บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข่าวเกี่ยวข้องกับการจับกุม สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก. เรด พาวเวอร์

ที่มา Thai E-News

ผมไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้ายตราบเ่ท่าที่เราขังอยู่ภายใต้การปกครองที่เนื้อแท้เป็นเผด็จการ แต่เปลือกนอกฉาบด้วยคำว่าประชาธิปไตยไว้หลอกลวงชาวโลก
ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย
ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ณ ห้องขังกองปราบฯ
8.30 2 พฤษภาคม 2554




โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
2 พฤษภาคม 2554

สมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการวารสารเรด พาวเวอร์ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปต อรัญประเทศ ปราจีนบุรี เมื่อสายวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ขณะนำลูกทัวร์ ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ไปเที่ยวเขมร



กาหลิบ เขียนถึงการจับคุณสมยศ

วันที่ 30 เมษายน 2554

ท้องฟ้ามืดลงทุกขณะสำหรับเมืองไทย คราวนี้นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่มีสไตล์เฉพาะตัวอย่าง คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมอีกครั้ง เที่ยวนี้ด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-กัมพูชาเล่นบทผู้กักตัว แล้วแจ้งตำรวจกองปราบฯ บวกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษมารับตัวไปดำเนินคดี เชื่อว่ากรณีนี้สัมพันธ์กับหมายเรียกและหมายจับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ อันเป็น ความผิดตามมาตรา ๑๑๒ ของนิตยสารฝ่ายประชาธิปไตยที่คุณสมยศฯ เป็นบรรณาธิการบริหารอยู่ในขณะนั้นคือ Voice of Taksin

งาน นี้คงมีคนหวังเอาหน้ากับเหล่าไดโนเสาร์โบราณกันเต็มที่ ข่าวที่ออกผ่านเว็ปไซต์ของสื่อสายพันธุ์เดียวกันอย่างเนชั่น จึงเขียนข่าวว่า

“30 เมษา. 2554 14:32 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุดสอบสวนสะกดรอยดีเอสไอ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.ส่วนสืบสวนสะกดรอย ดีเอสไอ ได้นำกำลังเข้าจับกุมจับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในคดีล้มเจ้า ได้ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งขณะนี้ได้นำตัวไปสอบสวนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ความจริงคุณสมยศฯ ไม่ได้หนีหรืออำพรางตัวใดๆ เลยก่อนถูกจับกุม ขณะนั้นคุณสมยศฯ กำลังยื่นเอกสารให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบอย่างเปิดเผย เพราะกำลังนำคณะนักท่องเที่ยวไทยข้ามไปยังฝั่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำมาแล้วหลายครั้ง ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขอกักตัวไว้เพียงคนเดียว โดยอ้างว่ามีหมายเรียก/หมายจับ ส่วนคนอื่นๆ ก็เดินทางข้ามแดนไป

การประโคมข่าวว่าคุณสมยศฯ หลบหนี” “กบดาน” (ต้อง) สะกดรอย” (เพื่อจับกุม) ช่วยชี้ว่าคนที่มีหน้าเกี่ยวข้องคงกำลังแข่งขันสร้างผลงานในคดี ล้มเจ้าจนต้องเร้าอารมณ์และสร้างความตื่นเต้นเพื่อเอาใจบุคคลระดับสูงที่ส่งสัญญาณมาให้ลุยเต็มที่ในคดีประเภทเดียวกันนี้

และนั่นก็คือตัวบ่งชี้ว่าสัญญาณนั้นได้ส่งลงมาแล้วจริงๆ

ภาพที่ปรากฏก็ชัดแจ้ง หน่วยคอมมานโดของกองปราบฯ และทหารได้เข้าปฏิบัติการปิดและยึดสถานีวิทยุชุมชนด้วยท่วงท่าราวกับหนัง ประเภทบู๊ล้างผลาญทั้งที่ไม่มีใครเขาต่อต้านหรือสกัดขัดขวางอะไรเลยเมื่อไม่ กี่วันที่ผ่านมา แถม เวทีราษฎรที่อนุสรณ์สถานดอนเมืองวันนี้ (วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔) ก็ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงขัดขวางจนแทบไม่อาจตั้งได้

การจับกุมคุณสมยศฯ และเหตุการณ์อื่นๆ ที่อ้างถึงนี้ บอกกับพวกเราในฝ่ายประชาธิปไตยอย่างถนัดชัดเจนว่าการปรองดองที่หลงใหลกัน นั้นหามีไม่

ความ จริงคนที่ฝ่ายเขาพูดคำว่าปรองดองด้วยก็มีอยู่ แต่คนเหล่านั้นต้องแสดงตัวหมอบราบคาบแก้วกับฝ่ายผู้ถืออำนาจเก่าแก่โบราณ เสียก่อน การออกมาสรรเสริญเกียรติคุณเหนือหัวใดๆ อย่างที่คนบางชนิดในฝ่ายประชาธิปไตยที่อุตส่าห์ไปเป็น นักเรียนนอกมา เกือบปียังกลับมาแสดงละครอย่างน่าคลื่นเหียนผ่านช่องแดง โดยอวดอ้างว่าตนมีกิจกรรมจงรักภักดียิ่งกว่าใครๆ จึงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

อะไรจะน่าสะอิดสะเอียนกว่ากันคงบอกยาก เมื่อเทียบกับตัวอะไรที่มันไปรับงานฝ่ายเขามา ฆ่าเพื่อนร่วมอุดมการณ์และร่วมต่อสู้มาด้วยกันอย่างโชกโชน

มาบัดนี้จึงไม่ใช่สองแนวทางประชาธิปไตยอย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว หากเป็นการ ว่าจ้างและ ติดสินบนพวกเดียวกันมาไล่ล่าฆ่ากันเองในทางการเมือง เพียงเพื่อตัวจะได้กลับไปหมอบคลานแล้วเลียฝ่าเท้าของ เขาได้อย่างที่เคยทำ

สถานการณ์เช่นนี้นักประชาธิปไตยแท้จริงจึงตกอยู่ในอันตราย เพราะต้องผจญศึกสองทาง

การจับกุมคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ก่อนหน้านี้ และคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายแนวปฏิวัติโดยใช้พวกเดียวกันแต่เดิมเป็นเครื่อง มือ

งานนี้เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น

แต่หัวใจคือมวลชนที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะตาสว่าง คลื่นมหาประชาชนเหล่านี้จะรวมตัวกันเพื่อโถมทับความเน่าเหม็นทั้งหลายของ บ้านเมืองในเวลาไม่ช้านานนี้แน่ เพราะบ้านเมืองได้ครบวงจรของความเลวร้ายจนไร้ทางออกอย่างอื่นเสียแล้ว

ระหว่างนี้ขอให้คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขและเพื่อนร่วมขบวนประชาธิปไตยทุกคนจงปลอดภัยและทำจิตใจให้มั่นคงไว้ก่อน.


* * * * * * * * *

ประชาไทเกาะติดสถานการณ์การจับสมยศ และลงข่าวต่อเนื่องนับตั้งแต่ข่าวการจับกุมคุณสมยศ "ฝากขังผลัดแรก ศาลไม่ให้ประกัน ‘สมยศ’ คดีร้ายแรง เกรงหลบหนี"


2 พ.ค.54 เวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขัง นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เป็นผลัดแรก และผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาในเวลาประมาณ 13.30 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
คำสั่งศาลโดยระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง ตามข้อหาเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชาอาณาจักร และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนโดยรวม ประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมขณะกำลังจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ถือว่ามีพฤติกรรมหลบหนี หากให้ปล่อยชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ยกคำร้อง
นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความของสมยศ กล่าวว่า การยื่นประกันชั้นศาลยังคงใช้หลักทรัพย์เดิมคือเงินสด 1.6 ล้านบาท และเมื่อศาลยกคำร้อง คงต้องหารือทีมทนายในการดำเนินการต่อไป คาดว่าจะมีการทำคำโต้แย้งว่าไม่ใช่พฤติการณ์หลบหนี แต่ผู้ต้องหามีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพราะจัดทัวร์ และเป็นการไปทุกเดือน ไม่ใช่ครั้งแรก อีกทั้งการไปครั้งนี้ยังมีการโฆษณาในนิตยสารเรด พาวเวอร์ มีกำหนดการไป 30 เม.ย.-3 พ.ค. วันนี้ (2 พ.ค.)ทีมงานต้องนำลูกทัวร์ไปก็ยังไม่กลับ

"ฝ่ายรัฐพยายามกว้านจับคดีนี้เยอะมาก ทั้งแกนนำนปช. หรือแม้แต่ประชาชนคนเล็กคนน้อย ที่เป็นข่าวก็เยอะ ที่ไม่เป็นข่าวก็เยอะ กรณีของคุณสมยศ หมายจับออกนานแล้ว ถ้าจะจับจริง เขาก็อยู่สำนักงานที่อิมพิเรียลตลอด แถลงข่าวก็หลายครั้ง ทำไมต้องไปจับที่ด่าน" ทนายความกล่าว
ทั้งนี้สมยศ ถูกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) จับกุมและแจ้งข้อหาความผิดหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.และนำไปควบคุมตัวที่กองปราบฯ 48 ชั่วโมง ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำตัวมายื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลในวันนี้

ข่าวในประชาไทในเรื่องการจับกุมคุณสมยศ


สมบัติ บุญงามอนงศ์ หรือหนูหริ่งเขียนถึงสมยศ พฤกษาเกษมสุข

พี่สมยศ ในทัศนะ NGOs รุ่นน้อง

by บก.ลายจุด on Monday, 02 May 2011 at 14:38

ผมรู้จักพี่สมยศมาประมาณ 20 ปีที่แล้ว พี่เขาเป็น NGOs สายแรงงาน ผมได้รับการติดต่อให้ไปช่วยอบรมการละครให้กับคนงานย่านรังสิต เนื่องในโอกาสวันแรงงานซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีกิจกรรมทุกปี

การไปช่วยงานพี่สมยศทำให้ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ กับคนงานที่ได้ค่าแรงต่ำสุดในระบบแรงงาน เวลาพวกเขาพูดถึงค่าแรงที่ควรจะได้เพิ่มสัก 3-5 บาทต่อวัน เป็นความรู้สึกที่สุดบรรยาย เพราะดูมันจะสำคัญกับคนงานเหล่านั้นมาก

ผมได้เรียนรู้ว่า นายจ้างต้องการเพียงแค่ให้คนพอมีเงินประทังชีวิตไม่ตายแล้วยังมาเป็นแรงงานให้พวกเขา

คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำงานไปหลายปีไม่สามารถตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งตัวได้ เพราะถูกใช้ให้ทำหน้าที่เฉพาะส่วน ใครติดกระดุมก็ทำไป ใครใส่ปกก็เย็บตรงนั้น ดังนั้นแรงงานเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นแรงงานมีฝีมือ

เงินที่จะทำให้เขาพอมีใช้จ่ายมากขึ้นก็ต้องแลกด้วยการทำงานล่วงเวลา กินเวลาพักผ่อน กินเวลาที่จะมีชีวิตส่วนตัว

การต่อสู้ของคนงานขับเคลื่อนด้วยตนเองได้ยาก การมี NGOs เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ค่อยสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อศึกษาปัญหาและการพัฒนากลุ่มในลักษณะสหภาพจึง จำเป็น

