ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 1 ในแกนนำ นปช.จะมาพูดคุยใน ทิศทางของคนเสื้อแดง และ ทิศทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กับวอยซ์ทีวี ในรายการ HOT TOPIC วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 (18.30 น.)
บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 1 ในแกนนำ นปช.จะมาพูดคุยใน ทิศทางของคนเสื้อแดง และ ทิศทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กับวอยซ์ทีวี ในรายการ HOT TOPIC วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 (18.30 น.)
ธาริต กังวลการเคลื่อนไหวทางการเมืองของแกนนำ นปช.ต่อสื่อหลังปล่อยตัวชั่วคราว ชี้การร่วมปราศรัย-ชุมนุมกับ นปช. อาจผิดเงื่อนไข
- ดีเอสไอ เตือนแกนนำนปช.หากร่วมปราศรัยอาจผิดเงื่อนไข
ร่วมแสดงความคิดเป็นกับรายการ Voice Focus ผ่านทาง
http://www.facebook.com/event.php?eid=205375396145581
ในประเด็น :
คุณอยากฟังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประเด็นอะไรมากที่สุด ? เพราะอะไร ?
ความเห็นของท่านจะถูกนำมาออกอากาศในรายการ Voice Focus เวลา 21.30 -22.00 น.
คอลัมน์ ณ ริมคลองประปา ประสงค์ วิสุทธิ์ prasong_lert@yahoo.com
ในการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์) มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้สำนักงานศาลปกครองชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหานายอักขราทร จุฬารัตน ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดเนื่องจากใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่พิจารณาคดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่มิให้นำมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ
ประเด็นที่เสนอให้ ก.ศป.พิจารณาคือ ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนนายอักขราทรตามข้อกล่าวหารือไม่ และสำนักงานศาลปกครองต้องชี้แจงและส่งเอกสารให้แก่ ป.ป.ช.หรือไม่
ปรากฏว่า เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวางโดยตุลาการศาลปกครองสูงสุดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า กรณีของนายอักขราทรเป็นการใช้อำนาจตุลาการ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจไต่สวน สำนักงานศาลปกครองจึงไม่ต้องชี้แจงกรณีดังกล่าว
ขณะที่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ป.ป.ช.มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 25(1) ในการเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดๆ เพื่อประโยชน์ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ถ้า ก.ศป.มีมติไม่ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองส่งเอกสารหรือชี้แจงต่อ ป.ป.ช. เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองกระทำผิดกฎหมาย
เมื่อมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก.ศป.จึงไม่มีมติใดๆ ซึ่งหมายความว่า สำนักงานศาลปกครองจะส่งเอกสารหรือชี้แจงต่อ ป.ป.ช.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเอง
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ในช่วงแรกที่ ป.ป.ช.มีมติรับเรื่องการกล่าวหานายอักขราทรไว้พิจารณานั้น ทาง ก.ศป.มีมติมอบหมายให้ตุลาการศาลปกครองรายหนึ่งไปเจรจาทำความเข้าใจกับ ป.ป.ช.ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตุลาการ ไม่น่าจะอยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช.
