ตามปกติ พวกที่ประกอบอาชีพเป็น “สื่อมวลชน” จะมีความหยิ่งผยองในหน้าที่ของตัวเองมากส่วนมากจะถือว่า ทำหน้าที่เคียงข้างประชาชน พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ประชาชนทั้งนั้นเลยจะอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยแต่ในช่วงที่ “ทักษิณ ชินวัตร” เรืองอำนาจ รัฐบาลของเขาและระบอบของเขา ถูกกล่าวหาอย่างหนักว่า “แทรกแซงสื่อ”ทั้งด้วยการ ใช้อิทธิพลโฆษณา แทรกแซงตัวบุคคลสั่งทั้งทางลับและทางแจ้งให้ลงข่าวนี้ไม่ลงข่าวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทีวี ทั้งช่อง11 และช่องที่เอกชนได้รับสัมปทานจากรัฐ โดนหนักหนามากไม่แต่เท่านั้นยังคุกคามไปถึง “หนังสือพิมพ์รายวัน”ที่เป็นสื่อของเอกชนด้วยมีสื่อ หนังสือพิมพ์รายวัน 3 ค่าย ต่อสู้กับระบอบทักษิณ อย่างกล้าหาญ เสนอข่าวทุกอย่างที่เห็นว่ารัฐบาลทำไม่ถูกต้องอย่างตรงไปตรงมา นำมาซึ่งความโกรธ และแทรกแซง“มติชน” ผู้ขุดคุ้ยแฉแหลกการซุกหุ้นของทักษิณโดยฝีมือของ “ประสงค์ วิสุทธิ์” โดนยุทธการ ส่งคนเข้าไปซื้อหุ้น ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บนเป้าหมายจะเทกโอเวอร์อย่างไม่เป็นมิตร
ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสที่เห็นว่า “ผู้บริหาร” ของ “มติชน” ถือครองหุ้นอยู่น้อยเกินไปกรณีที่ระบอบทักษิณทำกับหนังสือพิมพ์มติชน กลายเป็นกรณีใหญ่โต และนำความเดือดร้อนมาสู่ “ขรรค์ชัย บุนปาน” กับคณะยิ่งนัก จนต้องมีการใช้เงินอีกมหาศาลในการซื้อหุ้นคืน จึงสามารถที่จะครองหุ้นข้างมาก และรักษาหนังสือพิมพ์มติชนเอาไว้ได้ระบอบทักษิณทำเขาก่อนค่าย “เดอะเนชั่น” ก็โดนในอีกลักษณะหนึ่ง บริวารของระบอบทักษิณไม่พอใจที่ค่ายนี้เสนอข่าวในลักษณะเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรง ต่อเนื่องยาวนาน จึงมีรายการการส่งม็อบที่มาจากทางอีสานเข้าไปปิดล้อมสำนักงาน ข่มขู่พนักงานและกระทำการหลายอย่างในลักษณะของผู้มีอิทธิพล โดยมี “รัฐมนตรี”มือขวาฝ่ายบู๊ นั่งรถไปควบคุมม็อบ บี้สำนักงานหนังสือพิมพ์เนชั่น ริมถ.บางนา-ตราด ด้วยตัวเองค่าย “ผู้จัดการ” โดยการนำของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” เป็นเจ้าแรกที่เปิดศึกขับไล่ “ทักษิณ ชินวัตร” ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี“สนธิ ลิ้มทองกุล” ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ คือ “เพื่อนซี้” ที่สุดของ “ทักษิณ ชินวัตร”ช่วงที่เขาจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” อยู่ช่อง 9 อสมท “สนธิลิ้ม” พูดจาเยินยอทักษิณ ดังกับเทวดา แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นโจมตีรุนแรง
กระทั่งถูกถอดรายการออกจากช่อง 9 ต้องพารายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” เป็นหำน้อยตุหรัดตุเหร่ ไปจัดตามสวนลุมพินีบ้าง ตามต่างจังหวัดบ้างระกำลำบากมาก“ทักษิณ ชินวัตร” ขณะที่ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า สาเหตุที่ถูกด่าและไล่ เพราะว่ามีคนมาขอให้เซ็นอนุมัติเปิดทีวีเสรีให้ 1 ช่อง แต่ไม่สามารถที่จะให้ได้ เพราะถ้าให้ก็ผิดกฎหมายทักษิณอยากจะให้ แต่ให้ไม่ได้จริงๆ เพราะมาตรา 81 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ห้ามไว้ จนกว่าจะมีคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กสช.ซึ่งองค์กรนี้จะเป็นผู้ออกใบอนุญาต“ทักษิณ ชินวัตร” โดนพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินยึดอำนาจต้องให้เครดิตแก่ “สนธิลิ้ม” ในฐานะผู้จุดประกายขับไล่ในขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ของค่ายชินวัตรก็ไปไม่รอดเช่นกันหลังทักษิณโดนยึดอำนาจ กลับบ้านในไทยไม่ได้ รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เอาจริงในกรณีที่มีการเปลี่ยนผังรายการ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ให้สัมปทานเสียก่อน ทำให้ไอทีวีจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม และต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก เกือบแสนล้านบาท ซึ่งที่สุดฝ่ายทุนก็ล่าถอยไป คดียังค้างคากันอยู่จนบัดนี้ขณะที่ สนช. ที่คณะปฏิวัติตั้งขึ้นมา ก็ได้ออกกฎหมายใหม่มาเพื่อแปลงสภาพไอทีวีให้เป็นทีวีสาธารณะเป็นทีวีที่ไม่มีโฆษณา รัฐให้เงินสนับสนุน และจ้างคนมาบริหารนับตั้งแต่ที่รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ ยึดไอทีวีกลับคืนมา ก็มีการคาดการณ์กันเอาไว้แล้วว่า “รางวัล” ชิ้นนี้จะให้แก่ใคร ในค่ายไหนบัดนี้ ณ วันที่ 15 ม.ค.51 ถือว่าเป็นระยะบั้นปลายของคณะปฏิวัติ 19 กันยา 2549 และเป็นบั้นปลายของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แล้ว
และว่าไปแล้ว กระบวนการฝ่ายคณะปฏิวัติก็ดิ้นรนจะช่วย ASTV เต็มที่ โดยหลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ คมช.ฉบับปี 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหา 2550 แล้ว สนช.กลุ่มหนึ่งได้ขยับตัว จะแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพื่อให้มี กสช.โดยเร็ว จะได้ออกใบอนุญาตได้ โดยได้ เสนอร่างแก้ไขกฎหมายนี้ไปให้รัฐบาล ซึ่งครม.ก็รับลูก ออกมติส่งไปให้กฤษฎีกาพิจารณาอย่างรวดเร็ว มีแผนจะให้เข้า สนช.และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 20 ธ.ค.50แต่ก้างติดคอเพราะบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 305 (1) เขียนเอาไว้ว่า การแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 180 วัน นับแต่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสร็จสิ้นซึ่งหมายความว่า “รัฐบาลชุดใหม่” เท่านั้นที่จะมีสิทธิแก้กฎหมายฉบับนี้ ก็เลยทำให้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ที่เร่งยิกๆ อยู่สะดุดกึก เดินต่อไปไม่ได้ ร่างแก้ไขที่ สนช.เสนอเข้ามายังติดแหง็กอยู่ที่กฤษฎีกา
ส่งผลให้ “ค่ายผู้จัดการ” ไม่ได้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานีทีวีเสรี…จนได้แต่ว่าไปแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เองก็ได้แสดง “น้ำใจ” ช่วยเหลือ “สนธิลิ้ม” อย่างเต็มที่ ด้วยการให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ภายใต้ “ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์” นำรายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ที่จัดโดย “สนธิลิ้ม” ในสถานีเอสทีวี มาออกสดบนจอช่อง 11 พร้อมกันแต่ก็ทำได้แค่ 10 คืน วันที่ 17-27 กุมภาพันธ์ 2550 เท่านั้น ก็ต้องเลิกไปเองเพราะคนด่าทั้งบ้านทั้งเมือง“ค่ายผู้จัดการ” จึงได้รางวัลจากคณะปฏิวัติน้อยมากมีเพียง “คำนูณ สุทธิสมาน” กับ “สำราญ รอดเพชร”ได้เป็นสนช. และแม้ว่าสำราญจะลาออกจากสนช.ไปเข้าพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ส.เขต 7 กรุงเทพฯก็สอบตกมาถึงค่าย “เดอะเนชั่น” ภายใต้การนำของ “สุทธิชัย หยุ่น” ก็ได้บ้างนิดหน่อย โดยได้เข้าไปจัดรายการข่าวเช้าในทีวีช่อง 5 ของกองทัพบก โดย “เทพชัย หย่อง” น้องชายของเขา
ใหม่ๆ ก็สัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินออกสดๆ บ่อยมาก จนถูกแซวว่า พล.อ.สนธิ อย่าใช้อยู่แค่เทพชัยสิ เพราะเดี๋ยวมีการให้รางวัลในรายการ ทีไอทีวี แล้ว ผู้ชมจะชี้ไต๋เอาได้และบัดนี้รางวัลก็ได้มอบให้กับคนที่รู้อยู่แล้ววันที่ 15 ม.ค.51 เป็นวันที่ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายทีวีสาธารณะ มีผลบังคับใช้ “ปราโมช รัฐวินิจ” ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ของเขาในฐานะอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ออกคำสั่งให้ ทีไอทีวี หยุดออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น.วันที่ 14 ม.ค.51 ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้และเช้า 15 ม.ค.51 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ก็นำเรื่องเข้าครม. ขออนุมัติแต่งตั้ง คณะผู้บริหารทีวีสาธารณะ 5 คน เป็นการ “ชั่วคราว” จนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหาร ที่มาจากการสรรหาตามกฎหมายหนึ่งในนั้นก็คือ “เทพชัย หย่อง” บรรณาธิการเนชั่นและข่าวกระฉอกตามออกมาว่า “เทพชัย หย่อง” จะได้รับแต่งตั้งเป็น “ผู้อำนวยการ” ของทีวีสาธารณะช่องแรกของประเทศไทยใหญ่โตตามล็อกแต่ว่าไปแล้ว เมื่อสำรวจกันอย่างลึกปรากฏว่า ค่าย “เดอะเนชั่น” ได้รางวัลกระจิ๊ดเดียว เพราะตำแหน่งผอ.ทีวีสาธารณะของ “เทพชัย หย่อง” เปราะมากระบอบทักษิณกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล...ก็จบแป๊บเดียวเอง แต่ตราประทับที่ติดอยู่บนหน้าผากของ “เทพชัย หย่อง”ว่าเขาเป็นฝ่ายไหนจะติดอยู่ตลอดไป