2 กันยายน 2488 ที่กรุงฮานอย ประธานาธิบดีโฮจิมินประกาศเอกราชและสถาปนา “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม” ฉะนั้นวันที่ 2 กันยายนของทุกปีจึงถือเป็น “วันชาติของเวียดนาม”
19 กันยายน 2549 ที่กรุงเทพฯ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกาศยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลประชาธิปไตย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฉะนั้นวันที่ 19 กันยายนของทุกปี จึงถือเป็น “วันเศร้าของไทย” ความต่าง – เวียดนามเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่มีจุดเริ่มต้นหลังเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายสิบปี ในขณะที่ไทยมีโอกาส “ก้าว” มากกว่า “เวียดนาม” แต่ต้อง “สะดุด” กับความขัดแย้งของคนในชาติเพียงไม่กี่คน...กระทั่ง “เซถลา” ล้มลุกคลุกคลาน..เข่าถลอกจน “เลือดกระเด็น”พ.ศ. 2430- 2497 เวียดนามต้องต่อสู้กับจักรวรรดินิยมตะวันตก จากนั้นก็ต้องมาต่อสู้กับจักรวรรดินิยมอเมริกาจนถึงปี 2518 พ.ศ. 2522 -2523 เวียดนามต้องเจอกับสงครามชายแดนด้านเหนือกับจีนเป็นของแถมเกือบ 1 ปี กว่าเวียดนามจะสงบสุข และตั้งตัวได้ประมาณปี 2525เมื่อพ.ศ. 2430 ในขณะที่ “เวียดนาม” กำลังคลุกฝุ่น...ประเทศไทยอยู่ในช่วงพัฒนาตัวเอง 26 กันยายน - ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต5 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนนายร้อยขึ้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์ (ปัจจุบันคือ กรมแผนที่ทหาร) และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2490เวียดนาม - แม้จะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ทางการเมือง แต่เวียดนามใช้หลักการตลาดเสรีแบบทุนนิยมเปิดกว้างรับการลงทุนจากต่างประเทศ มีการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อทำเศรษฐกิจให้ทันสมัยเพื่อให้มีศักยภาพแข่งขัน
ได้ในตลาดโลก ด้านเวทีระหว่างประเทศ.. เวียดนามเป็นสมาชิกอาฟตา และทำข้อตกลงด้านการค้ากับสหรัฐฯเมื่อปี 2544 เป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกในปี 2510 เวียดนามได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติช่วงปี 2551-2552เวียดนามเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจ เพราะเสถียรภาพทางการเมืองและทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวียดนามยังมีสูง โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งไทย - เป็นประเทศอิสรภาพ ที่เรียกว่าประชาธิปไตย แม้ว่าไทยจะมีความสามารถผลิต “ยุทธศาสตร์” เพื่อการพัฒนาประเทศที่เข้มแข็ง แต่ ความขัดแย้งสกัดขา- หนี้บุญคุญขี่คอ อยู่อย่างนี้...การขับเคลื่อนเลย “ได้แค่คืบ” ในขณะที่ “ความร่วงโรย” ของไทย ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 จำเป็นมากที่ “ผู้บริหารประเทศ” ต้องลงมือพัฒนาไปอย่าง “ก้าวกระโดด” แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลยังคงก้าวไปอย่างช้าๆ เพราะเชื่อว่ามา “ถูกทาง” ไอ้ถูกทางน่ะมันก็ถูกทางอยู่หรอกขอรับท่าน!เพียงแต่ทางที่ท่านเลือกจะพาไทยไปนั่นน่ะ??? เพื่อนบ้านเราเขาเลือกที่จะนั่ง “เครื่องบินติดเทอร์โบ” ไม่ใช่ “ขี่เกวียน” นะครับท่าน..ล่าสุด “เวียดนาม” ก็ติดปีกบิน ..กระชากแรงลม “พัด” ท่านหัวฟู!! ท่านคิดว่า “พายุกิสนา” หรือครับท่าน