บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พัฒนาการทางการเมืองอินโดนีเซียกับความเข้มแข็งในปัจจุบัน

ที่มา ประชาไท

วัชรีวรรณ สมัยสงค์
สาขาภูมิภาคศึกษา สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์
ปฎิบัติงานสหกิจศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานการณ์ การเมืองไทยในขณะนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียด นับได้ว่าเป็นสภาวะขาลงทางการเมืองของไทย หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศที่ถูกสังคมโลกเคยมองว่าเป็นประเทศที่ล้าหลังและยากที่การ เมืองภายในประเทศจะมีความเข้มแข็งอย่างประเทศอินโดนีเซีย

หากย้อน กลับไปดูเมื่อ 10 ปีก่อนของการเมืองประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงปลายยุคระเบียบใหม่ (Orde Baru) โดยการนำของนายพลซูฮาร์โต ( พ.ศ. 2510-2541 ) จะเห็นได้ว่าลักษณะของสังคมอินโดนีเซียในช่วงสมัยนั้นจะเต็มไปด้วยปัญหาและ ความขัดแย้ง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ เพราะอำนาจส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มเดียว หากผู้ใดออกมาแสดงความคิดที่มีความขัดแย้งกับรัฐผู้นั้นก็จะมีความผิด แต่เมื่อเวลาผ่านไปอำนาจของรัฐที่มีอยู่ก็สู้อำนาจและแรงการต่อสู้ของ ประชาชนไม่ไหว กรณีเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติ (พฤษภาคม 1998 ) อำนาจเหล่านี้ก็เลยต้องถึงจุดจบในที่สุดเป็นการล่มสลายลงของการปกครองที่ เรียกว่ายุคระเบียบใหม่ (Orde Baru)และเป็นการหมดอำนาจลงของซูฮาร์โตที่มีมาทั้งหมด 32 ปี

หลังลงจากอำนาจของซูฮาร์โต คนที่เข้ามารับอำนาจแทนคือ นายยูซุฟ ฮาบิบี (พ.ศ. 2541-2542 ) ถือได้ว่าเป็นเหมือนผู้สืบทอดอำนาจของซูฮาร์โต ฮาบิบีดำรงตำแหน่งนั้นก็ได้ประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น ประชาชนการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้ และสิ่งสำคัญคือฮาบิบีเองไม่มีฐานทางการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือพรรคโกลคาร์ (GOLKAR) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ทำให้ดูเหมือนว่าสถานะของฮาบิบีในตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ในสภาพไม่มีความ มั่นคงมากนัก จนกระทั่งเขาต้องลงจากตำแหน่ง

แต่สิ่งหนึ่งที่นานาชาติ ให้การยอมรับและชื่นชมในตัวฮาบิบีเกี่ยวกับการ จัดการกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออก โดยให้เสรีภาพกับชาวติมอร์ตะวันออกว่าจะเป็นเอกราชหรือเลือกที่จะอยู่กับ อินโดนีเซียต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดชาวติมอร์ตะวันออกก็ต้องการเป็นอิสระ ฮาบิบีจึงให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออก ( 20 พ.ค. 2545 )

หลังจากนั้น อับดูร์ราห์มาน วาฮิด (พ.ศ.2542-2544) ก็ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดี แม้ว่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพลซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย แต่เหตุผลที่ทำให้วาฮิด ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเป็นผลมาจากการรวมคะแนนการเลือกตั้งของเขาเข้ากับ พรรคการเมืองอื่นทำให้คะแนนที่ออกมามีมากกว่าพรรคของนางเมกาวาตี จนทำให้เขาได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียในที่สุด

ใน ช่วงที่วาฮิดบริหารประเทศ วาฮิดได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและกลุ่มการเมืองแนวศาสนาว่ามีความเป็น ประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ วาฮิดจะให้ความเท่าเทียมกันของศาสนาทุกศาสนา ไม่ได้ให้อภิสิทธิ์กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ถึงแม้ว่าคนในสังคมอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลามก็ตาม แต่ก็มีปัญหาความขัดแย้งกับกองทัพ เนื่องจากต้องการลดจำนวนผู้แทนในสภาที่มาจากโควตากองทัพ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกองทัพให้มีส่วนร่วมกับการเมืองน้อยลงตามแนวทาง ปฏิรูปการเมือง จึงทำให้ในช่วงหลังกองทัพหันไปให้การสนับสนุนรองประธานาธิบดีเมกาวาตีแทน เนื่องจากมีการดำเนินการโดยสภาที่ปรึกษาประชาชนเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่ง ในเรื่องทุจริตยักยอกเงินที่พัวพันกับคนใกล้ชิดของเขาและเรื่องส่วนตัวอัน อื้อฉาว จึงทำให้เขาถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในที่สุด

คนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่วาฮิดหลังจากถูกถอดถอนออกจาตำแหน่งคือ นางเมกาวาตรี ( พ.ศ. 2544-2547 ) ในช่วงที่นางเมกาวาตรีดำรงตำแหน่งก็ได้เกิดเหตุการณ์และปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว หลังยุคฟอกสบู่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัญหาคอรัปชั่น ส่วนปัญหาใหญ่คือปัญหาการก่อการร้ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐ อเมริกาและการลอบวางระเบิดในบาหลีทีทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามก่อการร้ายอย่าง เข้มงวด

หลังจากหมดวาระสมัยของนางเมกาวาตี อินโดนีเซียก็เข้าถึงยุคสมัยของการเลือกตั้งอีกครั้ง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความเป็น ประชาธิปไตยมากที่สุดในสังคมอินโดนีเซีย เพราะพรรคการเมืองต่างๆ ต่างส่งผู้สมัครเข้าลงการแข่งขันเลือกตั้งอย่างเข้มข้น แต่พรรคที่ถูกรับเลือกให้บริหารประเทศได้แก่พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียของ พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (พ.ศ.2547-ปัจจุบัน) นับเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจาก ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเข้ามาดำรงตำแหน่งของบัมบังครั้งนี้เป็นที่คาดหวังของประชาชนเป็นอย่าง มากในการบริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ

ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่ง ของบัมบังนั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากประชน มากนัก แต่ด้วยความอดทนและเข้มแข็งของรัฐบาลก็สามารถบริหารประเทศได้ดีขึ้นเป็น ลำดับ และสามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น การเจรจาสันติภาพกับอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆ จนสามารถยุติความรุนแรงได้ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้มีความเข้มแข็งเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนในปัจจุบัน ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2552) ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียนั้นเป็นประเทศที่ค่อยๆ สร้างเสถียรภาพให้กับตัวเองทีละก้าว ซึ่งมาจากทำงานของรัฐบาลแต่ละสมัยที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ที่มีความโดดเด่นต่างๆ กัน ในช่วงแรกของยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีความเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก แต่ในทางตรงข้ามประชาชนก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการกระทำการสิ่งใดที่นอกเหนือ จากคำสั่งรัฐ หลังจากที่ประชาชนต้องตกอยู่สภาวะที่ไร้ซึ่งสิทธิมาเป็นเวลานาน สิทธิและเสรีภาพครั้งใหม่ก็เริ่มเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยการปลดปล่อยของนายฮาบิบี ซึ่งเป็นช่วงที่สื่อมีเสรี ให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออกที่นายฮาบิบียอมปล่อยให้เป็นเอกราช เพราะนายฮาบิบีเชื่อและเคารพในการตัดใจของผู้อื่น จนทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในติมอร์ตะวันออกยุติลง

ในขณะที่ยุคของวาฮิ ดได้ออกกฏหมายให้ศาสนาแต่ละศาสนามีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าวาฮิดจะบริหารประเทศได้ไม่นานแต่เขาก็เป็นยอมรับของนานาชาติเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าว สำหรับรัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะเน้นเกี่ยวกับการปราบปรามการก่อการร้ายทั้ง ที่เกิดขึ้นภายในประเทศและนอกประเทศเอง ถึงแม้ว่ารัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะปราบปรามเรื่องนี้ได้ไม่มากนัก แต่ถือได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ก็ได้ช่วยลดความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ในระดับ หนึ่ง กระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลของพลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเฉพาะในการบริหารประเทศจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอาเจะห์จนเกิด สันติภาพ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ลดลง ซึ่งปัญหาเรื่องเผ่าพันธุ์นี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่ประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์มากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่รัฐบาลก็สามารถที่จะแก้ปัญหาและสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นได้

จากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศอินโดนีเซียดังที่กล่าวมา ทำให้เห็นการพัฒนาการทางการเมืองที่นำไปสู่ความเข้มแข็งตามลำดับ แม้ในแต่ละยุคจะเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ ส่งผลให้ในขณะนี้อินโดนีเซียสามารถผ่านพ้นวิกฤตทางการเมือง มีความมั่นคงและมีแนวโน้มว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะมีความมั่นคงเข้มแข็ง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

10 ปีเศษ ของอินโดนีเซียจากความอ่อนแอไปสู่ความเข้มแข็ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ย้อนมามองประเทศไทย ความมั่นคงทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตยนั้นต้องยอมรับว่าเรายังไม่มี จุดยืนที่แน่นอน ทั้งที่ผ่านความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองกันมาหลายครั้งหลายคราว แต่สังคมการเมืองไทยก็ไม่ได้ใช้บทเรียนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ การเมืองในสังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับ “ยุคระเบียบใหม่” (Orde Baru) โดยการนำของสุฮาร์โต อันเป็นช่วงเวลาที่อินโดนีเซียประสบกับปัญหาความขัด แย้งมากมาย

มอง การเมืองอินโดนีเซียแค่ช่วง 10 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้เห็นการเดินออกจากปัญหาไปสู่ความเข้มแข็งทีละก้าว แต่การเมืองไทยในช่วงเวลาเดียวกันกลับสวนทางกันโดยสิ้นเชิง

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker