คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม
ไม่รู้มาเลียนแบบบ้านเราหรือเปล่า
ยิ่งรัฐบาลของโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำประเทศ แถลงว่า บุคคลที่ทางการ "จัดการ" นั้นไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็น "ผู้ก่อการร้าย"
ยิ่งชวนให้เปรียบเทียบมากขึ้นไปอีก
มาถึงตอนนี้ ความรุนแรงในลิเบียล้ำเกินไปมาก กลายเป็นการสู้รบระหว่างกองกำลัง ส่อเค้าสู่สงครามกลาง เมือง
ยิ่งรัฐบาลปิดกั้นข่าวสารมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ข่าวลือต่างๆ สะพัดเร็วขึ้น และเป็นผลเสียหายกับรัฐบาลเอง
ข่าวที่ว่ามียอดผู้เสียชีวิตกว่า 300 และอาจถึง 1,000 รายนั้นยังตรวจสอบไม่ได้
แต่ก็ทำให้นานาประเทศพากันวิตก และสหประชาชาตินำเรื่องเข้าคณะมนตรีความมั่นคงจนมีแถลงการณ์ประณามออกมา
ส่วนมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ญาติดีอะไรกับกัดดาฟี ไม่เหมือนกรณีฮอสนี มูบารักของอียิปต์ ก็ไม่รอช้าที่จะเป็นผู้นำการประณามด้วย
เพราะการใช้กำลังทหารต่อพลเรือนนั้นผิดชัดเจน
และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสถานการณ์ที่ทำให้อำนาจของกัดดาฟี ผู้ปกครองประเทศมานาน 40 ปี ต้องสั่นคลอนอย่างคาดไม่ถึง
นางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่แห่งสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การใช้กำลังต่อพล เรือนถือเป็นการก่ออาชญา กรรมต่อมนุษยชาติ
ประเด็นนี้เป็นอีกหัว ข้อที่ย้อนกลับมาเปรียบเทียบกับกรณีของไทย
หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงส่งทนายฝรั่งยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศขอให้มีคณะกรรมการตรวจสอบว่า รัฐบาลสั่งการใช้กำลังทหารต่อผู้ชุมนุม
แม้จำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุ การณ์ของไทยไม่ถึงหลักร้อย
แต่หนึ่งศพก็คือชีวิตเช่นเดียวกัน
หากมีการใช้กำลังทหารสังหารประชาชนของตนเองเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะมีบทพิสูจน์ในระดับชาติหรือระดับโลก
ผู้สั่งการควรรับรู้ว่า สิ่งนี้ผิดและ...บาป