แถลงการณ์วันกรรมกรสากล ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433 ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้กำหนดให้เป็นวันกรรมกรสากล หรืออ “วันเมย์เดย์” (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องประสพกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแต่อย่างใด สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้แรงงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงาน และให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน8ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้8ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทย พบว่า มีผู้ใช้แรงงานทั้งภาคอุตาสหกรรม ภาคบริหารแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ จำนวนมากที่ต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง โดยที่ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึงสองร้อยบาท ทำให้ชีวิตกรรมกรอัดคัตขัดสนมากยิ่งขึ้น
ท่ามกลางที่รัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมันที่จะเป็นผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นขณะเดียวกัน ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบันที่มีอำนาจนอกระบบหนุนหลัง ทำให้สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตย หรือประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นผลให้การรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน มักถูกริดรอนสิทธิ์ ในด้านต่างๆ ที่จะนำสู่การแก้ไขปัญหาแรงงานได้ เช่น สิทธิการชุมนุม สิทธิการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ผู้ใช้แรงงานก็เหมือนคนไทยชนชั้นต่างๆก็ไม่มีอำนาจในการเลือกผู้บริหาร ประเทศได้อย่างแท้จริง ตลอดทั้งการมีเป้าหมายที่จะทำรัฐประหารทั้งทางตรงและซ่อนเร้นของฝ่ายอำมาตยา ธิปไตยในสถานการณ์การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่กี่เดิอนข้างหน้า
ดังนั้น วันกรรมกรสากลในปีนี้ เราขอเรียกร้องให้
1. พรรคการเมืองที่รักและเป็นประชาธิปไตย ต้องมีนโยบายด้านแรงงานโดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานและให้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานได้อย่างแท้จริง
2. อำนาจนอกระบบต้องยุติการแทรกแซงทางการเมืองและขอต่อต้านการรัฐประหาร
กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