บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อมูล การบิดเบือน และ “นิยาย” บนพื้นฐานข้อเท็จจริงในรายงาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ

ที่มา Thai E-News

 


การ ที่รายงานคอป.สรุปเสมือนเป็นความจริงว่าศอฉ.มั่นใจว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีผู้ ก่อการร้ายซึ่งมีอาวุธสงครามอยู่นั้น เป็นการสรุปที่มีปัญหาทั้งในทางระเบียบวิธีวิจัยทางวิชาการ และปัญหาจริยธรรมของผู้วิจัย..นอกจากบิดเบือนแล้ว เนื้อหาเกี่ยวกับ คนชุดดำ” ยังเกิดจากวิธีสร้างข้อสรุปแบบ จิตนิยม เกินเลยไปจากที่มีข้อมูลหลักฐานยืนยัน 


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพล พรหมิกบุตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


คณะ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้แถลงและเผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ที่เป็นผลการสอบสวนค้นหาความจริงกรณี เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยแถลงต่อสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งที่โรงแรมแห่งหนึ่งเมื่อวัน ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๕

                   รายงานผลการค้นหาความจริงที่มีความยาวกว่า ๒๐๐ หน้าไม่มีการตรวจสอบหรือวิเคราะห์สรุปความจริงที่อาจเป็นประเด็นสำคัญบาง ประเด็นแต่สามารถส่งผลต่อเนื่องในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้นำรัฐบาลที่แต่ง ตั้งตนเอง เช่น ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ชุมนุมของ นปช.ก่อนวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕ ว่าผู้ชุมนุมได้ใช้ความรุนแรงหรือไม่และการประกาศใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช ๒๕๔๗ ที่เป็นช่องทางให้รัฐบาลสั่งการให้ใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามเข้าสลายการ ชุมนุมในเหตุการณ์ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓นั้นเป็นการประกาศใช้อำนาจโดยมี สถานการณ์ฉุกเฉิน เกิดขึ้นจริงตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่

                   รายงานฉบับสมบูรณ์ของคอป.สร้างขึ้นจากกระบวนการรวบรวมข้อมูลและการค้นคว้าที่ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (documentary research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative) เป็นเครื่องมือหลัก  แต่นักวิชาการที่มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยอาจตรวจพบความบกพร่อง  ความผิดปกติ  และปัญหาการใช้เครื่องมือวิจัยอย่างบกพร่องจริยธรรมทางวิชาการได้ไม่ยากนักจากการตรวจสอบรายละเอียดในเนื้อหารายงานฉบับนั้นเอง

๑.      วิธีการใช้ข้อมูลและการสรุปความจริงในรายงานคอป.
ข้อมูลหลักที่คอป.ใช้ในการสรุปรายงานของตนเป็นข้อมูลเอกสารรวมทั้งข้อมูลที่มีผู้บันทึกไว้ก่อนแล้ว[i] (archival data) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (interview)  ซึ่งคณะทำงานของคอป.รวบรวมเพิ่มเติม[ii]

ข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารและข้อมูลสัมภาษณ์มีปริมาณมากแต่ข้อมูลสำคัญจำนวนหนึ่งถูกบิดเบือน (distorted)  ทั้งการบิดเบือนมาก่อนแล้วโดยแหล่งข้อมูลที่คอป.นำมาใช้อ้างอิงและการบิดเบือนโดยวิธีการเขียนของคอป.เอง

๑.๑.๑ ตัวอย่างของข้อมูลที่มีการบิดเบือนมาก่อนแล้วในแหล่งข้อมูลที่คอป.นำมาใช้อ้างอิง  เช่น  การสรุปข้อมูลเหตุการณ์วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ในรายงานคอป. หน้า ๗๕ ซึ่งคอป.อ้างอิงจากรายงานข่าวใน www.komchadluek ว่า ; “การ ที่สถานีพีเพิลแชนแนลถ่ายทอดการชุมนุมนปช.ที่เวทีราชประสงค์โดยมีการบิด เบือนข้อมูลข่าวสาร....  การถ่ายทอดการชุมนุมดังกล่าวซึ่งถูกประกาศว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและ ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามคำสั่งศาลแพ่งจึงเป็นการทำผิดกฎหมายและสนับสนุนการทำผิด กฎหมาย  ข้อมูลหรือข้อความดังกล่าวถูกคอป.นำมาใช้เสมือนเป็นข้อสรุปเหตุการณ์ดังกล่าวและถูกใช้อ้างอิงซ้ำ ในรายงาน หน้า ๙๑  ข้อมูลดังกล่าวมีการบิดเบือน  เนื่องจากในคำสั่งศาลแพ่งที่ถูกนำมาอ้างนั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ได้วินิจฉัยว่า การชุมนุม (ของนปช.) เป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย  ข้อความในคำสั่งศาลแพ่งส่วนที่กล่าวถึงนี้เป็นการปฏิเสธคำร้องขอของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ที่จะให้ศาลแพ่งใช้อำนาจตุลาการสั่งระงับการชุมนุมของนปช.  แต่ศาลแพ่งทำคำสั่งโดยเขียนในเอกสารคำสั่งศาลแพ่งว่าหากรัฐบาลเห็นว่าเป็น การชุมนุมที่ผิดกฎหมายก็สามารถใช้อำนาจดำเนินการได้เอง[iii]

๑.๑.๒ ตัวอย่างข้อมูลที่มีการบิดเบือนเพิ่มเติมในรายงานคอป. เช่น การสรุปเหตุการณ์วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ กรณีที่นปช.ประกาศยังไม่ยุติการชุมนุม โดยรายงานของคอป. อ้างว่า ; “นายจตุพร พรหมพันธ์แถลงไม่ยอมรับการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาของรองนายกรัฐมนตรี และประกาศชุมนุมต่อไป  ข้อมูลส่วนนี้ในรายงานคอป.มีการบิดเบือนรายละเอียดข้อเท็จจริงเนื่องจากคำ แถลงของนายจตุพรดังกล่าวเป็นการประกาศชุมนุมต่อไปเพราะเหตุที่รองนายก รัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) เดินทางไปที่สำนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษแต่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดี รองนายกรัฐมนตรี ;  

การ สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการสลายการชุมนุมที่มีการใช้หรือเขียนข้อความที่ นำไปสู่ความหมายในทางบิดเบือนข้อเท็จจริงหลายส่วน  เช่น  ข้อความในรายงานคอป. เกี่ยวกับเหตุการณ์ช่วงค่ำวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ว่า  หลังถูกโจมตีด้วยลูกระเบิด  เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธ ปลย.กระสุนจริง ยิงไปในทิศทางที่มีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่น  เป็นข้อความที่กลบเกลื่อนและบิดเบือนข้อเท็จจริงซึ่งพยานบุคคลจำนวนมากได้ให้ข้อมูลในที่ต่าง ๆ ว่าทหารได้ใช้อาวุธสงครามที่บรรจุกระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมที่หนาแน่นมาก่อนแล้วในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่ ก่อน การถูกโจมตีด้วยระเบิดในค่ำวันดังกล่าว[iv]  

ข้อความในรายงานสรุปเกี่ยวกับปฏิบัติการสลายการชุมนุมวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ หน้า ๘๖ ที่คอป. เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจเสมือนเป็นความจริงว่า ; “การกระชับวงล้อมของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจมีความจำเป็น ต้องอาศัยรถเกราะหรือรถสายพานลำเลียงพลเพื่อเป็นเกราะป้องกันอันตรายจาก อาวุธยิงต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่ปฏิบัติภารกิจและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ ชุมนุม เพราะทางศอฉ.มั่นใจว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีผู้ก่อการร้ายซึ่งมีอาวุธสงคราม อยู่  ข้อความนี้ของคอป. นอกจากจะมีผลในการสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์และศอฉ.แล้วยัง สามารถตรวจพบการบิดเบือนความจริงได้ด้วยการเทียบเคียงข้อมูลเพิ่มเติม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทียบเคียงจากข้อมูลในรายงานปฏิบัติการของทางราชการเอง   

กล่าว คือ  ตลอดช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลได้รับคำสั่งจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ให้ติดตามตรวจสอบความเคลื่อน ไหวและรายงานข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับการชุมนุมของนปช.ให้รัฐบาลและศอฉ.รับ ทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ดำเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าผู้ ชุมนุมไม่มีอาวุธ 

การ ที่รายงานคอป.สรุปเสมือนเป็นความจริงว่าศอฉ.มั่นใจว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีผู้ ก่อการร้ายซึ่งมีอาวุธสงครามอยู่นั้นเป็นการสรุปที่มีปัญหาทั้งในทางระเบียบ วิธีวิจัยทางวิชาการและปัญหาจริยธรรมของผู้วิจัย เนื่องจากเป็นการยากที่จะเชื่อว่าคณะทำงานรวบรวมข้อมูลของคอป.ไม่ทราบว่ามี รายงานทางราชการของตำรวจนครบาลที่แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นมาก่อน แล้วว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ  ข้อมูลทางราชการที่นำมาเทียบเคียงได้และอยู่ในวิสัยที่คณะทำงานรวบรวมข้อมูล ของคอป.จะต้องตรวจพบมาก่อนแล้ว (แต่ไม่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ในรายงานของตน  โดยหากนำมาใช้ประกอบด้วยแล้วจะไม่สามารถสร้างข้อสรุปอย่างที่ต้องการสรุปใน รายงานหน้า ๘๖ ดังกล่าได้) คือ ข้อมูลจากรายงานการทำงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ได้รับมอบหมายให้ ประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุม  

ข้อมูล ส่วนนี้นอกจากจะสืบค้นได้จากเอกสารราชการของกองบัญชาการตำรวจนครบาลแล้วยัง สามารถพิสูจน์ทราบได้โดยง่ายจากบันทึกคำให้การในศาลอาญาโดยพลตำรวจตรีวิชัย สังข์ประไพ (ในฐานะพยานในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายวีระ มุสิกพงศ์กับพวกรวม ๑๙ คน) เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๒๕๔๒/๒๕๕๓ 

เนื้อหาในบันทึกคำให้การของพลตำรวจตรีวิชัยที่คัดลอกจากสำเนาเอกสารในราชการศาลอาญารับรองถูกต้องตามกฎหมาย  ระบุข้อความว่า ; “ใน การชุมนุมของกลุ่มนปช. ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ  ข้าฯได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยข้าฯกระทำการในนามของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ข้าฯเป็นผู้ดูแลรักษาความสงบของเหตุการณ์ทั้งหมด  รวมทั้งทำหน้าที่เจรจากับหัวหน้าผู้ชุมนุม นอกจากในเขตรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจนครบาล ๑ ข้าฯยังได้รับมอบหมายและเป็นคณะทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการประสาน งานกับผู้ชุมนุมทั้งหมดทั่วประเทศ  ดังนั้นข้าฯจึงได้ร่วมประสานงานกับกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมทั้งหมด  ในการเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม ข้าฯได้รับความร่วมมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นอย่างดี  โดยเฉพาะในเรื่องการหลีกเลี่ยงการจราจรเพื่อไม่ให้ติดขัด   ในการชุมนุมดังกล่าว เท่าที่ข้าฯไปตรวจสอบ ไม่พบว่าผู้ชุมนุมผู้ใดสะสมอาวุธแต่อย่างใด  ;  

นอกเหนือไปจากข้อความสรุปที่มีการบิดเบือนข้อมูลจากเหตุการณ์จริงแล้วเนื้อหาในรายงานคอป.เกี่ยวกับ คนชุดดำ เช่น ข้อความในรายงานคอป.หน้า ๑๑๒ ยังเกิดจากวิธีสร้างข้อสรุปแบบ จิตนิยม (idealism) ซึ่งเป็นข้อสรุปเกินเลยไปจากที่มีข้อมูลหลักฐานยืนยัน  โดยรายงานคอป. สรุปอ้างว่า ; คนชุดดำได้รับการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากการ์ดนปช.จำนวนหนึ่งด้วย  และรายงานคอป. ยังเขียนรายงานส่วนนี้ ถลำล้ำเส้น ต่อไปอีกว่า ;  โดยผู้ชุมนุมและการ์ดนปช.ไม่ได้ห้ามปรามหรือขัดขวางการปฏิบัติการด้วยอาวุธของคนชุดดำแต่ประการใด[v]

๑.๑.๓ ตัวอย่างข้อมูลที่มีความลำเอียงโดยการเลือก (selection bias) หมายถึงข้อมูลหรือกลุ่มข้อมูลที่ถูกนำไปใช้อ้างใน รายงานการศึกษาโดยเจาะจงเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ข้อสรุปในทิศทางหนึ่งขณะที่ตัดทิ้งข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและผู้ศึกษาทราบว่า เกิดขึ้นจริงแต่จงใจตัดทิ้งเพื่อโน้มนำให้ผู้อื่นเชื่อตามข้อสรุปที่มีทิศ ทางอย่างที่ผู้เสนอรายงานต้องการเผยแพร่  

กรณีการใช้ข้อมูลที่ลำเอียงโดยการเลือกของคอป. ปรากฎตัวอย่างมากมาย เช่น การสรุปรายงานที่นำข้อความจากคำปราศรัยของแกนนำนปช. จำนวนหนึ่งมาเสนอในรายงานคอป. หน้า ๑๖๒-๑๖๗ ซึ่งคอป. ระบุว่าเป็น ข้อค้นพบเกี่ยวกับพฤติการณ์การชุมนุมระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  

ทั้ง นี้เป็นการเลือกเอาเฉพาะกรณีคำปราศรัยส่วนที่มีเนื้อหาเป็นการกระตุ้นความ เตรียมพร้อมของผู้ชุมนุมในการตอบโต้กับการใช้ความรุนแรงของทางราชการ โดยคอป.จัดระเบียบข้อมูลที่นำเสนอเป็นตารางที่อำนวยความสะดวกในการอ่านและตี ความหมายในทางร้ายต่อนปช.ว่าเป็นการชุมนุมที่แกนนำยั่วยุประชาชนให้ใช้ความ รุนแรง[vi]  การเลือกข้อมูลเฉพาะด้านเช่นนั้นเป็นการกระทำที่ขัดจริยธรรมทางวิชาการ  

ทั้ง นี้  ไม่ใช่ด้วยเหตุผลว่าผู้วิจัยไม่สามารถนำเสนอข้อมูลส่วนดังกล่าวในรายงานสรุป ของตน  แต่ด้วยเหตุผลว่าผู้วิจัยจงใจปิดบังข้อมูลการปราศรัยส่วนอื่นที่มีอยู่เป็น จำนวนมากที่เป็นคำปราศรัยในทางป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมก่อความรุนแรง  การปราศรัยที่มีลักษณะสร้างสรรค์ให้ผู้ชุมนุมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทาง ราชการเช่นตำรวจที่ปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมาย  การปราศรัยที่เป็นการแจ้งข้อมูลพัฒนาการของการเจรจาหรือการต่อสู้ทางการ เมืองในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ให้ผู้ร่วมชุมนุมได้รับรู้และเข้าใจ สถานการณ์ที่ผันแปรอย่างรวดเร็วและคาดคะเนล่วงหน้าได้ยาก  รวมทั้งการปราศรัยที่มีเนื้อหาเป็นการเปิดเผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์การ เมืองและหลักการประชาธิปไตย เป็นต้น 

การไม่นำเสนอตารางแจกแจงคำปราศรัยที่ตีความได้ในทางบวกต่อนปช. เป็นความลำเอียงในการเลือกข้อมูลและทำให้รายงานคอป.เป็นเพียง นิยาย ที่แต่งขึ้นบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกเลือกและบิดเบือน  

ใน ขณะเดียวกัน รายงานคอป. ได้นำเสนอตารางสรุปข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการของศอฉ.ในลักษณะที่เป็นการ เลือกใช้เอกสารทางราชการของศอฉ.และเอกสารอื่นที่เป็นบวกกับศอฉ.เป็นสำคัญ (ดู รายงาน คอป. หน้า ๑๗๔-๑๙๔) การนำเสนอข้อมูลส่วนนี้ยิ่งเป็นการเพิ่มปัญหาความลำเอียงในการเลือกข้อมูล ยิ่งขึ้น  และยิ่งทำให้รายงาน คอป. มีสาระสำคัญเป็นการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองมากยิ่งขึ้น

๒. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากรายงานฉบับสมบูรณ์ของคอป.

วิธีการจัดทำข้อมูลและวิธีเขียนข้อสรุปต่าง ๆ ในรายงานคอป.มีผลที่คาดคะเนได้ว่าเป็นผลโดยตรงอย่างน้อย ๒ ประการ คือ 

หนึ่ง การสร้างฐานข้อมูลทางราชการเพื่อรองรับการสรุปหรือการวินิจฉัยที่สร้างความชอบธรรมทางการเมืองและทางข้อกฎหมายให้แก่รัฐบาลและศอฉ. 

และ สอง การสร้างฐานข้อมูลสำหรับการปรักปรำที่อาจดำเนินการต่อไปทั้งในทางคดีความตาม ข้อกฎหมายและการปรักปรำทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยในอนาคตให้ความผิดและ ความรับผิดชอบตกเป็นของนปช.
นอกจากนี้ รายงานคอป.ยังสามารถส่งผลทางอ้อมที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นต่อไป (หากไม่มีการแก้ไขและป้องกัน) ได้แก่ การสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธ์ในอดีตกับผู้สนันสนุนการเคลื่อนไหวของนปช.   ความขัดแย้งดังกล่าวมองเห็นล่วงหน้าได้ไม่ยากนักเนื่องจากสาระสำคัญของรายงานคอป.เต็มไปด้วยข้อความที่ปรักปรำความผิดให้นปช. และแก้ต่างให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์กับศอฉ.ว่ามีสาเหตุและความจำเป็นในการปฏิบัติการสลายการชุมนุมครั้งนั้น

นอก จากนี้ผลทางอ้อมในระยะยาวจากรายงานดังกล่าวยังจะครอบคลุมระบบศึกษาและองค์ ความรู้ทางประวัติศาสตร์การเมืองของไทยให้กลายเป็นองค์ความรู้ของทางการที่ บิดเบือนความจริง   ก่อผลในการสร้างและกล่อมเกลาให้เกิดภาวะความโง่เขลาแก่อนุชนรุ่นหลังที่ไม่ ได้มีชีวิตร่วมสมัยอยู่ในเหตุการณ์แต่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์เหตุการณ์จาก หนังสือตำราและหลักสูตรที่ถูกบิดเบือนล่วงหน้ามาก่อนแล้วโดยบุคคลผู้เกี่ยว ข้องในปัจจุบัน

ผลงานของคอป. โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานฉบับสมบูรณ์ฉบับดังกล่าวของคอป. ไม่สามารช่วยให้เกิดความปรองดองแห่งชาติตามที่อ้างในชื่อคณะกรรมการและคำสั่งแต่งตั้ง  แต่กลับมีผลในทางตรงข้ามคือการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งแห่งชาติเพิ่มเติมซ้ำซ้อน  ด้วยเหตุผลที่ผู้เขียนกล่าวข้างต้น

นอกเหนือไปจากนั้น  เนื้อหาในรายงานคอป. ส่วนที่ ๓ เรื่อง สาเหตุและรากเหง้าของความขัดแย้ง ก็เป็นเพียงการทบทวนทางวรรณกรรมและการนำเสนอหลักการและความคิดเชิงทฤษฎีที่ มิได้พยายามวิเคราะห์ข้อมูลรูปธรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นอันมาก เพื่อสรุปสาเหตุรูปธรรมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงและความขัดแย้งในเหตุการณ์ ที่เป็นกรณีศึกษาดังกล่าวในรายงานส่วนดังกล่าวจึงไม่มีข้อสรุปที่อธิบาย สาเหตุโดยตรงของความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตามที่ตั้งขึ้นให้เป็นโจทย์สำหรับการค้นหาความจริงของคอป.  

รวม ทั้งไม่มีข้อเสนอทางปฏิบัติที่สามารถใช้ประโยชน์เป็นรูปธรรมในการช่วยคลี่ คลายแก้ไขปัญหาเพื่อการปรองดองแห่งชาติตามที่กำหนดในคำสั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการชุดดังกล่าว

การ ทำงานของคอป.  รวมทั้งรายงานฉบับสมบูรณ์ของคอป.เป็นความสูญเสียเพิ่มเติมของประชาชนที่ได้ รับความสูญเสียมากมายมาก่อนแล้วจากเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓
******************************************************************************************************


เชิงอรรถ



[i]  ได้แก่ หนังสือคำสั่งทางราชการ  บันทึกการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ทางราชการ  บันทึกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รายงานรายงานข่าวหนังสือพิมพ์  รายงานข่าวทางสื่ออิเลกโทรนิกส์ของสำนักสื่อมวลชน  บันทึกภาพเหตุการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
[ii]  การสัมภาษณ์ที่คอป.ใช้ในการรวบรวมข้อมูลของตนเพิ่มเติมมีทั้งการสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) และการสัมภาษณ์รายบุคคล
[iii]  การ บิดเบือนข้อความคำสั่งศาลแพ่งฉบับนี้เป็นแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ใช้ประโยชน์อ้างอิงและกล่าวหานปช.ก่อนที่รัฐบาลจะเริ่มออกคำสั่ง ปฏิบัติการให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศฮฉ.) นำกำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามกระสุนสังหารจริงออกสลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓
[iv]  การ ที่ทหารยิงกระสุนจริงใส่ผู้ชุมนุมที่อยู่หนาแน่น  ทั้งในกรณีที่เป็นการยิงใส่ผู้ชุมนุมก่อนและหลังการถูกโจมตีด้วยระเบิด   การยิงใส่ผู้ชุมนุมที่หนาแน่นเช่นนั้นเป็นการผิดกฎหมายและผิดกฎการใช้กำลัง ของทางราชการ เพราะเป็นการยิงใส่ฝูงชนที่มีผู้บริสุทธิ์ปะปนอยู่เป็นจำนวนมากอันสามารถก่อ ผลให้เป็นการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ได้  การกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น
[v]  ภาย ในคณะกรรมการ คอป. และที่ปรึกษา มีทั้งอดีตอัยการสูงสุด  นักกฎหมาย  เอ็นจีโอ  ตุลาการ  และนักวิชาการที่มี และ/หรือเคยมีตำแหน่งระดับสูงในวงราชการและมหาวิทยาลัย  แต่กลับจงใจเขียนรายงานส่วนนี้ที่มีความหมายในทางตำหนิว่าเป็นความผิดหรือ ความรับผิดชอบของผู้ชุมนุมในการห้ามปรามหรือขัดขวางการปฏิบัติการด้วยอาวุธ ของคนชุดดำ  ข้อความส่วนนี้ของ คอป. บ่งชี้ถึง ความลำเอียง (bias) ที่เป็นปัญหาร้ายแรงทั้งในทางวิชาการและทางการเมือง   เนื่องจากเป็นความลำเอียงที่เกี่ยวข้องกับการทำเอกสารที่จะเป็นบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในระยะยาวและยังเป็นบันทึกที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ ทางคดีในศาลและทางการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองต่อไป   ผู้เขียนเห็นว่าหากคณะกรรมการ คอป. ไปปรากฎตัวอยู่ในที่เกิดเหตุในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ที่มีกลุ่มคนชุดดำ ถืออาวุธสงครามปฏิบัติการอยู่เช่นนั้น  คณะกรรมการ คอป. ก็ไม่มีความกล้าหาญประการใดในการเสียสละเสี่ยงชีวิตตนเองเข้าห้ามปรามคนชุด ดำ  ในขณะเดียวกัน  ผู้เขียนเห็นว่าความรับผิดชอบในการขัดขวาง ห้ามปราม และจับกุมคนชุดดำในขณะเกิดเหตุการณ์นั้นเป็นความรับผิดชอบของทหารและศอฉ.ที่ ร่วมกันปฏิบัติการสลายการชุมนุมดังกล่าวและไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้ชุมนุม ที่ปราศจากอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบทางคุณธรรมหนรือความรับผิดชอบทางกฎหมาย  การที่กองทหารที่โอบล้อมพื้นที่ชุมนุมอย่างหนาแน่นในขณะนั้นไม่เข้าขัดขวาง และจับกุมกลุ่มชายชุดดำในเหตุการณ์ช่วงค่ำวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ กลับทำให้เกิดข้อสันนิษฐานหรือสมมุติฐานที่รอการพิสูจน์ด้วยหลักฐานข้อมูล ว่าปฏิบัติการของคนชุดดำเป็นปฏิบัติการของกองกำลังพิเศษภายใต้คำสั่งของฝ่าย ที่ใช้อำนาจสลายการชุมนุมมากกว่าจะเป็นฝ่ายผู้นำการชุมนุม  อย่างไรก็ตาม  คอป. ไม่แสดงเจตนาในการทดสอบสมมุติฐานนี้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ของตน
[vi]  แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงและตรวจสอบความจริงได้ด้วยข้อมูล คือ ความรุนแรงที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และการสูญเสียทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนไม่ได้เกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติ การสลายการชุมนุมตามคำสั่งศอฉ.ที่ให้ใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธจริง   การปราศรัยในกรณีต่าง ๆ ที่คอป.เลือกใช้เป็นข้อค้นพบของตนในตารางเหล่านั้นไม่ได้มีผลทางปฏิบัติเป็น การกระตุ้นให้ประชาชนผู้ร่วมชุมนุมก่อความรุนแรงประการใดที่ทำให้เกิดการสูญ เสียชีวิต  ร่างกาย  และทรัพย์สิน  ความรุนแรงและเหตุการณ์ที่เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓ เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลสั่งการให้ศอฉ.ปฏิบัติการด้วยกำลังและอาวุธกับผู้ ชุมนุม 

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker