Wed, 2012-09-05 23:33
กรณีเรื่องปัญหาจริยธรรมของสังคมยังเห็นได้อีกหลายกรณี เช่น กรณี 6
ตุลาคม พ.ศ.2519 ฝ่ายนักศึกษาถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์
และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ถูกเข่นฆ่าสังหารในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
แต่กลับกลายเป็นว่า ฝ่ายนักศึกษาที่เป็นเหยื่อถูกจับกุมดำเนินคดีอีกนาน 2
ปี โดยที่ฝ่ายฆาตกรที่เข่นฆ่าไม่ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด
พอมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ก็เป็นการนิรโทษกรรมทั้งหมดทุกฝ่าย
โดยไม่ต้องพูดกันว่าใครถูกใครผิด
และใครจะต้องรับผิดชอบในการสังหารหมู่ประชาชนกลางเมือง
กรณีที่เกี่ยวกับการตัดสินที่ผิดพลาดของศาลอีกกรณีหนึ่งก็คือ
คดีคุณวีระ มุสิกพงศ์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2531 ถูกศาลฎีกาตัดสินว่า
มีความผิดในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามาตรา 112 ต้องถูกจำคุก 4 ปี
ทั้งที่หลักฐานและสภาพแวดล้อมเหตุการณ์ไม่สามารถสรุปให้คุณวีระมีความผิดได้
เลย และจนถึงขณะนี้
ก็ยังไม่มีการยอมรับในความผิดพลาดของการตัดสินอย่างเป็นทางการ
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549
เราจะพบกรณีที่เกี่ยวข้องกับความกล้าหาญในด้านจริยธรรมอีกหลายเรื่อง
ที่เกิดขึ้นแล้วคือ กรณีของคดีคุณอำพน ตั้งนพคุณ หรือ อากง
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี ในกรณีความผิดตามมาตรา
112 และในที่สุดก็ถึงแก่กรรมในคุก สมศักดิ์
เจียมธีรสกุลได้อธิบายความผิดพลาดในเรื่องนี้ชัดเจนว่า
“ในระดับตุลาการที่ตัดสินอากง ตั้งแต่การไม่ให้อากงประกัน
ตุลาการต้องรู้แน่ๆ ว่าการไม่ให้ประกันมันผิด เหตุผลที่ว่าอากงอายุ 60
จะหนี เป็นเหตุผลที่ว่าผิดแน่ๆ ถ้าตุลาการไปอ้างเหตุผลแบบนี้
แต่ไม่กล้าจะบอกว่าคนนี้ไม่หนีหรอกแล้วให้ประกัน
แล้วการตัดสินศาลก็ยอมรับว่าไม่มีหลักฐานพอที่อากงเป็นคนส่ง SMS
ในภาษากฎหมายเขามีศัพท์ว่า "Burden of Proof"
ภาระในการพิสูจน์ไม่ได้อยู่ที่จำเลย ไม่ได้อยู่ที่ตัวโจทย์
ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยส่งจริง ศาลก็ต้องปล่อยจำเลยไป
และกรณีที่ต่อให้อากงยอมรับว่าส่ง SMS จากเครื่องนี้จริง
แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่าอากงในการกดส่ง
ตามหลักภาระในการพิสูจน์ศาลก็ต้องปล่อยอากง แต่ศาลก็ไม่กล้าตัดสิน
ในสังคมซึ่งมีความเป็นมนุษย์อยู่
ตุลาการที่นั่งบัลลังก์ไม่อนุมัติประกันอากง เขาต้องรู้แน่ๆ
ว่าการไม่อนุมัติให้อากงประกันไม่ถูก เขาต้องรู้แน่ๆ
ว่าการตัดสินแบบนี้มันผิดหลักกฎหมายแต่ก็ไม่ให้ประกัน
ตัดสินเสร็จก็ไม่ให้ประกัน อ้างเรื่องกลัวหนีอีก
นี่คือสิ่งที่ผมไม่มีความกล้าหาญทางคุณธรรม อย่างน้อยควรจะรู้อะไรผิด
อะไรถูก”
ในกรณีนี้ ปิยะบุตร แสงกนกคุณ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ได้อธิบายว่า “โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอากงและครอบครัว
ไม่ใช่ปัญหาเรื่องกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า
ศาลพิพากษาเท่านั้น
ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเท่านั้น
ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิทธิของผู้ถูกจับกุมคุมขังเท่านั้น
และไม่ใช่ปัญหาเรื่องมาตรฐานและคุณภาพชีวิตในเรือนจำเท่านั้น
แต่โศกนาฏกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงอัปลักษณ์ของมาตรา 112 ในทุกมิติ”
กรณีของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข
ที่ศาลกำลังจะอ่านคำพิพากษาในเดือนกันยายนนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน
คุณสมยศถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112