อย่างไรก็ตาม ก่อนพิจารณาว่า ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนเรื่องนี้หรือไม่ น่าจะมาดูว่า ข้อกล่าวหานายอักขราทรเป็นอย่างไร
มีผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.มีเนื้อหาโดยสรุปว่า หลังจากที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้นำมติ ครม.ที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ครม.และกระทรวงการต่างประเทศได้อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุด นายอักขราทรได้สั่งให้จ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะ มีนายชาญชัย แสวงศักดิ์ เป็นเจ้าของสำนวน ตุลาการอีก 3 คนประกอบด้วย นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์
ปรากฏว่า องค์คณะมีมติ 3 ต่อ 2 เสียง ให้กลับคำสั่งของศาลปกครองกลาง ขณะที่ยังไม่ลงนามในคำสั่งครบทั้งองค์คณะ
นายอักขราทร มีคำสั่งเปลี่ยนมาใช้องค์คณะฯที่ 1 ซึ่งมีนายอักขราทร เป็นหัวหน้าคณะเป็นผู้พิจารณาแทน และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง
หลังจากพิจารณาคำร้องเรียนแล้ว แม้คำร้องมิได้ระบุชื่อผู้ร้อง แต่คำร้องมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการในศาลปกครอง และชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนองค์คณะตุลาการเป็นการใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการ ไม่ใช่เพราะเหตุอันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ จึงน่าเข้าข่ายการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม อยู่ในอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช. (มาตรา 84 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ) จึงมีมติรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553
นอกจากนั้น ในมาตรา 92 ยังระบุว่า ถ้า ป.ป.ช.มีมติการกระทำของผู้ถูกกล่าวมีมูลความผิด ให้ประธาน ป.ป.ช.ส่งรายงานและอกสารการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯโดยเร็วฯ (มาตรา 92 วรรคสอง)
จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นชัดว่า ป.ป.ช.มีอำนาจการไต่สวนข้าราชการตุลาการศาลปกครองเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ (มาตรา 270) ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการไต่สวนเพื่อถอดถอนข้าราชการตุลาการศาลปกครองและผู้พิพากษากรณีที่มีการร้องเรียนผ่านประธานวุฒิสภาว่า บุคคลดังกล่าวส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ดังนั้น ทางออกที่ถูกต้องจึงไม่ใช่การดิ้นรนเพื่อหลีกหนีการไต่สวน แต่ต้องพิสูจน์ตัวเองว่า มิได้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบสั่งเปลี่ยนองค์คณะฯซึ่งเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง
( หมายเหตุ อ่านบทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยะกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่องอำนาจป.ป.ช. และศาลปกครอง และข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน ในมติชนออนไลน์ เร็ว ๆ นี้ ที่นี่ )
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" มีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คำ ผกา นักคิดนักเขียนชื่อดัง และ นายจอม เพชรประดับ สื่อมวลชน เข้าร่วมอภิปราย
นายสุธาชัยกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ยังมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ ในฐานะเหตุการณ์ที่ยังไม่กระจ่างชัดเจน หรือยังทำให้ชัดเจนไม่ได้ ใครก่อหรืออยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ เพราะไม่กล้าค้นข้อมูลหรือไม่กล้านำเสนอข้อมูล
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา ถือเป็นความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม กล่าวคือแม้ฝ่ายประชาชนอาจพ่ายแพ้ในวันนั้น แต่มาวันนี้ตนขอยืนยันว่านักศึกษาไม่ได้แพ้ เพราะเมื่อย้อนกลับไปวันนั้น ฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมรู้สึกดีใจ พอใจในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 6 ตุลา แต่ทันทีที่รัฐบาลชุดดังกล่าวขึ้นบริหารประเทศ ภาพก็ติดลบทันที เนื่องจากนานาชาติไม่เอาด้วย จนต้องส่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้นคือนายสมัคร สุนทรเวช ไปพูดคุยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ระหว่างที่รัฐบาลธานินทร์อยู่ในอำนาจก็มีแต่คนเกลียดรัฐบาล จึงเกิดรัฐประหารโค่นรัฐบาลธานินทร์ และได้รัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งมี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี นำมาสู่การออกนโยบายผ่อนปรน นิรโทษกรรมนักโทษ ฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
การเกี่ยวข้องกับ 6 ตุลา จึงไม่ได้เป็นเกียรติประวัติ วีรกรรม แต่เป็นความพ่ายแพ้จริงๆ ของฝ่ายขวาที่ต้องซ่อนพฤติกรรมของตัวเองเมื่อครั้งนั้นของพวกตนเอาไว้ว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และพยายามทำให้ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาหายไป แต่ก็หายไม่สนิทเพราะมีคนมาจัดงานรำลึกถึงทุกปี เป็นการสร้างอนุสรณ์ ในลักษณะ "หนามยอกอก"
นายสุธาชัยเสนอว่า 6 ตุลา ในทางประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่อิหลักอิเหลื่อ ขัดแย้งกับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นเรื่องวีรกรรมการสร้างชาติของชนชั้นนำ ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนนั้นประชาชนไม่ต้องทำอะไร คอยตามแล้วจะดี แต่ปัญหาของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 คือ ไม่สามารถเข้ากับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนบอกเราว่าประวัติศาสตร์มักตกแต่งอดีตให้งดงาม และกลบเกลื่อนความเป็นจริงเอาไว้ ปัญหาสำคัญตอนนี้ก็คือประชาชนไม่เชื่อในโครงเรื่องประวัติศาสตร์แบบนี้อีกต่อไป และประวัติศาสตร์ที่เคยถูกเขียนขึ้นนั้นก็ใกล้จบลงแล้ว
นายจอมกล่าวว่า สื่อในปัจจุบันมีจุดกำเนิดที่เติบโตมาจากฐานความคิดแบบชนชั้นนำ ผู้ปฎิบัติงานสื่อจึงไม่สามารถลุกขึ้นมาหักล้างหรือคัดค้านกับฐานความคิดดังกล่าวได้ การที่จะมีคนลุกขึ้นมาสุดท้ายก็แพ้ ทุกคนก็ไม่อยากเจ็บตัว ไม่อยากอยู่ในสถานะสิ้นไร้ไม้ตอก โอกาสที่สะท้อนความเป็นจริงก็เป็นแค่ข่าวเชิงสร้างภาพลักษณ์ แต่เชิงความจริงใจในเรื่องการให้ประชาชนสะท้อนความเดือดร้อนได้นั้นทำไม่ได้ในสื่อหลัก เพราะไม่สามารถโต้เถียงกับกลุ่มทุน หรือฝ่ายทางการเมือง
"ความจริง" ที่ปรากฎในสื่อจึงเป็นการพยายามครอบงำประชาชนให้อยู่ร่วมกับชนชั้นนำโดยไม่กระทบกันมากกว่า แต่ปัจจุบันมีสื่อทางเลือกที่มีสิทธิมีเสียง สามารถให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นนำได้มากขึ้น ซึ่งน่าเป็นช่องทางที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้ในอนาคตและสถานการณ์จะเป็นแบบนี้ไปพักใหญ่จนกว่าจะเกิดการกดดันให้ประเทศมีความเปลี่ยนแปลง เราจึงไม่สามารถคาดหวังอะไรได้มากในสื่อกระแสหลัก ส่วนสื่อพวกกระแสรองก็ยังเป็นเพียงทางเลือก ทั้งนี้ ตนมองว่าสื่อในไทยยังอยู่ในความกลัว และไม่กล้าที่จะพังกำแพงความกลัวออกไป
ด้านคำ ผกา เสนอว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นกำเนิดของ "สลิ่ม" 2 จำพวกในสังคมไทย สลิ่มไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว แต่เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยสามารถจัดแบ่ง "สลิ่ม" ออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
"สลิ่ม" พวกแรก เรียกว่าพวกไร้อุดมการณ์ ที่มาของพวกนี้คือ ชนชั้นกลางที่ถูกดึงให้เป็นพันธมิตรกับอุดมการณ์ขวาจัด ถูกสอนให้เบื่อหน่ายการประท้วงของนักศึกษา กลัวความเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน กลัวคอมมิวนิสต์ จากนั้นขบวนการขวาจัดก็ได้ปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมนั่นคือ สร้างโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยว่าดินแดนไทยเป็นสิ่งที่ถูกปกป้องมายาวนาน
คีย์เวิร์ดที่กลุ่มนี้ใช้ คือ สิ่งชั่วร้าย, คอมมิวนิสต์, อนาธิปัตย์, ทรยศต่อชาติ และเครื่องมือทางอุดมการณ์ คือ "ทุกอย่าง" ตั้งแต่ระบบการศึกษา แบบเรียน เพลงปลุกใจ และสารคดี สื่อ โทรทัศน์
ส่วน "สลิ่ม" กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ดูมีความน่ากลัวกว่ากลุ่มแรก เพราะมีกลวิธีการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดที่แนบเนียนกว่า กำเนิดของสลิ่มกลุ่มที่สองเป็นสลิ่มที่อยู่ตรงกลาง คือสิ่งมีชีวิตที่กลายพันธุ์กลุ่มนี้เคยถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้าย เคยอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายขวา เช่น กลุ่มผู้นำนักศึกษา คนเคยเข้าป่า นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นน้ำดี ศิลปินเพื่อชีวิต
จุดเชื่อมต่อของคนเหล่านี้ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นซ้ายเข้ากับฝ่ายขวา ก็คือ ในขณะที่ฝ่ายขวาชูอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม อีกฝ่ายหนึ่งที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้ายก็ชูอุดมการณ์ชนบทนิยม ชุมชนนิยม ซึ่งดูเหมือนจะแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้คือ ทั้งสองกลุ่มต่างแชร์อุดมการณ์การต่อต้านเสรีนิยมใหม่ เพราะว่า อุดมการณ์ของทั้งสองฝ่ายนี้ยึดถือแท้จริงแล้วเป็นอุดมการณ์จารีตนิยมเหมือนกัน
"สลิ่ม" เหล่านี้มักอวตารอยู่ในร่างเอ็นจีโอ ที่ทำงานในเครือข่ายทรัพยากร นักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานเพื่อคนยากจน นักวิชาการที่โหยหาวิถีชนบท สิ่งที่คนเหล่านี้แสวงหาคือ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ซึ่งไม่เหมือนกับที่โลกเขาเป็นกัน
นักเขียนดังสรุปความเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองไทยตอนนี้ คือการต่อสู้ระหว่างชาตินิยมสองแบบ คือ "ชาตินิยมที่เน้นราชาธิปไตย" กับ "ชาตินิยมที่เน้นประชาชน" ซึ่งคือกระบวนการของคนเสื้อแดง อุปสรรคของชาตินิยมประชาชนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาคือ ฝ่ายอำมาตย์ และฝ่ายขวาจัดหัวรุนแรง แต่ศัตรูที่น่ากลัวกว่าคนสองกลุ่มดังกล่าวก็คือ "พันธุ์อวตารของขวาจัดที่ทำงานในร่างซ้ายเก่า" ที่ทำงานในกลุ่มประชาสังคม เอ็นจีโอ ซึ่งต่อต้านนักการเมืองชั่วและทุนสามานย์นั่นเอง
เพราะฉะนั้น สื่อที่น่ากลัวไม่ใช่สื่อที่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เป็นสื่อในนามความหวังของประชาชน สื่อของชนชั้นล่าง เพราะสื่อเหล่านี้ได้กระทำและผลิตไปบนความปราถนาดีต่อชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบ คนเหล่านี้อยากรื้อฟื้นจิตวิญญาณของสังคมไทยที่ถูกลืมเลือนไป ในสายตาของสื่อเหล่านี้ชาวบ้านคือลูกแกะหลงทาง ที่ต้องต้อนกลับมา กลุ่มทุนเหล่านี้มักมองไม่เห็นหรือทำเป็นมองไม่เห็นว่าทุนนิยมจารีตนั้นแทบเป็นเนื้อเดียวกับทุนโลกาภิวัฒน์ที่สูบกินทรัพยากรของชาติมากกว่าทุนนักการเมืองหรือทุนต่างชาติไร้เส้นสายรวมกัน
ดังนั้น สำหรับฝ่ายขวาจัดที่อวตารมาในร่างผู้คนปกป้องชาวบ้านและคนจน มีข่ายแหความเกื้อกูล แฃะพิทักษ์โลกสีเขียว จึงน่ากลัวกว่าฝ่ายขวาจัดมากมาย
คลิก อ่านคำอภิปรายโดยละเอียดของผู้อภิปรายทั้งสามคน ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 6 ตุลา ฆ่าผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุด
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมคนเสื้อแดงช่วงเมษายน-พฤภาคม 2553 ว่าหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 10 เมษายน นายอภิสิทธิ์ส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาเจรจากับตน 3-4 ครั้ง ต่อมาแต่จู่ๆ นายอภิสิทธิ์ก็สั่งให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้เลิกการเจรจรา ทาง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ก็ต้องหยุด จากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มตึงเครียด แต่ก็มีความพยายามที่จะตั้งโต๊ะเจรจากันอยู่ตลอด โดยตนประสานผ่านนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. ที่แม้จะยุติบทบาทไปก่อนหน้านั้น แต่พยายามช่วยประสานการเจรจากับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีขณะนั้น และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
นายณัฐวุฒิกล่าวต่อว่า เมื่อปิดล้อมก็เกิดการเผชิญหน้ากัน เหตุการณ์ก็ลุกลามบานปลาย มีคนบาดเจ็บล้มตาย ตนพยายามเจรจากับคนของฝ่ายรัฐบาลหลายครั้ง มีการโทรศัพท์พูดคุยกับคุณกอร์ปศักดิ์ เพราะเพียงแค่อยากอธิบายเหตุผลว่าสาเหตุที่วุ่นวายกันอยู่ก็เพราะรัฐบาลเอากำลังทหารไปปิดทาง คนจะเข้ามา เข้ามาไม่ได้ ก็เกิดการเผชิญหน้าและสูญเสีย จึงเสนอให้นายกอร์ปศักดิ์เปิดทาง เพื่อจะได้พาพี่น้องที่เผชิญหน้าแต่ละจุดเข้ามา ก็ไม่ทราบนายกอร์ปศักดิ์ ไปสื่อสารอย่างไร กลายเป็นไปบอกว่าตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้าย สามารถสั่งคนให้เข้ามาได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งไป
แกนนำเสื้อแดงรายเดิมกล่าวต่อว่า เมื่อเห็น ส.ว.ยกมือขอเป็นตัวกลาง จึงโทรศัพท์ไปหาพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ซึ่งได้แจ้งกลับมา ว่านายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาเห็นด้วยและพร้อมที่จะเป็นคนกลางในการเจรจาให้ ในเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม โดยได้แจ้งไปยังนายอภิสิทธิ์ ซึ่งก็เห็นด้วยเช่นกัน
"ต้องนึกภาพว่าในตู้คอเทนเนอร์เราคุยกันเป็นรูปธรรมระดับนี้ โดยมีประธานวุฒิเป็นคนยืนยันสำคัญว่าจะเกิดการเจรจาในเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม เราจึงมั่นใจว่าวันที่ 19 พฤษภาคม ตอนเช้าจะมีการเจรจา พวกผมส่งคณะ ส.ว.กลับด้วยความเข้าใจนี้ แต่ปัญหาก็คือเช้ามืดวันที่ 19 พฤษภาคม ไม่มีการเจรจา มีแต่การเข่นฆ่าอย่างอำมหิต ปัญหาคือวันนั้นทำไมรัฐบาลไม่คุยอีก จะคุยวันที่ 19 แล้วฆ่าวันที่ 20 ได้ไหม การที่จะคุยกันอีกครั้งเพื่อหาทางคลี่คลายสถานการณ์นี้ด้วยสันติวิธี จะดีกว่าการเข่นฆ่ากันหรือไม่ เสียเวลา 1 วันเพื่อการไม่ต้องเสียชีวิตคนอีกหลายสิบชีวิต รัฐบาลจะเลือกแบบไหน" นายณัฐวุฒิกล่าว
แกนนำเสื้อแดงพร้อมสู้คดี ยืนยันเดินหน้าทวงความยุติธรรมให้คนตาย ณัฐวุฒิถามอภิสิทธิ์และผู้มีอำนาจที่อยู่เบื้องหลังรับได้หรือไม่ถ้า ปชป.แพ้เลือกตั้ง
วันนี้ (27 ก.พ.54) ประมาณ 10.00 น. แกนนำคนเสื้อแดงเดินทางมาที่วัดปทุมวนาราม เพื่อทำบุญให้กับผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 มีคนเสื้อแดงมาร่วมแน่นขนัด
แกนนำคนเสื้อแดงทยอยกันเดินทางมา อาทิ นางธิดา ถาวรเศรษฐ์, นพ.เหวง โตจิราการ, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายนิสิต สินธุไพร, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายมานิตย์ จิตจันทร์กลับ, นายยศวริศ ชูกล่อม, นายจตุพร พรหมพันธุ์ โดยมาสบทบกันที่ศาลาชัยสินธพ ซึ่งอยู่ใกล้เต๊นท์พยาบาลที่มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตในเย็นวันที่ 19 พ.ค.53 แกนนำคนเสื้อแดงได้ร่วมกันถวายเครื่องสังฆทานและเลี้ยงภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ส่วนด้านนอกมีคนเสื้อแดงจำนวนมากมารอพบแกนนำจนแน่นขนัดไปทั่วทั้งบริเวณลานจอดรถของวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ไม่มีการขึ้นพูดหรือปราศรัยใดๆ กับคนเสื้อแดง มีเพียงการแถลงข่าวของแกนนำกับสื่อมวลชนที่มาติดตามทำข่าวในตอนก่อนเริ่มพิธีการเท่านั้น
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวว่า ยินดีที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในทุกข้อหาในทุกคดี และจะเดินหน้าให้ถึงที่สุดเพื่อนำความจริงและความยุติธรรมมาให้แก่ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต รวมทั้งจะปรึกษาทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับหน่วยงานที่มีส่วนสังหารประชาชน และหน่วยงานที่แจ้งข้อกล่าวหาซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงด้วย
“ถ้าพวกผมเผาบ้านเผาเมือง ผมก็สู้คดี ถ้าพวกผมสั่งกองกำลังที่ไหนก็ตามมาไล่เข่นฆ่าประชาชนตาย 90 กว่าศพ ผมก็สู้คดี ปัญหาก็คือผู้มีอำนาจทั้งที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังคดีนี้ พร้อมและกล้าเผชิญความจริงแบบผมหรือเปล่า เราจะไม่เดินไปสู่การนิรโทษกรรมใดๆ ถ้าพยานหลักฐานตามกฎหมายระบุว่าผมทำความผิด ผมยินดีที่จะรับโทษทุกกรณี อิสรภาพของพวกผมแลกไม่ได้กับพี่น้องที่บาดเจ็บล้มตาย แต่ถ้าอิสรภาพของพวกผมจะแลกเปลี่ยนเป็นความยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชนได้ พวกผมก็จะทำ” นายณัฐวุฒิกล่าว
ส่วนเรื่องการช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำนั้น นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเร่งทำเรื่องยื่นขอประกันตัวให้กับคนเสื้อแดงที่ยังถูกคุมขังอยู่ โดยจะไม่ยื่นซ้ำซ้อนกับรายชื่อของผู้ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะทำเรื่องขอประกันตัว
ส่วนเรื่องการเลือกตั้ง นายณัฐวุฒิกล่าวว่า เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะประกาศยุบสภาเพื่อให้เข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้ง ซึ่งตนยืนยันว่าคนเสื้อแดงไม่มีความประสงค์ที่จะทำลายบรรยากาศของการเลือกตั้ง แต่มีคำถามว่าหากพรรคเพื่อไทยชนะ กลุ่มอำนาจที่อยู่เบื้องหลังนายอภิสิทธิ์จะทำใจรับผลการเลือกตั้งได้หรือไม่ และหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชนะ พรรคที่ชนะเป็นอันดับ 1 จะสามารถตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ และกล่าวอีกว่า รัฐบาลไม่ควรกังวลเกี่ยวกับคนเสื้อแดง แต่นายอภิสิทธิ์ควรประกาศอย่างเป็นทางการว่าถ้าเลือกตั้งแพ้แล้วจะยอมรับหรือไม่ และจะมีอำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าหากทุกฝ่ายเคารพในเสียงของประชาชน ก็จะนำประเทศไปสู่การปรองดองในที่สุด
เวลา 12.00 น.เศษ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นพ.เหวง โตจิราการ และแกนนำบางส่วน ออกเดินทักทายพร้อมโบกมือให้กับคนเสื้อแดงที่รออยู่ด้านนอก ก่อนขึ้นรถและเดินทางออกจากวัดขอบคุณภาพข่าวมติชน
ที่ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าวันที่ 27 ก.พ. กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้รวมตัวทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยมีแกนนำอย่างนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ พร้อมแกนนำที่เพิ่งได้รับการประกันตัว เช่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นพ.เหวง โตจิราการ นายงิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ฯลฯ โดยทั้งหมดร่วมพิธีทำบุญถวายสังฆทานและภัตตาหารเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ผ่านๆมา จำนวน 91 ราย โดยมีสมาชิกคนเสื้อแดงร่วมงานและรอให้กำลังใจแกนนำอย่างคับคั่ง
“ถ้า พวกผมเผาบ้านเผาเมือง ผมก็สู้คดี ถ้าพวกผมสั่งกองกำลังที่ไหนก็ตามมาไล่เข่นฆ่าประชาชนตาย 90 กว่าศพ ผมก็สู้คดี ปัญหาก็คือผู้มีอำนาจทั้งที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังคดีนี้ พร้อมและกล้าเผชิญความจริงแบบผมหรือเปล่า เราจะไม่เดินไปสู่การนิรโทษกรรมใดๆ ถ้าพยานหลักฐานตามกฎหมายระบุว่าผมทำความผิด ผมยินดีที่จะรับโทษทุกกรณี อิสรภาพของพวกผมแลกไม่ได้กับพี่น้องที่บาดเจ็บล้มตาย แต่ถ้าอิสรภาพของพวกผมจะแลกเปลี่ยนเป็นความยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชนได้ พวกผมก็จะทำ” นายณัฐวุฒิกล่าวส่วนเรื่องการช่วยเหลือคนเสื้อ แดงที่ยังอยู่ในเรือนจำนั้น นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเร่งทำเรื่องยื่นขอประกันตัวให้กับคนเสื้อแดงที่ยังถูก คุมขังอยู่ โดยจะไม่ยื่นซ้ำซ้อนกับรายชื่อของผู้ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะทำ เรื่องขอประกันตัว
Powered by web hosting provider . |