บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: จริยธรรมทางชีวภาพ (Bioethics) ตอนที่ 1

ที่มา ประชาไท

 

ทุกท่านเคยได้ยิน หรือเคยตั้งคำถามเหล่านี้ไหม ทำแท้งเป็นความผิดหรือไม่ การแต่งงานเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดหรือไม่ การผสมเทียมผิดหรือไม่ การรับเลือดหรืออวัยวะจากคนอื่นผิดหรือไม่ การทดลองในมนุษย์ผิดหรือไม่ การผลิตสเตมเซลล์จากรกเด็กผิดหรือไม่ การคุมกำเนิดและใช้ถุงยางอนามัยผิดหรือไม่ การุณฆาตเป็นเรื่องผิดหรือไม่ การนำอวัยวะเทียมใส่ร่างกายผิดหรือไม่ การโคลนนิ่งผิดหรือไม่ ตัวอ่อนในครรภ์มารดามีสภาพทางกฎหมายหรือไม่ การตัดต่อยีนพันธุกรรมเป็นเรื่องผิดหรือไม่ การทดลองในตัวอ่อนและทารกผิดหรือไม่ การค้นพบจีโนมมนุษย์ควรเป็นของสาธารณะหรือเป็นเพื่อการค้า การทำการทดลองในสิ่งมีชิวิตอื่นผิดหรือไม่ ฯลฯ...............ปัญหาร้อยแปดประการที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันและในอนาคต ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นคำถามที่ตั้งอยู่บนเรื่องจริยธรรมทาง ชีวภาพ (Bioethics)
หลายคนอาจได้ยินคำว่าจริยธรรมทางการแพทย์ (Medical Ethics)ในสังคมไทยบ่อยขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่จริยธรรมทางการแพทย์จะตีกรอบแคบๆในลักษณะจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทาง การแพทย์ เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ การกระทำและไม่ควรพึงกระทำในการประกอบอาชีพเป็นต้น ส่วนจริยธรรมทางชีวภาพนั้นกินความกว้างกว่า โดยเป็นการศึกษาถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ชีววิทยา และการแพทย์ จริยธรรมทางการแพทย์จึงเป็นเพียงแค่ซับเซตของจริยธรรมทางชีวภาพ จริยธรรมทางชีวภาพจึงเป็นการศึกษาถึงศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตใน ระดับปรัชญาเพื่อหาคำตอบให้มนุษย์ว่าควรกระทำสิ่งใดหรือไม่ควรกระทำสิ่งใด ต่อสิ่งมีชีวิต เพื่อรักษาระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงส่งและควรค่าแก่การเรียกขานตนเองว่า เป็นสัตว์ประเสริฐ
จริยธรรมทางชีวภาพเริ่มปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากสาเหตุการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการจับมนุษย์มาทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนาซีเยอรมัน ประมวลกฎหมายนูเรมเบิร์ก (1947) แสดงถึงการเริ่มต้นของการร่วมกันของประชาคมโลกในการวางกฎสิบประการวางกรอบ การทำการทดลองในมนุษย์ ทดลองทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามมันก็ยังคงเป็นกรอบแคบๆเฉพาะเกี่ยวกับทางการแพทย์และจริยธรรม ทางวิชาชีพเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน จริยธรรมทางชีวภาพเริ่มขยายขอบเขตมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 สาเหตุจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทำแท้ง การคุมกำเนิดด้วยวิธีใหม่ๆ การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ การผสมเทียม ตลอดจนการ โคลนนิ่งเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าๆเหล่านี้กระทบต่อความเชื่อของศาสนาและปรัขญา เช่น กรณีการรับเลือดหรืออวัยวะของผู้อื่น จะเป็นการผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ การคุมกำเนิดนั้นขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้าในศาสนาคาธอลิคหรือไม่ เป็นต้น นอกจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แล้ว การเกิดขึ้นของสิทธิของปัจจเจกบุคคล สิทธิความเป็นมนุษย์ สิทธิความเป็นตัวของตัวเอง สิทธิการแสดงออกได้เพิ่มเข้ามาในสังคม และเกิดปัญหาต่างๆในแนวทางการดำรงชีวิตของคนที่หลากหลายไปขัดกับหลักความ เชื่อทางศาสนาหรือไม่ เช่น การแต่งงานของเพศเดียวกัน การมีเพศสัมพันธุ์กับเพศเดียวกัน และเมื่อเกิดการสร้างสิทธิใหม่ๆขึ้นในสังคมจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จริยธรรม ทางชีวภาพจะต้องสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย และการออกกฎหมาย จริยธรรมทางชีวภาพจึงไม่สามารถเป็นแค่เรื่องของวิทยาศาสตร์หรือ การแพทย์อีกต่อไป แต่เกี่ยวพันไปถึงศาสนา ความคิดเชิงปรัขญา กฎหมาย การเมือง และทุกคนในสังคมในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีผลกระทบจากปัญหาจริยธรรมทางชีวภาพ
จริยธรรมชีวภาพในฝรั่งเศส
จุดเริ่มต้นของการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมชีวภาพในฝรั่งเศส เริ่มจาก กฎหมายการยุติการตั้งครรภ์โดยสมัครใจในปี 1975 โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในสถานการณ์ลำบากสามารถเรียกร้องการตั้งครรภ์ได้ โดยอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ การอนุญาตทำแท้งส่งผลต่อเกิดคำถามและข้อขัดแย้งในสังคม การทำแท้งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระเจ้าหรือไม่ การทำแท้งเป็นการฆ่าชีวิตเด็กในท้องหรือไม่ ตัวอ่อนในครรภ์มีสถานะบุคคลที่กฎหมายรับรองหรือไม่ ในขณะเดียวกัน การตั้งท้องโดยไม่เต็มใจและไม่ยุติการตั้งครรภ์จะส่งผลต่อชีวิตมารดาอย่างไร ขอบเขตของสิทธิมารดาต่อร่างกายของตนเองและสิทธิการได้รับการทำแท้งอย่างถูก ต้องทางสาธารณสุขและต่อสุขภาพเจริญพันธุ์ จะเห็นได้ว่าการทำแท้งเรื่องเดียวส่งผลต่อคนจำนวนมากในสังคม และไม่สามารถหาคำตอบถูกต้องตามธรรมชาติ หรือมีคำตอบสำเร็จรูปในสังคม และจำเป็นต้องมีการร่วมคิดพิจารณา ดีเบต ก่อนออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้
รัฐสภาได้บัญญัติกฎหมาย la loi du 20 décembre 1988 เพื่อวางกฎการทำการทดลองวิทยาศาสตร์โดยต้องได้รับการยินยอมจากผู้ร่วมทำการ ทดลองและไม่ใช่เป็นรูปการค้า และกฎหมาย la loi 29 juillet 1994 กำหนดหลักการได้แก่ ร่างกายมนุษย์กลายเป็นสิ่งซึ่งมิอาจละเมิดได้ และสสารและผลจากร่างกายไม่อาจกลายเป็นกองทรัพย์สิน อีกนัยหนึ่ง ร่างกายมนุษย์ อวัยวะ และสารคัดหลั่ง ของเหลว ไม่อาจนำมาค้าขายได้ กฎหมายฉบับนี้ได้ถูกตอกย้ำหลักการโดยบรรจุในกฎหมายแพ่งและ กฎระเบียบขององค์กรสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่สงยิ่งเรื่องกำหนดเรื่องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะทำได้ในกรณีการนำ อวัยวะจากร่างกายผู้อื่น หรือ ผู้ที่เสียชีวิตแล้วที่ยินยอมบริจาคและห้ามทำการขายอวัยวะ โดยผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็น อวัยวะหรือ ของเหลวจากร่างกายต้องเป็นในรูปการให้เปล่าและเป็นการปิดบังชื่อ ได้มีการวางกรอบการทดลองทางยีน การวินิจฉัยก่อนกำเนิด ส่วนการวิจัยทดลองในตัวอ่อนในครรภ์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการช่วยการมีบุตรนั้น เป็นสิ่งที่ห้ามกระทำ อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ก็ยังมีช่องว่างให้เกิดคำถามตามมาหลายข้อ และสิ่งที่ส่งผลมากที่สุดคือเหตุการณ์ประสบความสำเร็จในการโคลลนิงสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมครั้งแรกแกะดอลลี้เมื่อปี 1997 การโคลนนิงจากความว่างเปล่าเป็นการท้าทายของมนุษย์ที่พยายามทำตัวเทียบเท่า พระเจ้า และส่งผลต่อประเทศคาธอลิคและศาสนจักรมากแม้แต่คนที่นับถือศาสนาเดียวกันก็มี ความเห็นต่างบ้างว่าการโคลนนิงเป็นสิ่งต้องห้าม บ้างว่าการโคลนนิงเป็นสิ่งที่พระเยซูได้ทำเป็นตัวอย่างจากการเสกขนมปังจาก ความว่างเปล่า
