ที่มา ประชาไท
Sat, 2012-08-18 19:09
Sat, 2012-08-18 19:09
สัมภาษณ์นายยะโก๊ป หร่ายมณี อิหม่ามมัสยิดกลางปัตตานี
ตัวอย่างการจัดการซะกาตหรือทานบังคับของมุสลิม
หลักการอิสลามที่อยู่ถัดจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
จ่ายซะกาต - ชาวบ้านตะบิงติงงี
อ.มายอ จ.ปัตตานี พากันมาจ่ายซะกาต หรือ
ทานบังคับสำหรับมุสลิมในช่วงสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ที่มัสยิดประจำหมู่บ้าน
(ภาพถ่ายโดย ฮัสซัน โตะดง)
เมื่อถือศีลอดแล้วก็ต้องบริจาค
นั่นคือหลักการถัดมาหลังจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิม
ก็คือการบริจาคที่เป็นภาคบังคับหรือทำทานบังคับ ที่เรียกว่า “ซากาต”
เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับซะกาตต่อไปนั่นเอง
ในช่วงปลายๆ ของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม
ในทุกมัสยิดจึงมีสิ่งผิดสังเกตเพิ่มขึ้นมา
นั่นคือถุงข้าวสารที่ตั้งกองพะเนินอยู่
เพื่อรอจำหน่ายให้สัปบุรุษมาซื้อแล้ว นำไปจ่ายซะกาต
โดยมอบหมายให้คณะกรรมการมัสยิดเป็นผู้นำไปแจกจ่าย
ที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ก็เช่นกัน ตั้งแต่คืนวันที่ 16 สิงหาคม
2555 เป็นต้น
ชาวบ้านต่างทยอยเดินทางมารอซื้อข้าวสารและรอจ่ายซะกาตกันอย่างคึกคัก
ซึ่งบรรยากาศจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงวันสิ้นสุดการถือศีลอด
หรือวันอีดิ้ลฟิตรี
อันเป็นวันฉลองการสิ้นสุดการถือศีลอดหรือวันฮารีรายอนั่นเอง
หะยียะโก๊ป หรือ นายยะโก๊ป หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานี
บอกว่า ซะกาติมี 2 ประเภท ได้แก่ ซะกาตมาล
หรือซะกาตทรัพย์สินจากการทำธุรกิจ เป็นซะกาตที่เกี่ยวข้องกับรายได้
ซึ่งเมื่อครบ 1 ปี โดยจะต้องจ่ายในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี
ส่วนซะกาตประเภทที่ 2 คือ ซะกาตฟิตเราะฮ์ ความหมายคือ
ความสะอาดบริสุทธิ์
ซะกาตฟิตเราะฮ์เป็นซะกาตจ่ายเพื่อที่จะล้างมูลทินต่างๆในช่วงเดือนรอมฎอน
หรือ
เป็นซะกาตที่จะไปทดแทนในสิ่งทำให้สูญเสียผลบุญจากการถือศีลอดในช่วงเดือนรอม
ฎอน แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ
ซะกาตประเภทนี้บังคับสำหรับทุกคน
หะยียะโก๊ป ระบุต่อไปว่า
สำหรับสิ่งของที่จะนำมาการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์นั้น
จะเน้นอาหารหลักที่เป็นของท้องถิ่นหรือสิ่งของที่ใช้การรับประทานอาหารใน
ชีวิตประจำวัน ซึ่งในบ้านเราก็คือข้าวสารหรือแปลงเป็นเงินก็ได้
“ข้าวสารที่จะนำมาจ่ายซะกาต คือปริมาณคนละ 1 กันตัง
(มาตรตวงชนิดหนึ่ง) หรือเท่ากับน้ำหนักข้าวสาร 2.4 กิโลกรัม
ปัจจุบันมีราคาประมาณ 60 บาทต่อ 1 กันตัง”
สำหรับบุคคลที่มีสิทธิในการรับซะกาตมีทั้งหมด 8 จำพวก ได้แก่
1.คนยากจน 2.คนที่อัตคัดขัดสน 3.คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม
(เข้ารับอิสลาม) 4.ผู้บริหารการจัดเก็บและการจ่ายซะกาต 5.ทาส
6.ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 7.คนพลัดถิ่นหลงทาง
8.คนที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
หะยียะโก๊ป ระบุว่า
ในแต่ละปีมีประชาชนมาจ่ายซะกาตที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีประมาณ 1,000
กว่าคน ส่วนใหญ่จ่ายเป็นข้าวสารและเงิน แต่ละปีจะได้เงินซะกาตประมาณ
200,000 – 300,000 บาท ทางมัสยิดจะไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มบุคคลทั้ง 8
จำพวกข้างต้น ส่วนข้าวสารที่ได้ทางมัสยิดนำไปขายเพื่อนำเงินมาแจกจ่ายแทน
“คณะกรรมการมัสยิดจะแจกจ่ายภายใน 2-3 วันหลังจากวันอีดิ้ลฟิตรี
โดยให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ซึ่งมี 7 ชุมชนที่ขึ้นกับมัสยิดแห่งนี้
เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มยุวมุสลิม
ไปสำรวจบุคคลที่มีสิทธิจะได้รับซะกาตเป็นประจำทุกปี
โดยปกติมัสยิดแต่ละแห่งจะมีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิที่จะได้รับซะกา
ตฟิตเราะฮ์อยู่แล้ว แต่เหตุที่ต้องสำรวจทุกปี
เนื่องจากบางคนอาจจะสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้
จนกระทั่งพ้นหลักเกณฑ์ของการรับซะกาตแล้ว”
แต่ละปีมีผู้ที่มีสิทธิได้รับซะกาตที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีรับผิด
ชอบอยู่ประมาณ 50 – 60 คน ตามบัญชีของมัสยิด
เฉลี่ยแต่ละคนจะได้รับเงินซะกาตประมาณ 2,000 -3,000 บาทต่อราย
โดยกลุ่มบุคคลที่จะได้รับมากกว่าบุคคลอื่นๆ คือมูอัลลัฟ
(คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลามหรือผู้เข้ารับอิสลาม) ซึ่งปีนี้มีประมาณ 30
คน รองลงมาเป็นคนยากจน
ส่วนคนเดินทางซึ่งมีสิทธิได้รับเงินซะกาตด้วยไม่ค่อยมี
หะยียะโก๊ป ยังยกตัวอย่างด้วยว่า
เคยมีชาวบ้านคนหนึ่งที่คณะกรรมการมัสยิดเคยนำเงินซะกาตไปมอบให้
แล้วเขานำไปซื้อรถเข็นมาประกอบอาชีพจนสามารถสร้างตัวได้
ปัจจุบันเขากลับเป็นคนจ่ายให้ซะกาตให้คนอื่นได้แล้ว
บรรยากาศค่ำคืนนี้ ทุกมัสยิดก็คงจะยิ่งคึกคักขึ้นไปอีก
เพราะทุกคนต่างมุ่งไปยังมัสยิดเพื่อรีบจ่ายซะกาตให้ทันก่อนถึงเวลาละหมาดอี
ดิ้ลฟิตรีในวันรุ่งขึ้น หากทางสำนักจุฬาราชมนตรีประกาศว่า
มีผู้พบเห็นดวงจันทร์และกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางศาสนา “อีดิ้ลฟิตรี”
เพราะหากเลยเวลานั้นไปแล้ว ซะกาตจะกลายเป็นแค่การบริจาคทานธรรมดานั่นเอง