บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: ว่าด้วยโครงสร้างส่วนบน (ที่มองไม่เห็น) ของระบบโซตัส

ที่มา ประชาไท

ระบบ โซตัส (SOTUS) ถือเป็นหนึ่งในแบบแผนปฏิบัติของชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปเป็นการกล่าวถึงระบบที่เป็นตัวย่อมาจากการนับถืออาวุโส (Seniority) ยึดมั่นระเบียบ (Order) ประเพณี (Tradition) ความสามัคคี (Unity) และน้ำใจ (Spirit) ซึ่งระบบนี้ขับเคลื่อนผ่านการปกครองดูแลกันเองระหว่าง "รุ่นพี่" และ "รุ่นน้อง" และผ่านการหล่อหลอมผ่านระบบการ "รับน้อง" และ "ห้องเชียร์"

ใน ทุกๆ ปีนั้นเรื่องนี้จะมีการพูดกันเสมอๆ ในช่วงเปิดเทอมต้น โดยเฉพาะในหน้าสื่อ ทั้งการตีพิมพ์ทัศนะต่างๆ และอาจจะมีข่าวว่ามีรุ่นน้องตาย หรือฟ้องร้องถึงการรับน้องที่ป่าเถื่อน และโหดร้าย และข่าวดังกล่าวก็จะเงียบหายไปหลังจากห้องเชียร์ปิดตัวลงในช่วงสักประมาณ กรกฎาคม

เดิมนั้น เรามักอธิบายกันว่า เรื่องของระบบโซตัสนั้นดำรงอยู่ได้เพราะว่าสังคมไทยนั้นมีวัฒนธรรมแบบระบบ อุปถัมภ์ ดังนั้นระบบโซตัสก็คือ "ผลสะท้อน" ของโครงสร้างของวัฒนธรรมในสังคมใหญ่ที่ "เตรียมคนรุ่นใหม่" ให้ออกไปอยู่ในระบบที่ยอมรับว่าสังคมไม่เท่าเทียมกัน

ขณะที่ผู้ที่ สนับสนุนระบบนี้ ก็มักจะอธิบายว่าระบบโซตัสนั้นมีคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดการขัดเกลาและช่วยเหลือกันในหมู่สมาชิกของสังคม เพราะเด็กที่เข้าสู่มหาวิทยาลัยนั้นไม่มีใครดูแล เหมือนในระบบมัธยม ดังนั้นการมีรุ่นพี่รุ่นน้องก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่ เหมือนกับระบบอาวุโส-อุปถัมภ์ในสังคมนั้นก็ดีอยู่ ที่ไม่ดีนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของรุ่นพี่บางคน หรือคนบางคนเท่านั้น

ไม่ ว่าจะอยู่ฝ่ายนั้นก็ตาม เดิมนั้นเรามองว่าระบบโซตัสนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับรุ่นพี่และ รุ่นน้อง ไม่เชื่อมโยงกับอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ภาพของการมองและการพยายามแก้ปัญหาจึงมักวนเวียนอยู่กับเรื่องของการกวดขัน ให้ทางผู้บริหารดูแลระบบนี้ให้ดี ไม่ว่าจะยกเลิก หรือกวดขันไม่ให้เกิดอันตรายกับเด็กๆ

สิ่งที่ผมค้นพบที่เกี่ยวข้อง กับระบบโซตัสนั้นมีด้วยกันสองเรื่อง เรื่องแรกคือคำถามที่ว่าทำไมรุ่นน้องหรือเด็กเข้าใหม่ถึงยอมรับระบบนี้ (รับน้องแล้วทำไมน้องไม่ร้องจ๊าก) กับเรื่องที่สอง (ค้นพบใหม่) ว่าทำไมผู้บริหารจึงยอมรับหรือไม่ยอมมองเห็นปัญหาเรื่องระบบโซตัส

ระบบ โซตัสนั้นดำเนินไปได้ เพราะระบบดังกล่าวนั้นเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก เพราะการยอมถูกแสดงอำนาจหนึ่งปีในฐานะน้องใหม่ทำให้สามารถได้รับการเคารพยอม รับกลับในฐานะรุ่นพี่ถึงสามเท่าเป็นอย่างน้อย (ในกรณีหลักสูตรสี่ปี) หมายถึงยอมเขาหนึ่งปีก็ได้คืนในฐานะการเป็นรุ่นพี่ถึงสามเท่า รวมทั้งการให้หลักประกันความมั่นคงในการสมัครงานและการทำงานในอนาคตเพราะ รุ่นน้องก็คาดว่ารุ่นพี่จะช่วย และรุ่นพี่ก็มีรุ่นน้องเป็นพวก

ส่วน ทำไมผู้บริหารถึงยอมให้เรื่องนี้เกิดได้นั้น ก็เพราะว่าประธานของระบบโซตัสตัวจริงก็คืออธิการบดีและคณบดีของแต่ละคณะนั่น แหละครับ และรอยต่อของระบบโซตัสที่ปรากฏตัวและถูกวิพากษ์วิจารณ์ กับระบบที่ซ่อนตัวอยู่นั้นไม่ค่อยมีคนค้นพบต่างหาก

การยินยอมให้มี การซ้อมเชียร์และรับน้องอย่างเข้มข้น อย่างน้อยในแง่ของการปล่อยให้ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยในการจัดกิจกรรมที่ขัด กับหลักการสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น สามารถเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ยาก นอกจากการมีผลประโยชน์บางประการที่ระบบบริหารของมหาวิทยาลัยปล่อยให้เกิด ขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญก็คือ การรับน้องอย่างเข้มข้นนี้ไม่ใช่ดีในแง่ของผลประโยชน์ในอนาคตของรุ่นพี่รุ่น น้องที่จะจบออกไปเท่านั้น แต่หมายถึงการสร้างหลักประกันของผู้บริหารในการเกณฑ์นักศึกษามาใช้ใน พิธีกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ เพราะถ้าไม่มีระบบโซตัสแล้ว มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถเกณฑ์นักศึกษามาทำพิธีกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ และทำให้ศิษย์เก่ากลับมาให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยในอนาคต ซึ่งพิธีกรรมต่างๆ นี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญของการทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักและมี อันดับในสังคม และในบางกรณีอาจจะมากกว่าเกณฑ์สากลอื่นๆ อาทิ งานวิจัย เสียอีก

เขียนเรื่องนี้ในตอนนี้เพราะต้องการให้จับตามองว่า แม้ว่าห้องเชียร์และการรับน้องจะจบไปแล้ว แต่นักศึกษาไม่ใช่แค่กลับเข้าห้องเรียน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ แต่พวกเขากำลังถูกเกณฑ์โดยระบบบริหารในพิธีกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย หรืออาจรวมไปถึงการถูกเกณฑ์หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงาน "นอก" และ "เหนือ" มหาวิทยาลัยด้วยครับ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker