืองไม่ทัน”
คิดว่า “ประชาชนเข้าใจว่าการเลือกตั้งเท่ากับประชาธิปไตย”
แต่ สี่ห้าปีที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มิอาจทราบได้ว่าค รป. ไปหมุดดินอยู่หนใด ไม่รู้เลยหรือว่า ประชาชน โดยเฉพาะคนเสื้อแดง ผู้รักประชาธิปไตย เขาเคลื่อนไหวมาตลอดไม่ว่าเรื่องเสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น
ยังมีเรื่องสำคัญๆ เช่น เรื่องเอาคนสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ เรื่องไม่ให้ทหาร มือที่ไมองไม่เห็นอำนาจนอกระบบแทรกแซงการเมือง เรื่องปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องนิติรัฐนิติธรรม เป็นต้น
เท่ากับว่า ประชาชน มองว่า “ประชาธิปไตยต้องมากกว่าการเลือกตั้ง แต่ประชาชนเขาไม่ปฏิเสธว่าการเลือกตั้งสำคัญต่อประชาธิปไตย” ต่างหาก
ใน แถลงการณ์ของ ครป. ยังได้สร้างวาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” เฉกเช่นฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตยกระทำมาโดยตลอดภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
เพียงหวังเพื่อมิให้ระบบรัฐสภา เพื่อมิให้ระบอบประชาธิปไตยได้มีกระบวนการพัฒนา เติบโตอย่างมั่นคง และเพื่อให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยครองอำนาจการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จอำนาจนิยม เหมือนเดิมเท่านั้นเอง
ครป.ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายประชานิยมของ พรรคการเมืองเหมือนนักวิชาการ เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ว่าเอาเงินในอนาคตมาใช้ ทำให้เสียวินัยทางการคลัง และถ้าถามกลับว่าการเสียวินัยทางการคลังของระบบทุนนิยมเท่ากับว่า
“เอา เงินการคลังมารักษาชีวิต มาดูแลสุขภาพประชาชน มาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ดีกว่าเอาเงินการคลังไปซื้ออาวุธ ไปปราบปรามสังหารประชาชน ควรกระทำหรือไม่? “
อย่างนี้ควรเสียวินัย ควรเอาเงินในอนาคตมาใช้หรือไม่?
ทีจริงแล้ว นโยบายประชานิยม เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการ ต่างหาก (มีรายละเอียดมากมิอาจเขียนในที่นี้ได้)
นอก จากนี้แล้ว แถลงการณ์ของครป. ก็ไม่ต่างกับ อานันท์ ปันยารชุณ ประเวศ วะสี เสนอให้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่กลับไม่เสนอแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการเมืองอันเป็นรากเหง้าปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งปวง
เพราะกลไกอำมาตยาธิปไตย ย่อมคิดทางเดียวกัน บิดเบือนความหมายของ”ประชาธิปไตย” เหมือนกัน
เอาเข้าจริง ครป. ต่างหากที่บิดเบือนประชาธิปไตย และยังมองว่าประชาชนไม่เข้าใจประชาธิปไตยอยู่
พูดในตรรกะเดียวกัน ประชาชนโง่ หรือครป. โง่กันแน่ ?
หัน มามอง กลุ่มสยามสามัคคี อีกกลไกหนึ่งของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย นำโดยเจ้าเก่าสมชาย แสวงการ ประสาร มฤคพิทักษ์ สว.ลากตั้งมรดกจากคณะรัฐประหาร ชัยวัฒน์ สุรวิชัย พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย สันติสุข โสภณสิริ สามีของรสนา สว. นักอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตย ได้ขึ้นป้ายรณรงค์ว่า
"ไม่เลือกคนเผาบ้านเผาเมือง "
คนเหล่า นี้สรุป แล้ว มีธงอยู่แล้วว่าใครเผาบ้านเผาเมือง เขาเหล่านั้นจึงหาได้ใช้สัมมาฐิติ หลักกาลามสูตร และ หิริโอตัปปะเพ่งพินิจแต่อย่างใด ?
เท่ากับว่าเสนอให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่เคยสนใจใยดีเลยว่า
“.ใครฆ่าประชาชน 92 ศพ ใครคือฆาตรกร ใครต้องรับผิดชอบ ?“
แม้ว่าบางคนของกลุ่มสยามสามัคคีจักกระทำตนเสมือนเจริญรอยตามพระพุทธเจ้าก็ตาม หรือชอบอ้างคำว่า “คนดีมีศีลธรรม” ก็ตาม
ปรากฎการณ์ ที่เห็นและเป็นอยู่ ชี้ให้เห็นว่า หาต้องการ “สยามสามัคคี” อย่างใดไม่ ? แต่จะเลือดเย็นหรือไม่? มิอาจหยั่งรู้ได้
แต่ที่แน่ๆ ครป.และกลุ่มสยามมัคคี เป็นเพียงกลไกหนึ่งของ”ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย” เพื่อทำลายความชอบธรรม “ฝ่ายประชาธิปไตย” เท่านั้นเอง