ไม่ต้องแปลกใจที่พี่สมยศทุ่มเทเวลาให้กับการจัดการศึกษา การสัมมนา และออกแบบกิจกรรมในการสร้างแรงกดดันต่าง ๆ ในบางจังหวะอาจดูท่วงทำนองมุทะลุบ้าง นั่นก็เพราะบทเรียนในการทำงานด้านแรงงานเขาพบว่า ถ้าไม่ท้าทายสักหน่อยนายจ้างก็จะไม่ให้ความสนใจและปล่อยให้คนงานประท้วงกัน จนหมดแรงไป

พี่สมยศเป็น NGOs ที่ประสานงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายแรงงานระหว่างประเทศ โดยที่ตนเองไม่มีแม้แต่ปริญญาตรี เทคนิคการเรียนรู้ของแกคือ การบังคับตนเองอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวันเป็นปี ๆ จนสามารถอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ในแวดวง NGOs เวลาเรามีการประชุมสัมมนากัน พี่สมยศจะได้รับการ้องขอให้เป็นคนช่วยจับประเด็น เพราะเป็นคนฉลาด มอง และ วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้แตกฉาน เป็นที่พึ่งพาของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ เวลาต้องหาใครมาช่วย

พี่สมยศเคยร่วมต่อสู้กับ พธม อยู่ช่วงหนึ่งเหมือนกับนักกิจกรรมทั่วไป หลังจาก พธม เสนอ ม.7 และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนอำนาจนอกระบบ เขาก็ถอนตัวออกจากขบวน ผมเจอพี่เขาอีกครั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ผมเดินไปคุยกับพี่สมยศในงานศพของรุ่นพี่คนหนึ่ง เราคุยกันและเขาถามผมบอกกับผมว่า การที่ผมออกไปต่อต้านการรัฐประหาร 19 กย นั้นถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งที่พวกเราต้องออกไปต้าน

ต่อจากนั้น ไม่นาน เราก็ได้เห็นพี่สมยศมาปรากฎตัวที่สนามหลวงและเข้าร่วมการต่อสู้่ในนามของ นปก และยังเป็นคนสำคัญที่ดึงขบวนการแรงงานอีกส่วนหนึ่งออกมาจากขบวนแรงงานที่สม ศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ พธม ในตอนนั้นครอบงำ เรียกได้ว่าในขบวนการแรงงานก็มีพี่สมยศนี่แหละที่ขึ้นปะทะทางความคิดอย่าง แข็งขันเขาต่อสู้ในจังหวะที่แหลมคมเสมอ ดังเช่นการถูกจับหลังการแถลงข่าวว่าจะจัดชุมนุมในพื้นที่นอกเขต พรก ฉุกเฉิน แต่ก็ถูกควบคุมตัวไปอยู่ค่ายทหารอยู่หลายวัน

ในปีกเสื้อแดงมี NGOs อยู่ไม่กีคนที่ออกตัวแรงและแหลมคม เพราะขบวนส่วนใหญ่เล่นบทรักษาตัวเงียบ เอาตัวรอดไม่เจ็บตัว หรือไม่งั้นก็เทใจให้กับฝ่ายเสื้อเหลืองอันมีผลมาจากผู้ใหญ่ในแวดวงหลายคน อยู่ทางนั้นและเคยร่วมไล่ทักษิณมาในช่วง พธม และเขินอายที่จะมาใส่เสื้อสีแดง

พวกเราเชื่อว่า การติดคุกเป็นวิธีการหนึ่งของการต่อสู้ และเป็นต้นทุนที่อาจต้องจ่าย การจับกุมพี่สมยศในครั้งนี้และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนีนั้น คนที่อยู่ข้างนอกต้องตั้งหลักและก้าวเดินต่อไป ประสานรับกัน คนที่อยู่ข้างในก็สู้กันแบบคนถูกจองจำ คนที่อยู่้ข้างนอกก็ต้องสู้กันต่อไป อย่าให้การจับกุมพี่สมยศ กลายเป็นการยุติการต่อสู้ หรือ ทำให้เสียขบวน เพราะศัทรูจะบรรลุวัตถุประสงค์

คาราวะ หนูหริ่ง (บก.ลายจุด)

* * * * * * * * *

กลุ่มคนมารอให้กำลังใจคุณสมยศ วันที่ 2 พฤษภาคม 2554




วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 "กลุ่มมาตรา 112: รณรงค์เพื่อการตื่นรู้" ออกแถลงการณ์พร้อมผุ้ลงชื่อ 112 คน)

ที่มา ประชาไท
แถลงการณ์: คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย “กฎหมายหมิ่นฯ” (กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข )


นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ

การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา

27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL)

วันเดียวกัน ได้มีรายงานข่าวการพิจารณาคดีลับที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ กับนายทหารอากาศยศนาวาอากาศตรีซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดี จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่าทหารอากาศนายนี้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของตนที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ล่าสุด วันที่ 30 เมษายน ได้มีการจับกุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โดยไม่ให้ประกันตัวใดๆ
นอกจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของคดี ตามมาตรานี้ ที่มีอัตราโทษสูงแต่ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้อำนาจการฟ้องร้องอย่างกว้างขวาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวซึ่งกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดง ความเห็นตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ยังมีความกังวลต่อวิธีการบังคับใช้กฎหมายทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการไต่สวนคดีอีกด้วย

อาทิ การพิจารณาคดีลับ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวดตามกฎหมายสูงสุดที่มีอยู่ โดยก่อนหน้ากรณีนาย ทหารอากาศ ก็ได้มีการใช้ในคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" เป็นจำเลย จนต่อมาศาลอุทธรณ์ก็ได้ยกคำสั่งลงโทษและให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่าขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนกรณีของดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รวมถึงผู้โพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันนั้น ซึ่งเข้าข่ายคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และล่าสุด กรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคัดค้านการให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเกรงจำเลยจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่หมายจับในคดีนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่เคยแสดงท่าทีว่าจะหลบหนีแต่อย่างใด

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. หยุดใช้มาตรา 112 คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินชีวิตตามปรกติ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวเพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมาย พิเศษ เช่น กฎหมายความมั่นคง เพื่อปราบปรามความเห็นต่าง นอกจากจะหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ห้ามการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ทำได้ "เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้" แล้ว ยังขัดกับหลักกฎหมายสากล เช่น ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ที่คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วย

ทั้งนี้ รัฐพึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งเสริมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มิใช่ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการดำเนินคดีมาสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวแก่ประชาชน อย่างที่เป็นอยู่

2. ในภาวะที่ยังคงกฎหมายนี้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ควรเปิดเผยกระบวนการสืบสวนสอบสวนและพิจารณาคดีที่เกี่ยวเนื่องให้สาธารณชน รับทราบ และควรมีการออกหมายเรียกก่อนตามกระบวนการดำเนินคดีปรกติ แทนการออกหมายจับหรือเข้าจับกุมทันที

3. การพิจารณาคดีลับพึงเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวด ไม่ควรอ้างเหตุจำเป็นต้องใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อย่างที่มักอ้างว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน
4. การปฏิบัติตามกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process) เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความรู้สึกที่เป็นธรรมทั้งของผู้ถูกกล่าวหาและสังคม ทั่วไป แต่ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ มักถูกหน่วยงานรัฐคัดค้านการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว โดยมักอ้างว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีและ/หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ดังนั้น ทางกลุ่มฯ จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณากรณีเหล่านี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักการขั้นต้นเป็นสำคัญ

1 พฤษภาคม 2554

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้"(Article 112 Awareness Campaign) และผู้ที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์ข้างต้น ดังรายชื่อต่อไปนี้:

1. ขวัญระวี วังอุดม 2. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ 3. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ 4. กานต์ทัศนภักดิ์ 5. นภัทร สาเศียร 6. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ 7. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 8. จีรนุช เปรมชัยพร 9. อธิคม จีระไพโรจน์กุล 10. พรเทพ สงวนถ้อย 11. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 12. อนุสรณ์ อุณโณ 13. ‎ชลิตา บัณฑุวงศ์ 14. สุลักษณ์ หลำอุบล 15. อัญชลี มณีโรจน์ 16. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร 17. อดิศร เกิดมงคล 18. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ 19. พัชรี แซ่เอี้ยว 20. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 21. นิพาดา ทองคำแท้ 22. ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ 23. ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ 24. วิจักขณ์ พานิช 25. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ 26. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ 27. ชัยธวัช ตุลาธน 28. วันรัก สุวรรณวัฒนา 29. ไชยันต์ รัชชกูล 30. เตือนสิริ ศรีนอก 31. ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ 32. ‎ดวงฤทัย เอสะนาชาต้ง 33. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ 34. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ 35. ศราวุฒิ ประทุมราช 36. สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ 37. ประวิตร โรจนพฤกษ์ 38. สุภิตา เจริญวัฒนมงคล 39. รวินทร์ คำโพธิ์ทอง 40. อังคณา นีละไพจิตร 41. สุธารี วรรณศิริ 42. ลักขณา ปันวิชัย 43. สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง 44. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ 45. รจเรข วัฒนพาณิชย์ 46. เอกฤทธิ์ พนเจริญสวัสดิ์ 47. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว 48. จิตรา คชเดช 49. วิภา มัจฉาชาติ 50. เนติ วิเชียรแสน 51. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข 52. ธนาพล อิ๋วสกุล 53. มานา ชุณห์สุทธิวัฒน์ 54. วธู ชุณห์สุทธิวัฒน์ 55. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป 56. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ 57. วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง 58. ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล 59. สุวิทย์ เลิศไกรเมธี 60. จิราพร กิจประยูร 61. สุริยะ ครุฑพันธุ์ 62. อภิณัฐ ภู่ก๋ง 63. ดิน บัวแดง 64. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู 65. ณัฐนพ พลาหาญ 66. อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา 67. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ 68. อุเชนทร์ เชียงเสน 69. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช 70. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง 71. เทวฤทธิ์ มณีฉาย 72. ดวงใจ พวงแก้ว 73. ธีระพล คุ้มทรัพย์ 74. ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ 75. ตากวาง สุขเกษม 76. สุดา รังกุพันธุ์ 77. เทพฤทธิ์ ภาษี 78. คมลักษณ์ ไชยยะ 79. เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร 80. ธีรวรรณ บุญญวรรณ 81. ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ 82. ปุณณวิชญ์ เทศนา 83. ธัญสก พันสิทธิวรกุล 84. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์ 85. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย 86. อาทิชา วงเวียน 87. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ 88. พวงทอง ภวัครพันธุ์ 89. จอน อึ๊งภากรณ์ 90. สมฤดี วินิจจะกูล 91. ตฤณ ไอยะรา 92. นิรมล ยุวนบุณย์ 93. ธนศักดิ์ สายจำปา 94. นันทา เบญจศิลารักษ์ 95. สุรชัย เพชรแสงโรจน์ 96. ศราวุธ ดรุณวัติ 97. สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ 98. แดนทอง บรีน 99. ประทับจิต นีละไพจิตร 100. สุชา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 101. ทองธัช เทพารักษ์ 102. กิตติเดช บัวศรี 103. ธิติ มีแต้ม 104. หทัยกานต์ สังขชาติ 105. ธีรมล บัวงาม 106. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ 107. วิทยา พันธ์พานิชย์ 108. Tyrell Haberkorn 109. นพพร พรหมขัติแก้ว 110. ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ 111. ‎ จรินพร เรืองสมบูรณ์ 112. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker