บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลงทาง หรือหลงทุน

ที่มา ประชาไท

สถานการณ์ยืนต้นตายของมะพร้าวในหลายพื้นที่ ที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว และทำให้ราคามะพร้าวมีราคาแพงขึ้น จากการระบาดของแมลงดำหนาม และแม้ว่าขณะนี้ การระบาดของแมลงดำหนามจะเบาบางลง แต่ก็ยังพบการระบาดของหนอนหัวดำ ซึ่งกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นต่อเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวให้หมั่นสังเกตต้นมะพร้าวในแปลงปลูกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบหนอนหัวดำซึ่งเป็นศัตรูพืชทำลายมะพร้าวให้ตัดเก็บและเผาใบมะพร้าวที่ถูกทำลายทิ้ง และหากพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงตามคำแนะนำ ซึ่งจะต้องระมัดระวังในการฉีดพ่นเคมีเป็นพิเศษเพราะเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ และสามารถควบคุมหนอนหัวดำด้วยชีววิธี โดยใช้ศัตรูธรรมชาติทำลายหนอนหัวดำ เช่น ใช้แตนเบียนไข่ แตนเบียนหนอน และแตนเบียนดักแด้ รวมทั้งเชื้อราด้วย

กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ยังได้ให้ข้อมูลการระบาดของหนอนหัวดำที่ทำลายต้นมะพร้าวนั้นว่า หนอนดังกล่าวไม่ได้ทำลายแต่ต้นมะพร้าว แต่ยังทำลายต้นตาลฟ้า อินทผลัม ปาล์มประดับ ปาล์มแวกซ์ หมากนวล หมากเขียว หมากแดง จั๋ง กล้วย ซึ่งจะต้องติดตามการระบาดอย่างใกล้ชิด
เมื่อหนอนหัวดำโตเต็มวัย ก็จะเป็นผีเสื้อกลางคืน เวลากลางวันจะเกาะหลบนิ่งอยู่ใต้ใบมะพร้าว หรือในที่ร่ม

น่าแปลกใจหรือไม่ว่าทำไมมะพร้าว ตาล หมาก ปาล์ม กล้วย ที่เป็นพืชอาหารที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของประชาชน จึงถูกทำลายด้วยด้วง หนอน ผีเสื้อ จนเป็นเหตุให้ยืนต้นตาย และยังเป็นศัตรูกับพืชอาหารอื่นๆ อีก มีผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

หากพิจารณาถึงความเป็นธรรมชาติแล้วก็จะเห็นได้ว่า วันนี้สภาพนิเวศวิทยาของโลกนั้น ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วยการเกษตรแผนใหม่ที่ใช้เคมีที่ทำลายหญ้า ทำลายแมลง จนทำให้ห่วงโซ่อาหาร และดุลของธรรมชาตินั้นถูกทำลายลงสิ้นเชิง จนแมลงที่ทำลายแมลงก็ต้องตายกับยาฆ่าแมลง นกไม่มีแมลงเป็นอาหารหรือกินแมลงที่ปนเปื้อนเคมี ก็ต้องตาย หรือไม่สามารถเจริญพันธุ์ต่อไปได้ หรือแม้กระทั่งการคลั่งไคล้เลี้ยงนกในกรง ประกวดประชันขันเสียงชิงรางวัลกัน จนไร้นกที่คอยจับกินหนอนและแมลงต่างๆที่เป็นศัตรูพืช นี่เป็นปัจจัยหนึ่งในปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช

ในปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช กับไม้ยืนต้นสูงๆ อย่างต้นมะพร้าว แล้วจะให้คนเฝ้าระวังคอยดูแลว่ามีแมลงหรือไม่อย่างไรนับเป็นเรื่องยาก ทำไมไม่รณรงค์ให้มีการคืนธรรมชาติ คืนระบบนิเวศให้นกกลับคืนสู่ป่า สู่สวน สู่ไร่ ของประชาชน เพื่อให้นกเป็นหูเป็นตาเฝ้าดักจับกินแมลงให้กับเรา และถึงเวลาหรือยังที่จะต้องทบทวนนโยบายการใช้สารเคมีการเกษตรที่ทำลายระบบนิเวศวิทยา เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประเทศไทย (คสท.) ได้ให้ข้อมูลว่าปัญหาสารเคมีการเกษตรตกค้างในผักผลไม้ของไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ

คณะกรรมการวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานคณะกรรมการนี้ จะต้องประชุมพิจารณานำเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วนในการยับยั้งการใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม อันตรายต่อคนและสัตว์ เพื่อหาหนทางให้ระบบนิเวศวิทยาสามารถฟื้นกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว …

หมายเหตุ อ้างอิง พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%c703/%c703-20-9999-update.pdf


หนอนหัวดำมะพร้าว
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=1396&s=tblplant


เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีจี้รัฐแบน 4 สารเคมีการเกษตรสุดอันตราย
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32834

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker