บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

วิพากษ์นักวิชาการ (สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช) : ใช้การวิจัยตอบสนองทัศนคติทางการเมือง


โดย คุณอ้า ...
ที่มา เวบบอร์ด
sameskybooks
26 มกราคม 2551

คือเท่าที่ผมมองนะ สมเกียรติ (ตั้งกิจวาณิช)เจริญรอยตาม ธีรยุทธ์ (บุญมี) มาติดๆ แล้วที่แย่ก็คือ ใช้การวิจัยตอบสนองทัศนคติทางการเมือง

คือ หัวข้อการวิจัยช่วงนึงของเขาจะเป็นเรื่องหนี้ครัวเรือน ว่า หนี้ครัวเรือนพุ่งมากในยุคทักษิณ แต่ล่าสุด ธปท.คงรำคาญพวกไม่มีความเข้าใจเศรษศาสตร์ดีพอ แล้ววิจัยอย่างมีอคติ เขาเลยวิจัยเรื่อง "หนี้" กับ "รายได้" ไปพร้อมๆ กัน แล้วก็แสดงออกมาว่า หนี้ครัวเรือนนั้นเพิ่มมากจริง แต่ "รายได้" ก็เพิ่มมากตามไปด้วย ข้อสรุปของฝ่ายวิจัย ธปท.คือ หนี้ครัวเรือน ไม่ถือว่ามีปัญหา เพราะรายได้เพิ่มตามกัน

อีกเคสที่จำได้ เค้าวิจัยเรื่องราคาหุ้นของบริษัทของตระกูลชิน แล้วก็สรุปประมาณว่า เนี่ยแหละ เข้ามามีการเมืองก็ได้ผลประโยชน์ทางราคาหุ้นมากมายเป็นแสนล้าน ซึ่งมันสามารถสะท้อนไปถึงอำนาจการเมืองทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์

ในแง่ตัวเลขที่เก็บรวบมา มันไม่ผิดพลาด แต่ปัญหาของเขาที่มีมาตลอดคือ "การตีความข้อมูล" ซึ่งมักจะตีความโน้มเอียงไปทางหนึ่ง หรือพูดได้ว่า มีอคติหรืออยู่ภายใต้ทัศนคติทางการเมือง ซึ่งสามารถพูดได้ว่า ทำวิจัยโดย "ตั้งธง" ตั้งแต่ หัวข้อ กระบวนการ ไปจนถึงการตีความสรุป

กรณี แปรสัมปทานโทรคมนาคม และ พรก.สรรพสามิตโทรคมนาคม ก็แย่นะ คนในวงการโทรคมนาคมพูดว่า อย่ามองเราเป็น "ผู้ร้าย"

สมเกียรติ มองนายทุน เป็น "ผู้ร้าย"ได้ แต่ในแง่การวิจัย คุณทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะ มันเหมือนมี "ธง" ตั้งไว้แต่แรก

มันเหมือนกับการวิจัยเรื่องโลกร้อน คุณตั้งธงว่า สรอ.และบรรดานายทุนอุตสาหกรรมเป็น ผู้ร้าย ไม่ได้ คุณต้อง วิจัย โดยไม่มีความรักชอบเกลียดใคร คุณต้องเคารพหลักของกระบวนการวิจัย ไม่ใช่ตั้ง ธง เพื่อพิสูจน์ ความเป็น "ผู้ร้าย" ของใครก็ตาม

ในกรณีของ พรก.สรรพสามิตและการแปรสัญญา มันละเอียดอ่อนนะ สมเกียรติ ไม่คำนึงถึงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม (ถึงคำนึงแต่ก็มีการตีความโดยเอนเอียง) สรุปง่ายๆ คือ ไม่ให้แปรสัญญา แม้ว่าจะเปิดเสรีโทรคมนาคม โดยให้บริษัทเดิมจ่ายสัมปทานต่อไป คัดค้านการแปรสัญญา ซึ่งหมายถึงเข้ามาเล่นในขอบเขต "การเมือง" ผลสุดท้ายคือ บุญชัย กับ ตระกูลชิน ขายกิจการพวกนี้ออกไป แม้ว่าจะแปรค่าสัมปทานบางส่วนเป็นภาษีแล้วก็ตาม (รัฐบาลขิงแก่เชื่อพวกนี้ เลยยกเลิก พรก.ที่ว่า)

นี่คือ สิ่งที่แย่ของ สมเกียรติ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แล้วแสดงความเห็นทางผลประโยชน์มากมาย ไม่ว่า การขึ้นศาลแสดงความเห็นกรณีชินแซทได้ boi การไปฟ้องคตส.กลายๆ หลังรัฐประหาร

ซึ่งนักวิจัยหรือนักวิชาการ ไม่พึงทำอย่างนี้ นายทุนโทรคมนาคม เค้า เซ้นส์ดี เค้าพูดว่า อย่ามองเราเป็น "ผู้ร้าย" ตรงนี้มันสรุปได้หมด คือ สมเกียรติ มีการจำแนก คนดี-คนเลว ไว้ในใจ แล้วการวิจัยของเขาตอบสนองการจำแนก ดี-เลว ของเขา หรือพูดอีกอย่างว่า เขาวิจัยโดยใช้ "ศีลธรรม" ซึ่งถือเป็น "อคติ" ที่มิพึงมีอย่างยิ่งของการทำงานวิชาการ หริอวิจัย

การที่เขาไป ศึกษาวิจัยเรื่อง ทีวีสาธารณะ แล้วผลักดันขายไอเดีย จนในที่สุด ออกเป็นกฎหมายออกมา นักวิจัย ทำอย่างนี้กันเหรอ มันถูกต้องตามหลักการ และบทหน้าที่หรือไม่อย่างไร ?

ตามประวัติที่ทราบ สมเกียรติ ได้ ดร.จากสาขาคอมพิวเตอร์ ทำให้ชวนฉงนว่า เข้าไปวิจัยตลาดหุ้น-ราคาหุ้น วิจัยหนี้ วิจัยผลประโชน์ของกิจการสัมปทานโทรคมนาคม จนกระทั่ง การจัดตั้งสถานีทีวี เคยสงสัยกันไหมว่า เอาพื้นฐานความรู้ของแต่ละด้านมาจากไหน ?

สรุปก็คือ ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่สำหรับ นักวิชาการและนักวิจัย แล้ว มัน "ต้องห้าม" นะ คือ นักวิชาการและนักวิจัย ควรนำเสนอโดยไม่มีอคติ เพราะสังคมให้ความไว้วางใจการวิจัยไว้สูง

แล้วที่ให้ความไว้วางใจ ก็เพราะเชื่อว่า นักวิจัยและนักวิชาการ จะวางตัวเป็นกลาง ซื่อตรงในการนำเสนอสิ่งต่างๆ

ควรจะอ่านบทสัมภาษณ์ของ วรเจตน์ ในประชาไทประกอบ วรเจตน์ ไปได้สวยในการอธิบายการใช้ศีลธรรมทางการเมือง

สิ่งที่ควรขบคิดคือ ทำไมคนที่คิดจะ "ทำดี" ในพื้นที่การเมืองจึงสร้างปัญหา ไม่ว่า ธีรยุทธ์ สมเกียรติ ขิงแก่ คมช. สนช. คตส. ? ผมก็อยากอ่านถ้าใครมีคำอธิบาย

จาก Thai E-News

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker