เขาตอบว่า “ประเทศไทยรักษาประเพณีของระบบราชาธิปไตยไว้ได้แข็งแกร่ง แล้วยังคงอิสรภาพเอาไว้ได้ตลอดประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และสั่นคลอน ขณะเดียวกันก็มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ผมติดตรึงใจอย่างยิ่งในไทยโมเดล”
นางแมเดลีน อัลไบร๊ซ์ (ภาพจากวิกิพีเดีย) |
ในปีพ.ศ.
๒๕๔๓ นางแมเดลีน อัลไบร๊ซ์ ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ
เป็นนักการทูตระดับสูงของประเทศตะวันตกคนแรกที่ได้เข้าพบสนทนากับคิมจองอิล
ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ รายละเอียดส่วนหนึ่งในการสนทนาปรากฏในหนังสืออัตตชีวประวัติของเธอเรื่อง "คุณนายรัฐมนตรี"
หลังจากสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเธอปฏิเสธข่าวลือว่าจะกลับไปสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเช็คโกสโลวาเกีย ประเทศบ้านเกิด แต่หันไปดำเนินธุรกิจบริษัทให้คำปรึกษากิจการระหว่างประเทศ พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการศูนย์กลางที่ปรึกษากิจการระหว่างประเทศบรุ้คกิ้งโดฮา และสถานศึกษากิจการต่างประเทศว้อลส์ มหาวิทยาลัยจ๊อร์จทาวน์
หลังจากสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเธอปฏิเสธข่าวลือว่าจะกลับไปสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเช็คโกสโลวาเกีย ประเทศบ้านเกิด แต่หันไปดำเนินธุรกิจบริษัทให้คำปรึกษากิจการระหว่างประเทศ พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการศูนย์กลางที่ปรึกษากิจการระหว่างประเทศบรุ้คกิ้งโดฮา และสถานศึกษากิจการต่างประเทศว้อลส์ มหาวิทยาลัยจ๊อร์จทาวน์
นางอัลไบร๊ซ์เกิดในประเทศเช็คโกสโลวาเกีย
เป็นลูกสาวคนโตของนักการทูตชาวเช็คที่มีเชื้อสายยิวผสมเล็กน้อย แต่บิดาของเธอเปลี่ยนจากการนับถือลัทธิจูดาไปเป็นนิกายแคธอลิค
และแต่งงานกับสตรียิว ทำให้นางอัลไบร๊ซ์มีเชื้อสายยิวมากกว่าบิดา
แต่เธอก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายเอพิสโคปัล (ซึ่งมีลักษณะเป็นเสรีนิยม –ผู้แปล) แทน
เธอใช้ชีวิตวัยต้นในกรุงลอนดอน
และแปลงสัญชาติเป็นอเมริกันเมื่อบิดาพาครอบครัวขอลี้ภัยในสหรัฐ
เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากวิทยาลัยเวลสลี่ย์ ในแมสซาชูเส็ท (แห่งเดียวกับฮิลลารี่
คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบัน) จบปริญญาโท และเอกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
ในสาขากิจการระหว่างประเทศ โดยเป็นลูกศิษย์ของซบิกนิว เบรซิงสกี้
อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และที่ปรึกษาความมั่นคงของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์
เนื้อหาที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงตอนสั้นๆ
ในบทที่ ๒๗ เกี่ยวกับความพยายามของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐที่จะผูกสัมผัส (engaged) กับผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ
หลังจากที่มีการพยายามคืนสัมพันธ์กันระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้
ถึงขั้นคณะของประธานาธิบดีเกาหลีใต้เดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๓
หลังจากที่คิมแดจุง อดีตผู้นำในการต่อสู้กับเผด็จการในเกาหลีใต้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว
นางอัลไบร๊ซ์กล่าวถึงนโยบาย
“แสงอาทิตย์” ในการคืนดีกับฝ่ายเหนือของประธานาธิบดีคิมแดจุงอย่างชื่นชม
มีการเทียบเคียงคิมแดจุงกับประธานาธิบดีวาแคล็ฟ ฮาเวิล แห่งเช็คโกสโลวาเกีย
และประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดล่า แห่งอาฟริกาใต้ ในฐานะที่ทั้งสามคนเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาสันติภาพ
และต่างเคยเป็นนักโทษการเมืองที่ต่อสู้เพื่อการปลดแอกประชาชนในรัฐบาลเผด็จการของประเทศตนมาเหมือนกัน
บทที่
๒๗ ภายในราชอาณาจักรโดดเดี่ยว*
หนังสือเรื่อง
คุณนายรัฐมนตรี ประวัติชีวิตของนางแมเดลีน อัลไบร๊ซ์ อดีตผู้แทนถาวรสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ
และรัฐมนตรีต่างประเทศสตรีอเมริกันคนแรก แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีบิล คลินตัน
ร่วมเขียนโดยบิล วู้ดเวิร์ด
ร่วมเขียนโดยบิล วู้ดเวิร์ด
หน้า
๔๖๖
คืนนั้นเรามีงานเลี้ยงอาหารค่ำร่วมกัน
คราวนี้ที่แม็กนอเลียฮอล ตามพิธีสารทางการงานเลี้ยงครั้งนี้เราทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าภาพ
ซึ่งหมายถึงรายการอาหารเป็นแบบสองวัฒนธรรม ได้แก่ไก่งวงอบแบบอเมริกันกับผักดองกิมจิ
และนกพิลาป (พร้อมหัว) อบแบบเกาหลี ตามด้วยขนมชอร์ทเค็กราดหน้าสตรอแบรี่
ไวน์แคลิฟอร์เนีย และไวน์เกาหลี กับน้ำเปล่า (อันเป็นที่น่าขอบคุณยิ่ง)
ประธานาธิบดีคิมกับดิฉันแลกเปลี่ยนของขวัญ และคุยกันในประเด็นเศรษฐกิจ
เขายอมรับว่าประเทศของเขาตกอยู่ในภาวะกดดันร้ายแรง หมุนเวียนอยู่ในกงกรรมวายร้าย
เนื่องจากภาวะแล้งน้ำทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำได้
โรงงานผลิตพลังความร้อนจากถ่านหินก็ไม่สามารถทำงานได้เพราะขาดแคลนถ่านหิน และไม่อาจถลุงถ่านหินออกมาใช้ได้เพราะไม่มีไฟฟ้า
ดิฉันถามเขาว่าคิดที่จะเปิดประเทศบ้างไหม
เขาตอบกลับว่า “คำว่าเปิดประเทศของคุณนายมีความหมายอย่างไร
เราจำเป็นต้องให้นิยามคำนี้เสียก่อน เพราะว่าการเปิดนั้นมีความหมายไม่เหมือนกันในประเทศต่างกัน
เราไม่รับการเปิดประเทศในแบบแผนของตะวันตก
การเปิดประเทศไม่ควรที่จะมีผลร้ายต่อประเพณีของเรา”
เขาเพิ่มเติมว่าเขาไม่สนใจในแบบอย่างของจีนที่นำเอาระบบตลาดเสรีมาปนกับ
สังคมนิยม
แต่เขากลับทึ่งในสวีเด็นโมเดล
ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเขาคิดว่าเป็นระบบสังคมนิยม
ดิฉันเกิดความคิดเรื่องเกาหลีเหนือเป็นเหมือนสวีเด็นขึ้นมาจึงถามเขาว่ายัง
มีแบบอย่างอื่นอีกด้วยไหม
เขาตอบว่า
“ประเทศไทยรักษาประเพณีของระบบราชาธิปไตยไว้ได้แข็งแกร่ง
แล้วยังคงอิสรภาพเอาไว้ได้ตลอดประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และสั่นคลอน
ขณะเดียวกันก็มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ผมติดตรึงใจอย่างยิ่งในไทยโมเดล” ดิฉันรำพึงในใจตัวเองว่านั่นเป็นเพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
หรือราชาธิปไตยกันแน่ที่ตรึงใจเขา
............
วันรุ่งขึ้นเครื่องบินของดิฉันบินออกไปทางตะวันออกแล้วลงใต้
ย้อนไปตะวันตกเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่น่าไว้วางใจของเขตปลอดทหาร (ดีเอ็มซี-ผู้แปล)
ก่อนจะบินลงกรุงโซลเพื่อสนทนากับคิมแดจุง และรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น
จากนั้นจึงมุ่งหน้ากลับบ้านพร้อมด้วยสิ่งต้องใจสามประการเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ
ประการ
แรกเป็นข้อคิดในเรื่องการเจรจาสุดยอด
แน่ชัดว่าผู้นำเกาหลีเหนือตอบสนองต่อการเยือนของดิฉันอย่างใส่ใจ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
(สธปก.)
ดูเหมือนจะมีความตั้งใจยอมรับข้อจำกัดจำนวนมากในโครงการจรวดนำวิถีของตนเกิน
กว่าที่เราได้หวังไว้
ดิฉันพยายามเลี่ยงไม่พูดเจาะจงถึงเรื่องค่าตอบแทนใดๆ
แต่ว่ามูลค่าสำหรับสิ่งที่เกาหลีเหนือมุ่งหวังในเรื่องอาหาร
ปุ๋ย และความช่วยเหลือในการส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรในอวกาศ
จะเป็นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันการคุกคามจาก
โครงการจรวดนำวิถี
สิ่งต้อง
ใจประการที่สองอยู่ที่ตัวของคิมจองอิลเอง
ดิฉันสามารถยืนยันกับคิมแดจุงได้เลยว่าผู้นำสธปก.
ฝ่ายตรงข้ามของเขานั้นเป็นคนมีสติปัญญาที่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
เขาถูกโดดเดี่ยว แต่ไม่ได้ปลอดจากข่าวสารข้อมูล
ทั้งที่ประเทศเต็มไปด้วยสภาพการณ์รุมล้อม
เขาไม่ได้ดูเหมือนหมดหวังหรือกังวลแต่อย่างใด เขาดูมีความมั่นใจ
แล้วเขาต้องการอะไรล่ะ เหนืออื่นใด
การมีสัมพันธภาพปกติกับสหรัฐจะช่วยปกป้องประเทศจากสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นการ
คุกคามโดยอำนาจอิทธิพลของสหรัฐ
กับทั้งยังช่วยให้เขาเป็นที่ยอมรับว่ามีความจริงจังในสายตาชาวโลก
โดยส่วนตัวดิฉันจำเป็นต้องเหมาเอาว่าประธานคิมมีความเชื่อมั่นโดยไม่เสแสร้งในกลเม็ดเด็ดพรายที่เขาได้รับการสั่งสอนมา
และมองตัวเองเป็นผู้คุ้มครอง และอุ้มชูประเทศชาติ
ข้อเสียหลักของระบอบคอมมิวนิสต์นั้นอยู่ที่นำเอาสิทธิส่วนบุคคลไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์โดยรวมของสังคม
ดังนั้นเมื่อใดเราลดราคาของสิทธิส่วนบุคคลลงไป มันเป็นหนทางสั้นๆ
ไปสู่การให้คุณค่าแก่การที่มนุษย์ต้องทนทุกข์น้อยลงไปด้วย
การล้างสมองด้วยอุดมการณ์อาจเป็นข้ออ้างที่กลืนเข้าไปได้ง่ายถ้าชนชั้นนำยอมแบ่งปันการเสียสละด้วยบ้าง
ในเกาหลีเหนือก็เหมือนกับในสหภาพโซเวียต
ผู้ที่อยู่ในระดับสูงของสังคมจะคลุกเคล้าพวกตนด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ นานา
การแสดงจิมแนสติกมโหฬารของท่านประธานคิมครั้งเดียวทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่ากับการให้แสงสว่างทั่วนครเปียงยางตลอดอาทิตย์
เขายังต้องรับผิดชอบด้วยตนเองกับการให้อภิสิทธิ์ และความมั่งคั่งแก่พวกนายทหารชั้นสูง
เพียงเพื่อที่จะผลักไสการคุกคามที่อาจมาจากคนกลุ่มเดียวซึ่งสามารถท้าทายอำนาจเขาออกไปได้
ไม่มีใครที่จะยืนหยัดอยู่บนระบบที่โหดเหี้ยมอย่างสธปก.
ได้หากเขาผู้นั้นไม่มีความโหดร้ายด้วยตนเอง
แต่ดิฉันก็ไม่คิดว่าเราจะมีทางออกฟุ่มเฟือยพอที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้กับเขา
เขาคงจะไม่หายไปง่ายๆ และประเทศของเขาถึงจะอ่อนแอเพียงใดก็คงไม่ล่มสลายไปเช่นกัน
ข้อสรุปของดิฉันก็คือเราต้องเข้าไปหาคิมอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแบบธุรกิจ
ไม่รั้งรอที่จะเข้าเจรจาด้วยโดยตรง
และฉวยโอกาสในความเพลี่ยงพล้ำทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือเพื่อกำหนดข้อต่อรองที่จะทำให้ภูมิภาค
และทั้งโลกมีความปลอดภัย
ประเด็น
ที่ผู้นำเกาหลีเหนือ
(คนก่อน) เกิดความซาบซึ้งตรึงใจในไทยโมเดลนี้
มีนักศึกษาชาวอเมริกันที่สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับประเทศไทยคนหนึ่งได้พบข้อมูล
ในหนังสือของนางอัลไบร๊ซ์แล้วแนะนำผู้ที่มีความสนใจคล้ายคลึงต่อๆ
กันมา แล้วได้กระจายออกไป
จุดสำคัญในความน่าสนใจของข้อมูลนี้ที่นักศึกษาผู้นั้นให้ข้อคิดไว้
และเป็นที่กล่าวถึงตรงกันในวงวิชาการก็คือ
“ถ้าถือตามรายงานในหนังสือว่าเป็นจริง
แสดงว่าคิมจองอิลผู้นำเกาหลีเหนือมองหาไทยโมเดลเพราะเป็นประเทศที่มีลักษณาการเหมือนกัน
แต่ว่า (ไทย) ดีกว่า ลักษณาการที่ทั้งสองประเทศมีเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือ
มีระบบราชานิยม/สมบูรณายาสิทธิราชเหมือนกัน (ต่างกันแต่ในรูปแบบ)
อาทิเช่นที่เกี่ยวกับ เจ้าเหนือหัว การสืบทอดอำนาจตามสายเลือด
โดยห้ามตั้งข้อสงสัยต่อความจงรักภักดี”
ส่วนว่าในปัจจุบันเกาหลีเหนือได้มีผู้นำสูงสุดคนใหม่ตามสายเลือดแล้ว
จะยังมองหาประเทศไทยเป็นแบบอย่างต่อไปหรือไม่
เป็นเรื่องที่ผู้รักการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงจะต้องจับจ้องดูต่อไปอย่างตาไม่กระพริบ
เพราะบัดนี้โลกได้เข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ อย่างเต็มตัวเต็มเปา
พลโลกได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศที่แปลกประหลาดไม่เคยปรากฏมาก่อนมากมายหลายอย่าง
เช่นเดียวกับพลเมืองได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค ใครเลยจะคิดว่าอาการ “ผลิใบ” จะเกิดขึ้นได้ในท้องที่ทะเลทราย ดังเช่นอาหรับสปริง
แล้วยังอาจคาดหวังได้ว่าอาเซียนจะกลายเป็นประชาคมภูมิภาคอีกแห่งคล้ายยุโรป
ในระดับชาตินั้นเล่า
เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า
และความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทางการพัฒนาเศรษฐกิจในเวียตนาม
ขณะที่จีนกลายเป็นเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับสองของโลก
ส่วนประเทศไทยนั้นจะสามารถรักษาสถานะอันน่าติดตรึงสำหรับเกาหลีเหนือต่อไปได้ไหม
เศรษฐกิจการตลาดจะสามารถอยู่เคียงคู่ราชาธิปไตยต่อไปอย่างสมานฉันท์กลมเกลียวหรือไม่
เป็นปุจฉาที่ต้องมีวิสัชนาในวงกว้างระดับมวลชนกันอย่างจริงจังแล้ว มิใยที่ปัญหาเชื้อชาติ
ศาสนา อาณาเขตติดแหลมมะลายูจะพลิกผันไปฉันใด
คงจะนำเอามาเป็นข้ออ้างทางการเมืองเรื่องสี
หรือความจงรักภักดีเหมือนพื้นที่สันปันน้ำแดนอิสานไม่ได้อย่างแน่นอน