โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
11 พฤษภาคม 2554
ดร.สม ศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กองทัพบกยื่นฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ สน.นางเลิ้ง ในวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00 น. โดยกลุ่มผู้สนับสนุนได้นัดรวมตัวให้กำลังใจจำนวนมาก เพราะกังวลว่าทางการจะหาเหตุควบคุมตัวดร.สมศักดิ์
นายอานนท์ นำภา หัวหน้าสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ กล่าวว่า กรณี ดร.สมศักดิ์ เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งก็มิได้มีพฤติการตามกฎหมายที่จะควบคุมตัว หรือขังไว้ระหว่างสอบสวน จึงต้องถือว่า ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ดังนั้นพนักงานตำรวจจึงไม่สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอออกหมายขังระหว่างสอบ สวนได้ ( แต่หากเป็นกรณีที่เรียกโดยมีหมายจับรอไว้อยู่แล้ว คงต้องมานั่งด่าตำรวจกันต่อไป)
เวบไซต์ประชาไท รายงานข่าวเรื่อง เสวนา “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” ชี้สื่อถูกทำให้กลัว คนไทยไม่รู้ตัวว่าไร้เสรีภาพ เมื่อวานนี้ว่า “ประวิตร” หนุนการจัดอันดับให้สื่อไทย “ไม่เสรี” ตั้งคำถามสังคมไทยตระหนักถึงเสรีภาพสื่อมากแค่ไหน “บก.ประชาไท” เผยกรณีจับสมยศ คือจับกุมตัวกลาง จวกสื่อหลักนิ่งเฉย “วัฒน์ วรรลยางกูร” ชี้ความเป็นเผด็จการเข้าไปกินสมองทั้ง สื่อ-นักข่าว-นักเขียน
สืบ เนื่องจากกรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ด้วยข้อหากระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พ.ค.53 ศาลอาญาพิจารณาคำร้องให้ฝากขังนายสมยศต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าคดีมีอัตราโทษสูงเกรงว่าจำเลยจะหลบหนีอีกทั้งยังเป็นคดี เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันสูงสุดของชาติและจำเลยถูกจับกุมได้ขณะกำลังพยายามจะ เดินทางออกนอกประเทศ
วานนี้ (10 พ.ค.53) ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กลุ่มสื่อประชาชนในนาม Thailand Mirror จัดเสวนา "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" กรณีจับสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin โดยมีชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่นวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด และทอม ดันดี หรือนายพันทิวา ภูมิประเทศ นักร้องแนวเพลงเพื่อชีวิต ร่วมพูดคุย ดำเนินรายการโดย จิตรา คชเดช ผู้ประสานงานกลุ่มคนงานไทรอาร์ม
ชูวัส กล่าวว่า กรณีที่เว็บไซต์ประชาไทถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ถือว่าโชคดีกว่าอีกหลายๆ กรณีที่ถูกข้อหาหมิ่นฯ ตามมาตรา112 ซึ่งมักจะมีมาตรฐานที่ไม่ได้รับประกันตัว แต่กรณีของคุณจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ถือว่าอยู่ในสถานะที่ดีกว่า เนื่องจากไม่ได้โดนมาตรา 112 แต่มีคดีเนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15 ในสถานะตัวกลาง จากกรณีมีการโพสต์ข้อความลงในเว็บบอร์ดซึ่งประชาไทเป็นผู้ให้บริการ หรืออยู่ในฐานะตัวกลางที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นนั้นเลย
อย่างไร ก็ตาม กรณีการเอาผิดกับตัวกลางนั้นเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันจบไปเมื่อกว่า 40-50 ปีมาแล้วในวงการสื่อ ซึ่งการเป็นเพียงเวทีเผยแพร่ความคิดเห็นแม้ความคิดเห็นนั้นจะพิสูจน์ได้ว่า มีลักษณะหมิ่นประมาทหรือไม่ก็ตาม ความผิดควรจำกัดอยู่แค่ข้อเขียนนั้น ไม่ควรถูกโยงไปที่ตัวกลาง เล่นที่ตัวบรรณาธิการ ยึดแท่นพิมพ์หรือปิดสื่อเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา และคุณจีรนุชเองก็อาจจะเป็นคนแรกๆ ที่ถูกดำเนินคดี หลังการรัฐประหาร 2549 ในฐานะตัวกลาง
บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทกล่าวด้วยว่า โดยปกติการนำเสนอข่าวของประชาไทถูกบังคับให้ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองใน 3 เรื่องคือ เรื่องเกี่ยวกับเจ้า เรื่องเกี่ยวกับศาสนา เรื่องเกี่ยวกับชาติพันธุ์ เชื้อชาติที่จะไม่หมิ่นแคลนกัน แต่เมื่อพิจารณาข้อความที่ก่อให้เกิดการฟ้องร้องแล้วก็พบว่าบางข้อความเพียง แสดงความคิดเห็นต่าง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่ได้หมิ่นแคลน แต่การตีความอย่างกว้างขวางของรัฐทำให้คุณจีรนุชโดนข้อหาไปด้วยในฐานะผู้รับ ผิดชอบ ซึ่งความคืบหน้าคดี ขณะนี้อยู่ในชั้นศาล และในเดือนตุลาคมนี้จะเข้าสู่การพิจารณาคดีอีกครั้งหนึ่ง
ชูวัส กล่าวต่อมาถึงกรณีสมยศว่า ไม่ว่าจะอย่างไรคุณสมยศอยู่ในฐานะสื่อสารมวลชน และถือว่าอยู่ในฐานะตัวกลาง สำหรับบทความที่ถูกกล่าวหานั้นส่วนตัวคิดว่าคุณสมยศไม่ได้เขียนเอง แต่อยู่ในฐานะบรรณาธิการจึงโดนคดีนี้ ซึ่งเรื่องนี่เป็นเรื่องที่สื่อสาร มวลชนกระแสหลักจะต้องตระหนักเป็นอย่างดี แต่สถานการณ์ที่ผ่านมากลับเงียบกริบ ซึ่งสาเหตุของความเงียบนี้อาจเนื่องมาจากสื่อต่างๆ อยู่ด้วยความกลัว และสำคัญกว่าความกลัวก็คือความชินชา สำคัญกว่าความชินชาคือการที่สื่อได้หมดวิญญาณจากความเป็นสื่อแล้ว โดย ส่วนตัวมองว่า เริ่มมาจากปี 2548 จากแถลงการณ์เรื่องสื่อแท้-สื่อเทียมของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ซึ่งสำหรับเขาถือว่าเป็นแถลงการณ์ที่เลวร้ายที่สุดขององค์กรวิชาชีพสื่อ
แถลงการณ์ ดังกล่าวได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการในการแบ่งแยกสื่อในกลุ่ม วิชาชีพที่เป็นสื่อกระแสหลักว่าเป็นสื่อแท้ ขณะเดียวกันก็กีดกันคนอื่นๆ ออกไป จากสถานการณ์ในขณะนั้นที่โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม PTV โดยทุนของคุณเนวิน ชิดชอบ ซึ่งยังเข้ากับคุณทักษิณ ชินวัตร อยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้ง ทำให้ PTV ไม่ถูกจัดว่าเป็นสื่อ จึงไม่แปลกที่คุณสมยศ ที่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร voice of taksin จะไม่ถูกจัดเป็นสื่อ และสื่อสารมวลชนที่ยังมีบทบาทในการครอบงำความรู้ความคิดคนจึงไม่นำเสนอ เพราะพวกเขาไม่ได้มองว่าคุณสมยศเป็นสื่อ
“ประเด็น สื่อแท้สื่อเทียมกับโลกที่มันเปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ตที่เข้ามา มันกีดกันผู้คนออกไปหมดเลย ทำให้สื่ออยู่ในสถานะที่ไม่ฟังชั่นอีกแล้ว หรือในภาษาเดิมคือสื่อสารมวลชนบ้านเราตายไปแล้ว คือมันไม่มีประโยชน์ ไม่ได้มีหน้าที่อะไรที่จะสนองอะไรกับสังคมได้อีกแล้ว” ชูวัสให้ความเห็น
บรรณาธิการ บริหารเว็บไซต์ประชาไทกล่าวต่อมาว่า ต่อไปคือหน้าที่ของพวกเราพลเมืองเองที่จะต้องผลิตข่าวสารขึ้นมา และทำให้น่าเชื่อถือ จนกระทั่งมีพลังพอที่จะขยายต่อไปยังสื่ออย่างเคเบิลทีวีซึ่งมีกลุ่มคนดูเกิน ครึ่งของประเทศ
ชูวัส เสนอแนะถึงแนวทางการรณรงค์ด้วยว่า กรณีของคุณสมยศ คุณสุรชัย แซ่ด่าน คุณดา ตอปิโด และผู้ต้องหาคดีความทางความคิดคนอื่นๆ ควรถูกผลักดันให้เป็นประเด็นรณรงค์ปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่ต่อสู้กับอำนาจ ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม เพื่อขยายกลุ่มแนวร่วมในการเคลื่อนไหวให้กว้างขวางขึ้นในระดับนานาประเทศ ดังเช่นกรณีนักโทษการเมืองในพม่า และจีน อีกทั้ง การขับเคลื่อนในแนวทางวรรณกรรมและดนตรีของคนเสื้อแดงซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวควรถูกบันทึกและเผยแพร่ต่อไปในวงกว้าง ให้เป็นเหมือนกับที่เคยเกิดเป็นกระแสของวรรณกรรมเดือนตุลาฯ ขึ้นมาอีกครั้ง
นอก จากนั้นสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ชูวัส กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า อย่าปล่อยให้นักการเมืองหักหลังคนเสื้อแดง เพราะไม่แน่ว่าหลังจากนี้หากพรรคเพื่อไทยได้รับเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล แล้วจะไม่หวนกลับมาให้กฎหมายที่คุกความเสรีภาพมาไล่จับคนเสื้อแดงอีก
ส่วน ประวิตร กล่าวถึงเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการรางงานข่าวถึงการจัดอันดับเสรีภาพสื่อในปี 2011 โดยองค์กรสิทธิมนุษยชนชั้นนำของอเมริกา “ฟรีดอมเฮาส์” ให้ประเทศไทยที่จากเดิมมีเสรีภาพของสื่ออยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” เข้ากลุ่ม “ไม่เสรี” เทียบกับเกาหลีเหนือ พม่า จีน ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างมากในวงการสื่อ โดยเขายกตัวอย่างถึงบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงความเห็นแย้งกับฟรีดอมเฮาส์ โดยระบุว่าสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และอ้างผลการสำรวจความเห็นคนไทยจากสวนดุสิตโพลล์ที่ระบุว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าไทยมีเสรีภาพมากขึ้น แต่ต้องมีเสรีภาพที่มาพร้อมความรับผิดชอบที่มากขึ้นด้วย
ประวิตร แสดงความเห็นว่า ถ้าเราเชื่อโพลล์มันจะกลายเป็นตลกร้ายอย่างหนึ่งที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ในสังคมไทย แล้วคำว่าความรับผิดชอบของสื่อยักษ์ใหญ่คือจะรับผิดชอบใคร ทั้งนี้สื่อกระแสหลักที่เรียกตัวเองว่าสื่อแท้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อคน ส่วนใหญ่หรือว่าคนส่วนน้อยในสังคมไทย
“สังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้ว่า แม้คนอื่นจะแสดงความเห็นแตกต่าง แต่เราก็ต้องยอมรับได้ ซึ่งเป็นปัญหามาก เลยทำให้สื่อไทยมักจะร้องหาความรับผิดชอบ” ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่นกล่าว
ประวิตร ตั้งคำถามด้วยว่า สังคมไทยโดยรวมตระหนักดีแค่ไหนว่าสื่อไทยมีเสรีภาพเพียงใด เอาเข้าจริงแล้วไทยอาจจะแย่กว่าสิงคโปร์หรือจีนด้วยซ้ำ เพราะประชาชนในประเทศเหล่านั้นยังรู้ว่าสื่อในประเทศตัวเองขาดเสรีภาพ และตอนนี้ไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศเหล่านั้นจากการจัดโดยฟรีดอมเฮาส์ ขณะที่คนบางกลุ่มยังหลงคิดว่าไทยมีเสรีภาพทางสื่ออยู่ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเขาคิดว่าไทยมีกรอบของเสรีภาพอยู่ ทำให้สื่อจำนวนมากยึดติด และทุกวันนี้สื่อกระแสหลักจำนวนมากไม่กล้านำเสนอข่าว
ประวิตร ยกตัวอย่างถึงผู้ที่ถูกขังอันเนื่อง จากมาตรา 112 ว่า ถึงตอนนี้ยังไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และทางการไทยไม่เคยเปิดเผยข้อมูลเลย ซึ่งนอกเหนือจากบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างคุณสุรชัย แซ่ด่าน คุณสมยศ แล้ว คนอื่นๆ อย่าง ดา ตอร์ปิโด ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงจะต้องทำลายความเชื่อผิดๆ ที่ว่าเมืองไทยมีเสรีภาพ และถ้าหากเมืองไทยมีเสรีภาพ เวทีการเสวนานี้คงไม่จำเป็น
ประวิตร กล่าวด้วยว่า จากการได้พูดคุยกับคุณสมชาย หอมละออ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ในฐานะสิทธิมนุษยชน ที่ได้ออกแถลงการณ์ถึงสถานการณ์ขณะนี้ที่กฎหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้จับคน จำนวนมาก ซึ่งจะเป็นการนำสถาบันเข้าสู่การเมือง และได้ส่งแถลงการณ์นี้ไปยังสื่อต่างๆ แต่ไม่มีสื่อไหนที่ตอบรับเลยนอกจากทางประชาไทที่ยอมลงแถลงการณ์ให้ ซึ่งคุณสมชายได้ตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสื่อมวลชนไทย แต่สำหรับเขานี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินจะคาดเดาได้ โดยเขามองว่าสื่อไม่กล้าตั้งคำถาม อีกทั้งยังอยู่ในสังคมที่ปฏิเสธความจริง
นอก จากนั้นในกรณีที่สื่อทางเลือกถูกปิดกั้นก็อาจไม่แปลกที่สื่อกระแสหลักจะ ไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะเขาจะไม่ถูกแย่งสัดส่วนของคนอ่านไป อย่างไรก็ตามสื่อบางคนก็มีอาจมีความเชื่อว่าการใช้กฎหมายในการควบคุมสื่อ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อีกทั้งบางครั้งสื่อกระแสหลักก็ได้ประโยชน์บางอย่างจากการเป็นเด็กดีอยู่ภาย ใต้รัฐ เขาจึงไม่อยากเปลี่ยนการนำเสนอข่าวไปจากเดิม หรือถ้าเปลี่ยนแล้วมีคนอ่านน้อยลง รายได้ก็จะน้อยไปด้วย
ขณะที่ วัฒน์ กล่าวว่า กรณีคุณสมยศนั้น คุณสมยศเคยบอกไว้ว่าเขาไม่ใช่คนสุดท้าย ยิ่งสังคมยังคงเป็นเผด็จการอยู่ ก็จะต้องมีคนต่อไป ซึ่งคราวหน้าอาจจะเป็นคุณชูวัส คุณประวิตร หรือตนเองก็ได้ มันมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่พูดความจริงหรือแค่พูดธรรมดา และการช่วยเหลือของนักสิทธิมนุษยชนทั้งหลายนั้น วันก่อนได้พบปะกับ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม Human Right Watch เพิ่งออกมาเคลื่อนไหวเรื่องกรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม หรือ 91 ศพ จากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปครบปี เหตุผลก็คือว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนสากลรอฟังข้อมูลจากองค์กรสิทธิมนุษยชนของ ไทย และที่ช้าเพราะคนที่ตายนั้นเป็นพวกคุณทักษิณ องค์กรสิทธิมนุษยชนก็เลยเกิดการลังเลที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยว
กรณีต่อ มาคือหมวดเจี๊ยบที่ไปสัมภาษณ์คุณทักษิณ (ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาตีพิมพ์เป็นพ็อคเกตบุ๊ก แล้วถูกหน่วยงานเจ้าสังกัดสอบสวนนั้น เขาได้นำไปตั้งคำถามเมื่อครั้งไปเป็นวิทยากรอบรมนักข่าวรุ่นใหม่ของสมาคมนัก ข่าวฯ แล้วพบว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมแล้วที่หมวดเจี๊ยบถูกบีบ ซึ่งก็มีการถกเถียงกัน และเขาได้ให้ความเห็นว่าหมวดเจี๊ยบก็เป็นนักข่าวเหมือนกัน มีสิทธิที่จะนำเสนอข้อมูลของเธอ
เหล่านี้คือความเป็น จริงของสังคมไทย ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าความเป็นเผด็จการไม่ได้มาจากอำนาจรัฐอย่างเดียว แต่มันเข้าไปกินสมองสื่อ นักข่าว และแม้กระทั่งเพื่อนนักเขียนด้วยกันเอง รวมทั้งเข้าไปกินสมองของคณะกรรมการรางวัลรางวัลพานแว่นฟ้าซึ่งมีจุดหมาย เพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่ากรรมการบางคนกลับเห็นด้วยกับการรัฐประหาร
วัฒน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับเขาสื่อยังหมายรวมไปถึงเพลง บทกวี ละคร นักเขียน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ในอดีตมีความกล้าเขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมมากกว่าสมัย นี้ นี่แสดงให้เห็นว่าเวลาที่ผ่านไปสังคมไทยในเรื่องของความกล้าและเสรีภาพมันหด ลงจนมืดมน ทั้งนี้ ปัจจุบันการจับสื่อแบบยกพวกไม่มี มีแต่เป็นรายๆ เพราะยุคหลังมานี้พวกที่มีอำนาจในสังคมไทยสามารถควบคุมสื่อไว้ได้ ด้วยสร้างความความกลัวทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ส่วนนักเขียนก็ควบคุมด้วยระบบรางวัล ที่ถูกพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรมที่มีความคิดความเชื่อแบบอนุรักษ์ นิยม
ด้าน ทอม ดันดี ขึ้นเวทีปลุกเร้าคนเสื้อแดงให้เดินหน้าสู้ต่อไป พร้อมระบุว่าการต่อสู้ยังไม่จบ คนเสื้อแดงจะต้องสู้ต่อ และการตายอาจต้องเกิดขึ้นอีก แต่คนเสื้อแดงจะสู้จนกว่าจะชนะ และยังแนะแนวทางต่อสู้ด้วยการดึงสหภาพแรงงานเข้าร่วม โดยยกตัวอย่างการต่อสู้ของฝรั่งเศสที่มีกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอย่าง การไฟฟ้า การประปา ที่นัดหยุดงานเพื่อร่วมต่อสู้จนได้รับชัยชนะ อีกทั้งยังได้จัดแถลงข่าวคอนเสิร์ต "ทอม ดันดี ขยี้บัลลังก์เหี้ย" ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 มิ.ย.54 ณ ตลาดคลองถม บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ด้วย