Wed, 2012-08-29 19:01
ก.เกษตรฯ รายงานผลศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม ต่อ ครม.เสนอ 4 ทางเลือก พร้อมระบุผลการประชุม “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” พื้นที่ลุ่มน้ำยมบน-ล่าง 9 จังหวัด คน 6,313 หนุนทางเลือก 4 เปิดทางสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.55
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง
การวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม
โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการศึกษาฯ ตามที่เสนอ
และให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและนำผลการศึกษาไปเป็นกรอบในการกำหนด
แผนงาน โครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานต่อไป
สาระสำคัญของผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม มี 2
ประเด็น ได้แก่ 1.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic
Environmental Assessment: SEA)
เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของนโยบาย แผน
เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยจะได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบทางลบ
ทางบวกจากการดำเนินโครงการต่อมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลการศึกษาสรุปว่า ทางเลือกการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมมีด้วยกัน 4
ทางเลือก ดังนี้
1.มีการพัฒนาเฉพาะมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและการปรับปรุงประสิทธิภาพการชล
ประทาน
2.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างการพัฒนา
แหล่งน้ำขนาดกลาง ทั้งอ่างเก็บน้ำและฝาย/ประตูระบายน้ำตามลำน้ำยม
รวมถึงการพัฒนาและจัดสรรน้ำโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก
3.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
ทั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่
เขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน และ
4.มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างทั้งการ
พัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น
นอกจากนั้น การศึกษาได้ระบุด้วยว่า ทางเลือกการพัฒนาโครงการ ตามข้อ 4
เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพมากที่สุด
โดยมีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1, 2, และ 3
ในด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ทางเลือกที่ 4
จะให้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่ 3 และทางเลือกที่ 2 ตามลำดับ
ประเด็นที่ 2 การใช้นโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ
เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วน
ร่วมอย่างจริงจังในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการลุ่มน้ำยม
กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ผลจากการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม”
ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและลุ่มน้ำยมตอนล่าง รวม 9 จังหวัด ได้แก่
พะเยา ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์
โดยจัดให้มีการประชุมรวมทั้งหมดจำนวน 9 ครั้ง
โดยพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายของการประชุมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
ได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายที่มาจากพื้นที่ลุ่มน้ำยมทั้ง 11
ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น มีพื้นที่ครอบคลุม 161 ตำบล 31 อำเภอ 10 จังหวัด
มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมถึง 6,313 คน
ผลสรุปจากการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความสำคัญของทางเลือกในการพัฒนา
ลุ่มน้ำยมพบว่า ผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4
รองลงมาได้แก่ ทางเลือกที่ 3 ทางเลือกที่ 2 ทางเลือกที่ 1 ตามลำดับ
ยกเว้นกลุ่มองค์กรอิสระที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 น้อยที่สุด
ทั้งนี้ มีการแจ้งด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ
โดยกรมชลประทานได้นำส่งรายงานการศึกษาระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยมโดยใช้
กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการไปยังกรมทรัพยากรน้ำ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามกรอบความคิด (Conceptual Plan)
เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไข
ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย (TOR)
ที่เปิดโอกาสให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศมาออกแบบภายใต้เงินงบประมาณเงิน
3.5 แสนล้านบาท
ได้มีการกำหนดแผนงานโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนใน
พื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น
ที่มีความจุประมาณ 1,175 ล้าน ลบ.ม.ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมด้วย
ผลการประชุม กบอ. อนุมัติ 3 โครงการ 769 ล้าน
ในวันเดียวกัน (28 ส.ค.55)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ
โครงการ 3 โครงการ
ตามมติผลการประชุมของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ครั้งที่
8/2555 ภายในวงเงิน 769,311,374.85 บาท ตามที่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยเสนอ
ประกอบด้วย 1.โครงการป้องกันน้ำท่วมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เพื่อก่อสร้างกำแพงเข็มพืดคอนกรีต พนังคันดิน ประตูกั้นน้ำ
ที่ประตูทางเข้า – ออก
และถนนยกระดับบริเวณทางเข้าหลักร่วมกันของสามสถาบัน2.โครงการประตูน้ำ/สถานี
สูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ กรมชลประทาน3.โครงการก่อสร้าง
Siphon เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี
กรมชลประทาน
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ
ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)
กำหนด และเพื่อให้การรับสถานการณ์น้ำหลาก ตลอดจนการระบายน้ำ
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการระบุหน่วยงานเจ้าของโครงการให้ชัดเจน
เพื่อจัดส่งรายละเอียดแบบรูปรายการแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้
ที่สอดคล้องกับแผนงานตามกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ฯ ที่เสนอไว้ต่อรัฐสภา
ให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา
และให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานฯ และจัดสรรวงเงินกู้
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้
เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ข้อ 15 (1)
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวตามมติคณะ
รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค.55 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
หมายเหตุ: เรียบเรียงจากคลังข้อมูลสำนักข่าวอิศรา