บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศาลเมินกติการะหว่างประเทศ/ใบรับรองแพทย์ ขังยาวไม่ให้ประกันคนอเมริกันเชื้อสายไทยเหยื่อ112

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 มิถุนายน 2554


เวบไซต์สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ นำเสนอข่าวเรื่อง ศาลเมินกติการะหว่างประเทศ/ใบรับรองแพทย์ : ขังยาวนายเลอพงษ์ ผู้ต้องหาหมิ่น ม.๑๑๒

โดย รายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เวลา 14.00 น. ทนายความและญาตินายเลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสัญชาติไทย-อเมริกันได้ยื่นคำร้องขอประกัน ตัวต่อศาลอาญา โดยในคำร้องระบุอ้าง ”กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ ข้อ ๙. ที่บัญญัติว่า

“บุคคล ใดที่ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวในข้อหาทางอาญา จะต้องถูกนำตัวโดยพลันไปยังศาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่ จะจะใช้อำนาจทางตุลาการ และจะต้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีภายในเวลาอันสมควร หรือได้รับการปล่อยตัวไป มิ ให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณา และจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น

และได้อ้างเหตุอาการความดันโลหิตสูง และเป็นโรคเกาต์ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและจากแพทย์ผู้มีความเชียว ชาญ ซึ่งทางญาติหวังว่าจะได้รับความเมตตาจากศาล

ต่อมาเวลา 16.30 น.ศาล ลงชื่อนายกมล คำเพ็ญ ผู้พิพากษา ได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่าศาลเคยให้เหตุผลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว
"พิเคราะห์ แล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดี และลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสื่อเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดต้าน ซึ่งเชื่อว่าหากปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเยหยิงกับพยานหลักฐาน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ต้องหาและผู้ขอประกันทราบ "


ทั้ง นี้นายอานนท์ นำภา ทนายความ และญาติผู้ต้องหาเห็นว่า คำสั่งศาลอาญานั้น ยังไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้สิทธิการได้รับการปล่อยตัวชั่ว คราวเพื่อคุ้มครองผู้ต้องหา หรือจำเลยเอาไว้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ และมิได้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรมแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ต้องหาเองก็มีอาการป่วย ซึ่งทนายความและญาติจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลอาญาต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ต่อไป
เวบ ไซต์ สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์เผยแพร่เอกสารคำกล่าวหาของDSI กล่าวหาว่าเลอพงษ์ หรือโจ กอร์ดอน เป็นเจ้าของนามแฝงนายสิน แซ่จิ้ว ผู้แปลหนังสือต้องห้ามTHE KING NEVER SMILESออกเผยแพร่ตามเวบไซต์

ทั้ง นี้ นายอานนท์ นำภา ทนายความผู้ต้องหา ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายเลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน โดยญาติยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวในวงเงินเกือบ 2 ล้านบาท โดยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีรายละเอียดดังนี้

ข้อ ๑. คดีนี้ ศาลได้มีคำสั่งให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนเป็นเวลากว่า ๒๐ วันแล้ว โดยพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผผู้ต้องหาเป็นครั้งที่ ๒ อ้างว่าคดีอยู่ระหว่างการสอบพยานและตรวจสอบคอมพิวเตอร์ รายละเอียดปรากฏตามคำร้องขอฝากขังครั้งที่ ๒ ในสำนวนของศาล

ผู้ต้อง หาขอเรียนยืนยันว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิดตามที่พนักงานสอบสวนได้กล่าวหาแต่อย่างใด ผู้ต้องหาประสงค์ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา

ด้วยข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่จะกล่าวต่อไปนี้

๑.๑ ผู้ต้องหาขอเรียนว่าเป็นการควบคุมตัวผู้ร้องระหว่างการพิจารณา กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกายโดยตรงของผู้ต้องหาและไม่เป็นประโยชน์ใดๆต่อการ พิจารณาคดี

ตามหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือผู้ต้องหาไม่มีความผิด”และมาตรา ๓๙ วรรคสามซึ่งบัญญัติว่า “ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดมิได้” ประกอบกับมาตรา ๔๐(๗) ซึ่งบัญญัติว่า “ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ซึ่งสอดคล้องกับ “กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๙” ข้อ ๙ ที่บัญญัติว่า

“๑. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้ บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

๒. ในขณะจับกุม บุคคลใดที่ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้อง
ได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมโดยพลัน

๓. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวในข้อหาทางอาญา จะต้องถูกนำตัวโดยพลันไปยังศาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่ จะจะใช้อำนาจทางตุลาการ และจะต้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีภายในเวลา อันสมควร หรือได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณา และจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น

๔. บุคคลใดที่ถูกลิดรอนเสรีภาพโดยการจับกุมหรือการควบคุม มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้ตัดสินโดยไม่ชักช้าถึงความชอบด้วยกฎหมายของ การควบคุมผู้นั้น และหากการควบคุมไม่ชอบด้วย กฎหมาย” รายละเอียดปรากฏตาม สำเนากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑

ผู้ ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า จากหลักกฎหมายทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามหลักกฎหมายหมายระหว่างประเทศ ล้วนแต่มีเจตน์จำนงค์เพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา หรือจำเลย อันเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมที่ประชาธิปไตย และเป็นหัวใจในการคุ้มครองสิทิเสรีภาพของประชาชนที่รัฐปกครองด้วยระบบ “นิติรัฐ” อย่างประเทศไทย

ผู้ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า การขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนในเรือนจำซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษอื่นๆ ทั้งที่ต้องคำพิพากษาแล้ว และต้องขังระหว่างพิจารณา โดยให้อยู่ร่วมกันและอยู่ในสภาวะเดียวกันย่อมเสมือนหนึ่งว่า ผู้ต้องหาได้ถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดไปแล้ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมขัดกับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศฯ อันเป็นการริดรอนสิทธิของผู้ต้องหาอย่างร้ายแรง และเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ และหลักกติการะหว่างประเทศ ซึ่งนานาอารยะประเทศหาได้ทำกันไม่ ผู้ต้องหาขอศาลได้โปรดมีคำสั่งเพื่อยืนยันหลักการและหลักกฎหมายข้างต้นเพื่อ ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ต้องหาด้วย

ผู้ต้องหาขอเรียนว่าแม้คดีนี้ เป็นคดีเป็นการกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นเรื่องร้ายแรงต่อความรู้สึกของ ประชาชนชาวไทย แต่ผู้ต้องหาขอยืนยันว่าผู้ต้องหามิได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา และจากพฤติการณ์หากผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริง ไฉนเลยผู้ต้องหาจะเดินทางกลับมาในราชอาณาจักรเพื่อให้ถูกดำเนินคดี

นับ แต่ผู้ต้องหาถูกขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ผู้ต้องหาได้รับทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้ต้องตัดหรือแยกผู้ ร้องออกจากสังคม หากนำเอาความรู้สึกของประชาชนต่อข้อหาดังกล่าวมาพิจารณาประกอบและสันนิษฐาน ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิด และจะหลบหนีโดยผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่แสดงให้ศาลเชื่อหรือ เกรงว่าผู้ร้องจะหลบหนี ย่อมเป็นการพิจารณาสภาพแห่งข้อหาและอาศัยความรู้สึกของสังคมมากกว่าพิจารณา จากพฤติการณ์ที่

แท้จริงของผู้ต้องหา การพิจารณาดังกล่าวย่อมไม่เป็นไปตามหลักการแห่งกฎหมาย และอาจเกิดบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ผิดเพี้ยนอันเป็นอันตรายต่อสังคมต่อไป

ผู้ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า แม้ผู้ต้องหาต้องหาคดี ร้ายแรงต่อความ รู้สึกของประชาชน แต่ขณะที่ผู้ต้องหาคดีมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาหลายรายที่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว เช่น คดีนายสุวลักษณ์ ศิวลักษ์ คดีนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือคดีนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท บุคคลดังกล่าวล้วนมีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ ผู้ต้องหาจึงเห็นว่าการปล่อยตัวชั่วคราวควรเป็นไปตามหลักแห่งกฎหมายและ พฤติการณ์ของผู้ต้องหา และแม้ผู้ต้องหาไม่ได้เป็นผู้มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือในสังคม แต่ในฐานะพลเมืองของประเทศคนหนึ่ง ผู้ต้องหาย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

ผู้ต้อง หาขอเรียนต่อศาลว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อน และอ่อนไหวอันเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดบรรทัดฐานอันผิดเพี้ยนในระบบกฎหมายไทยว่าในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ม.๑๑๒ เป็นคดีที่ต้องจำคุกทุกคดี อันเป็นการทำให้ข้อกฎหมายเรื่องการสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาบริสุทธิ ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง

ผู้ต้องหาขอศาลได้โปรดมีคำสั่งไปตามตัวบทกฎหมายเพื่อความยุติธรรมแก่ผู้ต้องหาด้วย

๑.๒ ผู้ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า ปัจจุบันผู้ต้องหาป่วยเป็นโรคเครียด ปวดศีรษะ มีอาการความดันโลหิตสูง และเป็นโรคเกาต์ ซึ่งมีความจำเป้นต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและจากแพทย์ผู้มีความเชียว ชาญ รายละเอียดปรากฏตามใบรับรองแพทย์ โรงพยาบาลเดอะโกลเดนเกท เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๒

ขอ ศาลได้โปรดเห็นแก่หลักมนุษยธรรม ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณาเพื่อให้ผู้ต้องหา ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ด้วย

ข้อ ๒. ด้วยข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ผู้ต้องหาได้นำเรียนต่อศาล ผู้ต้องหาจึงเรียนมาเพื่อขอรับการปล่อยตัวชั่วคราว และได้วางหลักทรัพย์ฌเป็นที่ดินจำนวน ๒ แปลง มูลค่า ๑,๙๗๓,๐๐๐ บาท ตามกฎหมายแล้ว ขอศาลได้โปรดปล่อยตัวชั่วคราว เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และหากศาลเกรงว่าผู้ร้องจะหลบหนี ศาลก็สามารถกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาสัญญาว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอย่างเคร่งครัด

ผู้ ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่าศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายที่จะมีบทบาทในการบังคับใช้ กำหมายเพื่อคุมครองสิทธิเสรีภาพ และสิทธิในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหา เพื่อมนุษยธรรมและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่ผู้ร้อง ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

********
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:

-นิธิ เอียวศรีวงศ์: ความจงรักภักดีอย่างล้นเกิน

-คลิป8-1นักเขียนชื่อดังร่วมกันอ่านจดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนทั่วประเทศ ว่าด้วยมาตรา 112

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker