บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

24 มิถุนากับเสียงเพลงชาติ : บทประพันธ์เนื้อร้องของทหารเป็นสุนทรียภาพถึงกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News



24 มิถุนา 2475 เป็นเหตุการณ์สัมพันธ์ถึงการเกิดประชาธิปไตย และการสร้างเพลงชาติไทย โดยทหาร ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน ถูกเปลี่ยนเป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน

โดย อรรคพล สาตุ้ม

ทำไม รัฐธรรมนูญ หรือประชาธิปไตย จึงถูกคิดว่าเป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลฯ

เป็นกระบวนทัศน์การตีความประชาธิปไตย ในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของ24 มิถุนา 2475 ใช่หรือไม่?(1)

เมื่อ กลับกัน ในช่วงเวลาที่เด็กกำลังเกิด หรือเด็ก กำลังตาย และการตายของลูกย่อมเป็นเหตุการณ์สำคัญของพ่อแม่ หรือพวกเขา แต่สำหรับคนอื่นๆ ในสังคม การเกิดหรือการตายของเด็กชายหรือเด็กหญิง จะถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้หรือไม่?

แล้วคำถามต่อมาว่าใครรับมรดกแทนลูก และพิธีกรรมของครอบครัวต่อผู้ตาย?

ดังนั้น 24 มิถุนา 2475 เป็นเหตุการณ์สัมพันธ์ถึงการเกิดประชาธิปไตย และต่อมาสร้างเพลงชาติไทย โดยทหาร เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน ถูกเปลี่ยนเป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน (ดูเรื่องนี้เพิ่มเติมในวิกิซอร์ซ)

ในแง่มุมปัญหาของคำว่าประชาธิปไตย กับประชารัฐ ในการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนไทย ซึ่งคณะราษฎร ทำให้เกิดเสียงเพลงชาติขึ้น

สำหรับ ประกอบเหตุการณ์สำคัญทางการเปลี่ยนแปลงการเมือง พร้อมระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง สอดคล้องเหตุการณ์สำคัญของสังคมไทยในปัจจุบัน

24 มิถุนา กับคณะราษฎร-เสียงเพลงชาติ โดยเนื้อร้องของทหาร ผู้เป็นนักเขียน(นักประพันธ์)

เหตุการณ์ สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกี่ยวข้อง24 มิถุนา 2475 ที่มีบทบาทของทหารประชาธิปไตยแบบพระยาพหลพลพยุหเสนา และคณะราษฎร

ซึ่ง บทความนี้ของผู้เขียน เป็นการเพิ่มเติมมุมมองกระบวนทัศน์การตีความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ใน “๒๔ มิถุนา: การตีความ ๔ แบบ” และผู้เขียนทบทวนดูบทความเกี่ยวกับเพลงชาติไทยของคนเขียนต่างๆ และบทความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “ความเป็นมาเพลงชาติไทยในปัจจุบัน” เป็นต้น

โดยรายละเอียดข้อถกเถียงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ทหารเกี่ยวโยงคณะราษฎร ในการสร้างเพลงชาติไทย ทั้งทหารเรือ ทหารอากาศ และทหารบก

โดย ถ้าเราย้อนดูความเป็นมาของเพลงชาติดัดแปลงจากทำนองเพลงชาติ "ลา มาเซเยส" (La Marseillaise) ของฝรั่งเศส ซึ่งการดัดแปลงเพลงคล้ายทำนองดังกล่าวของพระเจนดุริยางค์ ได้กลายมาเป็นทำนองสำหรับการแต่งเนื้อร้องเพลงชาติฉบับที่ 1

ที่มี ปัญหาต่อมากับคำว่า “ยึดอำนาจ”ในเนื้อร้อง ซึ่งผู้เขียน กล่าวสรุปอ้างถึงย่อๆว่า ก่อปัญหาการตีความถึงว่าเพลงไม่ควรจะปลุกใจถึงการยึดอำนาจจนเกินไป นี่เป็นการยกตัวอย่างย่อยในปัญหาการตีความเนื้อเพลงชาติ

แม้กระนั้น เมื่อเราลองดูเพลงชาติ ในแง่มุมมอง ที่มีคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา และเราสามารถพิจารณาถึงปัญหาชายแดนผ่านเพลงชาติ ที่มีคำว่าเขตต์แดนสง่า โดยคำร้องที่มาของขุนวิจิตรมาตรา และทำนองเพลงชาติ : พระเจนดุริยางค์ 14 กรกฎาคม 2475 โดยเป็นฉบับที่ 1 ของปลายสิงหาคม 2475

ซึ่งคำว่า เขตต์แดนสง่า ก็มีทั้งของขุนวิจิตรมาตรา และ ฉันท์ ขำวิไล สืบต่อมาถึงเพลงชาติฉบับที่2 ด้วย(ลองหาดูฉบับเต็ม)

แล้ว เพลงชาติไทยในปัจจุบันเป็นเพลงชาติฉบับที่สาม คือ ตอนแรก จะไม่มีการประกวดเพลงชาติ เพียงให้หลวงวิจิตรวาทการ แก้ไขเนื้อเพลงชาติฉบับที่ 2(คือ ขยายความฉบับที่1) ในส่วนของขุนวิจิตรมาตรา แต่ทำมาแล้ว ไม่เป็นที่พอใจ

จึงมีเพลงชาติ ฉบับที่สาม ที่มีเนื้อร้องโดยหลวงสารานุประพันธ์(ลองดูเกร็ดชีวิตเพิ่มเติม ก็คือ เขาเป็นนักเขียน และนักแปลผลงานของนิยายสืบสวนของเชอร์ล็อก โฮมส์ด้วย) โดยภาพรวมของเนื้อร้องเพลงชาติ ก็ไม่มีการแปลเพลงชาติเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในสมัยนั้น

เนื่อง จากเนื้อร้องของเพลงชาติเป็นลักษณะเฉพาะของเพลงชาตินั้นเอง(2) ทำให้เราก็รู้ต่อมาว่าเสน่ห์ของชาตินิยม กับทหาร เหมือนเนื้อร้องเพลงชาติในปัจจุบัน ก็แต่งใหม่โดยหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ที่มาของเพลงชาติ เกี่ยวข้องกองทัพบก ภายใต้รัฐนิยมด้วย

โดยต่อมาการประกวดเพลงชาติ ฉบับที่ 3 ซึ่งบางคนก็ลอกเนื้อร้องของของขุนวิจิตรมาตรา มาเปลี่ยนเฉพาะคำว่าสยามเป็นไทย

และ หลักฐานบันทึกเบื้องหลังความคิดเนื้อเพลงชาติ ฉบับที่หลวงสารานุประพันธ์ ก็มีความคิดว่า จะมีข้อความ คือ ความเป็นชาติไทย,การรวมไทย,การรักษาเอกราชของชาติ,การร่วมรักสามัคคีของ ประชากรแห่งชาติอย่างพี่น้องเป็นภราดรภาพ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น จากบันทึกของหลวงสาราฯ ซึ่งเราดูข้อมูลข้อเท็จจริง และหลักฐานเล่าจากความทรงจำถึงกระบวนการความคิด และเรียบเรียงข้อความเป็นคำ ตามเสียงสูง กลาง ต่ำให้เข้าโน้ตดนตรี โดยทดลองร้องโดยคณะดนตรี ร.พัน 3 และมีคำว่าประชาธิปไตย ส่งเข้าประกวดแล้ว

ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาเนื้อร้องเพลงชาติ ก็ชี้แจงว่า ถือหลักว่า ต้องแต่งให้ร้องได้และชัดถ้อยชัดคำ ซึ่งกองทัพบกเพี้ยนมีเพี้ยน ๓ แห่ง และตัวอย่างที่ถูกขอแก้ไข คือ คำว่าประชาธิปไตย

ดังนั้น ที่ประชุมตกลงกับข้อเสนอ จึงมีการเปลี่ยน “เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน ซึ่งไม่มีประเด็นภาษาอังกฤษของคำว่าประชารัฐดังกล่าว ก็ไม่มีในรายงานประชุมบันทึกไว้ และบันทึกความทรงจำของหลวงสารานุประพันธ์ ก็ไม่มีปรากฏเรื่องการแปลไทยเป็นอังกฤษ

ซึ่งเนื้อเพลงร้องชาติ ฉบับที่ 3 ได้รับการประกาศใช้ในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2482 คือ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน( ปรับเป็น “เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน”)อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคีไทยนี้รักสงบ,แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชไม่ยอมให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

ฉะนั้น ประเด็นคำว่า ประชาธิปไตย เป็นประชารัฐ ในแง่ที่ผู้เขียนเพิ่มเติมแง่มุมอารมณ์ความรู้สึกทางสุนทรียภาพ-ศิลปะ และเสียงเนื้อร้องเพลงชาติ ที่มีเสียงของจินตกรรมในภาพสะท้อนชุมชนร้องเพลงเดียวกัน เป็นพวกเดียวกัน ให้ความรู้สึกของประสบการณ์ร่วมกัน

และ เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของสังคม ในรูปแบบของศิลปะทหาร(3) ในแง่มุมข้อสังเกตของการเปรียบเทียบสำหรับการเปลี่ยนแปลงบริบทของเพลงชาติ จีน ก็ใช้เพลงมาร์ชทหารอาสา เป็นเพลงชาติ ไม่ใช้เพลง The Internationale เป็นเพลงชาติแบบโซเวียตในอดีต เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ภาพด้านหนึ่ง สะท้อนการจัดตั้ง ในแง่มุมระเบียบวินัย ในการสร้างมาตรฐานร่วมกัน ถือเป็นภาพรวมของทุกคนเป็นคนไทยทุกส่วนเป็นส่วนหนึ่งของทหาร คือ ทหาร ก็เป็นส่วนหนึ่งของราษฎร ในเพลงชาติไทยโดยเนื้อร้องของทหารบก+เชื้อชาตินิยม+ชาตินิยม+คณะราษฎร ผสมผสานเป็นเพลงของทหาร

ในบริบทของอดีตกับสะท้อนเหตุการณ์เปลี่ยน ชื่อสยามเป็นไทย และเกิดวันชาติ จนกระทั่ง ความสำคัญธงชาติ เพลงชาติ ก็ต่อมาประเทศไทย เข้าสู่บริบทของสงครามอินโดจีน เช่น การเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในลาวและกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศส โดยยึดเขาพระวิหาร ที่มีการกล่าวหาว่ากระทำแบบฮิตเลอร์ และต่อมาภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ แล้วเกิดประเด็นต่อมา

ความเข้าใจผิดเพี้ยนกับคำว่าประชารัฐ แปลตรงตัวเป็นภาษาอังกฤษว่า Republic เป็นการแปลคำและตีความหมายในประวัติศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อมาในกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย

สุนทรียภาพของเสียงเพลงชาติ กับกระบวนทัศน์ประชาธิปไตยของทหารในปัจจุบัน

นับ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลัง 2475 เป็นต้นมาดังกล่าวนั้น โดยเพลงชาติไทยเกี่ยวพันสมองของคนในชาติ เพราะว่า การผลิตซ้ำผ่านเพลงชาติทุกวันในชีวิตประจำวันของราษฎร ซึ่งเสียงเพลงเข้าสู่สมอง ในด้านแง่มุมของลักษณะเฉพาะของเพลง ก็ดัดแปลงและการลอกเลียนแบบตะวันตก เหมือนประชาธิปไตย ที่ถูกดัดแปลง หรือประพันธ์แต่งเติมสร้างวาทกรรมประชาธิปไตยไทยๆ

แต่ว่าการสร้าง ชาติสมัยใหม่ของคณะราษฎร โดยสร้างเพลงชาติเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ความรู้สึกด้วย และผู้เขียนบทความในแง่มุมประวัติศาสตร์โครงสร้างสภาพแวดล้อมทหาร กับการเมืองมาต่อเนื่องพอสมควร

ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่เกิดจาก 2475 ที่ถูกสฤษดิ์ลบล้างไป คือ วันชาติ ฯลฯ และสฤษดิ์ มองข้ามเพลงชาติ ซึ่งยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการอย่างสฤษดิ์ ที่มีชัยชนะเหนือคณะราษฎร หลังจากปฏิวัติขึ้นมาแทนที่คณะราษฎร

จากนั้นต่อมา หากตั้งคำถามต่อเสียง ในการเมืองไทย จากสฤษดิ์-14 ตุลา 16,6 ตุลา 19,17 พฤษภา35จนกระทั่งหลังรัฐประหารปี2549 และคนขับรถแท็กซี่ ก่อนฆ่าตัวตายประท้วงทหาร เพื่อคำว่า ชาติเช่นเดียวกัน แต่ว่าคนละกระบวนทัศน์ ที่มีชาติ และประชาธิปไตยในมุมของราษฎร

ซึ่งภายหลังก็มีเรื่องเปิดเทปลุงนวมทอง หลังเผา เพราะเขาเป็นทหาร จึงไม่รู้จักคำว่าประชาธิปไตย…

กระนั้น ผู้คน กับบทเรียน ที่เคยมีประสบการณ์ในแง่มุมประชาชน ซึ่งภาพรวม ในแง่มุมของเสียง ความทรงจำจากอดีตของเพลงชาติ กับกระบวนทัศน์ประชาธิปไตยในปัจจุบัน จากการเกิดของเพลงชาติ ที่มีจินตนาการเกี่ยวข้องความรู้จากประสบการณ์ เกี่ยวข้องต่อมา

ซึ่ง ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน พลิกผันอันย้อนแย้งภายใต้การตีความของกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย และเพลงชาติ เช่นกรณีแค่คำว่า “เป็นประชาธิปไตย” เปลี่ยนเป็น “ประชารัฐ” เป็นประเด็นโดยนักเขียน ก็อ้างหลักฐานถึงหนังสือชีวลิขิตของมรว.เสนีย์ ปราโมช คือ ในเพลงประเทศไทยเป็นประชารัฐ แต่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับระบุว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ตรงกับ Kingdom ในภาษาอังกฤษ ส่วนประชารัฐตรงกับภาษาอังกฤษ “Republic.”(4)

นี่แหละตัวอย่าง ประเด็นแค่คำว่าประชารัฐ เป็นการแปลความหมายของนิยามของคำเดียวยังเป็นปัญหาของบทเรียนสื่อสิ่งพิมพ์ เผยแพร่เช่นเดียวกับแบบเรียนส่งผลต่อความทรงจำ และรับรู้เป็นความจริงตามสมองกำหนด ให้มีความหมายแก่ทุกคน โดยบทเรียน และการสืบค้นข้อเท็จจริง

ลำดับเหตุการณ์จากตัวอย่างของอดีตยุคคณะ ราษฎร ในหลายแง่มุม ที่มีการบิดเบือน ทั้งประเด็นของการเมืองจากเหตุการณ์เกี่ยวข้องมาถึงเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553

จากเหตุการณ์ คือ จำนวนผู้ตาย ที่ตายผิดธรรมชาติเป็นเหยื่อของอาวุธสงคราม ถูกยิงที่หัวสมอง ฯลฯ ซึ่งการรณรงค์ถอดเสื้อให้เห็นชีวิตที่เปลือยเปล่า ปราศจากอาวุธ และการร้องประกาศให้เห็นคุณค่าของมนุษย์ ในแง่มุมเสียงเต้นของหัวใจภายใต้ผิวหนังตามธรรมชาติของร่างกาย

เมื่อ ปัญหาภาพรวมของการเมืองไทย ที่ยังไม่สามารถเข้าใจง่าย โดยผลกระทบเหตุการณ์หลังเมษา-พฤษภา 2553 ก็มีผู้ต้องขังยังไม่ได้ออกจากคุก

ฉะนั้น เหตุและผล เป็นเรื่องเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ สัมพันธ์ในแง่มุมของการไม่ให้ชำระประวัติศาสตร์ และล้างเสียง และภาพความทรงจำของอดีตถูกลืมไป(5)

โดยประเด็น ร่างกาย ของพลเมืองภายใต้รัฐชาติ ก็ต้องยืนตรงเคารพเสียงเพลงชาติประกอบธงชาติ โดยในแง่มุมของเสียงเป็นอำนาจต่อร่างกาย ซึ่งข้อมูลลำดับเหตุการณ์ ซึ่งค้นพบว่าจิตวิทยาการเมืองของเสียงเพลง ต่างๆโดยทหาร ใช้กับม็อบการเมือง ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์เพลงวันชาติ 24 มิถุนา ว่าชาติประเทศเหมือนชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย ซึ่งไม่ได้ร่วมรักพิทักษ์ราษฎร์ ที่ร้องเพลงคนละเพลงไปร่วมทำนองเดียวกันไม่ได้



เนื่อง ด้วย กระบวนทัศน์ของการมองเห็นในแง่มุมของหัวสมองของมนุษย์ ที่กลับตรงกันข้ามกันในฐานะผู้ปฏิบัติการ ในที่เกิดเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ระหว่างผู้เป็นทหาร กับไม่ได้เป็นทหาร สะท้อนถึงการ “นิยามของกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย” เป็นปัญหาของสุนทรียภาพ ที่มีเสียงร้องไม่รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด กับราษฎร จากความขัดแย้งไม่รวมกันได้ของทหารกับราษฎร

เมื่อ ประเด็นปัญหาคนในชาติ ไม่เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน ภายใต้ปัญหากรอบรัฐธรรมนูญของรัฐไทยแบ่งแยกไม่ได้ เพราะส่วนกรณีปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนแค่กำกับดูแลให้ยุทธศาสตร์เดินไปข้างหน้า ทั้งนี้ ในพื้นที่ภาคใต้ ยังมีคนที่สมองยังไม่กลับมาอีกเยอะ

ซึ่งเราพยายาม ดำเนินการให้ลดลง และผบ.ทบ. ก็กล่าวสรุปได้เกี่ยวกับปัญหาบ้านเมืองของประเทศไทย เป็นรัฐเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ มีอย่างเดียวจะทำอย่างไรในการรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐขึ้นมา ซึ่งเป็นเพลงชาติที่ทุกคนร้องได้อยู่แล้ว ทำอย่างไรจึงจะทำให้ได้เหมือนเพลงชาติ…(6)

อย่างไรก็ตาม ผู้พูดตอกย้ำหรือ ผลิตซ้ำภาพสะท้อนของสุนทรีย์ของเพลงชาติ คือ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ที่มีอุดมการณ์เชื้อชาตินิยม ซึ่งกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย ในเนื้อเพลงถูกปรับเป็นประชารัฐ และถูกผลิตซ้ำ โดยลบลืมกระบวนทัศน์หลังจากวันที่24-27 มิถุนา 2475 และสืบต่อวาทกรรมที่ตรงกันข้ามมาตรา ๑ ของธรรมนูญการปกครอง ฉบับวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”(7) และเพลงชาติไทย ในปัจจุบัน ก็ถูกประกาศอย่างเป็นทางการในวันรัฐธรรมนูญด้วย

บทส่งท้าย

จาก บทประพันธ์เนื้อร้องเพลงชาติ สะท้อนเสียงสุนทรียภาพ เป็นกรณีตัวอย่างอันกลับตาลปัตรและย้อนแย้งของวาทกรรมโดยทหาร ในปัจจุบัน เมื่อประเด็นรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ถูกผลิตซ้ำโดยทหาร คือ ผบ.ทบ.ไม่สืบต่อประเด็นอำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย ใช่หรือไม่?

ซึ่งเราต้องตั้งคำถามถึงทหารทบทวนดูว่าถูกหรือผิด ที่มีคนเสื้อสีแดงถูกฆ่าตายจำนวนมาก โดยทหารไม่เห็นมีความรับผิดชอบต่อสังคม และอะไรคือประชาธิปไตย ในกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีสื่อต่างชาติติดตามกระบวนทัศน์ประชาธิปไตยอยู่ด้วย

ส่วนสรุป กระบวนทัศน์ของประชาธิปไตยแบบทหาร-คณะราษฎร ที่หายไปกลับคืนมาให้ราษฎร

เป็น ปัญหาใหญ่ ในสมองของคน จึงสัมพันธ์กับจินตนาการของความเป็นชาติ และประชาธิปไตย ท่ามกลางกระแสการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง สำหรับสิ่งเกิดใหม่เป็นความหวัง ความฝันของประชาชน ในการเลือกตั้งว่า ประชาชนมองเห็นคนตาย และคนต้องขัง ต้องได้รับความยุติธรรม เหมือนหัวสมอง ที่มีภาพของตราชูสมอง และตราชั่งของน้ำหนักเหตุผลของความยุติธรรมของชาติร่วมกัน

เพราะ ฉะนั้น เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองร่วมสมัยของเราในปัจจุบัน ซึ่งทหาร เป็นส่วนหนึ่งของราษฎร และทหาร คือ เราต้องไปเลือกตั้ง เมื่อในที่สุดแล้ว เราร่วมไปแสดงพลังเลือกตั้งใช้สิทธิใช้เสียงของประชาชน และเวลาของการเปลี่ยนแปลง จากยุคคณะราษฎร ที่มี 24 มิถุนา 2475 คือ ธรรมชาติของเมล็ดพันธุ์ของกระบวนทัศน์ประชาธิปไตย กำลังเกิดเติบโตจาก 79 ปีของอดีตถึงปัจจุบัน

โดยเราเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์พร้อม จินตนาการของเสียงเพลงชาติ เป็นภาพสะท้อน คนในระบบทุนนิยมก้าวหน้าของประชารัฐและสังคมประชาธิปไตย

********


เชิงอรรถ

1.อรรคพล สาตุ้ม 24 มิถุนากับพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะทหาร และลูกชาย ที่ชื่อประชาธิปไตย (ดูเว็บประชาไทและไทยอีนิวส์)

2.เนื้อ ร้องเพลงชาติฉบับภาษาอังกฤษ Thailand is the unity of Thai blood and body. The whole country belongs to the Thai people, maintaining thus far for the Thai.All Thais intend to unite together. Thais love peace , but do not fear to fight.They will never let anyone threaten their independence.They will sacrifice every drop of their blood to contribute to the nation, will serve their country with pride and prestige--full of victory, Chai Yo.และฉบับภาษาไทย คือ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย.ที่มา: หนังสือ THAILAND in the 90s ของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มาhttp://personal.swu.ac.th/students/fa471010214/lyric.htm และ ดูเพิ่มเติมหนังสือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่ และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน", วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 27 ฉบับที่ 1, ธันวาคม 2547(ดูฉบับย่อของบทความในเว็บประชาไท) และผู้เขียนขอบคุณ สำหรับข้อมูลการแลกเปลี่ยนกับอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ให้ข้อมูลไม่มีเนื้อร้องเพลงชาติไทย ฉบับภาษาอังกฤษ ในสมัยคณะราษฎรนั้น ส่วนความรับผิดชอบของบทความนี้เป็นของผู้เขียนเอง

3. ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ Art in Society และเพลงชาติเยอรมัน ในยุคอิทธิพลนาซี ก็มีปรากฏเพื่อการทหาร ส่วนในสมัยปัจจุบันสำหรับเพลงชาติ เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะสำหรับนักกีฬารับเหรียญ เป็นต้น

4.วาทตะวัน สุพรรณเภษัช ‘เพลงชาติไทย’ กับรัฐบาล “แดกได้-แดกดี” http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=178

และลองค้นดูgoogle.com ดูคำว่า “ประชารัฐ”กับประเด็นราชอาณาจักร หรือkingdom ก็ค้นหาดูเพิ่มเติมได้

5.อรรค พล สาตุ้ม “Big Cleaning Day และเดอะเฮด”: การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติและประชาธิปไตยร่วมกัน (ดูเพิ่มเติมเว็บไทยอีนิวส์ และประชาธรรม)

6. ผบ.ทบ.แนะนึกถึง'เพลงชาติ-สรรเสริญพระบารมี'แก้ปัญหาชาติ โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 มีนาคม 2554 01:00 และดูเพิ่มเติม“ประยุทธ์” แนะนึกถึง “เพลงชาติ” ในการแก้ปัญหาชาติวอนคนไทยคิดถึงส่วนรวมอย่าเห็นแก่ตัว โดย isnhotnews มีนาคม 23, 2011

7.สุพจน์ ด่านตระกูล สืบต่อเจตนารมณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม(ประเทศไทย),๒๕๔๙

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ซีรีส์ชุด 79 ปี 24 มิถุนายน 2475 วันชาติราษฎร

เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

--ค้นพบเอกสารเก่าต้นฉบับ "ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1"

เพราะการเมืองไม่ได้มีแต่เรื่องการเลือกตั้ง 24มิถุนามหาศรีสวัสดิ์นี้ขอเชิญร่วมงานวันชาติราษฎร

24 มิถุนายน 2475 และคดียึดพระราชทรัพย์ร.7

-ก่อนปฏิวัติ24มิถุนาจะสำเร็จมีบรรพชนล้มลงเบิกทาง:เพื่อนเอ๋ยขอฝากไชโยถ้าพวกเรายังมีชีวิตได้เห็น

-บนถนน 2475 : ก่อนวันนั้นจะมาถึง

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker