Fri, 2012-09-07 00:54
หมายเหตุ - เมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โพสต์บทความในเฟซบุคของตน วิจารณ์บทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ และใจ อึ๊งภากรณ์ ในเรื่องข้อเสนอทางการเมืองต่อขบวนการเสื้อแดง โดยเห็นว่าข้อเสนอของ ใจ อึ๊งภากรณ์ "มากไป" และข้อเสนอของนิธิ เอียวศรีวงศ์ "น้อยไป" โดยมีรายละเอียดดังนี้
000
คนเสื้อแดง หรือผู้รักประชาธิปไตยอื่นๆ
- ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแท้จริง
[ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และกลไกล้อมรอบสถาบันฯ (ตุลาการ, กองทัพ, องคมนตรี,
เครือข่าย) ให้เป็นประชาธิปไตย]
- และไม่เห็นว่า ทุกสิ่งที่ เพื่อไทย-นปช ทำ
เป็นอะไรที่ถูกต้อง ต้องสนับสนุน โดยอัตโนมัติ
หรือเป็นอะไรที่วิพากษ์วิจารณ์ คัดค้านไม่ได้
- และเห็นว่า เท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพื่อไทย-นปช กำลังทำหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องตามทิศทางประชาธิปไตย
ควรทำอะไร?
......................
ไม่กี่วันนี้ หลายคนคงเห็นบทความของ นิธิ และ ใจ
ที่มีเนื้อหาสำคัญ พูดถึงเรื่องเดียวกัน แม้จะด้วยภาษาและการวิเคราะห์
คนละอย่าง นันคือ เรื่องทำนองที่ผมสรุปข้างบนแบบยาวๆ
(บทความนิธิ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346645356 บทความ ใจ http://www.prachatai3.info/journal/2012/09/42468)
แน่นอน ที่ผมสรุปนี้ ก็สะท้อนวิธีวิเคราะห์
ที่ต่างกับทั้ง นิธิ และ ใจ อยู่ ซึ่งผมจะไม่พูดถึงเรื่องนี้ ในที่นี้
แต่จะพูดเฉพาะประเด็นสำคัญ ที่ผมแชร์ความสนใจร่วมกับ นิธิ และ ใจ
(และคงอีกหลายคน - ถ้าดูจากที่มีการพูดในที่ต่างๆ รวมถึงรายการ "ชูพงศ์"
เมื่อวานนี้) คือ "ควรทำอะไร?"
เพื่อประหยัดเวลา ผมอยากเสนอแบบ "ฟันธง" ดังนี้
ผมคิดว่า ข้อเสนอของ ใจ "มากไป" ขณะที่ ข้อเสนอของนิธิ "น้อยไป"
ใจ เสนอเรื่องตั้งพรรคสังคมนิยม ซึ่งผมเห็นว่า too ambitious และ unrealistic
ผมขอพูดถึงข้อเสนนิธิ สักนิด คือ 3 ข้อ
ตรงกลางบทความ ซึ่งผมเห็นด้วย โดยเฉพาะข้อ 1 และ 2 (ซึ่งไม่ใช่ข้อเสนอนิธิ
เสียทีเดียว นิธิ เพียงแต่ยกขึ้นมาว่า มีข้อเสนออะไรได้บ้าง คือ
สนับสนุนพรรคอื่น กับ ตั้งพรรคเอง ซึงนิธิ ปฏิเสธทั้งคู่ ซึ่งผมเห็นด้วย)
ข้อ 3 ซึ่งเป็นข้อเสนอของนิธิจริงๆ คือ
"3.ที่พอเป็นไปได้ในช่วงนี้ก็คือ
หาทางที่จะควบคุมทิศทางของพรรคเพื่อไทยให้ได้มากขึ้น
ไม่ใช่รณรงค์เข้าไปเป็นกรรมการบริหารพรรค
แต่ต้องคุมให้ได้ในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั่นเอง
เรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะที่จริงแล้วยังไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองใดที่สามารถคุมพรรคของตนเองได้สักพรรคเดียว"
นิธิ เสนอรูปธรรมต่อไปเรื่อง "ไพรมารี่"
ผมเองเห็นว่า ข้อเสนอนี้ ของนิธิ ยังน้อยไป
หรือจะพูดให้รอบด้านคือ ผมคิดว่า มัน "ไม่เวิร์ค" จริงๆ
ด้วยเหตุผลทีนิธิพูดมาเอง (ซึงผมเห็นด้วย) ที่ว่า
"ยังไม่มีสมาชิกของพรรคการเมืองใดที่สามารถคุมพรรคของตนเองได้สักพรรคเดียว"
ซึงเรือ่งนี้ ผมคิดว่า รวมถึงการมี "ไพรมารี่" ด้วย คือต่อให้
ผลักดันจนมีได้จริงๆ ผมก็ไม่คิดว่า ตางจากที่เป็นอยู่ตอนนี้นัก (โดยส่วนตัว
ผมไม่คิดว่า ผลักดันให้สำเร็จได้ด้วยซ้ำ)
ข้อเสนอผม อาจจะบอกว่า อยู่ "กึ่งกลาง" ระหว่าง ใจ กับ นิธิ
จริงๆ เรื่องนี้ เป็นประเด็นหนึ่ง ที่ผมลองเสนอ
ในการพูดคุยกับ นักวิชาการและแอ๊คติวิสต์ 10 กว่าคน
ก่อนจะมีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผมเคยเล่าให้ฟัง (แต่คร้ังนั้น
ผมเล่าให้ฟังเฉพาะประเด็นการประเมินสถานการณ์)
ไอเดียกว้างๆ ของผมคือ
ผมคิดว่า คนที่ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่แท้จริง (ตามหัวข้อข้างบน ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์-ตุลาการ-กองทัพ)
น่าจะพยายาม "ก่อรูป" ขึ้นเป็น องค์กร
ที่มีลักษณะเป็นรูปเป็นร่างแน่นอน และมีลักษณะถาวร และทำกิจกรรมทางความคิด
อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ (อาจจะคิดทำนองโมเดล ngo บางอันในอดีต เช่น
สมัยชาคนจน หรือแม้แต่ ครป)
สิ่งที่ผมคิดว่า เป็น key หรือ กุญแจ ของเรื่องนี้ คือ "ปัญญาชน" นักวิชาการ
ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ผมคิดว่า มีปัญหา ซึ่งต้องไว้อภิปรายเพิ่มเติมคราวหลัง
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ องค์กร ที่ว่านี้ คือ
ผมคิดว่า จะต้องมีลักษณะ "เป็นอิสระ" จาก "เสื้อแดง"
มากกว่าที่เป็นอยุ่ (ซึงนี่จะเป็นประเด็นปัญหาใหญ่
ทีต้องอภิปรายเพิ่มเติมคราวหลังเช่นกัน)
.................
ภาพประกอบ ซึ่งไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้เลย ยกเว้น "คำ"
คือ ภาพหน้าปก ความเรียงที่มีชื่อเสียง (หรือ อื้อฉาว) ของ เลนิน เรื่อง
Chato delat? หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "What Is to Be Done?"
(ควรทำอะไร?) ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ปี 1902
ท่านทีสนใจ เมื่อไม่กี่ปีที่ผานมา
มี่หนังสือใหม่เล่มหนาวิเคราะห์ความเรียงนี้ อย่างสมบุรณ์ ที่สุด
เท่าทีเคยมีมา พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ What Is to Be Done? ของเลนิน
ใหม่ทั้งหมด เป็นหนังสือที่เขียนดีและน่าสนใจมาก ชื่อ Lenin Rediscovered:
What Is to Be Done? in Context http://www.amazon.com/Lenin-Rediscovered-Context-Historical-Materialism/dp/1931859582/ref=sr_1_1?ie=UTF8&qid=1346941579&sr=8-1&keywords=Lenin+rediscovered
ผมสังเข้ามาในห้องสมุด ธรรมศาสตร์มาระยะหนึ่งแล้ว สนใจลองไปหากันดู (ผมสั่งซื้อเป็นของตัวเองด้วย)