บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

พลาดไม่ได้ โฟนอินครั้งแรกของจรรยา ยิ้มประเสริฐ 2 กันยาฯ ที่ "งานเปิดตัวหนังสือแรงงานอุ้มชาติ"

ที่มา Thai E-News



 

หนังสือแรงงานอุ้มชาติและเชิญชวนร่วมงานเปิดตัวหนังสืออย่างเป็นทางการ

* * * * * * * *

31 สิงหาคม 2555
ที่มา Time Up Thailand

 

โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

ขอเชิญร่วมงาน

เปิดตัวอย่างเป็นทางการ "แรงงานอุ้มชาติ"

2 กันยายน 2555

เวลา 8.30-12.30 น.

ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา (ด้านหลัง) อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

08.30 - 09.15 น. ลงทะเบียน

09.15 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ/ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงาน
โดย สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผอ.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

09.30 - 10.00 น. เปิดตัวหนังสือแรงงานอุ้มชาติ โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ อดีตผอ.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

10.00-10.10 น. พักดื่มชา-กาแฟ

10.10-11.10 น. วิจารณ์หนังสือ และเสวนาหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานไทยกับการสร้างประชาธิปไตยในอนาคต" โดย
  • บรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานศูนย์กลางแห่งประเทศไทย
  • เซีย จำปาทอง เลขาธิการสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.)
  • ศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์
  • จิตรา คชเดช นำเปิดประเด็นสนทนาแลกเปลี่ยน
11.10 - 12.00 น. จิตรา คชเดช นำเปิดประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
12.00-12.30 น. วิทยากรและผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็น

ผู้ดำเนินรายการ พัชณีย์ คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

สนใจซื้อหนังสือแรงงานอุ้มชาติได้ที่งาน
ติดต่อสอบถาม พัชณีย์ คำหนัก 085 0441778

สนใจเข้าร่วมงาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม "เปิดตัวหนังสือชื่อ “แรงงานอุ้มชาติ” : ประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานไทยกับการสร้างประชาธิปไตยในอนาคต"

* * * * * * * *

สำหรับวันที่ 2 กันยายน 2555
ทางผู้จัดและจรรยา จะเตรียมอุปกรณ์สำหรับวีดีโอลิงค์จากฟินแลนด์​
พร้อมฉายภาพประกอบการนำเสนอถึงบทวิเคราะห์และความเป็นมาของ "แรงงานอุ้มชาติ"



* * * * * * * *

การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าวัย หนุ่มสาวและวัยกลางคนแห่งเบดแอนด์บาธและไทรอัมพ์   สร้างประวัติศาสตร์แห่งการก่อเกิด "โรงงานของคนงาน โดยคนงาน เพื่อคนรักความยุติธรรม" และเสื้อผ้ายี่ห้อของคนงาน "Dignity Returns และ Try Arm "Try Arm" Underwear "Fair Trade Fashion"
หน้านี้ในหนังสือเล่มนี้ ร่วมชื่นชมและอุทิศให้การต่อสู้ของคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าไทย จนหลุดพันการเป็นคนงานทาส และประกาศ "กู้ศักดิ์ศรีคืน" ด้วยการสร้างโรงงานของตัวเอง

เรื่องราวการต่อสู้อันมากสีสันของพวกเขาและเธออยู่ในแรงงานอุ้มชาติ

* * * * * * * * *

 

หาซื้อหนังสือแรงงานอุ้มชาติได้ที่ร้าน B2S, Se-Ed, นายอินทร์,
Book : Republic และบนแผงหนังสือของคนเสื้อแดงทั่วไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม "หาซื้อหนังสือ “แรงงานอุ้มชาติ” ตามแผงหนังสือได้แล้ววันนี้"
* * * * * * * * *

ผู้อ่านเขียนถึงแรงงานอุ้มชาติ

1
ไม่ได้มาวิจารณ์หนังสือหรือแนะนำหนังสือ แต่มาชวนซื้อหนังสือ ชวนอุดหนุนกันตรงๆ แบบฮาร์ดเซลล์ ดังนั้นแล้ว บรรทัดด้านล่างจึงไม่มีความจำเป็นต้องอ่าน แค่จำปก จำชื่อเรื่อง แล้วเดินเข้าร้านหนังสือ ซื้อหามาอ่าน เท่านี้การสื่อสารของผมก็ครบถ้วน … ลืมบอกไปว่า ผมซื้อที่ B2S นะครับ
……….

2
ผมไม่มีความรู้เรื่อง "แรงงาน" นัก คงเหมือนกับอีกหลายคนที่เป็น "แรงงาน" แต่ไม่รู้เรื่อง "แรงงาน" เพราะรู้จักแต่งานที่ตัวเองทำ … สิบกว่าปีก่อน อ่านที่ ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ เขียนลงผู้จัดการรายวัน ก็คืนอาจารย์ท่านไปหมดแล้ว ผมเลยกลายเป็น "แรงงาน" ที่ห่างไกลกับมิติต่างๆ เรื่อง "แรงงาน" ออกไปไกลทุกที

ยิ่งถ้าคิดว่า "คำศัพท์" มันมีอีกความหมายที่ไม่ใช่ความ หมายโดยตรง ยิ่งห่างไกล เพราะคำว่า "แรงงาน" นั้นชวนให้คิดถึง คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะอยู่ในนิคมหรืออยู่ห้องแถวก็ตาม และชวนให้คิดถึง "ชนชั้นล่าง" หรือ "กรรมกร" ในฐานะที่พวกเขาเป็นคนใช้แรงงานเข้มข้น มีหน้าที่รับผิดชอบตายตัว

ส่วนแรงงานของชนชั้นกลางที่ชอบพูดกันว่าตนเป็น กรรมกรห้องแอร์ ทำทุกอย่างเป็นเจเนอรัลเบ๊ ผมไม่ค่อยคิดถึงนัก ไม่ใช่เพราะไม่เห็นเหนื่อยยากและความรับผิดชอบที่สูงขึ้นนะครับ แต่เป็นเพราะว่า แรงงานชนชั้นกลางนั้นถึงไม่มี "จิมมี ฮอฟฟา" ช่วย พวกเขาก็ยังมีพลัง "ต่อรอง" ตามทักษะที่ตนมี มีการสั่งสมข้อมูลข่าวสารส่วนตนที่เป็นอิสระจากองค์กร เช่น รายชื่อลูกค้าหรือคู่ค้า และถึงที่สุดแล้วก็มีโอกาสที่จะออกระบบหรือมีทางเลือกอื่นที่พัฒนาขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ "ย้ายโรง" เหมือนแรงงานในโรงงาน แต่ชีวิตก็ยังอยู่ในระบบเดิมๆ … นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการเข้าถึงแหล่งทุนด้วยซ้ำไป
……

สิบปีที่แล้วเหมือนกัน ผมถูกทางบ้านขอให้ไปสมัครงานที่โรงงานแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อยุธยา … ปีที่แล้ว ตอนที่โรงงานในนิคมถูกน้ำเข้าท่วมหนัก ผมก็ใจหาย เพราะผมเคยเข้าไปของานเขาทำและเคยเข้าไปมากกว่าหนึ่งครั้ง เมื่อเห็นภาพแล้วเรื่องราวเก่าๆ ก็วนกลับเข้ามาให้คิดถึง

ถ้าจำไม่ผิด ผมไปสมัครงานในตำแหน่งหัวหน้าควบคุมการผลิต มีหน้าที่ดูแลสาวโรงงานให้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย … งานดี เงินดี เข้างานเป็นกะ มีรถส่งถึงหน้าหมู่บ้านที่ปากเกร็ด มีโรงอาหารราคาไม่แพง แถมมีญาติทำบัญชีอยู่ที่นั่น นี่คือ ข้อดีที่ผู้ใหญ่บอก … ผมก็ไปนะครับ ไปทำข้อสอบภาษาอังกฤษ ไปสอบสัมภาษณ์ แต่ผลออกมาก็คือ ผมไม่ได้งาน เพราะเหตุผลน่ารักๆ บางอย่างที่ผมเข้าใจได้

เสียใจต้องมีแน่เมื่อถูกปฏิเสธ แต่อีกด้านผมกลับโล่งใจ เพราะผมเคยเข้าไปเห็นอะไรๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งไทย ทั้งเทศ ทั้งญี่ปุ่น หลายที่หลายแห่ง ในสถานะต่างๆ ตอนที่ผมเห็นรถบัสนับร้อยคันเข้ามาจอด มันวิ่งคลุมพื้นที่ที่ราบภาค กลางทุกจังหวัด ทั้งสายอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ไปถึงชัยนาทก็ยังมี อีกสายก็ไปทางสระบุรี ปากช่องไปโน่น มันเยอะแยะไปหมด ทำไมคนมันเยอะอย่างนี้ … ผมรู้สึกปวดหัว

อีกเหตุหนึ่งนั้น อาจเป็นเพราะผมอ่านหนังสือมาบ้าง มีคนสอนให้ผมคิด ผมรู้ว่าจะมีประโยชน์อะไร ถ้าผมขอให้สาวๆ เหล่านี้ เพิ่มอัตราการผลิตให้มากขึ้น ทำของไม่ผ่าน QC ให้น้อยลง ลาหยุดให้น้อยลง ลาออกให้น้อยลง มันก็แค่จะต้องทำลายสถิติและทำลายสถิติอีกเหมือนเกมกีฬา ผมจะมีชีวิตอยู่เพื่อทำงานอย่างนี้ ทำตัวดีๆ เป็นลูกพี่ที่วางตัวสุภาพกับลูกน้อง สร้างความสามัคคีอย่างนี้เหรอ ผมรู้ตัวว่าไม่น่าใช่คนเกิดมาเพื่อการณ์ดี … อีกเหตุหนึ่งที่ผมโล่งใจก็คือ

สมัยยังเรียนอยู่ ผมดันไปอ่านหนังสือ "เขาว่าผมคือมืออาชีพ" ของคุณสุจินต์ จันทร์นวล ซึ่งเขียนหนังสือได้สนุกมาก เรื่องราวแปลกใหม่ไม่เคยรู้ มีบทแรกๆ ที่คุณสุจินต์พูดถึงแรงงานในเยอรมันที่ทำชิ้นส่วนรถยนต์หรือเครื่องบินนี่ แหละ เป็นพวกยุโรปตะวันออกนะครับ ประเด็นก็คือ คนเหล่านี้ได้แต่ทำงานแยกชิ้น ทั้งชีวิตจึงไม่มีทักษะอย่างอื่น เป็นคนตาบอดที่คลำช้างไปตลอดชีวิต นี่เป็นความโหดร้ายของระบบโรงงานที่ผมอ่านแล้วจำ

ผมทราบดีว่า "ปัจเจก" ที่มีการศึกษาหรือมีโอกาสย่อมเอาตัวรอดได้ แต่งานหลายอย่างต่อให้เราไม่ทำ แต่มันก็ต้องมีคนอื่นทำ แล้วใครล่ะทำ?

เมื่อมองระดับ "สังคม" ผมคิดถึงหนังเรื่อง Dirty Pretty Things ซึ่งสะท้อนปัญหาในอังกฤษว่า บรรดางานใช้แรงงานเข้มข้น งานบริการที่ได้เงินตอบแทนน้อย มันก็มีคนจากที่อื่นมาทำงานพวกนี้แทนเจ้าของบ้าน แล้วมีชีวิตที่รันทด แถมมีขบวนการมาเฟียมากวนมากมาย ไม่น่าเชื่อว่าประเทศชั้นนำจะมีความสกปรกไม่งดงามแบบนี้แฝงอยู่เหมือนที่ ชื่อหนังบอกไว้ … "รัฐ" เองก็ไม่รู้ไม่ชี้เพราะถือว่าไม่ใช่ประชาชนของตน นี่คือเรื่อง "แรงงาน" อีกมุมที่ผมคิดถึง ซึ่งเราต้องไม่ให้ชีวิตหรือมายาคติบดบังว่า ประเทศเราไม่มีปัญหาซุกซ่อนอยู่ … งานในระบบอุตสาหกรรมยิ่งแล้วใหญ่ เพราะมันคนเกี่ยวข้องนับล้านคน เกี่ยวข้องกับเรื่องทรัพยากร เกี่ยวข้องกับการศึกษา คนที่มาทำแทนเรา หรือจำต้องทำ ย่อมมีมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น
………..

3
ผมเคยสนทนาเคยอ่านบทความเรื่องแรงงานของผู้เขียน "แรงงานอุ้มชาติ" ก็หลายครั้ง วันก่อนยังแซวว่าน่าจะตั้งชื่อ "แรงงานแบกชาติ" แต่เมื่อซื้อมาอ่านแล้วก็พบว่า เธอเขียนไว้จริงๆ ในบท "คนชนบทแบกประเทศ" ผมลองอ่านสลับบทไปบ้าง แล้วมานั่งคิดหลายอย่าง ผมถามตัวเองว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร?

ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ "นักศึกษา" จะต้องอ่านนะครับ เหมาะกับนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ไม่เช่นนั้นแล้วระบบการศึกษาของเราก็จะสร้างแต่คนออกไปบังคับบัญชา โดยไต่เต้าจากตำแหน่งที่ผมเคยไปสมัคร เหมือนการสร้างนักปกครองในสมัยเก่านั่นแหละ คนแบบนี้ก็จะมีวิธีคิด วิธีมองโลกอีกแบบหนึ่ง เพราะความจริงเรื่องแรงงานจากปากแรงงานเองโดยตรงไม่เคยอยู่ในสื่อกระแสหลัก เรื่องหนังสือเรียนไม่ต้องพูดถึง นิยาย วรรณกรรมสมัยนี้ ก็เชยเสียแล้วถ้าจะพูดเรื่องแรงงาน เพราะชนชั้นกลางก็สับสนในตัวเอง … การจะแก้ปัญหาอันซับซ้อนของแรงงานไทยได้ ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกันก่อน

ในเล่มยังมีเรื่องร่วมสมัยอย่าง "ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" อีกด้วย ซึ่งเป็นปัญหาของคนนอกระบบโรงงานเสียด้วยซ้ำ นี่ก็สะท้อนความเป็นจริงอีกเช่นกัน ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะรู้เรื่องแรงงานหรือชนชั้นแรงงานหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นหนังสือเกี่ยวกับแรงงานที่สามารถช่วยให้ทำความเข้าใจประเทศไทยได้ เป็นอย่างดี โดยที่เราไม่ต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มาก็เข้าใจได้

แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้เขียนพูดถึงการเมืองไทยไว้ด้วย กับปัญหามากมายนั้นถ้าไม่พูดถึงโครงสร้างทางการเมือง ไม่พูดเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่พูดเรื่องประวัติศาสตร์ ก็เหมือนพูดไม่สุด จับไม่มั่น คั้นไม่ตาย ผู้ร้ายยังรอดมือละม่อม

ดังนั้นแล้วหนังสือเล่มนี้ จึงมีความเป็นหนังสือการเมือง (อาจมากกว่าเป็นหนังสือแรงงานด้วยซ้ำไป) ซึ่งเป็นการเมืองร่วมสมัยในยุคเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของเรา คือ ทันสมัยนั่นเอง อาจกล่าวได้ว่า บรรดาแรงงานทั้งหลายนั้นก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "การต่อรอง" ทางการเมืองไปเรียบร้อยแล้ว รู้ว่าการเมืองเป็นเครื่องมือที่ทำได้ทุกอย่าง และพวกเขาก็มีสิทธิใช้มันเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นโดยไม่ต้องมีใครมาเห็นใจ ให้ทาน เมื่อเกิดการตื่นตัวทางการเมืองจึงไม่ได้เป็นแค่กลุ่มที่ต้องการแค่การ ประกาศนโยบายธรรมดาๆ ในวันที่ 1 พฤษภาอีกต่อไป
………….

4
ดังที่เรียนไว้ข้างต้นว่า ผมเป็น "แรงงาน" ที่ห่างไกลกับมิติต่างๆ เรื่อง "แรงงาน" ออกไปไกลทุกที … เพราะผมไม่ใช่นักกิจกรรมหรือนักต่อสู้ด้านนี้ ทั้งยังไม่ใช่นักบริหาร ชาวเอ็มบีเอ หรือนักการตลาดที่จะมีความรู้และมีตัวเลขล่าสุดในมือ ผมแค่พยายามใช้ "แรงงาน" กลางดึกในค่ำคืนที่วันพรุ่งก็ต้องออกไปใช้แรงงานแต่เช้าไม่ต่างจากทุกคนที่ ใช้แรงงานอ่านมาถึงบรรทัดนี้ โดยหวังว่ามันจะมีความบันเทิงหรือแง่คิดอะไรบ้างเล็กๆ น้อยๆ ฉะนั้น ถ้ายังไม่เข้าใจ กรุณาย้อนกลับไปอ่านข้อ 1 ใหม่อีกครั้ง
…………

หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมคิดถึง ครั้งหนึ่งที่ชีวิตเฉียดใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เกือบได้เป็นหนุ่มโรงงานใส่เสื้อช้อปเสียแล้ว นี่ถ้าพยายามจริงๆ จะเอาจริงๆ ก็คงได้เป็น มันทำให้ผมคิดถึงความรู้สึกของเด็กอายุ 24  ปีที่อีกไม่นานชีวิตก็หักเห … หักเหจนทำให้ผมเขียนหนังสือมากขึ้น เขียนโดยแทบที่จะไม่มีใครใช้มาแรงงานอ่านมัน คนที่เคยอ่านมันก็ไม่อ่านอีกต่อไป

ในตอนนั้น … เมื่อไม่ได้งาน ผมนั่งทำงานพิเศษกับเพื่อน แล้วผมก็หางานใหม่อีก ต่อมาก็ออกมาเช่าอพาร์ทเมนต์อยู่ในเมือง เรื่องนี้ทำให้ผมรู้ซึ้งถึงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำดี ยิ่งเมื่อผมยอมไปเป็น "แรงงาน" ที่ทั้งใช้แรงงานและแรงใจที่ได้เงินน้อยกว่างานในโรงงานอีก สวัสดิการอะไรก็ไม่มีเท่า ผมยิ่งตระหนักมากขึ้น  บางครั้งชีวิตก็เป็นตลกร้ายนะครับ ผมคิดแบบนั้นเพื่อแลกกับอะไรบางอย่าง

ในตอนนั้น … บางเวลาที่ผมเดินกลับบ้านช่วงหัวค่ำ ผมเดินผ่านหน้าบุญถาวรรัชดา แล้วข้ามสะพานลอยมายืนรอรถเมล์อีกฝั่ง แต่บางวันผมยืนอยู่กลางสะพานลอย แม้จะมองไม่เห็นกำแพงโรงงาน ประตูโรงงานของตัวเอง แต่บางครั้งผมก็รู้สึกเจ็บ จนถึงกับต้องเดินเข้าออกโรงงานอีกหลายแห่งเพื่อรอวันย้ายโรง

* * * * * * * *
 
21วันเต็มๆกับการอ่านงานเขียนที่อ่านยากที่สุดในรอบปี ปล่าวครับไม่ได้อ่านยากเพราะเป็นงานทฤษฎีหนักๆยากๆอะไร ตรงข้ามมันมีแต่ภาษาบ้านๆธรรมดาๆไม่มีถ้อยคำฟุ่มเฟือยร้อยรัดร่วมเรียงวาท กรรมแบบกวีใหญ่ปราชญ์สอพลอพวกนั้น
เหมือนนั่งฟั่งคนในครอบครัวเราเล่าให้ฟังว่าไปเจออะไรมานั่นแระ
แต่ที่มันยากคืออ่านได้แค่ทีละบท2บท ไม่มีปัญญาอ่านต่อเนื่องได้มากกว่านั้น เพราะระหว่างอ่านต้องพักร้องไห้อยู่ เรื่อยๆ การอ่านรวดเดียวอาจทำให้คุณเป็นคุณซึมเศร้าได้ อาจจะมีคนวิภากษ์หนังสือเล่มนี้หรือคนเขียนกันไปมากแล้วหลากหลายแง่มุม แล้วแต่ใครจะคิดยังไง .....
สำหรับผมความเห็นเดียวที่พอจะคิดได้ตอนนี้หลังจากอ่านจบคือ ..........
ผมว่ามันเป็นหนังสือที่ไม่สนุกเลย อ่านแล้วผมหมดแรง หดหู่ สะเทือนใจและทำให้ผมเสียน้ำตาบ่อยเกินไป เป็นน้ำตาของคนอ่าน ไม่ใช่น้ำตาของคนคอย ซึ่งผมคิดว่ามันต้องหนักหนาสาหัสมากสำหรับเขา ครั้งสุดท้ายที่มีอาการนี้ตอนอ่านหนังสือ คือตอนอ่านงานแม่ ของแม็กซิมกอกี้ ความเห็นอื่นตอนนี้ยังไม่มีครับคิดอะไรไม่ออก............

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker