บทความโดย...ลูกชาวนาไทย
จาก การติดตามการคาดการณ์ที่นั่ง สส. ของพรรคต่างๆ จากหลายโพลหลายสำนักรวมทั้งที่พูดคุยกันในวงการต่างๆ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่ง สส. ประมาณ 230-270 ที่นั่ง ตัวเลขนี้เป็นที่ยอมรับกันกลายๆ ไปแล้วในสังคมไทยในเวลานี้
แต่ประสบการณ์จากการเลือกตั้งในอดีต การคาดการณ์มักจะผิดโดยตลอด เพราะประเมินชาวบ้านต่ำไป การเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยครั้งแรกในปี 2544 นั้น ทุกคนก็คาดว่าพรรคไทยรักไทย (ซึ่งจริงๆ ก็คือพรรคเพื่อไทยในวันนี้) จะได้คะแนนเสียงมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ถึง 200 เสียงอย่างแน่นอน นั่นเป็นการคาดการณ์จากประสบการณ์ในอดีต การประเมินผลต่างๆ แต่ผลของการเลือกตั้งในปี 2544 คือ ทรท. ได้เสียงถึง 248 ที่ นั่ง พลิกความคาดหมายของทุกคนไปอย่างมโหฬารจนเป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองที่ไม่เคย มีมาก่อนในอดีตสำหรับประเทศไทย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดครั้งแรกของพฤติกรรมการเลือกตั้งของคน ไทย
การเลือกตั้งปี 2548 ก็ไม่มีใครคิดว่า ทรท. จะได้ถึง 377 ที่นั่ง แต่ก็เกิดขึ้น จนส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความสิ้นหวังที่จะเอาชนะในระบบเลือกตั้ง
เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในปี 2549 และมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามติ ท่ามกลางการข่มขู่ของคณะรัฐประหารต่างๆ นานา และการล่อลวงต่างๆ เช่น รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง ก็ไม่มีใครคิดว่าประชาชนที่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีถึง 10 ล้านคน ผิดความคาดหมายอีกเช่นกัน
ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2550 ยุคคุณสมัครเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็ไม่มีใครเคยคาดการณ์ว่าพรรคพลังประชาชนจะได้ถึง 233 ที่ นั่งท่ามกลางการสะกัดกั้นของ คณะรัฐประหารอย่างเต็มที่ แต่เสียงของประชาชนก็ออกมาเกินความคาดหมายอีกเช่นกัน พลิกความคาดหมายของหลายๆ คนที่คิดว่าตัวเองได้เปรียบกุมกลไกอำนาจรัฐทุกอย่าง ทั้งสื่อเงินทุน และกีดกันฝ่ายตรงข้ามอย่างเต็มที่ แต่ผลการเลือกตั้งก็พลิกความคาดหมายไปอย่างมโหราฬ
ผม ว่านิสัยของคนไทยส่วน ใหญ่นั้นจะไม่ค่อยบอกความจริง เวลามีคนไปสำรวจโพล ส่วนใหญ่จะบอกเป็นกลางๆ แต่เวลาเลือกตั้งคนเลือกจะทำตามที่ตัวเองตั้งใจไว้ ซึ่งจะพลิกไปจากผลการสำรวจโพลอย่างมโหฬาร เป็นอย่างนี้แทบทุกครั้ง
สรุป แล้วไม่มีใครเคยคาดการณ์การแสดงออกของประชาชนได้อย่าง ถูกต้องมาโดยตลอด ส่วนใหญ่คนชั้นปกครองและคนชั้นกลาง รวมทั้งสื่อทั้งหลายในกรุงเทพฯ มักมองชาวบ้านต่ำไปแทบทุกครั้ง และประเมิน "ความสามารถของการควบคุมประชาชนของระบบราชการว่าจะสร้างความได้เปรียบ" สูงเกินจริงไปทุกครั้ง
ระบบราชการไม่เคยคุมคะแนนเสียงชาวบ้านได้ แม้แต่ยุค บิ๊กตุ๋ยอิสระพงศ์ หนุนภักดีเป็น บิ๊ก รสช. ในปี 2534 เป็น รมต.มหาดไทยก็ยังคุมเสียงเลือกตั้งไม่ได้อย่างที่คิด ใครคิดว่าควบคุมกลไกระบบราชการไว้แล้วจะคุมคะแนนเสียงได้นั้น คิดผิด แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนความคิดเสียที
หากพรรคเพื่อไทยได้ สส. 230-270 ที่นั่งอย่างที่ทุกฝ่ายประเมินเอาไว้ ผลมันก็ไม่พลิกความคาดหมายทุกๆ คนก็ประเมินเอาไว้อย่างนี้แหละ แต่ผมว่ามันพลิกเกินคาดหมายแน่
ขนาด ยุค ทรท. ในการเลือกตั้งปี 2548 หลัง รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย คนแค่เบื่อนายชวนเชื่องช้า ไม่ได้มีปัญหาเรื่องประชาธิปไตย เผด็จการ การสังหารหมู่ประชาชน การรต่อต้านอำมาตย์ พรรค ทรท.ยังชนะแบบเกินคาดฝันไปอย่างมาก
วันนี้ ผลงานรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ นั้นสุดห่วยกว่ารัฐบาลนายชวนหลายสิบเท่า มีปัญหาเรื่องการสังหารหมู่ประชาชน เผด็จการทหารซ่อนรูป สังคมแตกแยกเป็นสองฝ่าย เสื้อแดงเต็มแผ่นดิน ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงมาก มีการชุมนุมทางการเมืองต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ผลการเลือกตั้งจะพลิกความคาดหมายยิ่งกว่าที่คาดเอาไว้มาก
วันนี้พรรคเล็กๆ ก็ไม่ได้บลูมอย่างที่ควร นักการเมืองคนสำคัญในระบบอุปถัมป์ท้องถิ่น เช่น บรรหารและลูกๆ นายสุวัฒน์ นาย เนวิน และอื่นๆ ก็ลงสมัคร สส. เองไม่ได้ ดังนั้นจึงอย่าหวังว่าพรรคเล็กๆ เหล่านี้จะสามารถได้เสียงเท่าเดิม หรือสามารถรักษาฐานเสียงในพื้นที่ต่างๆ เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง บุรีรัมย์ โคราช เอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่สีแดงเรื่อๆ แทบทั้งสิ้น
วิกฤติการณ์การเมือง 5 ปี ทำให้คนเบื่อที่จะอยู่ในวังวนเดิม ความซาบซึ้งหายไปแทบหมดแล้ว
และที่สำคัญอาจมีคนออกเสียงประชดพ่อแม่ทั้งหลายอีกมาก หรือสั่งสอนพ่อแม่หัวโบราณทั้งหลายเป็นต้น
ผมจึงฟันธงว่าคะแนนเสียงจะพลิกความคาดหมายอย่างรุนแรงแน่นอนอาจถล่มทลาย แบบสั่งสอนพวกทหารและอำมาตย์อย่างสาสมโดยประชาชนเลยทีเดียว
พรรคเล็กๆ แบบพรรคเนวิน พรรคสุวัฒน์ หรือพรรคบรรหาร มีจุดแข็งอย่างเดียวคือ "ระบบ ซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนต่างๆ" เพราะไม่อาจให้ความหวังด้านนโยบายได้ แต่วันนี้มีการสอนทั่วกันทั้งสังคมว่า "ให้เงินก็รับแต่กาเบอร์ที่เราชอบ" ดังนั้น "ความซื่อสัตย์" ต่อเงินที่จ่ายไปน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างแน่นอน
มันมีปัจจัยอื่นอีกเยอะที่ผู้เลือกตั้งใช้ในการตัดสินใจลงคะแนน
ที่สำคัญงานวิจัยของนักวิชาการที่เริ่มสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นในชนบท เริ่มให้ภาพออกมาแล้วว่า ชนบทไทยปี 2550s นั้นไม่เหมือนภาพชนบทไทยในปี 2520-2530 ที่ เป็นภาพติดตา ของคนชั้นนำและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯมาเป็นเวลานาน เพราะตำราเรียนทั้งหลายมีแต่การให้ภาพชนบทในช่วงนั้นทั้งสิ้น องค์ความรู้ใหม่เรื่องชนบทไทยยังไม่เกิด เพิ่งมีงานวิจัยออกมาไม่มากเท่านั้น ดังนั้นการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อทั้งหลาย คอลัมภ์นิสต์ ชนชั้นนำชาวกรุงฯ ทั้งหลายก็มักใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทในอดีต มาเป็นพื้นฐานในการเประเมิน (เช่น คนอีสานขายเสียง คนใต้ไม่ขายเสียงเป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประเมินพรรคเล็กอย่างภูมิใจไทยสูงเกินไป)
แต่การศึกษาของนักวิชาการในเร็วๆ นี้สรุปคือ ชนบทไทยได้เปลี่ยนไปจากเกษตรกรทำเกษตรกรรมแบบยังชีพ ไปเป็นระบบตลาดที่มี "คนชั้นกลางระดับล่าง" (รายจ่ายครัวเรือน 2,000-4000 บาท/เดือน) วิถีการบริโภค ความเชื่อและการรับข่าวสารเหมือนคนชั้นกลางในเมือง แต่ชีวิตความ "มั่นคงในการดำรงชีวิต" ขึ้นกับนโยบายมหภาคของรัฐบาลค่อนข้างมาก ลูกหลานของชาวชนบทได้เคลื่อนย้ายมาทำงานในเมืองแบบถาวร ส่งเงินกลับชนบท รวมทั้งมีการถ่ายเทข้อมูลข่าวสารระหว่างลูกหลานและเครือญาติในชนบท ทำให้การรับรู้ทางการเมืองไม่แตกต่างการมากนัก
ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทจึงเปลี่ยนไป เป็นการเลือกนโยบายมหภาค (ประกันสุขภาพ, ประกันรายได้, ความ มั่นคงด้านอาชีพ,อนาคตการศึกษาของบุตรหลาน) เป็นต้น ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะตอบสนองได้แต่นโยบายของพรรคใหญ่เท่านั้น รวมทั้งความเชื่อมั่นในตัวผู้บริหารด้วย นโยบายของพรรคเล็กๆ ไม่อาจตอบสนองความต้องการแบบนี้ได้
ส่วน นโยบายท้องถิ่น เช่น ถนน ไฟฟ้า ศาลาวัด อะไรแบบสมัยก่อนนั้นไม่มีความหมายแล้ว เพราะ อบจ./อบต. รับภาระส่วนนี้ไปหมดสิ้นแล้ว หากต้องการถนน ชาวบ้านก็จะไปเรียกร้องกับ อบต./อบจ. ไม่ใช่เรียกร้องเอาจาก สส.
พรรคเล็กๆ ที่เน้นนโยบายพัฒนาท้องถิ่นจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด
อัน นี้ต่างจากพรรคเล็กๆ ในยุโรปที่เน้นนโยบายทางเลือกอื่นเช่น พรรคกรีน เป็นนโยบายมหภาคนอกกระแสหลักเป็นต้น พรรคเล็กๆ ของไทยนโยบายคือ งานของพวก อบต./อบจ. เป็นแค่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นหาใช่พรรคการเมืองจริงๆ ไม่
โมเดลแบบ "บรรหารบุรี" ในปี 2554 จึงไม่มีความหมายอีกต่อไป แบบจำลองนี้มันใช้ได้ในปี 2530-2540 ในอดีต
งานวิจัยของนักวิชาการเรื่องชนบท สอดคล้องกับทฤษฎีของผมที่เคยพูดไว้มานานแล้วว่า "พฤติกรรม การเลือกตั้งของคนชนบทเปลี่ยนไป เป็นการเลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล" ผมตระหนักอันนี้ จากการเป็นคนชนบท และเห็นภาพการเลือกตั้งหลังปี 2540 ก็เป็นอย่างนั้นแทบทุกครั้ง
งานวิจัยได้ตอบข้อสมมุติฐานในเรื่อง "การเกิดขึ้นของคนชั้นกลางระดับล่างในชนบท" เป็นข้อมูลที่ตอบข้อสมมุติฐานว่าทำไมพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทเปลี่ยน ไป
ก็คือที่อธิบายไว้ข้างต้น