Sat, 2012-09-08 20:42
ผู้นำฝ่ายค้านชี้ต้องเปิดพื้นที่หาช่องทางพูดคุยกับผู้เห็นต่าง
ดึงประชาสังคมช่วยคุยกับขบวนการ อดีตนายกฯ มาเลเซียมอง “การปกครองตนเอง”
เป็นทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาภาคใต้
ในวันที่ 7 กันยายน 2555 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ได้มีการงานจัดการประชุมวิชาการนานาชาติรัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์และสันติศึกษาในบริบทอาเซียน โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านและนายมหาเธร์ โมฮัมหมัด
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ
“วิสัยทัศน์ผู้นำว่าด้วยการเมือง ความขัดแย้ง
และสันติภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน”
นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวว่าปัญหาความรุนแรงในภาคใต้มีผลกระทบอย่างลึก
ซึ้งต่อเป้าหมายในการสร้างสังคมที่อย่างสันติซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเป้าหมาย
ระดับชาติเท่านั้น แต่เป็นเป้าหมายในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย
โดยต้องใช้ 3 เสาหลักในการแก้ปัญหา คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะไม่ประสบความสำเร็จ หากขาดเสาหลักอันใดอันหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าสำหรับประเทศในอาเซียน
แม้ว่าจะมีกลไกในการแก้ไขข้อขัดแย้งหลายๆ อย่าง เช่น
การประชุมระหว่างสหประชาชาติกับอาเซียน
แต่ก็ยังไม่มีกรอบเชิงสถาบันที่ชัดเจนของอาเซียนในการแก้ไขข้อพิพาทที่มี
อยู่ในภูมิภาค
“ความหลากหลายเป็นเรื่องที่เราต้องส่งเสริมเพราะว่า
เราไม่สามารถที่จะทำให้คนทุกคนเหมือนกัน
ดังนั้นความท้าทายอยู่ที่จะไปลบล้างความหลากหลายทิ้งไป
แต่ความท้าทายอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ”
นายอภิสิทธิ์กล่าว
ในหลายๆ กรณีที่เกิดความขัดแย้งนั้น มีปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน
กล่าวคือ
ความแตกต่างได้พัฒนาไปสู่การไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันและนำไปสู่ความขัดแย้ง
ในที่สุด นอกจากนี้การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม
หรือการมองว่ามีการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม
การละเมิดกฎหมายและการปิดพื้นที่ทางการเมืองก็ยิ่งจะทำให้ปัญหารุนแรงมาก
ขึ้นไปอีก
สำหรับในกรณีภาคใต้นั้นปัญหามีรากเหง้าที่หยั่งลึกไปอย่างยาวนานในประวัติ
ศาสตร์ เมื่อความรุนแรงปะทุขึ้นในปี 2547
ปัญหาก็ถูกซ้ำเติมด้วยการละเมิดกฎหมายและการใช้นโยบายปราบปรามอย่างแข็ง
กร้าวในการจัดการกับปัญหา
“การใช้กำลังทหารหรือความคิดด้านความมั่นคงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถ
แก้ไขปัญหาไม่อย่างยั่งยืน
จำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการในการแสวงหาทางออกทางการเมืองซึ่งได้รับการยอม
รับจากทุกฝ่าย” นายอภิสิทธิ์กล่าว
โดยเสนอว่าสิ่งที่สำคัญและเป็นความท้าทายคือการสร้าง “กระบวนการ”
ในการสร้างสันติภาพอย่างไร และไม่ว่าสุดท้ายทางออกของปัญหาจะเป็นอย่างไร
สิ่งสำคัญจะต้องมีการเคารพความหลากหลายของกลุ่มต่างๆ
ในบางบริบท ความช่วยเหลือจากบุคคลที่ 3
ในการเป็นตัวกลางในการพูดคุยอาจจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังเช่น
ในกรณีของประเทศอินโดนีเซียที่อนุญาตให้ประเทศอื่นเข้าไปช่วยแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งในติมอร์ตะวันออก
พม่าที่มีหน่วยงานต่างประเทศเข้าไปสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่
กำลังเกิดขึ้น หรือในกรณีของฟิลิปปินส์ที่องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)
และมาเลเซียได้เข้าไปร่วมดำเนินการในกระบวนการสร้างสันติภาพ
ทั้งนี้บุคคลที่ 3 นี้ จะต้องเข้าใจถึง “ความละเอียดอ่อน” ในเรื่องเหล่านี้
โดยจะต้องแสวงหาวิธีและรูปแบบที่เหมาะสมกับในแต่ละกรณี
อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าว
สำหรับบทบาทของภาคประชาสังคมในการเปิดพื้นที่เพื่อการพูดคุย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ดี”
รัฐบาลควรจะใช้ประโยชน์จากการทำงานของภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีความสามารถใน
การเข้าถึงบุคคลที่ยังไม่พร้อมจะนำเสนอความคิดเห็นต่อรัฐได้
และตนพร้อมที่จะไปร่วมพูดคุยกับรัฐบาลเมื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้
ภายหลังการกล่าวปาฐกถา นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
“กระบวนการที่สำคัญในขณะนี้ คือ
การที่พยายามเปิดพื้นที่หาช่องทางในการเปิดพื้นที่ในการพูดคุยกับคนที่คิด
ต่าง ซึ่งเรื่องนี้ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มีการดำเนินการอยู่แล้ว
และรัฐบาลที่ผ่านมามีการดำเนินการในลักษณะอย่างนี้เช่นกัน
และตนคิดว่าจากตรงนั้นมันค่อยๆ
นำมาสู่ความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่ากระบวนการต่อไปมันควรที่จะเดินไปอย่างไร ”
นายอภิสิทธิ์ชี้ว่าในที่สุดแล้วการแก้ปัญหาจะต้องเป็นการแก้ปัญหาทาง
การเมืองและจะต้องนำปัญหาทุกมิติในพื้นที่มาแก้ไข
ซึ่งเรื่องนี้มีอยู่ในระดับนโยบาย และกระบวนการตรงนี้
ตนคิดว่าเราต้องสามารถที่จะกำหนดแนวทางขั้นตอนที่จะเป็นไปได้
วันนี้การที่เราจะกระโดดพูดถึงเรื่องการเจรจา เรายังไม่รู้ว่าจะเจรจากับใคร
อนึ่ง สมช.ได้ร่าง “นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2555 -2557” ขึ้นตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. 2554 ซึ่งนโยบายดังนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
22 กุมภาพันธ์ 2555 และได้มีการอภิปรายในรัฐสภาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยวัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ในทั้งหมด 9 ข้อของนโยบายฉบับนี้
ระบุว่ารัฐมีหน้าที่ในการ
“สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความ
ขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ”
สำหรับนายมหาเธร์ได้กล่าวในการปาฐกถาว่าการเกิดขึ้นของอาเซียนมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
ผู้นำประเทศสามารถที่จะใช้เวทีนี้ในการพูดคุยเจรจาเพื่อหาหนทางในการแก้
ปัญหาอย่างสันติ
หากว่าไม่สำเร็จก็จะส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International
Court of Justice) เป็นผู้ตัดสิน
“มันเป็นเรื่องอันตรายที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเผชิญหน้ากัน” นายมหาเธร์กล่าว
เขาได้ยกตัวอย่างกรณีปัญหาข้อพิพาททางทะเลระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
ซึ่งปัญหายุติได้ด้วยการเจรจาโดยมีการแบ่งผลประโยชน์จากการผลิตแก๊สคนละ
ครึ่ง ส่วนปัญหาข้อพิพาทประเด็นเรื่องการอ้างสิทธิเหนือเกาะ 2
แห่งระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซียซึ่งไม่สามารถเจรจาได้
และได้ส่งเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา
เมื่อศาลโลกพิพากษาให้เกาะทั้งสองแห่งเป็นของมาเลเซีย
ประเทศคู่กรณีก็ยอมรับคำตัดสินของศาล
เขากล่าวว่าอาเซียนนั้น “เป็นตัวอย่างที่ดี” ของกลุ่มประเทศที่สามารถจัดการความขัดแย้งในระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างสันติ
ทั้งนี้ นายมหาเธร์
ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ของไทยว่า “มันเป็นเรื่องภายใน
ปกติในสถานการณ์เช่นนั้น อาเซียนจะไม่แทรกแซง
เว้นแต่ว่าเราจะได้รับการเชิญจากประเทศไทยให้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาความขัด
แย้ง
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับคนเหล่านี้และได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้เขาแก้ปัญหา
อย่างสันติ นั่นเป็นสิ่งที่มากที่สุดที่ผมจะทำได้”
“มันเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดที่จะเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองกับประเทศ
เพื่อนบ้าน” เขากล่าว
โดยยกตัวอย่างว่ามาเลเซียได้เข้าไปเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ในกรณีของฟิลิปปินส์ได้ก็เพราะได้รับเชิญจากเจ้าของประเทศ
หลังการกล่าวปาฐกถา นายมหาเธร์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “ถ้าหากว่าประเทศไทยร้องขอ มาเลเซียก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ”
”ปัญหาในภาคใต้นี้คือมันไม่มีองค์กรที่เป็นเอกภาพ เขาแบ่งเป็นหลายๆ
กลุ่ม บางคนก็ต้องการใช้ความรุนแรง บางคนก็ต้องการที่จะเจรจา
ถ้ามีกลุ่มที่ต้องการจะเจรจา เราก็ควรที่จะเจรจา
แต่ว่ากลุ่มนั้นต้องการใช้ความรุนแรง แน่นอนไม่ว่าสำหรับประเทศใด
พวกเขาก็คือพวกสุดโต่ง ก็ต้องทางออกด้วยวิธีอื่น”
สำหรับเหตุการณ์การก่อเหตุวางธงชาติมาเลเซีย
การวางระเบิดจริงและปลอมกว่าร้อยจุดในจ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและ 2
อำเภอในจ.สงขลาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 นายมหาเธร์กล่าวว่า
“พวกเขาก็ไม่มีความเป็นเอกภาพ แต่ละคนก็มีไอเดียของตัวเอง
บางคนอาจจะต้องการวางธง คุณไม่สามารถที่จะไปโทษคนที่เหลือได้”
นายมหาเธร์ย้ำว่า
“คำว่าการปกครองตนเองนั้นถูกแปลเป็นภาษาไทยว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนซึ่งมัน
ไม่ใช่ เราจะต้องอธิบายกับคนไทยเพื่อให้เขายอมรับความคิดนั้น
แต่พวกเขาก็อาจจะคิดว่าแม้แต่การปกครองพิเศษก็ไม่ควรที่จะให้
ซึ่งอาจจะเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่
แต่ว่าเขตปกครองพิเศษก็เป็นทางออกหนึ่งที่ควรจะพิจารณา
การปกครองพิเศษไม่ใช่การให้เอกราช เรื่องการต่างประเทศ การทหาร
หรือแม้กระทั่งตำรวจก็ยังคงเป็นเรื่องของรัฐบาลกลาง”
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่าการปกครองพิเศษนั้นเป็นทางออกที่ใช้
ในหลายๆ ประเทศ เช่น ในประเทศอินโดนีเซียก็ได้ให้อาเจะห์เป็นเขตปกครองพิเศษ
หลังจากที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนกับรัฐบาลได้รบกันมาหลายทศวรรษ
เขาอธิบายว่าในช่วงที่นายทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี
นายทักษิณปฏิเสธแนวคิดนี้อย่างสิ้นเชิง ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์
ปันยารชุนอาจจะมีความคิดยอมรับความคิดนี้อยู่บ้าง