บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุจิตต์ วงษ์เทศ: "วัฒนธรรมร่วม" ในอุษาคเนย์ รากเหง้าเก่าแก่ของประชาคมอาเชียน

ที่มา ประชาไท

 
สุจิตต์ วงษ์เทศ
www.sujitwongthes.com
https://www.facebook.com/sujitwongthes
หมายเหตุ: ต้นฉบับ เขียนให้คณะศิลปศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ | งาน 50 ปี วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2555 | มี 7 หน้า



คลิปการบรรยาย ของสุจิตต์ วงษ์เทศ หัวข้อ "วัฒนธรรมร่วมราก วัฒนธรรมเริ่มแรกในอาเซียน?" เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2555 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
อุษาคเนย์แผ่นดืนเดียวกัน เมื่อล้านๆปีมาแล้ว มี “แผ่นดินซุนดา” (พื้นที่สกรีนดำ) เชื่อมโยงถึงกันทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะปัจจุบัน ตั้งแต่ตอนเหนือ (คือทางใต้ของจีนปัจจุบัน) ลงไปหมู่เกาะทั้งของฟิลิปปินส์, บรูไน, จนถึงตอนใต้สุดของอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา, ชวา ฯลฯ  
เหตุเพราะเมื่อล้านๆปีที่แล้วระดับน้ำทะเลต่ำมากกว่าปัจจุบัน ทำให้พื้นท้องทะเลในมหาสมุทรทุกวันนี้เป็นผืนดินยืดยาวแผ่นเดียวกัน เรียกแผ่นดินซุนดา (Sunda Land) นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุคน้ำแข็ง หรือไพลสโตซีน มีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นที่หลายบริเวณของโลก ทำให้แหล่งน้ำทั้งหลายเหือดแห้งลงจนเกิดสะพานแผ่ˆนดินŽเชื่อมติดกัน

อุษาคเนย์ มีแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
อุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ถ้าพิจารณาด้านสังคมและวัฒนธรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตครอบคลุมบริเวณกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยแบ่งกว้างๆได้ 2 ส่วนคือ แผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะ

แผ่นดินใหญ่
ทิศเหนือ ถึงบริเวณทะเลสาบเตียนฉือที่เมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน (จีน)
ทิศตะวันออกถึงมณฑลกวางสี-กวางตุ้ง (จีน)
ทิศตะวันตก ถึงลุ่มน้ำพรหมบุตรในแคว้นอัสสัม (อินเดีย)
ทิศใต้ ถึงมาเลเซีย-สิงคโปร์

หมู่เกาะ
นอกจากรวมถึงหมู่ˆเกาะอันดามัน (Andaman Islands) กับหมู่ˆเกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามันแล้ว ยังมีขอบเขตครอบคลุมถึงฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางทะเลใต้ เช่น หมู่เกาะในอินโดนีเซีย ติมอร์ และบรูไน ฯลฯ

ไทย
ประเทศไทย นอกจากจะตั้งอยู่ˆกึ่งกลาง (โดยประมาณ) ของภูมิภาคแล้‰ว ลักษณะภูมิศาสตร์ยังเกื้อกูลให้‰เกิดผลดี เนื่องจากมีพื้นที่เป็นแผ่นดินทอดยาวยื่นลงไปทางทิศใต้‰เป็นคาบสมุทรŽมี ทะเลขนาบ 2 ด้านคือ ทะเลจีน ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางตะวันออกกับ ทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันตก ทำให้‰รับประโยชน์Œจากลมมรสุมทะเลอย่างน้อย 2 อย่าง คือการกสิกรรมและการค้า
การกสิกรรม ลมมรสุมจากทะเล 2 ด้าน ทำให้มีฝนตกชุก ส่งผลให้การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารและการประมงในทะเลอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ
การค้า ลมมรสุมจากทะเล 2 ด้าน ทำให้‰มีการเดินเรือทะเลค้าขายกับบ้านเมืองที่อยู่ห่างไกล บริเวณประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางคมนาคมค้าขายทางทะเลมาแต่โบราณ กาล เท่ากับเป็นตัวเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่าง           โลกตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุƒน ฯลฯ กับโลกตะวันตก เช่น อินเดีย อาหรับ เปอร์Œเซีย ยุโรป ฯลฯ จึงส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติในสมัยนั้น
คนไทย, ความเป็นไทย, วัฒนธรรมไทย มีบรรพชนและมีรากเหง้าความเป็นมาร่วมกันอย่างแยกไม่ได้จากอุษาคเนย์

1. “วัฒนธรรมร่วม” ในอุษาคเนย์
อุษาคเนย์มี “วัฒนธรรมร่วม” หลายอย่าง มานานหลายพันปีแล้ว แบ่งกว้างๆเป็น 2 ระยะ คือ ก่อนอินเดียและหลังอินเดีย

ก่อนอินเดีย
ก่อนอินเดีย หมายถึง ก่อนรับอารยธรรมจากอินเดีย ตั้งแต่หลายแสนหลายหมื่นหลายพันปีมาแล้ว จนถึงราว พ.ศ. 1000
คนพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ในอุษาคเนย์ มีวัฒนธรรมร่วมอยู่แล้วก่อนรับอารยธรรมจากอินเดีย เช่น (1) กินข้าวเป็นอาหารหลัก, (2) กับข้าวเน่าแล้วอร่อย, (3) เรือนเสาสูง, (4) ผู้หญิงเป็นหัวหน้า, (5) เซ่นวักสัตว์ศักดิ์สิทธิ์, (6) พิธีศพหลายวัน, (7) ฆ้อง, (8) ท่าฟ้อนระบำรำเต้น
(1)      กินข้าวเป็นอาหารหลัก
คนอุษาคเนย์รู้จักปลูกข้าวแล้วกินข้าวเป็นอาหารหลักตั้งแต่ราว 5,000 ปีมาแล้ว
พันธุ์ข้าวเก่าสุดคล้ายข้าวเหนียว (หรือข้าวนึ่ง) พบที่ถ้ำปุงฮุง (แม่ฮ่องสอน)  กับที่โนนนกทา (ขอนแก่น) แล้วพบพันธุ์ข้าวเจ้าด้วย  แต่ไม่มาก
(2)     กับข้าว “เน่าแล้วอร่อย”
คนอุษาคเนย์กินกับข้าวประเภท “เน่าแล้วอร่อย” เหมือนกัน เช่น ปลาแดก, ปลา ร้า, ปลาฮอก, น้ำบูดู, ถั่วเน่า, กะปิ, น้ำปลา, ปลาเค็ม, ผักดอง  ฯลฯ
การทำให้เน่าแล้วอร่อยเป็นเทคโนโลยีถนอมอาหาร เกี่ยวข้องกับพิธีศพที่มีประเพณีเก็บศพ (ให้เน่า) นานหลายวันตั้งแต่ราว 2,500 ปีมาแล้ว
(3)     เรือนเสาสูง
คนอุษาคเนย์ปลูกเรือนเสาสูงตั้งแต่ตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซีลงไปจนถึงหมู่เกาะ
เรือนเสาสูง ต้องยกพื้น มีใต้ถุนเป็นบริเวณทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน เช่น หุงข้าว, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์, เลี้ยงลูก ตกกลางคืนจึงขึ้นนอนบนเรือนเพื่อหนีสัตว์ร้าย แล้วชักบันไดออก
ใต้ถุนบ้านไม่ได้ทำไว้หนีน้ำท่วม เพราะคนบางกลุ่มปลูกเรือนบนที่สูงเชิงเขาซึ่งไม่มีน้ำท่วมก็ยังทำใต้ถุนสูง
หลังคาทรงสามเหลี่ยมมีไม้ไขว้กัน แล้วคนบางกลุ่มเรียก กาแล เป็นเทคโนโลยีค้ำยันของไม้ไผ่สองลำไม่ให้หลังคายุบ มีในทุกชาติพันธุ์ คนบางพวกใช้กาแลเป็นที่แขวนหัวสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ก็มี  เช่น  หัวควาย
(4)     ผู้หญิงเป็นหัวหน้า
คนอุษาคเนย์ยกย่องหญิงเป็นหัวหน้าพีธีกรรมเข้าทรงผีบรรพชน  เช่น  ผีฟ้า (ลาว), ผีมด (เขมร), ผีเมง (มอญ), ฯลฯ  ผีบรรพชนไม่ลงทรงผู้ชาย เท่ากับหญิงเป็นหัวหน้าเผ่าพันธุ์
คำเรียกหญิงว่า แม่ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ใช้เรียกสิ่งสำคัญ เช่น แม่น้ำ (ทางลาวเรียกน้ำแม่), แม่ทัพ, แม่เหล็ก ฯลฯ
สืบตระกูลทางสายแม่เป็นหลัก ลูกสาวสืบทอดมรดกที่ดินและเรือน ส่วนลูกชายไปเป็นบ่าว คือ ขี้ข้าบ้านผู้หญิง
สืบราชสันตติวงศ์ทางสายแม่ เห็นได้จากวังหน้าต้องเป็นพี่น้องท้อง “แม่” เดียวกันกับวังหลวง ยกเว้นใครก็ได้ยึดอำนาจในหมู่เครือญาติ
(5)     เซ่นวักสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
คนอุษาคเนย์ดั้งเดิมนับถือศาสนาผี (หมายถึง ระบบความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ) แล้วเซ่นวักสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ (หรือคางคก), จระเข้, ตะกวด (เหี้ย), ฯลฯ ที่คนยุคนั้นเชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจบันดาลให้ฝนตกเพราะพบสัตว์เหล่านี้ทุก ครั้งที่ฝนตก และพิทักษ์แหล่งน้ำให้ความอุดมสมบูรณ์
สัตว์พวกนี้มีภาพเขียนบนผนังถ้ำไว้เซ่นวัก บางทีสลักรูปเป็นลายเส้นบนเครื่องมือสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะทำประติมากรรมรูปกบบนหน้ากลองทองไว้ตีขอฝน
(6)     พิธีศพหลายวัน
คนอุษาคเนย์  ตั้งแต่ราว 3,000 ปีมาแล้ว  เมื่อมีคนตายไปจะเก็บศพหลายวันให้เนื้อหนังเน่าเปื่อยย่อยสลายเหลือแต่ กระดูก แล้วเก็บกระดูกมาทำพิธีอีก เรียก พิธีศพครั้งที่สอง
กระดูกที่เก็บมานี้ อยู่ในภาชนะพิเศษทำด้วยดินเผา เรียกหม้อดินเผาหรือแค็ปซูล และหิน มีตัวอย่างสำคัญ เช่น ไหหินในลาว, หีบหินบนปราสาทนครวัดกับหมู่เกาะ
(7)     ฆ้อง
คนอุษาคเนย์ ใช้ฆ้องทำด้วยโลหะ ประโคมตีมีเสียงศักดิ์สิทธิ์ดังกังวาน สื่อสารกับผีหรือเทวดา (หมายถึงอำนาจเหนือธรรมชาติ)
ฆ้องมีหลายขนาด ล้วนสืบประเพณีจากกลองทอง (หรือมโหระทึก) แรกมีขึ้นเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว บริเวณมณฑลยูนนานกับมณฑลกวางสี  แล้วแพร่กระจายลงไปถึงหมู่เกาะ
ระฆัง อยู่ในวัฒนธรรมฆ้อง ประโคมด้วยไม้ตีจากข้างนอก (ต่างจาก bell ของตะวันตก มีลูกกระทบแขวนตีจากข้างใน)
วัฒนธรรมฆ้องไม่มีในตะวันตก จึงไม่มีศัพท์อังกฤษเรียกฆ้อง ต้องใช้ทับศัพท์พื้นเมืองว่า gong
(8)     ท่าฟ้อนระบำรำเต้น
คนอุษาคเนย์กางแขน ถ่างขา ย่อเข่า เป็นหลักในการฟ้อนระบำรำเต้น เรียกสามัญลักษณะ ที่ศัพท์ละครไทยเรียกท่ายืด (ทำเข่าตรง) กับ ท่ายุบ (ทำย่อเข่า)
ท่าเต้น ถ่างขา ย่อเข่า เป็นมุมฉาก ได้จากทำเลียนแบบให้เหมือนกบศักดิ์สิทธิ์  เรียกท่ากบ ยกย่องเป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์  มีหลักฐานภาพสลักตามปราสาทหินในกัมพูชาและไทย เช่น ท่ารำศิวนาฏราช บนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และท่าโนรา, โขน, ละคร (พระ นาง ยักษ์ ลิง) กับ legon ของอินโดนีเซีย

หลังอินเดีย
หลังอินเดีย หมายถึง หลังรับอารยธรรมจากอินเดีย
คนพื้นเมืองรับวัฒนธรรมจากอินเดียมาประสมประสานวัฒนธรรมดั้งเดิม แล้วเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่มีทั้งคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน มี 2 ระยะ คือ (1) รับศาสนาพราหมณ์-พุทธ กับ (2) รับศาสนาอิสลาม
(1)     หลัง พ.ศ. 1000 รับศาสนาพราหมณ์-พุทธ
คนอุษาคเนย์รับศาสนาพราหมณ์-พุทธราวหลัง พ.ศ. 1000 ทำให้รับประเพณีพิธีกรรมอื่นๆพร้อมกันด้วย  ดังนี้
ตัวอักษร ปัลลวะจากอินเดียใต้ หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเป็นอักษรของตนเอง เช่น  อักษรมอญ, อักษรขอม, อักษรกวิ (ใช้ในดินแดนทางใต้ของไทยถึงมาเลเซียและหมู่เกาะอินโดนีเซีย) เป็นต้นทางให้มีความแตกต่างต่อไปข้างหน้าเป็นพวกมอญ, พวกเขมร, เป็นต้น
กราบไหว้ รับจากอินเดียพร้อมพราหมณ์-พุทธทั้งประเพณีกราบและไหว้
บวช รับจากอินเดีย แต่ประสมประเพณีพื้นเมือง ไทยเรียกบวชนาค, ทำขวัญนาค
มหากาพย์ รับทั้งรามายณะและมหาภารตะ แต่ยกย่องรามายณะมากกว่า ไทยเรียกรามเกียรติ์
ลายกระหนก รับจากอินเดียแล้วปรับใช้เรียกต่างกัน เช่น ลายไทย, ลายเขมร, ลายลาว
อาหาร รับพันธุ์ข้าวเจ้าจากอินเดีย และกับข้าวบางอย่าง เช่น แกงใส่กะทิ, ขนมต่างๆ เช่น  กระยาสารท
(2)     หลัง พ.ศ. 1800 รับศาสนาอิสลาม
คนอุษาคเนย์รับศาสนาอิสลามราวหลัง พ.ศ. 1800 แต่แพร่หลายเฉพาะหมู่เกาะ กับดินแดนชายทะเลบางแห่งเท่านั้น เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม นับแต่นี้ไปอุษาคเนย์จะแตกต่างทางศาสนา

2. วัฒนธรรมไทยก้าวหน้า-ล้าหลัง
ล้าหลัง 
วัฒนธรรมไทยถูกสร้างขึ้นมาโดยคนชั้นนำแล้วเป็นสมบัติของคนชั้นนำภาคกลาง  ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ถูกใช้เพื่อรักษาโครงสร้างอำนาจของคนชั้นนำ โดยได้รับความเห็นชอบจากคนชั้นกลางๆขึ้นไป (คนกลุ่มนี้เป็นผู้คุมสื่อและกลไกกฎหมายไว้ในมือ และอาจลงโทษผู้ฝ่าฝืนที่อาจเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมไทย)
เนื้อหาของวัฒนธรรมไทยคือกล่อมเกลาให้ยอมจำนนต่อความไม่เท่าเทียมและยอม จำนนต่อโครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ ดังแสดงออกด้วยการขัดเกลาให้รู้จักที่ต่ำที่สูง, ยกย่องมารยาทของผู้ดี, นอบน้อมต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า เป็นต้น
ด้านพหุวัฒนธรรม คนชั้นนำไทยยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม แต่เป็นการยอมรับพหุวัฒนธรรมอย่างจำยอม และอย่างปลอมๆ คือทำให้เซื่องๆ  เป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์การท่องเที่ยวอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงไม่มีบริบท ไม่มีประวัติศาสตร์  และไม่มีพลังทางการเมืองเพื่อต่อรองสร้างความมั่นคงให้กลุ่มตัวเอง ในที่สุดก็ถูกทางการ “กลืน” ให้เป็นไทย

ก้าวหน้า
ขณะที่วัฒนธรรมไทยของคนชั้นนำถูกแช่แข็งอยู่ข้างบน แต่วัฒนธรรม “ไม่ไทย” ของชาวบ้านมีชีวิตชีวา เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง เห็นได้จากสิ่งที่เรียกว่าอาหารไทยและการแสดงอย่างลิเก, หมอลำซิ่ง
อาหารไทย ล้วนประสมกับอาหารนานาชาติ แล้วเกิดสิ่งใหม่ที่ “อร่อย” เรียกว่าอาหารไทย
การแสดง เช่น ลิเก มีขึ้นจากการเลียนแบบดิเกร์ของมลายูปัตตานีสมัย ร.5 แล้วประสมกับจำอวดและละครนอกดั้งเดิม จนเกิดสิ่งใหม่ที่สนุกสนาน เรียกลิเก
หมอลำซิ่ง มีขึ้นจากหมอลำดั้งเดิม ประสมการแสดงดนตรีสากลแบบลูกทุ่ง เพิ่งเกิดใหม่ไม่นาน ราว 50 ปีนี้เอง
 ทั้งลิเกและหมอลำซึ่งไม่มีกรอบครอบงำ จึงเคลื่อนไหวไปกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างกลมกลืน

3. ความเป็นไทยในวัฒนธรรมอาเซียน
เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปจะเห็นว่าวัฒนธรรมไทยไม่ตอบรับวัฒนธรรมอาเซียน  หรือตอบรับอย่างไม่เต็มใจ ก็เพราะความเป็นไทย
ความเป็นไทย  แสดงออกด้วยอาการยกตนข่มท่าน ดังกรณีเพลงออกภาษา หรือเพลงสิบสองภาษาในดนตรีไทยที่ชื่อเพลงขึ้นต้นด้วยชื่อชาติพันธุ์ต่างๆ
ชื่อเพลงดนตรีไทยขึ้นต้นด้วยชื่อชาติพันธุ์ เริ่มนิยมอย่างแพร่หลายตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 2400 หรือราวรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เพื่อแสดงความเป็นอื่นที่ด้อยกว่า และอวดความเป็นสยามที่เหนือกว่า
แต่อีกด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นลักษณะความสัมพันธ์แบบเครือญาติของสยามกับ เพื่อนบ้านโดยรอบที่ระบุชื่อชาติพันธุ์ เช่น เขมรพายเรือ, พม่าแทงกบ, มอญดูดาว, ลาวกระทบไม้, ญวนทอดแห, จีนขิมเล็ก, แขกต่อยหม้อ, ฯลฯ
เพลงออกภาษา หรือสิบสองภาษา แสดงความด้อยกว่าของคนอื่น และเหนือกว่าของสยาม เห็นได้จากเริ่มต้นด้วยเพลงกราวนอก ถือเป็นทำนองไทย เนื้อร้องแสดงการยกทัพที่มีไทยเป็นแม่ทัพ เพลงต่อไปมีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่ายกทัพไปจับมอญและคนอื่นๆ  ทำนองเพลงต่อจากนั้นเป็นลักษณะที่ไทยยกตนข่มท่านคือเหยียดชาติพันธุ์อื่นๆ ล้วน            ล้าหลังตลกคะนอง, โง่เง่าเต่าตุ่น, และบ้านนอก เป็นต้น
ไทยยกตนข่มท่าน มีเหตุจากประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยย้ำการไม่เป็นเมืองขึ้นของยุโรป “อย่างเป็นทางการ” แต่ทำมองไม่เห็นการเป็นเมืองขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ

ทางแก้ไข
ไทยต้องชำระประวัติศาสตร์แห่งชาติ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อุษาคเนย์  รวมทั้งคนไทยและความเป็นไทยไม่ได้เกิดขึ้นโดดๆ แยกจากอุษาคเนย์ แต่เกิดจากการประสมประสานทั้งทางชาติพันธุ์และทางสังคมวัฒนธรรมของอุษาคเนย์ แล้วมีบรรพชนร่วมกันกับคนอุษาคเนย์
ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเกือบทุกอย่าง ต้องแก้ไขตรงนี้ก่อน ถึงจะแก้ไขเรื่องอื่นๆต่อไปได้ ถ้าไม่แก้ตรงนี้ เรื่องอื่นๆก็แก้ไขไม่ได้ หรือแก้ได้อย่างเปลือกๆ ปลอมๆ ซึ่งเป็นความถนัดของไทยที่ไม่ใกล้ชิดเรื่องจริง

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker