อินเทอร์เน็ตไทยถูกจัดเข้ากลุ่ม "ไม่เสรี"
ตามหลังฟิลิปปินส์ซึ่งขึ้นชั้น "เสรี" และอินโดนีเซีย กับมาเลเซีย
ซึ่งติดกลุ่ม "เสรีปานกลาง"
กลุ่มฟรีดอมเฮาส์ได้ออกรายงานประเมินระดับเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตและ สื่อดิจิตอล ประจำปี 2555 ในชื่อ "Freedom on the Net 2012 : A Global Assessment of Internet and Digital Media"
รายงานระบุว่า ในช่วงของการสำรวจระหว่างเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 พบว่า มี 20 ประเทศที่เสรีภาพในโลกออนไลน์ได้ลดน้อยถอยลง โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้หันไปใช้วิธีการใหม่ๆในการควบคุม เพื่อปิดปากผู้มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลบนอินเทอร์เน็ต
ซันยา เคลลี ผู้อำนวยการโครงการของ Freedom House ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ (http://www.freedomhouse.org/sites/default/files/FOTN%202012%20summary%20of%20findings.pdf) บอกว่า บรรดารัฐบาลอำนาจนิยมเริ่มตระหนักว่า การบล็อกเว็บไซต์และการจับกุมทำให้ประชาชนในประเทศและนานาชาติรุมประณาม จึงได้หันไปใช้วิธีที่แนบเนียนยิ่งขึ้นในการควบคุมการสนทนาทางออนไลน์
ผลสำรวจพบว่า ประเทศเอสโตเนียมีเสรีภาพในโลกออนไลน์สูงที่สุดในโลก ตามด้วยสหรัฐ ขณะที่อิหร่าน, คิวบา และจีน ได้คะแนนแย่ที่สุด โดยมี 10 ประเทศถูกจัดว่า "ไม่เสรี" (Not Free)ประกอบด้วย เบลารุส, ซาอุดีอาระเบีย, อุซเบกิสถาน, ปากีสถาน, ประเทศไทย, เวียดนาม, เมียนมาร์, เอธิโอเปีย, บาห์เรน และซีเรีย
ประเทศที่เสรีภาพได้ถดถอยมากที่สุด คือ บาห์เรน, อียิปต์ และจอร์แดน โดยมีการเซ็นเซอร์, จับกุมคุมขัง และใช้ความรุนแรงกับบรรดาบล็อกเกอร์
ประเทศที่เสรีภาพได้กระเตื้องขึ้นจากปีก่อนหน้า มี 14 ประเทศ โดยบางประเทศมีการเปลี่ยนระบอบการปกครอง หรือเปิดกว้างทางการเมือง เช่น ตูนีเซีย, ลิเบีย และเมียนมาร์ รวมทั้งมีการผ่อนคลายการควบคุมในจอร์เจีย, เคนยา และอินโดนีเซีย ซึ่งเว็บไซต์ในประเทศกลุ่มนี้มีเนื้อหาที่หลากหลายขึ้น และมีการจับกุมหรือเซ็นเซอร์น้อยลง
ประเทศที่ถูกจัดว่า "เสรี" (Free) มี 14 ประเทศ ขณะประเทศที่มี "เสรีปานปลาง" (Partly Free) มี 20 ประเทศ
รายงานได้จัดแบ่งประเทศต่างๆเป็น 3 กลุ่มตามระดับคะแนน ยิ่งตัวเลขคะแนนสูง ยิ่งมีเสรีภาพน้อย คือ เสรี (คะแนน 0-30), เสรีปานกลาง (31-60) และไม่เสรี (61-100)
สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน รายงานระบุว่า ฟิลิปปินส์จัดว่าเสรี (ได้คะแนน 23), อินโดนีเซีย (42) กับมาเลเซีย (43) จัดว่าเสรีปานกลาง ขณะที่ประเทศไทยจัดว่าไม่เสรี โดยได้ 61 คะแนน, เวียดนามได้ 73 คะแนน, พม่าได้ 75 คะแนน และมหาอำนาจเอเชียอย่างจีนได้ 85 คะแนน
Source : AFP ; Freedom House
กลุ่มฟรีดอมเฮาส์ได้ออกรายงานประเมินระดับเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตและ สื่อดิจิตอล ประจำปี 2555 ในชื่อ "Freedom on the Net 2012 : A Global Assessment of Internet and Digital Media"
รายงานระบุว่า ในช่วงของการสำรวจระหว่างเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 พบว่า มี 20 ประเทศที่เสรีภาพในโลกออนไลน์ได้ลดน้อยถอยลง โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้หันไปใช้วิธีการใหม่ๆในการควบคุม เพื่อปิดปากผู้มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลบนอินเทอร์เน็ต
ซันยา เคลลี ผู้อำนวยการโครงการของ Freedom House ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ (http://www.freedomhouse.org/sites/default/files/FOTN%202012%20summary%20of%20findings.pdf) บอกว่า บรรดารัฐบาลอำนาจนิยมเริ่มตระหนักว่า การบล็อกเว็บไซต์และการจับกุมทำให้ประชาชนในประเทศและนานาชาติรุมประณาม จึงได้หันไปใช้วิธีที่แนบเนียนยิ่งขึ้นในการควบคุมการสนทนาทางออนไลน์
ผลสำรวจพบว่า ประเทศเอสโตเนียมีเสรีภาพในโลกออนไลน์สูงที่สุดในโลก ตามด้วยสหรัฐ ขณะที่อิหร่าน, คิวบา และจีน ได้คะแนนแย่ที่สุด โดยมี 10 ประเทศถูกจัดว่า "ไม่เสรี" (Not Free)ประกอบด้วย เบลารุส, ซาอุดีอาระเบีย, อุซเบกิสถาน, ปากีสถาน, ประเทศไทย, เวียดนาม, เมียนมาร์, เอธิโอเปีย, บาห์เรน และซีเรีย
ประเทศที่เสรีภาพได้ถดถอยมากที่สุด คือ บาห์เรน, อียิปต์ และจอร์แดน โดยมีการเซ็นเซอร์, จับกุมคุมขัง และใช้ความรุนแรงกับบรรดาบล็อกเกอร์
ประเทศที่เสรีภาพได้กระเตื้องขึ้นจากปีก่อนหน้า มี 14 ประเทศ โดยบางประเทศมีการเปลี่ยนระบอบการปกครอง หรือเปิดกว้างทางการเมือง เช่น ตูนีเซีย, ลิเบีย และเมียนมาร์ รวมทั้งมีการผ่อนคลายการควบคุมในจอร์เจีย, เคนยา และอินโดนีเซีย ซึ่งเว็บไซต์ในประเทศกลุ่มนี้มีเนื้อหาที่หลากหลายขึ้น และมีการจับกุมหรือเซ็นเซอร์น้อยลง
ประเทศที่ถูกจัดว่า "เสรี" (Free) มี 14 ประเทศ ขณะประเทศที่มี "เสรีปานปลาง" (Partly Free) มี 20 ประเทศ
รายงานได้จัดแบ่งประเทศต่างๆเป็น 3 กลุ่มตามระดับคะแนน ยิ่งตัวเลขคะแนนสูง ยิ่งมีเสรีภาพน้อย คือ เสรี (คะแนน 0-30), เสรีปานกลาง (31-60) และไม่เสรี (61-100)
สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน รายงานระบุว่า ฟิลิปปินส์จัดว่าเสรี (ได้คะแนน 23), อินโดนีเซีย (42) กับมาเลเซีย (43) จัดว่าเสรีปานกลาง ขณะที่ประเทศไทยจัดว่าไม่เสรี โดยได้ 61 คะแนน, เวียดนามได้ 73 คะแนน, พม่าได้ 75 คะแนน และมหาอำนาจเอเชียอย่างจีนได้ 85 คะแนน
Source : AFP ; Freedom House
by
sathitm
26 กันยายน 2555 เวลา 11:41 น.