รัฐบาลมาร์ค พรุ่งนี้คือ วันที่ 30 กันยายน2552 วันสุดท้ายของเดือน 9 (กันยายน)ก่อนที่ชาวไทยจะก้าวเข้าสู่เดือนที่ 10 (ตุลาคม)อีกประมาณ 90 กว่าวัน เราจะก้าวเข้าสู่ ปี 2553ในขณะที่รัฐบาลมีอายุประมาณ 1 ปีเวลาเดินหน้าไวเหมือนเหาะ ..ขับเคลื่อนไปพร้อมการปรับสภาพของคนในสังคมให้ “เคยชิน” กับค่าครองชีพสูงปรี๊ด คุณภาพชีวิตตํ่าดิ่ง จิตใจไม่สนองตอบกับความขัดแย้งของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เนื่องด้วยมันมีให้เห็นมา 3 ปีแล้วยังซํ้าซากจำเจ นับตั้งแต่มีคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลประชาธิปไตยซึ่งมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีโดยอ้างเหตุผลว่า เกรงจะเกิดความสูญเสียจากการปะทะกันของประชาชน 2 กลุ่ม ที่มีความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่! รัฐบาลประชาธิปไตยยังคง “วุ่นวาย” ฉายภาพซํ้าแล้วซํ้าเล่า! ด้วยการแสดงออกตามสิทธิประชาธิปไตยของนักเรียกร้องในนามพันธมิตรฯ ที่คนไทยรู้จักกันดีนี่ล่ะ..กระทั่งมีรัฐบาลอภิสิทธิ์แอ่นอก “รับภาระ” ท่ามกลางเสียงสนับสนุนเบื้องหน้า เบื้องหลังตั้งโต๊ะฉลองใหญ่ก้าวแรกรัฐบาลอภิสิทธิ์ ภาระหนักอึ้ง คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และแก้วิกฤติการเมือง หมุนเข็มสู่วันแถลงนโยบายก่อนเริ่มบริหารประเทศรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึงด้วยความมงุ่มนั่ หากฟงั จากถอ้ ยแถลงของรฐั บาล เวลานั้นทุกอย่าง “หรู ดูดี” ถูกครับพี่...ดีครับนายเสมอ..แต่รัฐบาลลืมคิดไปว่า “ความสำเร็จ” มิใช่การแถลงแต่จะต้องหารด้วยความเป็นจริงหรือสิ่งที่ปฏิบัติได้ รวมทั้งการต่อต้าน ท้วงติงจากพรรคฝ่ายค้าน จากกลุ่มอำนาจเก่า และกลุ่มชนที่อยู่คนละฝ่ายกับรัฐบาล นั่นคือ ผลที่จะเกิดขึ้นในความเป็นจริงนโยบายที่เขียนของทุกรัฐบาลคล้ายๆ กันแต่วิธีการไปให้ถึงเป้าหมายอาจแตกต่างกัน ดังนั้นนโยบายที่เขียน กับนโยบายที่ทำย่อมแตกต่างกัน4 ข้อเร่งด่วนของรัฐบาล นโยบายเร่งด่วน
ของรัฐบาลอภิสิทธิ์สั้น กระชับ ชัดเจนไว้ 4 ด้าน คือ(1) การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้น เศรษฐกจิในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค (2) การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน (3) การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และ (4) การจัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)เกือบปีกับที่เดิม ทุกวันนี้สังคมไทยอยู่กับความเคยชิน นโยบาย 4 เรื่องด่วนยังคง “ลุล่วง”ไปอย่างเนิบนาบบางเรื่อง “จอดสนิท” เหมือน “หมาหอบ”ที่มีแต่แรงกระเพื่อมแต่ไม่กระดิกความขัดแย้ง การสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ และการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลนำมาใส่เป็นวาระแห่งชาติประทับตราด่วนมากมาก สิ่งที่ขยับปรับเปลี่ยนภายใน 1 ปี หลังรัฐบาลเอาจริง คือ งบ (ไปไหนไม่รู้)กับการเฝ้าระวังพร้อมกับคำสั่งตั้งรับอย่ารุกลํ้าไปในที่ของโจร เพราะจะกลายเป็นการละเมิดสิทธิ์ ข่มเหงประชาชน..ซะอย่างนั้นแหม!! ไม่เด็ดขาด ไม่ฟันธง ..ตอนนี้รัฐกับโจรก็ไม่ต่างอะไรกับ “แมวไม่อยู่หนูร่าเริง” หดหู่กว่านั้นคือ หนูดันจับแมวมาเป็นนางบำเรอซะอย่างนั้นคิดดูซิ! น่าขำ...รัฐบาลประชุมกันจนคลังต้องจ่ายเบี้ยประชุมมือเป็นระวิง.. วิ่งเต้นลงพื้นที่เสี่ยงเพื่อมายืน สงบนิ่งบำเพ็ญกุศลให้(ผู้กล้าของชาติ-เป้านิ่งของโจร)สุดท้าย ท้ายสุดกับปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดเจ้าหน้าที่รัฐก็ยังมีหน้าที่เฝ้าระวังและตั้งรับอยู่เช่นเดิมนับประสาอะไรล่ะ!! ขนาดความวุ่นวาย ที่เกิดอยู่แค่เอื้อม...รัฐบาลยังทำอะไรไม่ได้มากกว่า “จัดกำลังทหาร-ตำรวจ” แบบเต็มลิมิต เพื่อปราบจลาจลเศรษฐกิจยับ รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาในจังหวะที่เศรษฐกิจยับยู่ยี่และเราคงจะไม่โทษปี่โทษกลอง โดยการโยนความผิดว่ามันมาจาก “แรงเหวี่ยง”ของเศรษฐกิจโลกอีกไม่ได้ เพราะวันนี้ประเทศอื่นเขาเริ่มหายใจหายคอได้แล้ว ในขณะที่ไทยยังต้องวิ่งเต้น“ยืมเงิน” และสร้างภาพสักษณ์ปกปิด “รอยรั่ว”เศรษฐกิจโลกเป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งคือเขาไม่มาไทยเพราะหวั่นใจว่า ถนนจะถูกปิด สนามบินจะถูกยึด อันมีผลให้ “ติดแหง็ก” อยู่บนถนนกับรันเวย์..อย่างที่เคยเป็น..สรุป เมืองของบรรพบุรุษ ผืนดินของคุณพ่อคุณแม่ ของพี่น้องประชาชนคนไทยที่ร่วมกันสร้าง... 1 ปีผ่านไป “ไม่มีอะไรดีขึ้น” .. เฮ้อ!!!