โดยอ้างหลักฐานคือ บทความที่คุณสมยศไม่ได้เป็นผู้เขียน แต่อ้างว่า
คุณสมยศต้องมีความผิดเพราะเป็นบรรณาธิการของวารสารนั้น
ทั้งที่กฎหมายจดแจ้งการพิมพ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันระบุว่า
บรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบต่อข้อเขียนในวารสาร
เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเอง แต่เมื่อถูกจับกุม
ศาลก็อ้างเหตุว่า คุณสมยศจะหลบหนี จึงห้ามการประกันตัว
คุณสมยศจึงติดคุกฟรีมานานมากกว่า 1 ปี ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์
เพราะผู้พิพากษาขาดความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะบอกว่า คุณสมยศไม่มีความผิด
เหตุผลในการห้ามการประกันตัวก็อ้างกันจนเป็นแผ่นเสียงตกร่อง
ศาลต้องรู้ดีในหลักการทางนิติศาสตร์สากลว่า ผู้ถูกกล่าวหาถือว่า
ยังไม่มีความผิด และโดยหลักการทั่วไปต้องให้ประกันตัว นอกจากว่า
จำเลยจะมีส่วนไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน ซึ่งในกรณีหลักฐานคือ บทความในวารสาร
คุณสมยศคงจะไปแก้ไขทำลายไม่ได้ ยิ่งกว่านั้น
ศาลก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะพิจารณาว่า คุณสมยศไม่เคยประกอบความผิดมาก่อน
มีอาชีพที่แน่นอนชัดเจน และยังมั่นใจว่าตนเองไม่ได้ทำความผิด
จึงไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่คุณสมยศจะหลบหนี กรณีจับคุณสมยศเข้าคุก
จึงเป็นเรื่องอัปยศอีกครั้งหนึ่งของวงการตุลาการไทย
แต่ที่มากกว่า ไม่มีตุลาการคนใดเลยที่จะประกาศว่า กฎหมายมาตรา 112
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลพวงของการรัฐประหารเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศเพิ่มโทษในการกระทำความผิดตามมาตรา
นี้ หมายความว่า มาตรา 112 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
จึงไม่เคยผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งสมัยไหนเลย
ถ้าหากคณะตุลาการมีจริยธรรมเพียงพอ ต้องบอกว่า กฎหมายแบบนี้ใช้ไม่ได้
การตัดสินพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรานี้ทั้งหมดที่ผ่านเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน เป็นความไม่สิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย
สมศักดิ์
เจียมธีรสกุลได้ถามถึงความรับผิดชอบของทุกฝ่ายต่อกรณีการเสียชีวิตของผู้
บริสุทธิ์อย่างคุณอำพน
โดยชี้ว่าในทุกวงการไม่มีใครมีความกล้าหาญทางจริยธรรมเพียงพอ
และความไม่กล้าหาญเช่นนี้เอง
ได้ทำลายคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของชนชั้นนำในสังคมลงไปด้วย
การวิจารณ์ในลักษณะเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
ในด้านหนึ่งก็เป็นการสะท้อนความชั่วร้ายของฝ่ายอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์
ฝ่ายขบวนการเสื้อเหลือง และศาล ที่ร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปลุกกระแสคลั่งเจ้า เอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก
แต่ในอีกด้านหนึ่ง คงจะต้องสะท้อนในด้านของฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยเอง
ที่ช่วยเหลือความทุกข์ของคนที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 น้อยเกินไป
หรือไม่กล้าพูดว่า กรณีเหล่านี้คือความไม่เป็นธรรม
การใช้กฎหมายแบบนี้ไม่ถูกต้อง มักอ้างกันว่าเป็นเรื่องของศาลสถิตยุติธรรม
แต่ในกรณีที่ศาลไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนเช่นนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ก็ยังจำนนกับศาลมากเกินไป
จนไม่สามารถมีมาตรการใดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปศาลได้เลย
และในที่สุดประชาชนคนสามัญนั่นเอง
ก็จะตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น
และนี่คือปัญหาเรื่องความกล้าหาญทางจริยธรรมในสังคมไทย