และด้วยเทคโนโลยีการช่วยการมีบุตรได้พัฒนามากขึ้น ช่วยทำให้เกิดความหวังแก่คู่รักร่วมเพศในการมีบุตรเป็นของตนเอง หรือคู่ที่มีบุตรยาก เกิดปัญหาซึ่งสัมพันธ์ไปถึงสถาบันครอบครัวและศาสนา
นอกจากนี้การพัฒนาของการทดลองการใช้สเตมเซลล์ในการรักษา ซึ่งสเตมเซลล์เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแบ่งจัวและพัฒนาได้ไปหลากหลายรูป แบบเซลล์ สเตมเซลล์ได้มีการใช้รักษามานานแล้วโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเลือด สเตมเซลล์มีที่มาหลากหลาย เช่น จากรกมารดา แต่สิ่งที่กระทบต่อปัญหามากที่สุดคือ สเตมเซลล์ที่มาจากทารกมนุษย์ (Human embryonic stem cell) การนำเซลล์ชนิดนี้มาใช้หมายถึงการฆ่าชีวิตตัวอ่อน อย่างไรก็ตามการทดลองด้วย Human embryonic stem cell นั้นน่าดึงดูดนักวิทยาศาสตร์และการแพทย์เพราะมีความสามารถสูงในการพัฒนา เพื่อรักษาทางการแพทย์ เช่น โรคสมอง โรคพันธุกรรม ที่เป็นโรคที่ทางรักษาแทบไม่มี การใช้เซลล์เหล่านี้ลดการต่อต้านระหว่างร่างกายของผู้รับและเซลล์ผู้ให้ การทดลอง Human Embryonic stem cell เกิดปัญหาขัดแย้งอย่างสูงในสังคม คำถามเรื่องสภาพทางกฎหมายของตัวอ่อนว่าควรจะมีกฎหมายรองรับตั้งแต่เกิดการ แบ่งตัวหรือไม่ เป็นการฆาตกรรมหรือไม่ เป็นการเห็นแก่ตัวของมนุษย์ปัจจุบันที่ทำลายชีวิตของเด็กรุ่นใหม่เพื่อยืด ชีวิตตัวเองหรือไม่ และเมื่อกฎหมายฉบับเก่าล้าหลังและไม่ทันต่อสภาพการณ์ปัจจุบันในปี 2004 รัฐสภาจึงออกกฎหมายโดยเป็นครั้งแรกที่บรรจุคำว่า จริยธรรมชีวภาพ กฎหมายฉบับนี้มีหลักการคือ ห้ามมีการโดลนนิ่ง ห้ามมีการวิจัยในตัวอ่อน ในสเตมเซลล์ นอกจากการทดลองนี้ถูกกำหนดเวลาชัดเจนไม่เกินห้าปีและต้องได้รับการอนุญาต และมีการสร้างหน่วยทางจริยธรรมทางการแพทย์ และมีการทบทวนกฎหมายจริยธรรมชีวภาพทุกๆห้าปี
ในปี 2011 ได้มีการทบทวนกฎหมายจริยธรรมอีกครั้ง และมีการเปลี่ยนหลักการการบริจาคอวัยวะโดยอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนอวัยวะ ผู้บริจาคระหว่างกันกรณีที่อวัยวะผู้ให้ไม่สามารถเข้ากับร่างกายผู้รับแต่ เข้ากับผู้รับบริจาคอีกคนที่มีโรคใกล้เคียงกัน สาเหตุของกฎหมายนี้มาจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไตที่มากขึ้น แต่จำนวนของผู้บริจาคกลับลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดตลาดมืดค้าขายอวัยวะมากขึ้น และมีการกำหนดนิยามใหม่ของการใช้เทคนิคการแพทย์เข้าช่วยเหลือในการมีลูกและ ด้วยกระแสโลกจากการพัฒนาเรื่องสเตมเซล์และแรงกระตุ้นจากนักวิทยาศาสตร์ใน ประเทศ ทำให้ทางวุฒิสภานำเรื่องการทดลองในตัวอ่อนและการทดลองสเตมเซลล์มาดีเบตอีก ครั้งและยอมรับการอนุญาตการทดลองโดยมีการควบคุม อย่างไรก็ตามรัฐสภารัฐสภายังคงห้ามมิให้พวกรักร่วมเพศใช้เทคโนโลยีการแพทย์ ช่วยมนการมีลูก และไม่อนุญาตการเผยชื่อผู้บริจาคสเปิร์มและไข่ เช่นเดิม ถึงแม้จะมีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนรักร่วมเพศ หรือ เกิดกรณีทนายหญิงคนหนึ่งที่เพิ่งทราบว่าตรเองเป็นเด็กที่เกิดจากการผสมเทียม และเรียกร้องให้เกิดการเผยชื่อผู้บริจาคสเปิร์มเพราะส่งผลต่อการมีสูญเสีย ตัวตน (identity) ของตนก็ตาม

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker